ห้องเรียนฟื้นฟูกล้ามเนื้อบกพร่อง เด็กประถมต้น

ห้องเรียนฟื้นฟูกล้ามเนื้อบกพร่อง เด็กประถมต้น

รอยยิ้มของเด็กคือการประเมินผลที่ดีที่สุดของครู

“หลังจากฟื้นฟูครบ 2 สัปดาห์ก็พบว่าเด็กขาดเรียนและป่วยน้อยลง มีความพร้อมที่จะเรียน มีสมาธิ มีรอยยิ้มมากขึ้น รวมถึงทะเลาะกันน้อยลง การได้เห็นรอยยิ้มของเด็กๆกลับคืนมานั้นทำให้ครูชื่นใจมาก”

ชวนอ่าน ห้องเรียนฟื้นฟู กล้ามเนื้อบกพร่องเด็กประถมต้นใน 14 วัน เป้าหมายเพื่อกระตุ้นการพัฒนากล้ามเนื้อมัดเล็กและกล้ามเนื้อมัดใหญ่ รวมทั้งกระดูกและข้อต่อทั่วร่างกาย ด้วยกิจกรรมหลากหลายรูปแบบ

จากประสบการณ์จริงของเครือข่ายโรงเรียนพัฒนาตนเอง คือ โรงเรียนวัดมุจลินทวาปีวิหาร (เพชรานุกูลกิจ) จังหวัดปัตตานี และโรงเรียนผังปาล์ม 2 จังหวัดสตูล หลังจากฝึกอย่างจริงจังพบว่าเด็กส่วนมากมีค่าแรงบีบมือจาก 7.6 กิโลกรัม เพิ่มเป็น 9.8 กิโลกรัม ทำให้เห็นแนวโน้มที่ดีในการฟื้นฟูเด็กในทุกมิติ

ก่อนหน้านี้ เครือข่ายโรงเรียนพัฒนาตนเอง มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่ ได้สังเกตพฤติกรรมในห้องเรียนของเด็กๆ ชั้น ป.2 จากห้องเรียน 74 โรงเรียน ได้สรุปเป็น14 สัญญาณเตือน “กล้ามเนื้อบกพร่อง” ในเด็กประถมต้น เช่น เด็กพูดเป็นคำๆ ไม่เป็นประโยค ,ท่าทางจับดินสอ เกร็งเมื่อยล้า ,ตอบคำถามได้เป็นคำๆหรือประโยคสั้นๆ ,เด็กจำนวนมากมีอาการทางจิตใจ เช่น เครียด ไม่โต้ตอบ ไม่สื่อสาร แยกตัวจากเพื่อน งอแง ขาดเรียนบ่อย

การสังเกตและดูแลเด็กอย่างใกล้ชิดเป็นรายคน ทำให้คณะครูและทีมโค้ชจากโรงเรียนพัฒนาตนเอง สามารถออกแบบกระบวนการฟื้นฟู ที่หากคุณครูท่านอื่น ๆ ทำความเข้าใจเด็กและลงมือฟื้นฟูอย่างจริงจัง ก็จะทำให้การเรียนรู้ของเด็กค่อย ๆ พัฒนาขึ้นได้ภายในสองสัปดาห์

อ่านรายงานฉบับพิเศษ “ห้องเรียนฟื้นฟูหลังโควิด-19” : รายงานฉบับพิเศษห้องเรียนฟื้นฟูหลังโควิด-19 ภาวะฉุกเฉินทางการเรียนรู้และแนวทางฟื้นฟูให้ดีขึ้นได้ใน 14 วัน ประสบการณ์จากโรงเรียนพัฒนาตนเอง

ดาวน์โหลดเพิ่มเติม