การประชุมกลุ่มพันธมิตรเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (EEA) ครั้งที่ 8 ในหัวข้อ “การติดตามและประเมินผลสู่ความเสมอภาคทางการศึกษาที่ยั่งยืน” กรณีศึกษาจากระดับชาติสู่บริบทท้องถิ่นในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

การประชุมกลุ่มพันธมิตรเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (EEA) ครั้งที่ 8 ในหัวข้อ “การติดตามและประเมินผลสู่ความเสมอภาคทางการศึกษาที่ยั่งยืน” กรณีศึกษาจากระดับชาติสู่บริบทท้องถิ่นในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

กลุ่มพันธมิตรเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (EEA) ก่อตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2563 ซึ่งมี กองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา ประเทศไทย และยูเนสโก กรุงเทพฯ เป็นประธานร่วม โดยเป็นชุมชนของนักปฏิบัติการจากองค์กรต่าง ๆ กระทรวง และหน่วยงานรัฐ ตลอดจนองค์กรพัฒนาเอกชนในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งพยายามผลักดันไปสู่ระบบการศึกษาที่ครอบคลุมและเสมอภาคมากในขณะเดียวกันก็เพิ่มประสิทธิภาพในทุกระดับให้กับองค์กรเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษาที่มีอยู่แล้ว

กลุ่มพันธมิตรจัดการประชุมอย่างน้อย 2 ครั้งต่อปีเพื่อหารือและยกระดับความเสมอภาคทางการศึกษาผ่านความพยายามร่วมกัน ปัจจุบันมีทั้งหมด 14 ประเทศ1 และ 17 องค์กรท้องถิ่นและองค์กรระหว่างประเทศ2 ที่เข้าร่วมประชุมและแบ่งปันความเชี่ยวชาญเพื่อส่งเสริมความเสมอภาคในระบบการศึกษา โดยอาศัยความเชี่ยวชาญหลัก 4 ด้าน ได้แก่ 1) กรอบกฎหมายและการพัฒนาด้านนโยบาย 2) กลไกการจัดทำงบประมาณและการจัดหาเงินทุน 3) ระบบการจัดบริการและดำเนินการ 4) การติดตามและประเมินผล

การประชุมครั้งที่ 8 เน้นในเรื่อง ‘การติดตามและประเมินผลสู่ความเสมอภาคทางการศึกษาที่ยั่งยืน จากระดับชาติสู่บริบทท้องถิ่น การประชุมแบ่งเป็น 2 ส่วน ได้แก่ ส่วนสำหรับบุคคลทั่วไปและส่วนสำหรับสมาชิก EEA โดยเฉพาะ การประชุมครั้งที่ 8 นี้มีจุดมุ่งหมายที่จะจุดประกายโอกาสในการทำงานร่วมกันและบ่งชี้ถึงผู้ที่สามารถเป็นสื่อกลางและรวมตัวกันทำหน้าที่ในการปูพื้นฐานสำหรับการพัฒนาก้าวต่อไปของ EEA และวางแผนกิจกรรมหลักเพื่อการติดตามและประเมินผลตลอดระยะเวลาที่เหลืออยู่ของปี พ.ศ. 2566

เพื่อเสริมความสมบูรณ์ให้กับการประชุมประจำปีของกลุ่มพันธมิตร EEA  เว็บไซต์ศูนย์ข้อมูลความเสมอภาคทางการศึกษา (EquityEdHub หรือ EEH) เปิดตัวเมื่อปลายปี พ.ศ. 2565 เป็นศูนย์กลางในการแบ่งปันความรู้เพื่อ 1) ให้ผู้เรียนจากทั่วโลกสามารถเข้าถึงเนื้อหาในหัวข้อต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับเป้าหมายของกลุ่มพันธมิตรในการยกระดับความเสมอภาคทางการศึกษาผ่านความพยายามร่วมกัน และ 2) มอบการสนับสนุนอย่างมีแก่นสารในด้านเทคนิคให้กับผู้ที่มีความต้องการ

วัตถุประสงค์ของการประชุมกลุ่มพันธมิตรเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (EEA)  ครั้งที่ 8

ส่วนสำหรับบุคคลทั่วไป:

  1. นำเสนอเครื่องมือของกลุ่มพันธมิตร EEA ที่ชื่อว่า ‘Education Scalability Checklist’ ซึ่งเป็นเครื่องมือที่สนับสนุนให้กับรัฐบาล ผู้ให้ทุน และองค์กรด้านการศึกษาใช้ขยายผลโครงการด้านการศึกษาที่มีประสิทธิผล นอกจากนี้ยังนำเสนอแนวทางการวัดและประเมินผลของการให้ทุนการศึกษาเพื่อการฝึกอบรมออนไลน์แก่ประชากรวัยแรงงานในประเทศอินโดนีเซียด้วย
  2. เสวนาแบ่งปันความรู้และแนวปฏิบัติที่ดีเพื่อนำนวัตกรรมเพื่อการเรียนรู้มาปรับใช้ในการติดตามและประเมินผลสู่ความเสมอภาคทางการศึกษาที่ยั่งยืน
  3. แบ่งปันความรู้และแนวปฏิบัติที่ดีเพื่อนำนวัตกรรมเพื่อการเรียนรู้มาปรับใช้ในการติดตามและประเมินผลสู่ความเสมอภาคทางการศึกษาที่ยั่งยืน

ส่วนสำหรับสมาชิก EEA โดยเฉพาะ:

  1. แนะนำสมาชิกใหม่ของ EEA
  2. รายงานและเสวนาโดยองค์กรหลัก เกี่ยวกับความคืบหน้าของกิจกรรมต่าง ๆ ที่ได้ระบุไว้
  3. ระดมสมองและรวบรวมข้อมูลสำคัญและกรณีศึกษาต่างๆ จากการประชุมเชิงปฏิบัติการจัดพิมพ์ร่วม
  4. ระบุโอกาสในการทำงานร่วมกันสำหรับไตรมาสที่ 4 ปี พ.ศ. 2566

ผู้เข้าร่วม

  • ผู้บริหารการศึกษาในระดับท้องถิ่น ผู้อำนวยการเขตการศึกษา ครูใหญ่ ครู และพันธมิตร เพื่อส่งเสริมความเสมอภาคทางการศึกษา
  • ผู้ที่มีศักยภาพเป็นสมาชิก EEA รวมถึงหน่วยงานรัฐบาล ผู้กำหนดนโยบาย องค์กรพัฒนาเอกชน นักวิชาการ องค์กรและประเทศที่มีแนวคิดเดียวกัน
  • สมาชิก EEA รวมถึงประเทศสมาชิก ตัวแทนประเทศและตัวแทนองค์กร ผู้ปฏิบัติงาน ผู้เชี่ยวชาญทางเทคนิค และหน่วยงานระหว่างประเทศที่ลงมือปฏิบัติเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา

เวลาและสถานที่

วันพฤหัสบดีที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2566 (13.30–14.45 น. ตามเวลาในไทย)

ซูมลิงก์: https://unesco-org.zoom.us/webinar/register/WN_JG0GB_nJTI6w5rKBjsfYhA

กรุณาลงทะเบียนล่วงหน้าผ่านลิงก์นี้ หลังจากลงทะเบียนเรียบร้อยแล้ว คุณจะได้รับอีเมลยืนยัน ซึ่งจะให้ข้อมูลเกี่ยวกับการเข้าร่วมประชุม พร้อมกับลิงก์การประชุมอย่างเป็นทางการ หมายเหตุ : การประชุมผ่าน Zoom รองรับผู้เข้าร่วมได้ 500 ท่านแรกเท่านั้น

การประชุมครั้งที่ 8 นี้จะถ่ายทอดสดผ่าน หน้าเฟซบุ๊ก ศูนย์ข้อมูลความเสมอภาคทางการศึกษา (EEH) และผ่านหน้าเฟซบุ๊กกสศ. การประชุมส่วนนี้จะดำเนินแบบสองภาษา โดยจะมีบริการแปลภาษาไทยให้ตลอด