“เร่งลงมือฟื้นฟูหลังโควิด” ยูเนสโกมั่นใจประเทศไทยสร้างการศึกษาที่ยั่งยืนของภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก

“เร่งลงมือฟื้นฟูหลังโควิด” ยูเนสโกมั่นใจประเทศไทยสร้างการศึกษาที่ยั่งยืนของภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก

นายชิเงรุ อาโอยากิ ผู้อำนวยการองค์กรวิทยาศาสตร์ วัฒนธรรม และสหประชาชาติ (ยูเนสโก) ประจำภูมิภาคเอเชีย แปซิฟิก กล่าวสุนทรพจน์เปิดการประชุมระดับรัฐมนตรีด้านการศึกษาแห่งภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก ว่าด้วยเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน เป้าหมายที่ 4 (การศึกษา 2030) ครั้งที่ 2 หรือ APREMC II

ซึ่งกองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (กสศ.) ร่วมสนับสนุน กระทรวงศึกษาธิการ องค์การยูเนสโก องค์การยูนิเซฟ และกระทรวงศึกษา วัฒนธรรม กีฬา วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ประเทศญี่ปุ่น เป็นเจ้าภาพ ระหว่างวันที่ 5-7 มิถุนายน 2565 ณ โรงแรมแชงกรี-ลา กรุงเทพมหานคร

โดยระบุว่า การประชุมครั้งนี้มีขึ้นในช่วงเวลาที่สำคัญที่ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องในด้านการศึกษามาร่วมหารือแนวทางปฎิบัติเพื่อฟื้นฟูระบบและกระบวนการศึกษาของภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิกหลังได้รับผลกระทบความเสียหายอย่างหนักหน่วงจากวิกฤตการระบาดของไวรัสโควิด -19

นายชิเงรุ ชี้ว่า การระบาดของไวรัสโควิด -19 เป็นทั้งแรงกระตุ้นและแรงผลักดันที่บีบเค้นให้ระบบการศึกษาของทุกประเทศทั่วโลกต้องก้าวสู่การเปลี่ยนผ่านอย่างเร่งด่วน ทุกประเทศทั่วโลกได้รับผลกระทบจากโควิด-19 ในด้านการศึกษา ไม่เว้นแม้แต่ประเทศไทย ซึ่งถือเป็นอีกหนึ่งประเทศที่เป็นกำลังหลักที่ให้ความร่วมมือและสนับสนุนการพัฒนาระบบการศึกษาตามแนวทางและเป้าหมายด้านความยั่งยืนมาอย่างยาวนาน

อีกทั้งในช่วงโควิด-19 ที่ผ่านมา ไทยก็พิสูจน์ให้เห็นว่า ไทยเป็นพันธมิตรที่ยอดเยี่ยมของยูเนสโกในการยกระดับคุณภาพการศึกษา ไทยได้แสดงให้เห็นความพยายามและความตั้งใจที่จะฝ่าฟันวิกฤตการศึกษาที่เกิดขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการจัดตั้งแพลตฟอร์ม เพื่อให้นักเรียนทุกคนสามารถเข้าถึงการศึกษาได้อย่างเต็มที่ ขณะที่ครูเองก็ได้รับการฝึกฝนทักษะทางดิจิทัลเพื่อนำมาใช้ในการถ่ายทอดความรู้ให้กับเด็กๆ

ขณะนี้ การระบาดของไวรัสโควิด-19 ได้คลี่คลายไปแล้ว แต่ความเสียหายทางการศึกษายังคงทิ้งร่องรอยไว้อยู่ ดังนั้นสิ่งที่สมควรทำในเวลานี้ก็คือการเร่งลงมือฟื้นฟูการศึกษาที่สูญไป ควบคู่ไปกับการปรับปรุงพัฒนาระบบการศึกษา ที่ต้องการการบูรณาการผสมผสานศาสตร์และทักษะต่างๆ ในการสอนให้แก่เด็กๆ มากขึ้นกว่าเดิม

ซึ่งเชื่อว่าไทย จะเป็นอีกหนึ่งประเทศที่มีศักยภาพที่จะแสดงให้เห็นตัวอย่างของระบบการศึกษาคุณภาพและยั่งยืนของภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิกแห่งนี้ โดยยูเนสโกเตรียมพร้อมที่จะให้ความร่วมมือกับไทยและนานาประเทศในการยกระดับคุณภาพการศึกษา เพื่อสร้างแนวทางการเรียนรู้ตลอดชีวิตและยั่งยืนตามแนวทาง SDG4

สำหรับการประชุมในครั้งนี้ นอกจากจะได้แนวทางการฟื้นฟูการศึกษาแล้ว ก็หวังให้ทุกฝ่ายได้ทางออกที่ไปสู่การสร้างพื้นที่การศึกษาเพื่อการเรียนรู้สำหรับทุกคน โดยเชิงรุก หวังเป็นอย่างยิ่งว่าการประชุมสุดยอดในครั้งนี้จะสร้างผลลัพธ์ในทางบวกที่เป็นประโยชน์ต่อทุกฝ่ายต่อไป

รายชื่อโรงเรียน พื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้

จังหวัด นราธิวาส จำนวน 4 โรงเรียน

  • โรงเรียนผดุงมาตร
  • โรงเรียนสวนพระยาวิทยา
  • โรงเรียนราชพัฒนา
  • โรงเรียนนราสิกขาลัย

จังหวัดยะลา จำนวน 15 โรงเรียน

  • โรงเรียนไทยรัฐวิทยา 94 (บ้านบ่อน้ำร้อน)
  • โรงเรียนคุรุชนพัฒนา
  • โรงเรียนบ้านตาเซะ
  • โรงเรียนบ้านราโมง
  • โรงเรียนบ้านกาตอง
  • โรงเรียนบ้านหลักเขต
  • โรงเรียนพัฒนาบาลอ
  • โรงเรียนบ้านโกตาบารู
  • โรงเรียนบ้านตะโละหะลอ
  • โรงเรียนบ้านเยาะ
  • โรงเรียนบ้านโต
  • โรงเรียนบ้านลูโบ๊ะปันยัง
  • โรงเรียนบ้านคลองน้ำใส
  • โรงเรียนบ้านสะเอะ
  • โรงเรียนกาบังพิทยาคม

จังหวัดปัตตานี จำนวน 16 โรงเรียน

  • โรงเรียนวุฒิชัยวิทยา
  • โรงเรียนนิคมสร้างตนเองโคกโพธิ์ มิตรภาพที่ 148
  • โรงเรียนบ้านบางมะรวด
  • โรงเรียนบ้านท่าน้ำตะวันออก
  • โรงเรียนบ้านน้ำบ่อ
  • โรงเรียนบ้านปาลัส
  • โรงเรียนบ้านตรัง
  • โรงเรียนบ้านกระเสาะ
  • โรงเรียนบ้านบูดี
  • โรงเรียนบ้านฝาง
  • โรงเรียนบ้านตะโละไกรทอง
  • โรงเรียนบ้านน้ำดำ
  • โรงเรียนบ้านโลทู
  • โรงเรียนบ้านวังกว้าง
  • โรงเรียนสะนอพิทยาคม
  • โรงเรียนวังกะพ้อพิทยาคม

รายชื่อโรงเรียน ภาคตะวันตก

จังหวัดตาก จำนวน 1 โรงเรียน

  • โรงเรียนบ้านร่มเกล้า 2