5 ยุทธศาสตร์เพื่อให้เกิดความเสมอภาคทางการศึกษา

5 ยุทธศาสตร์เพื่อให้เกิดความเสมอภาคทางการศึกษา

สถานการณ์ COVID-19 ได้ขยายช่องว่างความเหลื่อมล้ำและกลายเป็นความท้าทายใหม่ต่อระบบการศึกษาทั่วโลก

ดังนั้นเพื่อเร่งอุดช่องว่างทางการศึกษาจากวิกฤตที่เกิดขึ้นนี้ กสศ. จึงเร่งดำเนินการด้วย 5 ยุทธศาสตร์เพื่อให้เกิดความเสมอภาคกับเด็กเเละเยาวชนไทยโดยเฉพาะกลุ่มเด็กเปราะบาง

1. มองก้าวหน้ากว่าปัญหาที่เป็นอยู่
ก่อนสถานการณ์ของ COVID-19 จะเเพร่ระบาดเป็นวงกว้าง ทีมงาน กสศ. ได้ทำวิจัยกันอย่างเร่งด่วน เพื่อสำรวจผลกระทบที่จะเกิดขึ่้นกับเด็กเเละครอบครัว ทำให้ได้ข้อมูลที่ชี้ให้เห็นว่า หากมีการปิดโรงเรียนจะทำให้เด็กๆ เผชิญกับความอดอยากและหิวโหย โดยเฉพาะเด็กนักเรียนที่อยู่ในครอบครัวยากจนพิเศษ กสศ.จึงทำงานอย่างเร่งด่วน พร้อมอนุมัติเงินฉุกเฉินกว่า 500 ล้านบาทในการช่วยเหลือเด็กที่ขาดเเคลนด้านอาหารกว่า 7 เเสนคน ซึ่งเงินจำนวนนี้เพียงพอเเค่ 30 วัน จึงได้จัดการระดมทุนเพื่อสมทบการช่วยเหลือเด็กๆ ให้ครอบคลุมตลอดปิดเทอมยาว

2. เรื่องปากท้องของเด็กเป็นสิ่งสำคัญ
ไม่ควรมีเด็กคนไหนที่ต้องอดอาหาร การศึกษาที่เสมอภาคมีมากกว่าการสร้างโอกาสทางการศึกษา เเต่ต้องครอบคลุมไปถึงความมั่นคงในชีวิต รวมถึงอาหาร ครอบครัวเเละชุมชนด้วย

3. ปรับเปลี่ยนให้เร็วตามสถานการณ์
การทำงานต้องพร้อมรับความเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ การสร้างความเสมอภาคที่มากกว่าในห้องเรียนด้วยการให้หลักประกันทางสังคมกับเด็กๆ ในทุกด้าน ที่สำคัญคือโรงเรียนต้องพร้อมให้การศึกษากับเด็กได้ทุกที่ ทุกเวลา ไม่ว่าจะเป็นนอกบ้านหรือในพื้นที่สาธารณะ

4. มีความอิสระในการนำเเผนยุทธศาสตร์ไปใช้ได้จริง
– การหาข้อมูลต้องมีประสิทธิภาพ โดยเฉพาะข้อมูลในพื้นที่ที่มีข้อจำกัด เพื่อจะสามารถออกนโยบายที่นำไปปฏิบัติได้จริงในทุกระดับ
– ต้องมีทรัพยากรเพียงพอที่จะขับเคลื่อนให้ทันต่อสถานการณ์เเละสภาพปัญหาที่เเตกต่างกัน และบูรณาการทำงานกันร่วมกันไม่ใช่แค่เพียงในองค์กร กสศ. อย่างเดียว แต่ต้องทำงานร่วมกับภาคส่วนอื่นๆ ด้วย
– วางความเสมอภาคทางการศึกษาเอาไว้เหนืออำนาจทางการเมืองและระบบราชการ ภายใต้รัฐธรรมนูญ ปี 2560 บอร์ดของ กสศ. มีความเป็นอิสระระดับหนึ่งในการที่จะเลือกหรือตัดสินใจ ซึ่งบางครั้งอาจไม่ตรงกับความคิดเห็นของทุกฝ่าย เเต่เป็นสิ่งที่ต้องตัดสินใจเร่งด่วนภายใต้สถานการณ์เร่งด่วนอย่างการระบาด COVID-19 ในครั้งนี้

5. การศึกษาเพื่อปวงชนเป็นเรื่องของทุกคน
การศึกษาไม่ใช่เรื่องของโรงเรียนเพียงอย่างเดียว ทุกคนในสังคมไม่ว่าจะเป็นภาคประชาสังคม เอกชน หรือครอบครัว ต้องทำงานร่วมกันเพื่อจะเเก้ไขที่ยิ่งใหญ่ที่สุดของมวลมนุษยชาติ หลังจากก่อตั้งองค์กรมาเเล้ว 2 ปี นี่เป็นสิ่งที่เราเรียนรู้ ค้นหาประสบการณ์ใหม่ๆ ร่วมกับภาคีเครือข่ายทั่วโลก เพื่อบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนของสหประชาชาติ (Sustainable Development Goals หรือ SDG4)

ดาวน์โหลดเพิ่มเติม