ผลวิจัยชี้กักตัวช่วงโควิดทำพัฒนาการทางสังคมเด็กล่าช้า
โดย : Vicky McKeever - CNBC
แปลและเรียบเรียง : นงลักษณ์ อัจนปัญญา

ผลวิจัยชี้กักตัวช่วงโควิดทำพัฒนาการทางสังคมเด็กล่าช้า

รัฐบาลอังกฤษเปิดเผยผลการศึกษาวิจัยฉบับล่าสุด ซึ่งพบว่า หลังจากที่ต้องล็อกดาวน์อยู่แต่ภายในบ้านและเรียนออนไลน์มานานกว่า 2 ปี นักเรียนส่วนใหญ่ โดยเฉพาะเด็กเล็ก นอกจากจะมีปัญหาติดขัดพื้นฐานในด้านวิชาการเช่น การเขียน และการคำนวณแล้ว นักเรียนยังประสบปัญหาด้านพัฒนาการทางสังคมที่ล่าช้ากว่าเด็กในวัยเดียวกัน

ทั้งนี้ ผลการศึกษาโดย Ofsted หน่วยงานด้านการศึกษาของรัฐบาลสหราชอาณาจักร พบว่าเด็กๆ ยังคงเผชิญปัญหากับการที่ต้องรื้อฟื้นทักษะพื้นฐาน เช่น การเขียนและการพูด ที่ถดถอยลงไปเพราะไม่สามารถไปโรงเรียนเนื่องจากจากการระบาดของไวรัสโควิด-19

ผลการวิจัยฉบับใหม่ล่าสุดพบว่า แม้ในที่สุดนักเรียนทั่วเกาะอังกฤษจะสามารถกลับมาเรียนที่โรงเรียนได้สักระยะหนึ่งแล้ว แต่นักเรียนส่วนใหญ่ยังคงมีปัญหาในการพื้นฟูทักษะพื้นฐาน อย่างการเขียนและการพูด

ทั้งนี้  ผลการศึกษาข้างต้นของ Ofsted เป็ฯส่วนหน่งในข้อค้นพบของชุดรายงานที่มีการตีพิมพ์เผยแพร่ออกมา โดยอ้างอิงจากหลักฐานจากการตรวจสอบสถาบันการศึกษาประมาณ 280 ครั้งในกลุ่มอายุต่างๆ รวมถึงการสนทนากลุ่มกับผู้ตรวจการของกระทรวงต่างๆ ของรัฐบาล 

ในกลุ่มนักเรียนระดับ “ปฐมวัย” ทาง Ofsted ได้รับรายงานจากผู้ให้บริการด้านการศึกษาที่สังเกตเห็นความล่าช้าในการพัฒนาคำพูดและภาษาของเด็กเล็ก

ขณะเดียวกัน ผู้ให้บริการด้านการศึกษาบางรายยังพบอีกว่า เด็กเล็กมีความยากลำบากในการตอบสนองต่อการแสดงออกทางสีหน้าขั้นพื้นฐาน ซึ่งผู้เชี่ยวชาญด้านการศึกษากลุ่มนี้ตั้งข้อสังเกตว่าอาจเกิดจากการปฏิสัมพันธ์ทางสังคมที่ลดลงท่ามกลางการระบาดของไวรัสโควิด-19 ที่ทำให้ต้องใช้มาตรการล็อกดาวน์เพื่อสกัดกั้นการะบาด

นอกจากนี้ ครูผู้ให้บริการด้านการศึกษาบางรายยังเน้นย้ำว่า ทักษะพื้นฐานที่ถดถอยไป ทำให้เด็กขาดความมั่นใจที่จะเข้าร่วมกิจกรรมกลุ่มต่าง ๆ ในขณะที่เด็กวัยเดินและเด็กก่อนวัยเรียนต้องการความช่วยเหลือในการเรียนรู้ที่จะแบ่งปันและผลัดกันทำ ผลัดกันเรียน 

ยิ่งไปกวานั้น ครูยังสังเกตเห็นถึงผลกระทบของการระบาดของไวรัสโควิด-19 ที่มีผลต่อพัฒนาการทางร่างกายของเด็กเล็ก ยกตัวอย่างเช่นในกรณีของเด็กทารก พบว่า เด็กทากรมีการเรียนรู้ที่จะหัดคลาน และหัดตั้งไข่เพื่อเดินค่อนข้างล่าช้ากว่าเกณฑ์พัฒนาการที่กำหนดไว้ 

ขณะที่ครูบางคนรายงานว่า ความสามารถในการดูแลพึ่งพาตนเองของเด็กลดลง ดังนั้นจึงเป็นปัจจัยกระตุ้นให้ครูผู้ให้บริการการศึกษาเหล่านี้ต้องใช้เวลากับเด็ก ทำให้มีเวลาออกกำลังกายเคลื่อนไหวร่างกายให้มากขึ้น เพื่อช่วยพัฒนาทักษะความเคลื่นอไหวและปฏิกิริยาตอบสนองของร่างกายต่างๆ 

ในขณะเดียวกัน รายงานยังพบว่าเด็กในวัยเรียนมีช่องว่างความแตกต่างระหว่างวิชาคณิตศาสตร์ การออกเสียง และ “ความแข็งแกร่งในทักษะการเขียน” แม้ว่านักการศึกษาบางส่วนจะแย้งว่า ช่องว่างทางทักษะความรู้เหล่านั้นกำลังหดแคบลงเมื่อเทียบกับภาคการศึกษาที่แล้ว

สถานการณ์ด้านการศึกษาของสหราชอาณาจักร ก็มีลักษณะเช่นเดียวกันกับในหลายประเทศทั่วโลก ที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของไวรัสโควิด-19 ที่การระบาดทำให้อังกฤษและอีกหลายประเทศทั่วโลกต้องปิดโรงเรียนนานร่วมปี ซึ่งหมายความว่า เด็กส่วนใหญ่ต้องเรียนหนังสืออยู่ที่บ้านผ่านหน้าจอออนไลน์ในช่วงล็อคดาวน์ทั้งประเทศ ที่ทั้งไปโรงเรียนไม่ได้ และออกไปข้างนอกไม่ได้ 

ทั้งนี้ ไม่เพียงแต่ปัญหาทางด้านร่างกายเท่านั้นที่เด็กได้รับผลกระทบ งานวิจัยยังพบว่า เด็กนักเรียนยังประสบปัญหาสุขภาพจิต โดยนักการศึกษาสังเกตเห็นระดับความยืดหยุ่นและความมั่นใจที่ลดลง รวมถึงความวิตกกังวลที่เพิ่มขึ้นในหมู่เด็กนักเรียน

ในความเป็นจริงแล้ว ส่วนหนึ่งของรายงานที่เน้นเฉพาะกลุ่มอายุนี้ กล่าวว่า โรงเรียนบางแห่งสังเกตเห็นว่าการระบาดใหญ่ของไวรัสโควิด-19 ได้ส่งผลกระทบต่อวิชาที่นักเรียนเลือกเรียนก่อนการสอบระดับมัธยมศึกษาตอนปลายและก่อนวัยเรียน หรือที่เรียกว่า GSCEs และ A Levels ตามลำดับ

ยกตัวอย่างเช่น มีโรงเรียนบางแห่งสังเกตเห็นว่า จำนวนเด็กนักเรียนที่เลือกเรียนวิชาวิทยาศาสตร์หลัก อย่าง ฟิสิกส์ เคมี และชีววิทยา โดยนักการศึกษารายหนึ่งเชื่อว่าจำนวนนักเรียนที่เลือกเรียนวิชาเหล่านี้น้อยลงเป็นเพราะเด็กกลุ่มนี้ได้รับความทุกข์ทรมานจากความมั่นใจที่ลดลงเพราะถูกล็อกดาวน์มานาน

รายงานระบุอีกว่า โรงเรียนอีกหลายยังสังเกตเห็นถึงผลกระทบของการระบาดของไวรัสโควิด-19 ต่อทักษะด้านเทคโนโลยีของเด็กนักเรียนที่เพิ่มเข้ามามากขึ้น เช่น โรงเรียนแห่งหนึ่งสังเกตว่านักเรียนจะเรียนได้อย่างสบายใจเมื่อได้ใช้อุปกรณ์จอสัมผัสดังนั้นโรงเรียนจึงต้องจัดการเรื่องนี้โดยเน้นที่การให้เด็กได้เรียนผ่านการใช้คอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะ

อแมนดา สเปลแมน หัวหน้าผู้ตรวจสอบของ Ofsted กล่าวว่า ในขณะที่ความพยายามช่วยให้เด็กๆ รื้อฟื้นติดตามทันสิ่งที่เด็กพลาดไปให้มีความคืบหน้ามากขึ้น ดังนั้น เป็นสิ่งที่ชัดเจนว่า การล็อกดาวน์เพราะไวรัสโควิด-19 ได้สร้างความท้าทายทางการศึกษาให้ต้องเร่งจัดการมากมาย“ฉันค่อนข้างกังวลเป็นพิเศษเกี่ยวกับพัฒนาการของเด็กเล็ก ซึ่งหากปล่อยทิ้งไว้โดยไม่ได้รับการดูแล อาจทำให้เกิดปัญหากับการเรียนต่อในระบประถมศึกษาได้” อแมนดา สเปลแมน หัวหน้าผู้ตรวจสอบของ Ofsted กล่าว

ที่มา : Isolation during Covid pandemic has delayed kids’ social skills, new study says