Problem-based Learning การจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน

Problem-based Learning การจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน

แนวคิดในการนำปัญหารอบตัวมาสร้างการเรียนรู้
สามารถแบ่งออกเป็น 7 ขั้นตอนง่าย ๆ ดังต่อไปนี้
.
[1] กำหนดปัญหา
คุณครูชวนพูดคุยถึงปัญหาที่นักเรียนให้ความสนใจในหัวข้อที่จะเรียนรู้ เช่น เมื่อพูดถึงเรื่องโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์และการตั้งครรภ์ไม่พึงประสงค์ มีประเด็นปัญหาอะไรบ้างที่นักเรียนต้องการศึกษา

[2] เลือกปัญหาที่สนใจ
“ความไม่มั่นใจของวัยรุ่นชายที่ต้องซื้อถุงยางอนามัย”
“การพูดเรื่องเพศเป็นเรื่องที่มักจะถูกเลี่ยงในวัยรุ่น”

เมื่อระดมประเด็นปัญหาจากหัวข้อที่กำหนดแล้ว เปิดพื้นที่ให้นักเรียนได้เลือกปัญหาที่ตนเองสนใจจะศึกษาต่อ เพื่อเป็นการสร้างแรงจูงใจในการเรียนรู้

[3] ดำเนินการศึกษาค้นคว้า
นักเรียนร่วมกันกำหนดเป้าหมายในการศึกษาค้นคว้า และวางแผนศึกษาข้อมูลในประเด็นปัญหาที่สนใจ เช่น “ข้อมูลใดบ้างที่สำคัญกับปัญหาความไม่มั่นใจของวัยรุ่นชายที่ต้องซื้อถุงยางอนามัย” หรือ “แหล่งข้อมูลใดบ้างที่มีองค์ความรู้เกี่ยวกับการสนับสนุนให้พูดเรื่องเพศได้อย่างมั่นใจ”

[4] สังเคราะห์ความรู้
นำข้อมูลที่ได้ศึกษาค้นคว้ามาเรียบเรียง เชื่อมโยง สร้างความสัมพันธ์ เพื่อตอบเป้าหมายที่กำหนดไว้ เช่น เรียบเรียงข้อมูลเพื่อนำมาออกแบบแนวทางการรณรงค์การพูดคุยเรื่องเพศในโรงเรียน หรือเชื่อมโยงงานวิจัยต่าง ๆ เพื่อนำมาสร้างนวัตกรรมแก้ปัญหาเรื่องเพศในชุมชน

[5] สรุปและประเมินค่าของคำตอบ
คุณครูและนักเรียนร่วมกันประเมินว่าองค์ความรู้ที่ได้มานั้นสอดคล้องและสามารถแก้ปัญหาที่กำหนดเอาไว้ได้หรือไม่ เปิดโอกาสให้นักเรียนได้ศึกษาเพิ่มเติมหากข้อมูลดังกล่าวยังไม่เพียงพอ

[6] นำเสนอ ประเมินผลงาน
เปิดโอกาสนักเรียนในแต่ละกลุ่มได้นำเสนอผลงานที่ได้ศึกษาค้นคว้า

[7] แลกเปลี่ยนเรียนรู้
เปิดพื้นที่ให้นักเรียนได้สอบถาม พูดคุย แลกเปลี่ยนบทสนทากันภายในห้องเรียน เพื่อขยายขอบเขตความรู้ในแต่ละกลุ่ม คล้ายกับการประกอบจิ๊กซอว์เรื่องราวที่เกิดขึ้น

ดาวน์โหลดเพิ่มเติม