กสศ.ร่วมมือ ILO อัพศักยภาพแรงงานด้อยโอกาสสู่คุณภาพ

กสศ.ร่วมมือ ILO อัพศักยภาพแรงงานด้อยโอกาสสู่คุณภาพ

กสศ.จับมือองค์การแรงงานระหว่างประเทศ หรือ ILO ถ่ายทอดองค์ความรู้พัฒนาทักษะแรงงานยากจน ด้อยโอกาส โดยใช้ชุมชนเป็นฐาน ปั้นเป็นแรงงานฝีมือ ลดความเหลื่อมล้ำ ครอบคลุมกว่า 6,000 คน ในชุมชน 71 แห่ง กระจายตัวไปใน 42 จังหวัดทั่วประเทศไทย

กองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (กสศ.) ร่วมมือกับองค์การแรงงานระหว่างประเทศ (ILO) ถ่ายทอดความรู้ผ่านหัวข้อ ‘Ready For Business’ โดยนำเครื่องมือที่พัฒนาขึ้นโดยองค์การแรงงานระหว่างประเทศ
มาถ่ายทอดสู่ตัวแทนธุรกิจชุมชนจากทั่วประเทศไทย ที่โรงแรมเซ็นทรา บาย เซ็นทารา ศูนย์ราชการและคอนเวนชันเซ็นเตอร์ แจ้งวัฒนะ เมื่อวันที่ 22-23 ต.ค.ที่ผ่านมา ภายใต้โครงการพัฒนาระบบทดลองการพัฒนาทักษะแรงงานที่ขาดแคลนทุนทรัพย์และด้อยโอกาส เพื่อวางเป้าหมายพัฒนาทักษะแรงงานที่ขาดแคลนทุนทรัพย์และด้อยโอกาส ให้เป็นผู้ประกอบการรุ่นใหม่ หนุนธุรกิจ SME ในท้องถิ่นให้มีโอกาสเติบโต และส่งเสริมแรงงานฝีมือที่มีคุณภาพโดยใช้ชุมชนเป็นฐาน

Mr. Charles Bodwell ผู้เชี่ยวชาญพิเศษจากองค์การแรงงานระหว่างประเทศ กล่าวว่า การจัดการอบรมโดยผู้เชี่ยวชาญนั้นมีราคาแพงสำหรับธุรกิจขนาดเล็ก ILO จึงได้พัฒนาเครื่องมือ ชื่อว่า ‘Community Based Center Activity Based Traning’ ที่มุ่งเข้าถึงกลุ่มประชากรด้อยโอกาสหรือในชุมชนที่ห่างไกล ให้สามารถเสริมศักยภาพและฝึกอบรมการพัฒนาธุรกิจที่มีต้นทุนต่ำ ภายใต้ข้อจำกัดทางทรัพยากร โดยเน้นให้ชุมชนเป็นศูนย์กลางและใช้การจัดกิจกรรมเป็นฐาน

“ประเทศไทยเป็น 1 ใน 20 ประเทศที่ ILO เข้ามาช่วยพัฒนา โดยร่วมมือกับ กสศ.
เพื่อนำแบบเครื่องมือสำหรับแรงงานหรือธุรกิจชุมชน ที่ไม่ต้องใช้ต้นทุนสูง
สามารถฝึกฝนพัฒนากันเองได้โดยไม่จำเป็นต้องผ่านความช่วยเหลือจากบุคคลภายนอก
ในส่วนของเครื่องมือได้ออกแบบไว้เบื้องต้น 36 แบบ ซึ่งเหมาะสมกับบริบทที่หลากหลาย
รองรับความแตกต่างและข้อจำกัดของชุมชน หรือกลุ่มบุคคลที่เข้าร่วม” Mr. Charles ระบุ

Mr. Charles กล่าวอีกว่า ความท้าทายของการจัดอบรมความรู้เสริมสร้างศักยภาพชุมชน ไม่ได้อยู่ที่การพัฒนาความคิดใหม่ แต่ต้องคำนึงถึงว่าจะหาทางหลีกหนีความคิดเก่าที่ซ้ำซากอย่างไร การจัดอบรมด้วยวิธีเดิม ๆ ที่ต้องใช้ต้นทุนในการจ้างผู้เชี่ยวชาญจากภายนอกมาพูดให้คนในชุมชนฟังนั้น ต้องใช้ทั้งเงินจ้างวิทยากรและไม่สามารถรับประกันผลสำเร็จที่ตามมาได้ เนื่องจากหลายครั้งความรู้ที่นำมาถ่ายทอดไม่รองรับกับบริบททางสังคมของชุมชน ดังนั้นการจัดอบรมที่ไม่จำเป็นต้องใช้ผู้เชี่ยวชาญจากภายนอก และสามารถอบรมบุคคลในชุมชนได้คราวละมาก ๆ อีกทั้งเสียค่าใช้จ่ายจำนวนน้อย จึงเป็นแนวทางที่ทุกชุมชนนำไปปฏิบัติใช้ได้อย่างไร้ข้อจำกัด

โครงสร้างของหลักสูตรความพร้อมสำหรับธุรกิจ แบ่งออกเป็น 6 หัวข้อ ได้แก่
1.การเริ่มต้นเป็นผู้ประกอบการ
2.การดำเนินการเกี่ยวกับการตลาดและการขาย
3.การบริหารจัดการธุรกิจ
4.การพุ่งเป้าไปที่การเงิน
5.การเตรียมการสำหรับอนาคต
6.การเรียนรู้ทักษะที่ผสมผสานความสามารถด้านสังคม การสื่อสารด้านอารมณ์

และที่ใช้ในการประกอบอาชีพ (Soft skills) โดยดำเนินตามแผนการพัฒนาส่วนบุคคล 4 ขั้นตอน ได้แก่ การกำหนดวิสัยทัศน์ การตรวจดูข้อเท็จจริงที่เป็นอยู่ ณ ปัจจุบัน การกำหนดยุทธศาสตร์หลัก และ การกำหนดแผนปฏิบัติการ

“เช่นตัวอย่างชุดเครื่องมือที่นำมาใช้ในหัวข้อ ‘การกำหนดวิสัยทัศน์’เครื่องมือชุดนี้เหมาะกับกลุ่มที่มีความคิดเริ่มต้นทางธุรกิจ โดยยังไม่มีแบบแผนและเป้าหมายที่ชัดเจน ดังนั้น เครื่องมือชุดนี้จึงเน้นให้ผู้เข้าอบรมได้ค้นหาเป้าหมาย เป็นแบบที่ได้ทดลองใช้มาแล้วในชุมชนที่ห่างไกลหลายประเทศ และในหลายทวีป ที่แม้จะมีความแตกต่างทางสภาพแวดล้อม วัฒนธรรม วิถีชีวิต หรือข้อจำกัดทางสังคมใด ๆ ก็ตาม แต่เครื่องมือดังกล่าวก็ได้พิสูจน์ผลสัมฤทธิ์แล้วว่าสามารถช่วยให้ผู้ที่ยังไม่มีเป้าหมายที่ชัดเจนทางธุรกิจ ค้นพบแนวทางที่ตนอยากดำเนินไปได้” Mr. Charles กล่าว

Mr. Charles Bodwell กล่าวว่า ด้วยเครื่องมือที่ออกแบบให้การอบรมเน้นไปที่กิจกรรมการอภิปราย ทำให้เกิดการแลกเปลี่ยนระหว่างกันจากเพื่อนสู่เพื่อน นำไปสู่ความช่วยเหลือและการติดตามผล รวมถึงสร้างแรงจูงใจให้เกิดการจัดกิจกรรมต่อเนื่อง ไม่ใช่เพียงการบรรยายถ่ายทอดความรู้ครั้งเดียวจบ อีกทั้งการเรียนรู้และจัดอบรมยังสามารถจัดได้ทุกที่ โดยมีข้อแม้เพียงอย่างเดียวคือต้องมีชุมชนเป็นฐาน และปรับรูปแบบให้เหมาะสมกับบริบทของแต่ละท้องถิ่น ที่ผ่านมาการจัดอบรมรูปแบบนี้เราได้รับผลที่ดีกลับมา สามารถพัฒนาการทำงาน คุณภาพชีวิต สรรค์สร้างวิธีการใหม่ ๆ ในการทำธุรกิจขนาดเล็ก โดยมีต้นทุนที่ถูกมาก ฉะนั้นจึงเหมาะกับทุกชุมชน โดยเฉพาะกลุ่มคนที่เข้าถึงยากที่สุดหรือยากจนที่สุด

นพ.สุภกร บัวสาย ผู้จัดการกองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (กสศ.) กล่าวว่า การทำงานของกสศ. เป็นหน่วยงานของรัฐที่จัดตั้งขึ้นมาเพื่อลดความเหลื่อมล้ำของการศึกษา ที่มีปัญหาจากความยากจน ความด้อยโอกาส เช่น ปัญหาสุขภาพจิต ปัญหาความพิการ ผู้ที่ถูกคุมขัง ผู้ที่ตั้งครรภ์ไม่พึงประสงค์ บุคคลเหล่านี้ล้วนอยู่บนพื้นฐานของการขาดโอกาส ใครที่เดือดร้อนมาก เราพยายามที่จะช่วยเหลือให้มาก

สำหรับโครงการพัฒนาระบบทดลองการพัฒนาทักษะแรงงานที่ขาดแคลนทุนทรัพย์และด้อยโอกาส ที่จะดำเนินการโดยครอบคลุมกลุ่มเป้าหมายที่เป็นกลุ่มแรงงานนอกระบบ กลุ่มที่ไม่ได้รับการศึกษา กลุ่มคนพิการ กลุ่มคนจน กลุ่มผู้ถือบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ กลุ่มผู้สูงอายุ วิสาหกิจชุมชน พ่อแม่วัยรุ่น ชาติพันธุ์ แม่บ้าน เยาวชนและผู้ต้องขัง คาดว่าจะมีผู้ได้รับโอกาสจากโครงการนี้จำนวน 71 แห่งครอบคลุมกว่า 6,000 คน ใน 42 จังหวัดของประเทศไทย โดยการพัฒนาทักษะให้แก่กลุ่มเป้าหมายมี 2 องค์ประกอบที่สำคัญ คือ
1.การสอนในห้องเรียนควบคู่กับการฝึกปฏิบัติในสถานประกอบการจริง
2.ความรู้ของโลกสมัยใหม่ในศตวรรษที่ 21 เช่น การคิด วิเคราะห์ วางแผนกิจการ การยกระดับและพัฒนาความคิดของตนเอง

“ปัจจุบันแรงงานไทยมีจำนวนมากถึง 16 ล้านคน ซึ่งเป็นไปไม่ได้ที่แรงงานเหล่านี้จะเป็นแรงงานที่มีฝีมือหรือเป็นแรงงาน 4.0 ทั้งหมดแต่ยังมีแรงงานอีกกลุ่มที่ควรได้รับการยกระดับเป็นพิเศษ เช่น แรงงาน 1.0 (กลุ่มอาชีพเกษตรกรรม) และแรงงานระดับ 2.0 (กลุ่มอาชีพช่าง งานฝีมือ ฯลฯ) ที่ไม่ได้อยู่ในสถานประกอบการ แต่อยู่ในเขตชุมชนและท้องถิ่น ซึ่งมีความตั้งใจในการขยายโอกาสจำนวนในการช่วยเหลือต่อไป เพราะปัญหาของประเทศมีความยิ่งใหญ่มาก ถ้าสิ่งที่เราทำได้ผลลัพธ์ที่ดี และมีประโยชน์อาจจะมีหน่วยงานอื่นเข้ามาร่วมสนุบสนุนด้วยมากขึ้น” นพ.สุภกรกล่าว

นพ.สุภกร กล่าวว่า ดังนั้นโครงการพัฒนาระบบทดลองการพัฒนาทักษะแรงงานที่ขาดแคลนทุนทรัพย์และด้อยโอกาส จึงมีความแตกต่างจากโครงการอื่นๆ ด้วยหลักคิดที่สำคัญที่เชื่อมโยงการพัฒนาอาชีพโดยใช้ชุมชนเป็นฐาน ที่ดึงชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนาแรงงานเหล่านี้ เพื่อสร้างอาชีพในรูปแบบใหม่ ๆ ที่สอดคล้อง และตอบสนองความต้องการของชุมชนได้อย่างยั่งยืน

คลิปบรรยากาศในงาน

ดาวน์โหลด
เอกสารบรรยาย ILO ภาษาอังกฤษ
เอกสารบรรยาย ILO ภาษาไทย
คู่มือความพร้อมสำหรับการทำธุรกิจ การกำหนดวิสัยทัศน์

ติดตามความเคลื่อนไหวที่เพจ
ทุนพัฒนาอาชีพที่ใช้ชุมชนเป็นฐาน

 

รายชื่อโรงเรียน พื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้

จังหวัด นราธิวาส จำนวน 4 โรงเรียน

  • โรงเรียนผดุงมาตร
  • โรงเรียนสวนพระยาวิทยา
  • โรงเรียนราชพัฒนา
  • โรงเรียนนราสิกขาลัย

จังหวัดยะลา จำนวน 15 โรงเรียน

  • โรงเรียนไทยรัฐวิทยา 94 (บ้านบ่อน้ำร้อน)
  • โรงเรียนคุรุชนพัฒนา
  • โรงเรียนบ้านตาเซะ
  • โรงเรียนบ้านราโมง
  • โรงเรียนบ้านกาตอง
  • โรงเรียนบ้านหลักเขต
  • โรงเรียนพัฒนาบาลอ
  • โรงเรียนบ้านโกตาบารู
  • โรงเรียนบ้านตะโละหะลอ
  • โรงเรียนบ้านเยาะ
  • โรงเรียนบ้านโต
  • โรงเรียนบ้านลูโบ๊ะปันยัง
  • โรงเรียนบ้านคลองน้ำใส
  • โรงเรียนบ้านสะเอะ
  • โรงเรียนกาบังพิทยาคม

จังหวัดปัตตานี จำนวน 16 โรงเรียน

  • โรงเรียนวุฒิชัยวิทยา
  • โรงเรียนนิคมสร้างตนเองโคกโพธิ์ มิตรภาพที่ 148
  • โรงเรียนบ้านบางมะรวด
  • โรงเรียนบ้านท่าน้ำตะวันออก
  • โรงเรียนบ้านน้ำบ่อ
  • โรงเรียนบ้านปาลัส
  • โรงเรียนบ้านตรัง
  • โรงเรียนบ้านกระเสาะ
  • โรงเรียนบ้านบูดี
  • โรงเรียนบ้านฝาง
  • โรงเรียนบ้านตะโละไกรทอง
  • โรงเรียนบ้านน้ำดำ
  • โรงเรียนบ้านโลทู
  • โรงเรียนบ้านวังกว้าง
  • โรงเรียนสะนอพิทยาคม
  • โรงเรียนวังกะพ้อพิทยาคม

รายชื่อโรงเรียน ภาคตะวันตก

จังหวัดตาก จำนวน 1 โรงเรียน

  • โรงเรียนบ้านร่มเกล้า 2