ทุนนวัตกรรมสายอาชีพชั้นสูง

ทุนนวัตกรรมสายอาชีพชั้นสูง

สร้างคน สร้างโอกาส สร้างงาน

บุคลากรจากสายอาชีพชั้นสูงถือเป็นกำลังคนที่มีศักยภาพที่จะช่วยพัฒนาและสร้างความมั่งคั่งให้กับภาคการผลิตและเศรษฐกิจ กองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษาเริ่มจัดตั้งโครงการ “ทุนนวัตกรรมสายอาชีพชั้นสูง” ที่จะช่วยเพิ่มขีดความสามารถด้านการแข่งขันของประเทศ เพื่อรองรับแผนยุทธศาสตร์ประเทศไทย 4.0

จุดนี้เองจึงนำมาสู่โครงการ “ทุนนวัตกรรมสายอาชีพชั้นสูง” มีลักษณะเป็นทุนให้เปล่าที่สร้างโอกาสทางการศึกษาแก่เยาวชน จากครัวเรือนที่มีรายได้ต่ำสุดร้อยละ 20 ล่างของประเทศ มีโอกาสศึกษาต่อสายอาชีพในสาขาซึ่งเป็นที่ต้องการของตลาดแรงงาน

หนึ่งในตัวเลขที่สะท้อนถึงปัญหา
ความเหลื่อมล้ำทางการศึกษาที่สำคัญ คือ

ปัจจุบันประเทศไทยมีเด็กและเยาวชนจากครัวเรือนที่มีรายได้ต่ำสุด ร้อยละ 20 ประมาณ 160,000 คน ในจำนวนนี้มีโอกาสศึกษาต่อระดับอุดมศึกษา โดยเฉลี่ยเพียง ร้อยละ 5 หรือประมาณ 8,000 คน ต่อรุ่น ต่ำกว่าค่าเฉลี่ยครอบครัวทั่วไปที่ได้เรียนต่อระดับอุดมศึกษาประมาณร้อยละ 32 เด็กและเยาวชนด้อยโอกาสเหล่านี้เป็นกลุ่มที่อยู่ก้นบึ้งของสังคมไทย

ภารกิจหลักด้านหนึ่งของ
กองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษาหรือ กสศ. คือ

การช่วยเหลือเยาวชนผู้ขาดแคลนทุนทรัพย์ให้มีโอกาสศึกษาต่อเต็มศักยภาพ ด้วยงบประมาณจำกัด เราคิดค้นวิธีการลงทุนเพื่อพัฒนาเรื่องนี้ให้ถูกจุด เริ่มต้นจากโจทย์ที่ว่าการเรียนรูปแบบไหน ที่สร้างโอกาสให้กับเยาวชนกลุ่มนี้มากที่สุด และยังตอบโจทย์ทางเศรษฐกิจของประเทศควบคู่กันไปด้วย

เป้าหมายของโครงการ

  1. เยาวชนขาดแคลนทุนทรัพย์ได้รับการศึกษาต่อในสายอาชีพชั้นสูง
  2. สร้างความเข้มแข็งให้สถานศึกษาในการจัดการเรียนการสอน พัฒนาความสามารถและคุณภาพชีวิตของเยาวชน
  3. สนับสนุนการผลิตบุคลากรสายอาชีพชั้นสูงที่มีศักยภาพ เพื่อรองรับแผนยุทธศาสตร์ประเทศไทย 4.0
  4. เสนอแนะมาตรการเพื่อสร้างความเปลี่ยนแปลงเชิงนโยบาย

สาขาที่สนับสนุน

ทุนนวัตกรรมสายอาชีพชั้นสูง มีกระบวนการคัดเลือกที่เปิดกว้างต่อสถาบันการศึกษาสายอาชีพทุกสังกัดที่มีการจัดการเรียนการสอนในสาขาดังต่อไปนี้ อย่างน้อย 1 สาขา

  1. สาขาเป้าหมายหลักในการพัฒนาประเทศ ได้แก่ อุตสาหกรรมที่มีศักยภาพ (First-Curve) และอุตสาหกรรมอนาคต (New S-Curve)
  2. สาขาที่ขาดแคลนในจังหวัดหรือกลุ่มจังหวัดที่สถาบันการศึกษาตั้งอยู่
  3. สาขาด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและเทคโนโลยีดิจิทัล (STEM)

การสนับสนุน

  1. ทุนพัฒนาสถาบันการศึกษาที่ผ่านการพิจารณาประมาณ 50 แห่ง เพื่อใช้ในการจัดกิจกรรมพัฒนาคุณภาพการเรียนการสอน การดูแลความเป็นอยู่และสวัสดิภาพ ตลอดจนการส่งเสริมโอกาสการทำงานของผู้รับทุน
  2. ทุนการศึกษาแก่นักเรียนจำนวน 2,500 ทุน ที่ผ่านการคัดเลือกโดยสถาบันการศึกษา ซึ่งจะช่วยสนับสนุนค่าใช้จ่ายรายเดือน ค่าธรรมเนียมการศึกษาในอัตราประหยัด โดยแบ่งเป็นทุน 2 ประเภท คือ
    • ทุน 5 ปี สำหรับนักเรียนชั้น ม.3 ให้เรียน ปวช. ต่อเนื่องจนถึงระดับ ปวส.
    • ทุน 2 ปี สำหรับนักเรียนชั้น ม.6 หรือ ปวช. 3 ให้เรียน ปวส. / อนุปริญญาสายอาชีพ
    • ทุน 1 ปี สำหรับนักเรียนชั้น ม.6 หรือ ปวช.3 ให้เรียนหลักสูตรประกาศนียบัตรผู้ช่วยพยาบาล/ผู้ช่วยทันตแพทย์
  3. กิจกรรมสนับสนุนการพัฒนาคุณภาพสถาบันการศึกษาและผู้รับทุน การสนับสนุนเชิงวิชาการโดยผู้เชี่ยวชาญทั้งในและต่างประเทศ การแลกเปลี่ยนเรียนรู้นวัตกรรมการทำงานระหว่างสถาบันการศึกษาและสถานประกอบการ

ตลอดเส้นทางการศึกษา เยาวชนผู้ได้รับทุนนวัตกรรมสายอาชีพชั้นสูง มีโอกาสที่ดีใน 3 เรื่องสำคัญ คือ

  1. ได้เรียนรู้กับนายจ้างและปฏิบัติการจริง
  2. ได้เรียนรู้ทักษะใหม่ และทักษะอนาคต
  3. แลกเปลี่ยนเรียนรู้กับผู้เชี่ยวชาญทั้งในและต่างประเทศ

นอกจากนี้ กสศ. ยังทำงานร่วมกับสถาบันการศึกษาสายอาชีพในลักษณะพันธมิตรเพื่อปฏิรูปคุณภาพการจัดการเรียนการสอนสร้างกำลังคนสายอาชีพ ให้มีสมรรถนะ และทักษะอาชีพตาม 10 อุตสาหกรรมเป้าหมายตามนโยบายรัฐบาล รวมถึงความต้องการตลาดแรงงานในท้องถิ่น นอกจากนี้ยังส่งเสริมให้ผู้ประกอบการมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาระบบทวิภาคีและพัฒนาศักยภาพของผู้เรียนควบคู่กัน

กสศ. ได้คำนวณผลตอบแทนของโครงการทุนนวัตกรรมสายอาชีพชั้นสูง จากนักเรียน นักศึกษา ผู้รับทุน 2,500 ทุน ในปีแรก จากข้อสมมติฐานว่าผู้รับทุนทุกคนทำงานหลังจบการศึกษาจนถึงอายุ 60 ปี จะคิดเป็นมูลค่าปัจจุบันสุทธิ (Net Present Value : NPV ) ประมาณ 10,000 ล้านบาท หรืออัตราผลตอบแทนการลงทุน (IRR หรือ Internal Rate of Return) อยู่ที่ร้อยละ 10

เป้าหมาย

ในปีการศึกษา 2565 มีสถานศึกษาสายอาชีพได้รับคัดเลือกเข้าโครงการจำนวน 116 สถานศึกษาสายอาชีพ 44 จังหวัด ครอบคลุม 5 ภูมิภาคทั่วประเทศไทย และมีเยาวชนจากครัวเรือนที่ยากจนได้รับทุน จำนวนประมาณ 9,427 ทุน โดยมีเป้าหมายให้เด็กและเยาวชนที่ยากจนที่สุดของประเทศมีโอกาสเรียนต่อระดับอุดมศึกษา

FAQ

คำถามที่พบบ่อยของทุนนวัตกรรมสายอาชีพชั้นสูง

ข่าวสาร

กสศ. จัดกิจกรรมปัจฉิมนิเทศแสดงความยินดี ‘นศ.ทุนนวัตกรรมสายอาชีพชั้นสูง 2,154 คน’
11 มีนาคม 2567

กสศ. จัดกิจกรรมปัจฉิมนิเทศแสดงความยินดี ‘นศ.ทุนนวัตกรรมสายอาชีพชั้นสูง 2,154 คน’

สร้างคน สร้างโอกาส สร้างงาน ด้วยทุนนวัตกรรมสายอาชีพชั้นสูง
8 มีนาคม 2567

สร้างคน สร้างโอกาส สร้างงาน ด้วยทุนนวัตกรรมสายอาชีพชั้นสูง

เลิกกังวลเรื่องการจ้างงานคนพิการว่าไม่คุ้มค่า ‘คาเฟ่อเมซอน’ พิสูจน์แล้ว! แนวคิดเรื่องการอยู่ร่วมเพิ่มมูลค่าให้ธุรกิจได้
23 มกราคม 2567

เลิกกังวลเรื่องการจ้างงานคนพิการว่าไม่คุ้มค่า ‘คาเฟ่อเมซอน’ พิสูจน์แล้ว! แนวคิดเรื่องการอยู่ร่วมเพิ่มมูลค่าให้ธุรกิจได้

ทุนนวัตกรรมสายอาชีพชั้นสูง กสศ.ปี 67 ชวนสถานศึกษาสายอาชีพผลิตกำลังคนคุณภาพ  สาขาพัฒนา Soft Power 11 ด้าน ตอบโจทย์พื้นที่
26 ธันวาคม 2566

ทุนนวัตกรรมสายอาชีพชั้นสูง กสศ.ปี 67 ชวนสถานศึกษาสายอาชีพผลิตกำลังคนคุณภาพ  สาขาพัฒนา Soft Power 11 ด้าน ตอบโจทย์พื้นที่

จากใจนักศึกษาทุนนวัตกรรมสายอาชีพชั้นสูง มุ่งมั่นสร้างอนาคต ด้วยพลังคนรุ่นใหม่
13 กันยายน 2566

จากใจนักศึกษาทุนนวัตกรรมสายอาชีพชั้นสูง มุ่งมั่นสร้างอนาคต ด้วยพลังคนรุ่นใหม่

คนรุ่นใหม่แบบไหนที่นายจ้างต้องการ : ปลุกพลัง สร้างโอกาส นักศึกษาทุนนวัตกรรมสายอาชีพชั้นสูง ยุค 4.0
5 กันยายน 2566

คนรุ่นใหม่แบบไหนที่นายจ้างต้องการ : ปลุกพลัง สร้างโอกาส นักศึกษาทุนนวัตกรรมสายอาชีพชั้นสูง ยุค 4.0