ของวิเศษจากโดราเอม่อน เป็นจริงในห้องเรียนยังไงได้บ้าง

ของวิเศษจากโดราเอม่อน เป็นจริงในห้องเรียนยังไงได้บ้าง

โดราเอม่อนเดอะมูฟวี่ครบรอบ 50 ปี ?
insKru เลยทำวง PLC เล็ก ๆ ชวนครูเก๋ Kae ครูกร Gone นะโม Namoโมไนย Monai และเอ Tanade มาออกไอเดียกัน

ของวิเศษพี่ม่อน ถ้าเป็นจริงในห้องเรียนได้ จะใช้ยังไงบ้างนะ

 

 

ประตูไปไหนก็ได้ ?
(どこでもドア)

【ประตูเชื่อม】
– VDO Call ให้คนที่เก่งเรื่องต่าง ๆ ช่วยมาพูดคุยและสอนนักเรียนในห้อง
– ชวน Idol ต่าง ๆ มาแนะนำเด็ก ๆ ถึงห้องเรียน
– ให้ครูที่มา Workshop VDO Call ไปเล่าให้เพื่อนครูที่ไม่ได้มาฟังว่าได้เรียนรู้อะไรบ้าง
– เปิดห้องเรียนให้ครู A ครู B ได้มาสอนร่วมกัน
– ประตูเชื่อมไปเจอครูหมวดอื่น ให้ได้มาแลกเปลี่ยน PLC กันแบบสนุกสนาน สานสัมพันธ์
.
【ประตูประหลาดใจ】
– จำลองห้องเรียนให้เด็ก ๆ รู้เหมือนวาร์ปไปที่ต่าง ๆ ได้ ?
– ประตู Random พาเด็ก ๆ ได้ไปเรียนเนื้อหาแปลกใหม่อะไรก็ได้ที่เหนือไปจากในโรงเรียน
– สื่อการสอน ประตู pop-up ลุ้นว่าเปิดมาจะเจออะไรที่เชื่อมโยงกับเนื้อหา เช่น เรียนเรื่องประชาธิปไตย บางคนเปิดเจอรูปอนุสาวรีย์ บางคนเปิดเจอรูปนายก บางคนเปิดเจอรูปหีบเลือกตั้
– ทาสีประตูเป็นสีชมพู แบบประตูไปไหนก็ได้ ทุกครั้งที่คุณครูเข้ามา นักเรียนจะต้องทำอะไรก็ได้ให้เปลี่ยนไปตลอดเวลา
– นักเรียนให้โจทย์ว่าล่วงหน้า สัปดาห์ละครั้งว่าวันนี้อยากให้คุณครูมาแบบไหน ก่อนเข้าประตู เช่น แต่งตัวเริด ๆ พูดแต่ภาษาอังกฤษ มาพร้อมมุกเยอะ ๆ
.
【ประตูไปไหนก็ได้】
– นักเรียนที่ทำตัวดี ตั้งใจเรียน สามารถสะสมแต้มแลกกุญแจไข ไปไหนก็ได้ตามที่ตัวเองต้องการ เช่น ไปงาน Comic-Con ไปคอนเสิร์ต ไปบริษัทยักษ์ใหญ่ ?
– กติกาให้เด็ก ๆ แว๊บไปไหนก็ได้ ไปซื้อขนมก็ได้ ถ้าพร้อมค่อยเข้ามาเรียน

 

 

วุ้นแปลภาษา ?
(ほんやくコンニャク)

【วุ้นเข้าใจ】
– Dictionary ศัพท์แต่ละวัย ให้ครูเข้าใจเด็ก เด็กเข้าใจครูมากขึ้น
– Set คำพูด คำอธิบายสื่อสารให้เด็กเข้าใจเนื้อหาง่ายขึ้น สำหรับแต่ละวิชา เช่น ของวิชาฟิสิกส์
– วุ้น Get แล้ว ! ในแต่ละคาบ ถ้าใครเข้าใจเนื้อหา ให้นำวุ้นมาอยู่กับตัวเอง แล้วทำหน้าที่อาสาอธิบายเรื่องนั้นให้เพื่อน ๆ เข้าใจต่อได้
.
【วุ้นต่อเติม】
– วุ้นหรือลูกอมความสามารถ ถ้าวุ้นนี้หรือลูกอมนี้อยู่ที่ใคร คนนั้นกล้าพูดภาษาอังกฤษโดยไม่กลัวพลาด ?
– วุ้นแปลงเนื้อหา ถ้าวุ้นอยู่ที่ใคร ให้เด็กคนนั้นแปลงเนื้อหามาประยุกต์เข้ากับชีวิตจริง
.
【วุ้นพลังบวก】
– Set คำพูดแทนคำด่า
– Set คำศัพท์ทำให้เสียงครูปกครองนุ่มลง ดุน้อยลง
– Set ประโยคชักชวนเด็ก ให้ทำตามสิ่งที่ครูอยากให้ทำ ไม่ใช่แบบบังคับขู่เข็ญ
– Set คำพูดให้ฟื้นฟูความรู้สึกเด็ก เมื่อครูเผลอด่าไปแล้ว ?

 

 

ไทม์แมชชีน 
(タイムマシン)

【ย้อนสอน】
– ป้ายไทม์แมชชีน “ครูย้อนไปสอนตรงเทื่อกี้ใหม่หน่อยได้ไหม ?”
– ห้องเรียนไทม์แมชชีน เป็นห้องเรียนที่ตั้งว่าวันนี้จะไปเรียนเรื่องไหนซ้ำ สอนใหม่ recap อีกครั้ง สำหรับเด็ก ๆ ที่ยังไม่เข้าใจ หรือทบทวนก่อนสอบ ?‍?
– ย้อนดู Timeline วิวัฒนาการของสิ่งประดิษฐ์ต่าง ๆ ว่าแต่ก่อนเป็นอย่างไร ปัจจุบันเป็นอย่างไร เช่น จากโทรศัพท์สู่สมาร์โฟน วิวัฒนาการของผ้าอนามัย
– ย้อนบรรยากาศ เช่น คาบนี้สอนเรื่องสมัยอยุธยา ก็แต่งธีมเป็นสมัยอยุธยา พูดจา “ออเจ้ามิเข้าใจหรือกระไร ?”
– พาย้อนไปดูว่าอัจฉริยะในอดีต พาไปคุยว่าเขาผลิตความรู้มาได้ยังไง เช่น ตามติดชีวิตไอแซค นิวตัน ให้ครูองค์ลง แล้วให้เด็ก ๆ ถามเหมือนสัมภาษณ์คน ๆ นั้น “คุณคิดแนวคิดนี้มาได้ยังไง ?” เด็ก ๆ ก็จะได้รู้ที่มาที่ไปของความรู้ที่เขาเรียนมากขึ้น หรือไปเจอสุนทรภู่ก็ได้
– สอน Past Tenses, Present Tenses, Future Tenses ผ่าน Time Machine
.
【ย้อนแก้ไข】
– กระดาษมองย้อน เมื่อเด็ก ๆ ทำพลาด ก็ย้อนกลับไปทบทวนสิ่งที่ทำพลาด “จะแก้ไขตรงไหน อย่างไร” ผ่านกระดาษ ปลูกฝัง Mindset พลาดได้ และพัฒนาต่อ 
– สอนเรื่อง cause-effect กฎแห่งกรรม ทำอะไรแล้วส่งผลอะไร ให้เขาตระหนักว่าตอนนี้ควรทำอะไร เพื่อให้อนาคตดีอย่างไร
– ตอนนี้ใครอ้วน ให้ย้อนไปดูว่ากินอะไรมา แล้วจะหุ่นดีต้องกินอะไร
.
【ไปสู่อนาคต】
– ให้เด็ก ๆ ตั้งเป้าว่าอยากเห็นตัวเองเป็นยังไงในอนาคต แล้วมาตั้ง OKRs หรือวิธีว่าจะทำยังไงให้ตัวเองได้เป็นแบบภาพในอนาคต
– ให้นักเรียนสวมบทบาทเป็นตัวเองในอนาคต เช่น ให้เขียนว่าวันตาย คนอื่นจะพูดถึงเราว่าอะไร ความดีที่สั่งสมมามีอะไร แล้วให้เพื่อนอ่านให้ฟัง (มรณานุสติ)
– ให้นักเรียนสมมติว่า ตัวเองได้สรรค์สร้างบางอย่างแก่โลก เขาตายไปแล้วโลกจดจำ เขาจะสร้างอะไร
– ให้เด็ก ๆ สวมบทบาทตัวเองในอนาคตที่เก่ง มีความกล้าแสดงออก พูดภาษาอังกฤษคล่อง ยังไงก็ได้ จากคนขี้อาย ถ้ากลายเป็นคนกล้าแล้วมาหน้าห้อง เขาจะทำยังไง
– พาเด็ก ๆ ศึกษาประวัติศาสตร์ว่าอดีต เรื่องนี้เป็นยังไง ปัจจุบันเป็นยังไง แล้วอนาคตจะเป็นยังไง
– พาครูไปเที่ยว ทัศนศึกษาดูโลกกว้างว่าในอนาคตจะเกิดอะไรขึ้น หรือพาครูไปดูการแข่ง Startup เทคโนโลยีใหม่ ๆ เทรนด์ใหม่ ๆ ที่เกิดขึ้นอยู่ในทั่วทุกมุมโลก ?
– ย้อนไปดูวิวัฒนาการภาษาที่เปลี่ยนไป แล้วพาไปอนาคต ไปสร้างศัพท์ใหม่พร้อมทั้งนิยามความหมายของคำนั้น แล้วมาเรียนรู้ว่าหลักการในการสร้างศัพท์ใหม่นั้นมีอะไรบ้าง

 

 

 

ไฟฉายย่อส่วน ไฟฉายขยายส่วน ?
(スモールライト • ビッグライト)

【ย่อให้จิ๋ว】
– สื่อการสอนแบบ Origami ครูสามารถพับสื่อใหญ่ ๆ ให้เล็กพกง่าย แล้วกางออกมาสอนได้
– ไฟฉายส่องไปที่ใคร แล้วให้คนนั้นย่อเนื้อหาที่ครูสอนให้กระชับเข้าใจง่าย ๆ
– นักเรียนทั้งห้องมีไฟฉายไว้ส่องครูว่าเรื่องนี้เข้าใจแล้ว สอนสั้น ๆ แล้วไปเรื่องอื่นต่อได้
– ถ้านักเรียนมีปัญหา เราก็ฉายไฟได้ว่าเรื่องนี้เป็นปัญหาเล็ก ๆ ไม่ต้องซีเรียส หรือเป็นปัญหาใหญ่ที่เราต้องช่วยกันแก้ไข
.
【ขยายให้ใหญ่】
– ไฟฉายฉายไปที่ใคร คนนั้นต้องขยายความและประยุกต์ได้ว่าเรื่องที่เรียนเอาไปใช้ต่อยังไงได้บ้าง ?
– แจกกระดาษหลายขนาด ให้เด็กสร้างและฝึกทำโจทย์เอง ตั้งแต่โจทย์ง่าย ๆ แก้ลงกระดาษขนาด Post-it – ก็จบ ไปจนถึงขนาด A4 ขนาดฟลิปชาร์ต
– ไฟฉายย่อให้ทุกคนทำโจทย์ง่าย ๆ และไฟฉายขยาย ให้ทุกคนมาช่วยกันทำโจทย์ที่ยากขึ้น
– ไฟฉายย่อ-ขยายการจัดกลุ่ม รอบนี้จัดกลุ่ม 2 คน รอบนี้จับกลุ่ม 7 คน
– ส่องขยายจิตใจนักเรียนว่าตอนนี้รู้สึกอย่างไรอยู่ คิดอะไรอยู่ บอกเล่าให้ทุกคนเข้าใจ
.
【ฉายพลัง】
– ไฟฉายฉายไปที่ใคร คนนั้นจะมีพลังมากขึ้น คนนั้นต้องชมเพื่อน แล้วส่งต่อพลังบวกไปให้เพื่อน ๆ ?
– คุณครูสอดส่องดูว่าตอนนี้เด็กคนไหนไม่มีบทบาทเลย ดูตัวเล็กมากเลยในสังคม แล้วส่องไฟฉายไปให้เขามีพลัง พัฒนาตัวเองให้กลับมามีตัวตนในห้องเหมือนเพื่อน ๆ หรือชวนตั้งคำถาม “เราจะกลับมาตัวใหญ่ได้อย่างไรบ้าง ?”
– ไฟฉายขยายคำชมครู เมื่อเด็กกล้าทำอะไรสักอย่าง หรือทำอะไรได้ดี ครูจะเล่นใหญ่ ชมใหญ่ได้อย่างไรบ้าง
– ไฟฉายส่องไปที่ใคร ทุกคนต้องส่งพลังบวกไปให้คนนั้น ชื่นชมคนนั้น
– ไฟฉายขยายความสุข เมื่อมีคนในห้องกำลังมีความทุกข์ เรามาช่วยขยายความสุขในห้องเรียนด้วยกัน ?
– ไฟฉายอยู่ที่ใคร คนนั้นสามารถขยายคะแนนหรือลดงานได้ (เด็ก ๆ ต้องช่วยกันตั้งใจเรียน ไม่ให้ไฟฉายนี้ตกอยู่ในมือครู ถ้ามีคนแอบหลับ ไม่ตั้งใจเรียน ไฟฉายจะไปอยู่ที่ครู ครูอาจเพิ่มงานหรือลดคะแนนได้)

 

 

 

อปเตอร์ไม้ไผ่ ?
(タケコプター)

【พร้อมลุย】
– ฝึกครูให้มีหลายทักษะ พอเกิดเรื่องก็พร้อมลุย เช่น การปฐมพยาบาล การจัดการนักเรียนตีกัน
.
【ไปด้วยกัน】
– สร้างเครือข่ายครูคอปเตอร์ไม้ไผ่ พร้อมรวมพลังไปสอนร่วมกันในที่ต่าง ๆ
.
【อิสระ】
– เด็กคนไหนเหมื่อลอยแล้ว ก็ติดคอปเตอร์ไม้ไผ่ อนุญาตให้ไปทำตัวเองให้สดชื่นพร้อมเรียนได้ ?
– เด็กคนไหนทำโจทย์เสร็จ ได้รับรางวัลคอปเตอร์ไม้ไผ่ ไปวิ่งเล่นรอบโรงเรียน ไปห้องน้ำ เล่นมือถือได้โดยไม่มีใครว่
– ครูมีโควต้าพาบินออกนอกทะเลได้ หากเด็ก ๆ ตั้งใจเรียนและเข้าใจเนื้อหาแล้ว ครูสามารถเม้าท์มอยเล่าเรื่องราวต่าง ๆ ได้
– ถ้าครูสอนเสร็จแล้ว ให้ครูมีสิทธ์ใช้คอปเตอร์ไม้ไผ่ไปทำภารกิจอื่น ๆ ได้ เช่น งานเอกสาร
– ให้เด็ก ๆ ติดคอปเตอร์ไม้ไผ่ออกไปเรียนเรื่องไหนก็ได้ที่ตัวเองสนใจ
.
【ไปไว】
– มีโควต้าใช้คอปเตอร์ไม้ไผ่ เรียนลัด เหมือนเรียนติวเตอร์ ไม่ต้องเรียนครบ 50 นาที แต่ก็เข้าใจเนื้อหาได้ สำหรับเด็กที่ออกไปทำกิจกรรมนอกโรงเรียนแล้วต้องมาเรียนตามเพื่อนให้ทัน 
.
【มองสูง】
– ให้ตำแหน่งคอปเตอร์ไม้ไผ่กับนักเรียน เสมือนอยู่สูงมองเห็นภาพรวมทั้งห้อง ช่วยคุณครูดูแลเพื่อน ๆ ใครต้องช่วยเหลือยังไงบ้าง
– ในวิชาภูมิศาสตร์ ใครที่มีคอปเตอร์ไม้ไผ่ ให้วาดรูปภูมิประเทศจากมุมมองด้านบน (Bird Eye View) ใครที่ไม่มีก็ให้วาดมุมมองจากด้านล่าง
.
【บินไปก็บินมา】
– ใครที่นั่งหลังห้อง แล้วได้รับคอปเตอร์ไม้ไผ่ ก็ให้บินมาเพื่ออธิบายบางอย่าง พออธิบายเสร็จก็บินกลับไปนั่งที่ ??

 

 

Fan art insIllustrator โดย Chari Hamratanaphon
.
ค้นหาไอเดียอื่น ๆ ได้ที่ https://inskru.com
และกลุ่ม ครูปล่อยของ (เพื่อนพลเรียน)