ความสำเร็จ TCAS ปี 2565 ภารกิจส่งช้างเผือกถึงดวงดาว

ความสำเร็จ TCAS ปี 2565 ภารกิจส่งช้างเผือกถึงดวงดาว

“ไม่ว่าลูกของใคร จะเกิดมาในครอบครัวยากดีมีจน ถ้าเขามีความมุ่งมั่นตั้งใจและมีศักยภาพทางการศึกษา เขาควรต้องได้เรียนจนสุดความสามารถ โดยไม่ต้องกังวลเรื่องฐานะครอบครัว”

ดร.ไกรยส ภัทราวาท ผู้จัดการกองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (กสศ.)
.
และเครื่องมือหนึ่งที่พาเด็ก ๆ ได้เรียนจนสุดความสามารถ คือ ทุนเสมอภาค หรือโครงการจัดสรรเงินอุดหนุนแบบมีเงื่อนไข ในการช่วยเหลือนักเรียนยากจนพิเศษด้วยการจัดสรรเงินสนับสนุนเพิ่มเติมจากทุนปัจจัยพื้นฐานโดยต้นสังกัด เพื่อให้เด็ก ๆ สามารถเดินทางมาเรียนได้อย่างต่อเนื่อง มีค่าอาหารเช้าเพื่อให้อิ่มท้องพร้อมรับการเรียนรู้
.
ทุนเสมอภาคเริ่มต้นในปี 2561 กสศ. เริ่มจากการสร้างระบบคัดกรองนักเรียนยากจนร่วมกับ สพฐ. และในปีเดียวกัน มีนักเรียนชั้น ม.3 ได้รับทุนเสมอภาค และ ทุนอุดหนุนปัจจัยพื้นฐาน 148,021 คน และปี 2564 พบว่านักเรียนกลุ่มนี้เรียนอยู่ชั้น ม.6 จำนวน 62,404 คน และยืนยันสิทธิ์ผ่านระบบ TCAS ปี 2565 จำนวน 20,018 คน หรือร้อยละ 13.52
.
ล่าสุด นักเรียนที่ได้รับความช่วยเหลือจากการคัดกรองนักเรียนยากจนและยากจนพิเศษของ กสศ. เมื่อปีการศึกษา 2562 ยืนยันสิทธิ์ผ่านระบบ TCAS ในปีการศึกษา 2566 จำนวน 21,922 คน หรือร้อยละ 12.46 ของนักเรียนทุนเสมอภาคและทุนปัจจัยพื้นฐาน
.
TCAS66 มีนักเรียนกลุ่มยากจนที่ได้รับเงินอุดหนุนปัจจัยพื้นฐานจากต้นสังกัด ยืนยันสิทธิ์ร้อยละ 13.2 ขณะที่กลุ่มนักเรียนยากจนพิเศษที่ได้รับเงินอุดหนุนทุนเสมอภาคจาก กสศ. ยืนยันสิทธิ์ร้อยละ 11.2
.
ในจำนวนนี้ มีนักเรียนภาคกลางมาเป็นอันดับ 1 คือ 7,317 คน อันดับ 2
คือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 6,412 คน และ อันดับ 3 ภาคเหนือ 3,412 คน
.
ถ้าแบ่งหมวดตามสถาบันการศึกษา พบว่า นักเรียนกลุ่มนี้ได้ศึกษาต่อในมหาวิทยาลัยที่กำกับโดยรัฐ มากเป็นอันดับ 1 คือ 8,991 คน มหาวิทยาลัยราชภัฏ 4,953 คน และ มหาวิทยาลัยของรัฐ 4,858 คน ตามลำดับ
.
หากดูตามสาขาวิชาที่นักเรียนยืนยันสิทธิ์มากที่สุด อันดับ 1 คือ กฎหมาย สังคม ศิลปะ วัฒนธรรม จำนวน 6,457 คน อันดับ2 คือ วิทยาศาสตร์ วิศวกรรมศาสตร์ ปิดท้ายที่อันดับ 3 คือธุรกิจและการบริหารจัดการ
.
ตัวเลขทั้งหมดนี้คือหนึ่งในปลายทางของทำงานร่วมกันกว่า 5 ปี ของ 5 หน่วยงาน ได้แก่ กองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (กสศ.), กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) ที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย (ทปอ.), ที่ประชุมคณะกรรมการอธิการบดีมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล ที่ประชุมอธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฎ และกองทุนกู้ยืมเพื่อการศึกษา (กยศ.) ที่เข้ามาร่วมสบทบ

เพื่อบรรลุภารกิจเดียวกันคือ การสร้างหลักประกันโอกาสการศึกษา เพื่อไม่ทิ้งเด็กคนไหนไว้ข้างหลัง และ ส่งเด็กช้างเผือกให้ถึงดวงดาวเท่าที่จะทำได้
.
.
✨ กสศ. ชวนอ่านเนื้อหาฉบับเต็มจากรายงานฉบับพิเศษ : หลักประกันโอกาสทางการศึกษาภาคบังคับถึงอุดมศึกษาโดยกองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (กสศ.) ได้ที่ คลิก

ดาวน์โหลดเพิ่มเติม