ทุนพัฒนาอาชีพและนวัตกรรมที่ใช้ชุมชนเป็นฐาน
ปี 2562
สร้างโอกาส สร้างงาน สร้างชุมชน
ทุนพัฒนาอาชีพและนวัตกรรมที่ใช้ชุมชนเป็นฐาน ปี 2562
โครงการนี้มีเป้าหมายพัฒนาทักษะแรงงานขาดแคลนทุนทรัพย์และด้อยโอกาสให้เป็นผู้ประกอบการรุ่นใหม่และแรงงานฝีมือโดยใช้ชุมชนเป็นฐานนำร่องใน 50 พื้นที่ทั่วประเทศ ซึ่งเป็นพื้นที่ที่มีสัดส่วนความยากจนการว่างงานสูง และมีดัชนีความก้าวหน้าของคนต่ำ โดยจะมีการวิเคราะห์ศักยภาพและจัดทำแผนร่วมกับชุมชนและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้เกิดรูปแบบการพัฒนาทักษะอาชีพแบบครบวงจร โดยใช้ชุมชนเป็นฐานนำไปสู่การบรรลุเป้าหมายการพัฒนากำลังแรงงานให้สามารถยกระดับฝีมือและทักษะ มีแผนประกอบอาชีพ จนสามารถพึ่งพาตนเองได้อย่างยั่งยืนคาดว่าในปีแรกจะครอบคลุมกลุ่มเป้าหมายประมาณ 5,000-10,000 คน




วัตถุประสงค์โครงการ

ส่งเสริม สนับสนุน และช่วยเหลือ

ศึกษาและพัฒนา

ค้นหานวัตกรรมชุมชน
เป้าหมายของโครงการ
กสศ. เปิดรับข้อเสนอโครงการ (Proposal) จาก หน่วยงาน สถาบันการศึกษา ทั้งรัฐ เอกชน และภาคประชาสังคม โดย กสศ. จะคัดเลือกโครงการที่มีศักยภาพสูงสุดเข้าร่วมโครงการ และทำสัญญาสนับสนุนกับหน่วยพัฒนาอาชีพ โดยหน่วยพัฒนาอาชีพจะต้องดำเนินงานตามโครงการเพื่อให้ผู้รับทุนได้รับการพัฒนาทักษะการประกอบอาชีพที่มีคุณภาพและมาตรฐาน โดยมีกรอบแนวคิดการดำเนินงาน ดังนี้

1) การใช้ชุมชนเป็นฐาน (Community-based) ยกระดับการประกอบอาชีพ
1. ชุมชนชนบท เน้นพัฒนาให้เกิดกระบวนการเสริมศักยภาพของชุมชนในการพัฒนาอาชีพ เพื่อกำหนดแผนธุรกิจและแผนกำลังคนที่เหมาะสมกับท้องถิ่น
2. ชุมชนเขตเมือง โครงการจะให้ความสำคัญกับการมีส่วนร่วมของสถานประกอบการที่มีความต้องการแรงงานฝีมือสูงขึ้น

2) การพัฒนาทักษะการเป็นผู้ประกอบการ/แรงงานฝีมือในชุมชน
1. ทักษะเฉพาะอาชีพโดยปฏิบัติงานจริงในชุมชนหรือสถานประกอบการ
2. ทักษะการบริหารจัดการสำหรับศตวรรษที่ 21 (เช่น การฝึกวิเคราะห์ การใช้ IT และเทคโนโลยี การติดต่อประสานงาน การทำงานเป็นหมู่คณะ)
3. ทักษะชีวิตด้านเศรษฐศาสตร์ครัวเรือน (เช่น บัญชีครัวเรือน การจัดการรายรับรายจ่าย) เพื่อนำไปสู่การมีนวัตกรรมชุมชนเพื่อการสร้างคุณภาพชีวิตที่ด

3) การเสริมสร้างสมรรถนะแก่ชุมชนและภาคเอกชน

4) การวิจัยปฏิบัติการ
คุณสมบัติหน่วยพัฒนาอาชีพที่จะเข้าร่วมโครงการ

1) สถานภาพ

2) การส่งเสริมการเรียนรู้เพื่อพัฒนาอาชีพ

3) ความร่วมมือกับองค์กรทั้งในและนอกชุมชน
เกณฑ์การนำเสนอโครงการ
กสศ. จะพิจารณาข้อเสนอโครงการที่แสดงแนวคิดและวิธีการดำเนินงานที่ชัดเจนตามหัวข้อ โดยมีข้อมูลและหลักฐานที่เชื่อถือได้เพื่อสนับสนุนประเด็น ดังต่อไปนี้

ความพร้อมและความเชื่อมั่น

การวิเคราะห์พื้นที่ดำเนินงาน

แนวทางการส่งเสริมการพัฒนาอาชีพ

ความร่วมมือกับองค์กรในชุมชน

รูปแบบและวิธีการเรียนรู้ที่นำไปสู่การส่งเสริมการมีงานทำของกลุ่มเป้าหมาย
การสนับสนุน
กสศ. จะจัดงบประมาณสนับสนุนหน่วยพัฒนาอาชีพ ดังนี้

1) งบประมาณสนับสนุนการเรียนรู้เพื่ออาชีพ

2) งบประมาณสนับสนุนการบริหารจัดการ
*รายละเอียดการสนับสนุนงบประมาณตามแบบข้อเสนอโครงการ (Proposal) โดยหน่วยพัฒนาอาชีพจัดทำแผนงบประมาณเสนอมายัง กสศ.
กสศ. จะจัดให้มีกิจกรรมสนับสนุนกระบวนการเรียนรู้และการเสริมคุณภาพ ดังนี
– การพัฒนาหน่วยพัฒนาอาชีพให้มีความสามารถในการวิเคราะห์ชุมชนหรือพื้นที่การเรียนรู้
– เวทีแลกเปลี่ยนประสบการณ์การทำงานและสนับสนุนวิชาการ
– การพัฒนาระบบฐานข้อมูลอาชีพท้องถิ่น การแนะแนวและการเรียนรู้ด้วยตนเอง
ข้อมูลเพิ่มเติม
ข่าวสาร
แผ่นพับเอกสารแนะนำโครงการ
โครงการพัฒนาระบบทดลองการพัฒนาทักษะแรงงานที่ขาดแคลนทุนทรัพย์และด้อยโอกาส ปี 2562