รายงานฉบับพิเศษห้องเรียนฟื้นฟูหลังโควิด-19 ภาวะฉุกเฉินทางการเรียนรู้และแนวทางฟื้นฟูให้ดีขึ้นได้ใน 14 วัน ประสบการณ์จากโรงเรียนพัฒนาตนเอง

รายงานฉบับพิเศษห้องเรียนฟื้นฟูหลังโควิด-19 ภาวะฉุกเฉินทางการเรียนรู้และแนวทางฟื้นฟูให้ดีขึ้นได้ใน 14 วัน ประสบการณ์จากโรงเรียนพัฒนาตนเอง

กสศ.ร่วมกับสถาบันวิจัยเพื่อการประเมินและออกแบบนโยบาย (RIPED) มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย  สำรวจสถานะความพร้อมในการเข้าสู่ระบบการศึกษาของเด็กปฐมวัย (Thailand School Readiness Survey: TSRS) เพื่อประเมินว่าเด็กปฐมวัยมีความพร้อมที่จะเรียนรู้ได้อย่างเต็มศักยภาพเมื่อเข้าสู่ระบบการศึกษาที่เป็นทางการในระดับประถมศึกษาหรือไม่ 

พบว่าทักษะขั้นพื้นฐานในทุกมิติที่เด็กๆ สะสมไว้หายไป เด็กๆ ลืมวิธีการอ่านและเขียน บางคนจำไม่ได้แม้แต่ตัวอักษร  เด็กเล็กเริ่มเข้าเรียนแต่กลับไม่มีโอกาสได้เรียนรู้ทักษะหรือการเตรียมความพร้อมทั้งร่างกาย อารมณ์ สังคมและสติปัญญา เนื่องจากการเรียนรู้ในช่วงปฐมวัยที่ขาดหายไป  

สอดคล้องกับข้อค้นพบของโครงการโรงเรียนพัฒนาตนเองที่นอกจากการสังเกตพฤติกรรมในห้องเรียน ทีมโค้ชโรงเรียนพัฒนาตนเอง มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ได้นำเครื่องวัดแรงบีบมือทดสอบวัดสมรรถภาพความแข็งแรงกล้ามเนื้อมัดเล็กของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2  จำนวน  1,918 คน จาก 74 โรงเรียน ใน 6 จังหวัด ได้แก่ สตูล ปัตตานี สงขลา นครศรีธรรมราช ยะลา และนราธิวาส พบว่า 98% ของเด็กๆ มีแรงบีบมือต่ำกว่าเกณฑ์เฉลี่ยของเด็กในวัยเดียวกัน ซึ่งปกติค่ามาตรฐานจะอยู่ที่ 19 กิโลกรัม และจากการทดสอบมีผ่านเกณฑ์เพียง 1.19% เท่านั้น

บทความพิเศษในเล่ม

1. โรงเรียนกับการฟื้นฟูความรู้ถดถอยในเด็กประถมต้น  ผศ.ดร.ศิริวรรณ ฉัตรมณีรุ่งเจริญ   คณบดีคณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต
2. หากเด็กขาดโอกาส จะทำให้รากฐานไม่แน่นและพลาดโอกาสเรียนรู้เรื่องต่างๆ อีกมาก ผ.ศ.นายแพทย์เทอดพงศ์ ทองศรีราช รองคณบดีคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่ กุมารแพทย์ด้านพัฒนาการและพฤติกรรม  
3. ครอบครัว : จุดเริ่มต้นการฟื้นฟูเด็ก รศ.ดร.จุฑารัตน์ สถิรปัญญา หัวหน้าหน่วยเวชศาสตร์ชุมชน สาขาวิชาเวชศาสตร์ครอบครัวและเวชศาสตร์ป้องกัน คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ 
4. การพัฒนาฐานกาย : ตามแนวทางมนุษยปรัชญา นายแพทย์ทีปทัศน์ ชุณหสวัสดิกุล (หมอปอง) อุปนายกสมาคมการแพทย์มนุษยปรัชญาไทย คนที่ 1  
5. การเรียนรู้เริ่มต้นจากฐานกายเสมอ ครูเม เมริษา ยอดมณฑป (เพจตามใจนักจิตวิทยา) 
6. “ห้องเรียนสายใจ”  สร้างพื้นที่ปลอดภัยให้เด็กๆ ครูหยก ธีรดา อุดมทรัพย์  หนึ่งในทีม “ก่อการครู”  
7. สิ่งที่จะช่วยพัฒนาความเชื่อมั่นในตัวเองสำหรับเด็ก: ถอดบทเรียนจากคุณครูที่ช่วยเด็กเรียนช้า แพทย์หญิงชญานิน ฟุ้งสถาพร จิตแพทย์เด็กและวัยรุ่น (เพจหมอจริง DR JING)

ดาวน์โหลดเพิ่มเติม