มาเลเซียผุด 5 โครงการยกระดับทักษะความสามารถเพื่อตอบโจทย์ตลาดของนักศึกษาจบใหม่
โดย : Bernama - News Straits Times
แปลและเรียบเรียง : นงลักษณ์ อัจนปัญญา

มาเลเซียผุด 5 โครงการยกระดับทักษะความสามารถเพื่อตอบโจทย์ตลาดของนักศึกษาจบใหม่

กระทรวงการอุดมศึกษาแห่งมาเลเซียเปิดตัว 5 โครงการริเริ่ม เพื่อแก้ไขปัญหาความสามารถทางการตลาดที่ลดลงของผู้สำเร็จการศึกษาในช่วงการระบาดใหญ่ของไวรัสโควิด-19 ที่ทำให้นักศึกษาจบใหม่ตกงานจำนวนมากและหางานได้ยากมากขึ้น โดยการเพิ่มทักษะความสามารถทางการตลาดนี้หมายถึง การยกระดับขีดความสามารถของนักศึกษาจบใหม่ทั้งหลายให้มีทักษะในแบบที่ตลาดต้องการ พร้อมได้ใบรับรองหลังเรียนจบครบหลักสูตรตามที่โครงการกำหนดโดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายใดๆ

แถลงการณ์ของกระทรวงการอุดมศึกษากล่าวว่า โครงการทั้งหมด 5 โครงการเป็นโครงการริเริ่มในฐานะโปรแกรมการเพิ่มทักษะและการขยายต่อยอดทักษะ (อัพสกิลและรีสกิล) ที่เรียกว่า โครงการ KPT-Career Advancement Program (KPT-CAP) โดยครองคลุมตั้งแต่โปรแกรม Teaching Factory, โปรแกรมการเปลี่ยนผ่านด้านการอาชีวศึกษา เทคนิก และการฝึกอบรม (Technical Vocational Education and Training (TVET) Transformation Programme), ระบบรับรองและพัฒนาความสามารถที่เฉพาะเจาะจงและยืดหยุ่น (flexible and micro-credential programnmes) และ โครงการเคลื่อนที่ (mobility programmes) ทั้งหลาย 

สำหรับโครงการทั้งหมดที่อยู่ภายใต้โครงการริเริ่ม KPT-CAP ได้รับการออกแบบตามความต้องการของภาคอุตสาหกรรมเป็นหลักเพื่อเพิ่มโอกาสการจ้างงานให้กับนักศึกษาจบใหม่ และตอบโจทย์ความต้องการของตลาดงานในส่วนที่กำลังต้องการแรงงานจำนวนมากในปัจจุบันและในอนาคตต่อไป

ทั้งนี้ ทักษะความสามารถทางการตลาดนี้มุ่งเน้นไปที่การเสริมทักษะทางด้านดิจิทัล และเชิงเทคนิคทั้งหลาย ผู้เข้าร่วมเรียนฟรีได้โดยไม่มีค่าใช้จ่ายใด ๆ และสามารถจบออกมาโดยมีใบรับรองคุณวุฒิเพื่อยืนสมัครงานได้ต่อไป 

ด้านสื่อท้องถิ่นรายงานว่า โครงการริเริ่มทั้ง 5 โครงการได้รับการพูดถึงโดย ดร ไนโรนี อาห์หมัด รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษามาเซีย ขณะขึ้นกล่าวสุนทรพจน์ที่งานประชุม Educaiton World Forum (EWF) ในกรุงลอนดอนประเทศอังกฤษ เมื่อช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา 

ดร.โนไรนีกล่าวว่า จากการศึกษาติดตามนักศึกษาชาวมาเลเซียที่เพิ่งสำเร็จการศึกษาได้ไม่นาน พบว่าความสามารถทางการตลาดของผู้สำเร็จการศึกษาชาวมาเลเซียในปี 2020 ลดลง 1.8% มาอยู่ที่ 84.4% เมื่อเทียบกับ 86.2% ในปี 2019 โดยมีสาเหตุหลักส่วนหนึ่งมาจากวิกฤตการระบาดของไวรัสโควิด -19 

“ช่วง 1 ปีที่ผ่านมา เพื่อตอบสนองในเชิงกลยุทธ์ที่จะช่วยหลีกเลี่ยงความสามารถทางการตลาดที่ลดลง ทางโครงการ KPT ได้ดำเนินการริเริ่มการแทรกแซงหลายอย่างเพื่อเพิ่มอัตราความสามารถทางการตลาดของผู้สำเร็จการศึกษาให้ได้ 1.1% เป็น 85.5% ภายในปี 2021” ดร.โนไรนี กล่าว 

ในส่วนของโครงการ Penjana KPT-CAP นั้น  ดร.โนไรนีกล่าวว่ารัฐบาลมาเลเซียได้จัดสรรเงินงบประมาณรวมมูลค่า 150 ล้านริงกิต เพื่อสนับสนุนโครงการเพิ่มทักษะและปรับทักษะตัวใหม่ ที่คาดว่าจะเป็นประโยชน์ต่อผู้สำเร็จการศึกษา 20,000 คน

รายงานระบุว่า โครงการดังกล่าวมีความพิเศษตรงที่บริษัททั้งหลายที่เข้าร่วมโครงการสามารถกันสำรองการจ้างงานสำหรับผู้ที่เข้าร่วมโครงการอย่างน้อย 12 เดือนหลังจากที่เรียนสำเร็จโครงการแล้ว โดย โนไรนี กล่าวเสริมว่ารัฐบาลมาเลเซียยังเตรียมใช้โครงการ ‘Teaching Factory’ เพื่อเป็นหลักประกันให้มั่นใจได้ว่าผู้สำเร็จการศึกษาจากรั้วมหาวิทยาลัยทั่วประเทศจะมีทักษะที่สามารถตอบสนองความต้องการของตลาดงานในปัจจุบันได้

นอกจากนี้ โนไรนีอธิบายว่า โครงการนี้เป็นโครงการที่ดำเนินการโดยมหาวิทยาลัยของรัฐ 4 แห่ง ซึ่งทุกแห่งมีความเชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีและเทคโนโลยีขั้นสูง ครอบคลุมทั้งภาคทฤษฎี และภาคปฎิบัติ แต่จะเน้นหนักไปในภาคปฎิบัติเพื่อให้ผู้เข้าร่วมโครงการมีทักษะความเชี่ยวชาญ 

โดยมหาวิทยาลัยเหล่านี้ยังทำงานอย่างใกล้ชิดกับบรรดาบริษัทชั้นนำในอุตสาหกรรม เพื่อช่วยยกระดับกระบวนการสอนและการเรียนรู้ การฝึกอบรม และการให้บริการในสาขาที่เกี่ยวข้อง 

ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนผ่านด้านการอาชีวศึกษาของมาเลเซีย โนไรนี กล่าวว่า  ได้มีการดำเนินการผ่านการจัดตั้งสภาอาชีวศึกษาแห่งชาติ ซึ่งมีนายกรัฐมนตรีดาโต๊ะ เสรี อิสมาอิล ซาบรี ยาคอบ เป็นประธาน

“บทบาทหน้าที่ของสภาพคือคอยให้คำปรึกษาและคำแนะนำแก่รัฐบาลเกี่ยวกับขีดความสามารถด้านบุคลากรในปัจจุบัน และบุคลากรแรงงานที่อุตสาหกรรมต่างๆ ต้องการในอนาคต ตลอดจนถึงการคำนึงถึงเทคโนโลยีที่ต้องมุ่งให้ความสนใจในรั้วมหาวิทยาลัย” โนไรนีกล่าว 

ขณะเดียวกัน โนไรนีเสริมว่า โครงการริเริ่มที่คิดค้นทั้งหมดมีเป้าหมายนำมาใช้เพื่อหลีกเลี่ยงผลกระทบจากปัญหาในเรื่องของประเด็นคุณภาพทางการศึกษาในระดับอุดมศึกษา และความสามารถทางการตลาดของบรรดานักศึกษาจบใหม่

ทั้งนี้ การประชุม Education World Forum (EWF) เป็นเวทีการประชุมระดับรัฐมนตรีว่าด้วยกการศึกษาในระดับนานาชาติที่จัดขึ้นทุกปีในลอนดอนตั้งแต่ปี 2002 และทำหน้าที่เป็นเวทีสำหรับการอภิปรายและแบ่งปันมุมมอง ประสบการณ์ นโยบาย กลยุทธ์ และทิศทางสำหรับการพัฒนาการศึกษาตลอดจนประเด็นสำคัญ.นด้านการศึกษาทั่วโลกในช่วงปัจจุบัน

ที่มา : Malaysia implements 5 initiatives to address drop in graduates’ marketability