Error Childhood: การเรียนรู้ที่หล่นหาย
โดย : วจนา วรรลยางกูร
วิดีโอ: กอบบุญ บูรโชควิวัฒน์, กมลชนก คัชมาตย์ / ครีเอทีฟ: ธนกร เนตรจอมไพร

Error Childhood: การเรียนรู้ที่หล่นหาย

“เราต้องรู้ว่าปัญหานี้เป็นปัญหาใหญ่ และเป็นปัญหาที่ต้องใช้เวลาในการแก้”

โรคระบาดที่เกิดขึ้นทิ้งบาดแผลหลากรูปแบบให้กับคนแต่ละช่วงวัย สำหรับเด็กปฐมวัยไทย บาดแผลนั้นชื่อว่า ‘ภาวะการเรียนรู้ถดถอย’ หรือ learning loss

จากการทำโครงการสำรวจและประเมินความพร้อมเด็กปฐมวัยเข้าสู่ระบบการศึกษา (School Readiness) โดย รศ.ดร.วีระชาติ กิเลนทอง และคณะ ที่มีการเก็บข้อมูลเด็กก่อนขึ้น ป.1 ทั่วประเทศ ทำให้พบว่าการปิดโรงเรียนส่งผลให้ทักษะการเรียนรู้ของเด็กถดถอยลง

สิ่งสำคัญคือการหาวิธีฟื้นฟูก่อนที่คนรุ่นนี้จะกลายเป็น ‘lost generation’ เมื่อพวกเขาโตไป

101 คุยกับ รศ.ดร.วีระชาติ กิเลนทอง ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยเพื่อการประเมินและออกแบบนโยบาย (RIPED) มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย ถึงความรุนแรงของปัญหาการเรียนรู้ถดถอย และทางออกสู่การฟื้นฟูการเรียนรู้ของเด็กปฐมวัย

อ่านบทสัมภาษณ์ฉบับเต็มได้ที่ : วีระชาติ กิเลนทอง : เด็กเล็กไทยกับ ‘Learning Loss’ บาดแผลทางการศึกษาที่รอเยียวยา


ผลงานชิ้นนี้เป็นส่วนหนึ่งของความร่วมมือระหว่าง กองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (กสศ.) และ The101.world