งบการศึกษารายหัว เท่ากันแต่ไม่เท่าเทียม

งบการศึกษารายหัว เท่ากันแต่ไม่เท่าเทียม

ปัจจุบันการจัดสรรงบประมาณให้แก่นักเรียนในระดับการการศึกษาขั้นพื้นฐาน รัฐใช้วิธีจ่ายเป็นเงินอุดหนุนแบบรายหัว นั่นหมายความว่า หากเป็นโรงเรียนขนาดใหญ่หรือขนาดกลางย่อมได้รับงบประมาณมากกว่า แต่หากเป็นโรงเรียนขนาดเล็กย่อมได้รับงบประมาณน้อยกว่า ซึ่งเป็นไปตามสัดส่วนจำนวนนักเรียน
.
วิธีการเช่นนี้ส่งผลกระทบโดยตรงต่อโรงเรียนขนาดเล็ก และโรงเรียนขนาดเล็กในพื้นที่ห่างไกล (protected schools) อย่างไม่อาจปฏิเสธ ทำให้โรงเรียนบริหารจัดการงบประมาณที่มีอยู่อย่างจำกัดนี้ได้ยากลำบาก เพราะเมื่องบประมาณไม่เพียงพอ ย่อมส่งผลต่อเนื่องไปยังคุณภาพการศึกษา ทั้งความพร้อมของอุปกรณ์การเรียนการสอน อาคารสถานที่ อาหารกลางวันเด็ก ฯลฯ
.
การปฏิรูปงบการศึกษาจึงเป็นข้อเสนอที่ถูกหยิบยกขึ้นมาในเวทีเสวนาขบวนเคลื่อนนโยบายสาธารณะเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา ครั้งที่ 1 หรือ Public Policy Move #1 ในหัวข้อ ‘ปฏิรูปงบแก้เหลื่อมล้ำ เพื่อเด็กและโรงเรียนพื้นที่ห่างไกล’
.
.
กสศ. กางแผนที่สำรวจจุดเหลื่อมล้ำทางการศึกษา พบว่าโรงเรียนในเมืองกับโรงเรียนในชนบท หรือโรงเรียนขนาดใหญ่กับโรงเรียนขนาดเล็ก มีภาพสะท้อนถึงความแตกต่างเหลื่อมล้ำอย่างชัดเจน ดังนี้
.
.
✨ การจัดสรรงบประมาณการศึกษา ‘รายหัว’
= ยิ่งโรงเรียนขนาดใหญ่ ยิ่งได้งบมาก
= ยิ่งโรงเรียนขนาดเล็ก ยิ่งได้งบน้อย
.
✨ ขนาดโรงเรียนและจำนวนนักเรียน
โรงเรียนขนาดใหญ่พิเศษ นักเรียน 1,680 คนขึ้นไป
โรงเรียนขนาดใหญ่ นักเรียน 720-1,679 คน
โรงเรียนขนาดกลาง นักเรียน 120-719 คน
โรงเรียนขนาดเล็ก นักเรียนไม่ถึง 120 คน
.
✨ โรงเรียนขนาดเล็ก และโรงเรียนขนาดเล็กในพื้นที่ห่างไกล
โรงเรียนสังกัด สพฐ. ทั่วประเทศ 29,117 แห่ง
เป็นโรงเรียนขนาดเล็ก 14,660 แห่ง (50.35%)
.
✨ ในโรงเรียนขนาดเล็ก มีนักเรียน 963,432 คน
ประถมศึกษา 696,721 คน (73.5%)
ปฐมวัย 215,182 คน (22.7%)
.
✨ โรงเรียนขนาดเล็กในพื้นที่ห่างไกล (protected schools)
จำนวน 1,155 แห่ง มีนักเรียน 90,348 คน
ในจำนวนนี้เป็นเด็กยากจนพิเศษ 31.2% (ยากจนที่สุด 15% ล่างของประเทศไทย)
.
✨ ผลกระทบจากงบที่ไม่เพียงพอ
– ขาดคุณภาพทางการศึกษา โดยเฉพาะระดับปฐมวัยและประถมศึกษา
– ขาดแคลนอุปกรณ์การเรียนการสอน
– ไม่สามารถปรับปรุงซ่อมแซมอาคารสถานที่
– อาหารกลางวันเด็กไม่ทั่วถึง
– โรงเรียนต้องเรี่ยไรทุนด้วยตนเอง
– หน่วยงานท้องถิ่นไม่สามารถช่วยเหลือได้เต็มที่ เพราะติดขัดระเบียบการคลัง
.
.
:: อ้างอิงจาก
– ผลสำรวจโรงเรียนขนาดเล็กในพื้นที่ห่างไกล โดยธนาคารโลก (World Bank) ปี 2563
– ข้อมูลจำนวนสถานศึกษาของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ณ วันที่ 10 มิถุนายน 2564
.
.
📌 อ่านเนื้อหาฉบับเต็มได้ที่ : ขาดงบ ขาดครู ขาดโอกาส ความไม่เสมอภาคของโรงเรียนในพื้นที่ห่างไกล

ดาวน์โหลดเพิ่มเติม