ความสำเร็จของคนพื้นที่ด้วย Area-Based ความเสมอภาคสุราษฎร์ธานี

ความสำเร็จของคนพื้นที่ด้วย Area-Based ความเสมอภาคสุราษฎร์ธานี

การแก้ไขปัญหาเชิงพื้นที่ด้วย Area-Based Education เป็นการแก้ไขปัญหาความเหลื่อมล้ำทางการศึกษาโดยคนหน้างานในพื้นที่ลุกขึ้นมาสร้างกลไกของตนเองเพื่อแก้ปัญหาที่แต่ละพื้นที่มีไม่เหมือนกัน

🔑 นี่คือ Keyword ความสำเร็จของสมัชชาการศึกษา จ.สุราษฎร์ธานี

💡รู้โจทย์
รวบรวมปัญหาทั้งหมดและนำมาถกเถียงเพื่อจัดกลุ่มปัญหาที่มีลักษณะคล้ายกัน ซึ่งพบว่าความสำเร็จของสมัชชาการศึกษา จ.สุราษฎร์ธานีคือการรู้โจทย์ของท้องถิ่นตนเองได้ดีกว่าโจทย์ที่ส่วนกลางมอบให้

😎 Keyman
การรวมกลุ่มของหน่วยงานที่ไม่ใช่แค่หน่วยงานทางการศึกษา แต่คือการทำงานของทุกคนในจังหวัดโดยผู้ที่ตั้งต้นคือบุคคลสำคัญของแต่ละหน่วยงาน หรือผู้ที่มีตำแหน่งสูงสุดให้ความสำคัญ จึงได้ข้อมูลจากผู้เชี่ยวชาญจริง และทำให้การทำงานคล่องตัวมากขึ้น

🧩 Big Data
ข้อมูลเด็กและเยาวชนของแต่ละหน่วยงานไม่ตรงกันเพราะแต่เดิมต่างคนต่างทำ จึงนำมาสู่การสร้าง “ฐานข้อมูลขนาดใหญ่” ที่มีความถูกต้อง และทุกหน่วยสามารถใช้วิเคราะห์ร่วมกันได้ โดยมีผู้เชี่ยวชาญด้านข้อมูลมาจัดทำ

💚 เสียสละ
การดึงคนจากทุกภาคส่วนที่ปกติเขาไม่ได้มีหน้าที่ต้องทำ ไม่มีเงินเดือนให้ จึงต้องเป็นคนที่มีใจ คนที่เสียสละ และคนที่เห็นประโยชน์ของเยาวชนเป็นที่ตั้ง รวมถึงผู้บริหารหรือหัวหน้างานของพวกเขาก็ต้องเห็นด้วย

🤝 ประสาน
หน่วยงานที่ทำหน้าที่ประสานต้องมีศักยภาพในการสื่อสารเจรจาให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องส่งผู้เชี่ยวชาญมาทำงานร่วมกัน และมีทรัพยากรเพียงพอที่จะทำให้กลไกการทำงานถูกขับเคลื่อนไปได้อย่างคล่องตัว และเป็นที่ไว้เนื้อเชื่อใจของคนในพื้นที่

📍กลไก
เมื่อสามารถนำเด็กกลับสู่ระบบการศึกษาได้ในเบื้องต้น แต่ในระยะยาวจังหวัดจะต้องเสริมกลไกส่วนอื่นเข้าไป เพื่อสร้างเด็กเยาวชนต้นแบบที่มีแผนการช่วยเหลือดูแลและสนับสนุนให้ได้รับการศึกษาตามรูปแบบที่เหมาะสมกับบริบทชีวิตต่อไป

ขณะนี้มี 20 จังหวัดต้นแบบสร้างความเสมอภาคทางการศึกษา ได้แก่ เชียงใหม่ ลำปาง แม่ฮ่องสอน น่าน แพร่ สุโขทัย พิษณุโลก ภูเก็ต สงขลา สุราษฎร์ธานี ยะลา ขอนแก่น อำนาจเจริญ มหาสารคาม นครราชสีมา สุรินทร์ อุบลราชธานี นครนายก ระยอง และกาญจนบุรี

อ่านเพิ่มเติม : ช่วยเด็กเสี่ยงหลุดการศึกษา ด้วยวิธี “หอยใหญ่ ไข่แดง แหล่งธรรมมะ”

ดาวน์โหลดเพิ่มเติม