จังหวัดต้นแบบสร้างความเสมอภาคทางการศึกษา

จังหวัดต้นแบบสร้างความเสมอภาคทางการศึกษา

กสศ. พร้อมด้วย ๒๐ จังหวัดทั่วประเทศ ได้แก่
เชียงใหม่ แม่ฮ่องสอน ลำปาง น่าน แพร่ สุโขทัย
พิษณุโลก ขอนแก่น มหาสารคาม สุรินทร์ อำนาจเจริญ
อุบลราชธานี นครราชสีมา กาญจนบุรี นครนายก ระยอง
สุราษฎร์ธานี ภูเก็ต ยะลา และสงขลา

ร่วมมือแก้ปัญหาความเหลื่อมล้ำทางการศึกษา
โดยให้แต่ละจังหวัดเป็นเจ้าภาพในการดำเนินงาน
ใช้บริบทของแต่ละพื้นที่เป็นตัวตั้ง มุ่งไปที่ 2 กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมาย

เด็กปฐมวัย

โดยทุกๆ ปีมีเด็กก่อนวัยเรียน อายุ 3-6 ปี ไม่ได้เข้าสู่ระบบการศึกษา
ราว 250,000 คน หรือร้อยละ 10 เฉลี่ยประมาณจังหวัดละ 3,200 คน

เด็กนอกระบบการศึกษา

โดยทุกๆ ปีมีเด็กนอกระบบการศึกษาอายุ 3-17 ปี
มีจำนวน 592,396 คน

การทำงานเน้น 3 ด้านสำคัญ

1. สร้างกลไกบูรณาการระหว่างหน่วยงานหลักและภาคประชาสังคมในพื้นที่

2. พัฒนาระบบฐานข้อมูลเพื่อลดความเหลื่อมล้ำทางการศึกษาผ่านการสำรวจค้นหากลุ่มเป้าหมายจริง ทำให้การช่วยเหลือดูแลกลุ่มเป้าหมายมีความน่าเชื่อถือและแม่นยำ

3.การสร้างตัวแบบการช่วยเหลือเพื่อสร้างโอกาสทางการศึกษาตามบริบทของพื้นที่สอดคล้องกับความต้องการของกลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ เด็กปฐมวัยและเด็กนอกระบบ

ผลที่คาดว่าจะได้รับเมื่อเดินหน้าโครงการอย่างสมบูรณ์

อาทิ จังหวัดต้นแบบการแก้ปัญหาความเหลื่อมล้ำทางการศึกษาโดยใช้พื้นที่เป็นฐาน จำนวน ๒๐ จังหวัด

– มุ่งจัดทำฐานข้อมูลและสร้างกลไกช่วยเหลือ เด็กปฐมวัย และเด็กเยาวชนนอกระบบการศึกษา
– มีศูนย์พัฒนาเด็กเล็กได้รับการยกระดับคุณภาพการศึกษาจำนวน ๓๐๐ แห่ง
– มีเด็กนอกระบบและเด็กปฐมวัยที่ได้รับการช่วยเหลือจำนวน ๖๕,๐๐๐ คน