กูรูชี้ระบบสวัสดิการช่วยเด็กอังกฤษ 4 แสนคนพ้นความยากจน
โดย : Patrick Butler - The Guardian
แปลและเรียบเรียง : นงลักษณ์ อัจนปัญญา

กูรูชี้ระบบสวัสดิการช่วยเด็กอังกฤษ 4 แสนคนพ้นความยากจน

ผู้เชี่ยวชาญเผยข้อมูลการศึกษาที่ยืนยันว่าระบบเครดิตสากล (Universal Credit) ซึ่งเป็นระบบสวัสดิการของรัฐบาลอังกฤษมีส่วนช่วยเหลือให้เด็กอังกฤษกว่า 400,000 คนหลุดพ้นจากความยากจน พร้อมเตือนว่า การตัดลดเงินสวัสดิการช่วยเหลือครอบครัวยากจนแค่เพียง 20 ปอนด์ต่อสัปดาห์ (ราว 879 บาท) บวกกับภาวะเงินเฟ้อสูงที่ดันให้ค่าครองชีพสูงขึ้น เสี่ยงผลักให้ประชาชนอังกฤษถึง 1 ล้านคนกลายเป็นคนยากจนในทันที

เว็บไซต์ข่าวเดอะ การ์เดียน รายงานว่า มีเด็กอังกฤษประมาณ 400,000 คนสามารถหลุดพ้นจากภาวะยากจนในช่วงปีแรกของการระบาดของไวรัสโควิด-19 โดยเป็นผลสืบเนื่องมาจากนโยบายกระตุ้นสวัสดิการของรัฐมูลค่า 6,000 ล้านปอนด์ 

รายงานเชิงสถิติ ที่เผยแพร่เมื่อวันที่ 31 มีนาคมที่ผ่านมาพบว่า ระดับความยากจนที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องทุกปี ปรับตัวลดลงหลังจากที่รัฐบาลอังกฤษ พร้อมด้วยหน่วยงานที่เกี่ยวข้องประกาศใช้ “เครดิตสากล” ด้วยการจัดสรรเงินช่วยเหลือพิเศษเพิ่ม 20 ปอนด์ต่อสัปดาห์ในนช่วงเดือนเมษยน ปี 2020 ควบคู่ไปกับมาตรการช่วยเหลืออื่นๆ เช่น การสนับสนุนเงินที่อยู่อาศัย เงินช่วยเหลือกรณีถูกสั่งพักงาน และมาตรการอื่นๆ เพื่อบรรเทาผลกระทบจากไวรัสโควิด-19

ทั้งนี้ ผลลัพธ์จากการใช้ระบบสินเชื่อระบบสากล ส่งผลให้รายได้ของครัวเรือนที่ยากจนที่สุด 20% เพิ่มขึ้น 4% ขณะที่การว่างงานยังอยู่ในระดับต่ำ โดยนักเคลื่อนไหวทางสังคมประกาศว่า ผลลัพธ์ดังกล่าวถือเป็นข้อพิสูจน์ว่าการลงทุนในประกันสังคมเป็นวิธีที่มีประสิทธิภาพในการช่วยเด็กให้พ้นจากความยากจน

สถิติของรัฐพบว่า ในเวลานั้น (2020) มีเด็กอังกฤษราว 3.9 ล้านคนจัดอยู่ในกลุ่มยากจน หรือครัวเรือนที่มีรายได้ต่ำกว่ารายได้โดยเฉลี่ยต่อปีที่ 60% ซึ่งนโยบายกระตุ้นสวัสดิการในช่วงปีแรกของการระบาดของไวรัสโควิด-19 ช่วยให้เด็ก 400,000 คนหลุดพ้นจากความยากจน คิดเป็นสัดส่วนสูงถึง 27% ของประชากรเด็กทั้งหมดทั่วอังกฤษ 

อย่างไรก็ตาม นักเคลื่อนไหวทางสังคมและผู้เชี่ยวชาญส่วนหนึ่งออกโรงเตือนว่า ตัวเลขเด็กยากจนอาจพลิกกลับมาสูงขึ้น เพราะการยกเลิกเงินช่วยเหลือพิเศษ 20 ปอนด์ต่อสัปดาห์ และสถานการณ์ความยากจนมีแนวโน้มเลวร้ายมากยิ่งขึ้น เนื่องจากปัญหาเงินเฟ้อ ที่ทำให้ราคาอาหารและพลังงานแพงขึ้น ดังนั้น การที่สวัสดิการลดลงในช่วงที่ค่าครองชีพเพิ่มสูงขึ้นย่อมจะส่งผลกระทบต่อมาตรฐานค่าครองชีพของครัวเรือนตั้งแต่เดือนเมษายนนี้เป็นต้นไป

ทั้งนี้ รัฐบาลอังกฤษตัดสินใจยกเลิกเงินช่วยเหลือเพิ่มพิเศษมูลค่า 20 ปอนด์ต่อสัปดาห์ พร้อม ๆ กับการถอดถอนมาตรการอื่นๆ ที่นำมาใช้เพื่อสกัดกั้นการระบาดของไวรัสโควิด-19 ท่ามกลางเสียงคัดค้านจากหลายฝ่าย แม้รัฐบาลจะพยายามให้เหตุผลถึงความจำเป็นที่ต้องยกเลิกว่าเป็นเพราะรัฐบาลควรนำเวลาและงบประมาณที่มีไปโฟกัสกับการหางานให้คนทำและปรับค่าตอบแทนให้ดีขึ้น พร้อมรับเศรษฐกิจที่จะกลับมาเคลื่อนไหวอีกครั้ง 

ขณะนี้ ด้วยภาวะเงินเฟ้อที่พุ่งสูงขึ้นทำสถิติแตะระดับสูงสุดในรอบหลายสิบปี ส่งผลให้อังกฤษกำลังเผชิญกับวิกฤตค่าครองชีพที่ปรับตัวเพิ่มขึ้นในอัตราที่รวดเร็วที่สุดนับตั้งแต่ทศวรรษที่ 1950 โดย ราคาพลังงาน ภาษีรัฐ และเงินสมทบประกันสังคมล้วนขยับพุ่งขึ้นอย่างมาก กลายเป็นแรงกดดันต่อครัวเรือนที่มีรายได้ให้ต้องดิ้นรนขวนขวายมากขึ้น 

ด้าน มูลนิธิ Resolution Foundation ประเมินว่าประชากรอังกฤษราว 1.3 million คน ซึ่งรวมถึงประชากรวัยเด็ก 500,000 คน อาจถูกผลักดันไปสู่ความยากจนอย่างแท้จริงในช่วงหลายเดือนข้างหน้า อันเป็นผลมาจากการตัดสินใจของรัฐมนตรีที่จะเพิ่มสวัสดิการและเงินบำนาญของรัฐที่น้อยกว่าครึ่งหนึ่งของอัตราเงินเฟ้อ 8% – เทียบเท่ากับ ลดมูลค่าการสนับสนุนลง 11,000 ล้านปอนด์

อดัม คอร์เล็ตต์ (Adam Corlett)  หัวหน้านักเศรษฐศาสตร์ของ มูลนิธิ Resolution Foundation กล่าวว่า การขาดการสนับสนุนที่ตรงเป้าหมาย โดยในแถลงการณ์ฉบับล่าสุดหมายความว่ารายได้ของครัวเรือนจะลดลงอย่างรวดเร็วในช่วงการฟื้นตัวจากการระบาดครั้งใหญ่ของไวรัสโควิด-19 ดังนั้นจึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องได้รับการสนับสนุนมากขึ้นเพื่อเปลี่ยนมุมมองมาตรฐานการครองชีพเสียใหม่

ทางด้าน องค์กรอิสระไม่แสวงหาผลกำไรอย่าง กลุ่มเคลื่อนไหวเพื่อความยากจนในเด็ก หรือ The Child Poverty Action Group (CPAG) ตัวเลขดังกล่าวแสดงให้เห็นว่ารัฐบาลมี “อำนาจในการปกป้องเด็ก ๆ จากความยากจน” อยู่ในมือ แต่กลับล้มเหลวที่จะให้ความช่วยเหลืออย่างจริงจัง ตามที่ระบุในแถลงการณ์ฉบับล่าสุดเมื่อสัปดาห์ที่แล้วบ่งชี้ว่ารัฐบาลได้ “หันหลัง” ต่อครอบครัวยากจนนที่ต้องใช้ชีวิตอย่างยากลำบาก 

อลิสัน การ์นแฮม ประธานเจ้าหน้าที่บริหารของ CPAG เสริมว่า เด็กหลายคนที่สามารถหลุดพ้นจากวงจรความยากจนอันเป็นผลพวงจากเงินช่วยเหลือสวัสดิการสังคมเครดิตสากล (Universal Credit) สัปดาห์ละ 20 ปอนด์ มีแนวโน้มจะถูกบีบบังคับให้หวนกลับคืนมายากจนอีกคตรั้ง โดยการกระทำของรัฐบาล 

ขณะเดียวกัน จากการวิเคราะห์ตัวเลขโดยกลุ่มพันธมิตร End Child Poverty เปิดเผยว่าระดับความยากจนในเด็กระดับหน่วยงานท้องถิ่นในปี 2020-21 มีอัตราการเพิ่มขี้นแตะระดับสูงสุด โดยมีมิดเดิลสโบรห์ ทำลายสถิติเป็นที่หนึ่งในอังกฤษ คือมีเด็กยากจนอาศัยอยู่ต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐานถึง ที่ 42% ขณะที่ในระดับเขตเลือกตั้งของรัฐสภา 51% ของเด็กทั้งหมดในเบอร์มิงแฮม ฮอดจ์ ฮิลล์ อยู่ในภาวะยากจน

แม้ก่อนหน้านี้ แถลงการณ์ล่าสุดของ ริชิ ซูนัก รัฐมนตรีคลังอังกฤษจะประกาศตัดลดภาษีน้ำมัน และเพิ่มฐานประกันสังคมแห่งชาติ เพื่อสู้กับวิกฤตเงินเฟ้อ แต่กลับปฏิเสธการเรียกร้องให้เพิ่มผลประโยชน์ที่สอดคล้องกับตัวเลขเงินเฟ้อที่ขยับขึ้น และนายกรัฐมนตรีถูกวิพากษ์วิจารณ์อย่างกว้างขวางว่าไม่สนใจครัวเรือนยากจนที่ได้รับความเดือดร้อนจากค่าครองชีพสูงมากที่สุด ขณะที่ นายกรัฐมนตรีบอริส จอห์นสันของอังกฤษ ได้ให้คำมั่นกับทางคณะกรรมการสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเมื่อช่วงกลางสัปดาห์ที่ผ่านมาว่า รัฐบาลจะตรวจสอบข้อเสนอเพื่อเพิ่มสวัสดิการเครดิตสากลตามอัตราเงินเฟ้อ

เทแรส คอฟฟีย์ รัฐมนตรีด้านงานและเงินบำนาญระบุผ่านแถลงการณ์เมื่อช่วงปลายสัปดาห์ที่ผ่านมาว่า รัฐบาลจะยังคงเน้นที่การเพิ่มรายได้ผ่านการรับคนเข้าทำงาน ในขณะที่โฆษกรัฐบาลยืนยันว่าการจัดหางานที่เหมาะสมให้ประชาชนเป็น “เส้นทางที่ดีที่สุดและยั่งยืนที่สุดในการขจัดความยากจน”

โจนาธาน แอชเวิร์ธ รัฐมนตรีเงาด้านงานและเงินบำนาญ กล่าวว่า การตัดวงเงินสวัสดิการเครดิตสากล 20 ปอนด์ ได้ซ้ำเติมความทรมานให้กับประชาชนยากจน 

“ทางเลือกดังกล่าว รวมกับค่าพลังงานที่พุ่งสูงขึ้น การปรับขึ้นภาษีของรัฐ และการปรับลดเงินสวัสดิการเครดิตสากลตามเงื่อนไขจริง และตัดเงินบำนาญของรัฐจะทำให้ครอบครัวยากจนเผชิญกับภาวะที่กดดันอย่างหนักกับมาตรฐานการครองชีพที่เลวร้ายที่สุดเท่าที่เคยบันทึกไว้” โจนาธาน แอชเวิร์ธ กล่าว 

ที่มา : Universal credit rise lifted 400,000 children out of poverty, data shows