ร่วมเป็นส่วนเล็กๆ นำการศึกษาไปพัฒนาชุมชนให้ดีขึ้น

ร่วมเป็นส่วนเล็กๆ นำการศึกษาไปพัฒนาชุมชนให้ดีขึ้น

“ครูรัก(ษ์)ถิ่นคือโอกาส การศึกษาต่อของหนูเพื่อกลับไปพัฒนาบ้านเกิด ครอบครัว และชุมชน และไม่ได้มีแค่ชุมชนหนูชุมชนเดียว แต่​ยังมีเครือข่ายครูรัก(ษ์)ถิ่นกระจายตัวอยู่ทั่วประเทศ ที่จะเริ่มจากพัฒนาตัวเอง พัฒนาชุมชน เมื่อรวมกันแล้วก็จะขยายตัวเป็นพลังในการพัฒนาประเทศต่อไป”​

แจ๋ว-สุดารัตน์ เพ็ญคำ นักศึกษาชั้นปีที่ 2 เอกการศึกษาปฐมวัย คณะศึกษาศาสตร์และนวัตกรรมการศึกษา มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์ สมาชิกครูรัก(ษ์)ถิ่นรุ่นแรก ที่กำลังเดินหน้าสะสมความรู้ เก็บเกี่ยวประสบการณ์เพื่อกลับไปบรรจุเป็นครูที่บ้านเกิด โรงเรียนแก้งนาง ตำบลกกตูม อำเภอดงหลวง จังหวัดมุกดาหาร ​

ก่อนหน้านี้แจ๋วเคยมีความมุ่งมั่นตั้งใจอยากเป็นครู เพราะได้รับการดูแลจากคุณครูช่วงวัยเด็กเป็นอย่างดี นอกจากสอนหนังสือปกติแล้ว คุณครูยังคอยดูแล ออกเงินส่วนตัวมาเป็นค่าอาหารกลางวัน เอาใจใส่เหมือนลูกคนหนึ่ง ทำให้ความประทับใจในครั้งนั้นกลายเป็นแรงบันดาลใจที่ทำให้อยากเป็นครู เพื่อส่งต่อโอกาสดีๆ ไปยังเด็กคนอื่น

แต่ด้วยฐานะทางบ้านไม่ดีทำให้ความฝันสะดุดลง ช่วงกำลังจะจบ ม.6 เธอ เตรียมตัวจะหยุดเรียน เข้ามาหางานทำที่กรุงเทพฯ เพื่อแบ่งเบาภาระที่บ้าน ​แต่ “โอกาส” มาถึงหน้าประตูบ้านอีกครั้ง ครูมัธยมที่รู้ว่าแจ๋วมีความมุ่งมั่นตั้งใจอยากเป็นครู เดินทางมาหายายถึงที่บ้านเพื่อชี้แจงว่ามีโครงการครูรัก(ษ์)ถิ่น 

“ที่บ้านไม่เคยมีใครได้เรียนต่อ ส่วนใหญ่จบ ม.6 ก็ออกไปหางานทำกันหมด คุณครูต้องเดินทางมาหาถึงที่บ้าน เพื่ออธิบายให้ยายฟังว่าทุนนี้ให้ทั้งค่าเรียน ค่ากินอยู่ ทุกอย่าง จบมาก็ได้มาบรรจุเป็นครูที่โรงเรียนในชุมชน โน้มน้าวจนคุณยายเห็นด้วย แล้วก็ไปเตรียมเอกสารสมัคร อาจารย์จากมหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์ก็มาสัมภาษณ์ มาดูความเป็นอยู่ที่บ้าน”​

ไม่ใช่แค่ขายฝัน
แต่ต้องลงมือทำก่อนที่จะไปแนะนำชาวบ้าน

หลังประกาศผลว่าได้รับทุนครูรัก(ษ์)ถิ่น ก็เข้ามาเตรียมตัวปรับพื้นฐานความเป็นครูที่มหาวิทยาลัยก่อนเปิดเทอม 12 วัน จากนั้นก็ลงไปเก็บข้อมูลพื้นที่ชุมชนของตัวเอง เพื่อสำรวจปัญหา 

เป้าหมายที่ลงไปสำรวจมีอยู่ 5 ด้าน เช่น การศึกษาก็ไปโรงเรียนที่จะไปบรรจุ สภาพแวดล้อมก็ไปที่เทศบาล อนามัย อำเภอ ความเป็นอยู่ก็ไปที่ชุมชน  แจ๋วพบว่าปัญหาในพื้นที่คือชาวบ้านมีรายได้น้อยจากการเกษตรที่ส่วนใหญ่ปลูกข้าวและมันสำปะหลัง 

ความตั้งใจของแจ๋วคือการพัฒนาด้านการเกษตร ให้มีพืชหมุนเวียนเสริมเพิ่มมากขึ้น เช่น ปลูกกล้วย ถั่ว เพื่อให้มีผลผลิตตลอดทั้งปี ​

“สิ่งสำคัญคือเราต้องทำให้ชาวบ้านเห็นว่าทำได้จริง ไม่ใช่แค่ไปบอกเขาว่าให้ทำอย่างนั้น อย่างนี้เพียงอย่างเดียว หรือแค่ขายฝันเท่านั้น เราต้องทำเป็นตัวอย่าง มีความน่าเชื่อถือ ลงมือเรียนรู้ด้วยตัวเองก่อน เพื่อจะได้ไปบอกเขาได้ ต้องทำแบบนี้ ปลูกแบบนี้ โชคดีมีมหาวิทยาลัย มีศูนย์วิจัยและฝึกอบรมภูสิงห์ ที่เป็นแหล่งเรียนรู้ทั้งด้านการเกษตรและประมง” 

เรื่องการเรียนปัญหาที่พบคือ ผู้ปกครองไม่ได้ให้ความสำคัญกับการศึกษา แต่มุ่งไปที่การทำงานหาเงิน บางครั้งปล่อยให้เด็กเล่นแต่โทรศัพท์ ผลที่ตามมาคือเด็กสมาธิสั้น เราต้องเปลี่ยนความคิดผู้ปกครอง ช่วยกันทำให้เด็กมีความสุขในการเรียน มีพัฒนาการตามวัย และต้องแสดงให้ผู้ปกครองเห็นความสำคัญของการศึกษา สนับสนุนให้บุตรหลานมาเรียน ไม่ออกไปรับจ้างทำงานก่อนเรียนจบ 

​“ตั้งใจว่าอยากจะกลับไปช่วยพัฒนาการศึกษาให้เด็กๆ ได้รับการศึกษาที่เท่าเทียมกับเด็กในเมือง ​สิ่งหนึ่งที่จะทำให้การเรียนมีประสิทธิภาพได้คือ การสอนในสิ่งที่เด็กสนใจ ไม่ใช้วิธีการบังคับ แต่ให้อิสระเลือกว่าเขาอยากทำอะไร เราก็ค่อยๆ ป้อนความรู้ให้เขา เพราะถ้าไปบังคับ เด็กก็จะเครียดและมีทัศนคติไม่ดีต่อการเรียนรู้” 

รู้จักชุมชน รู้จักเด็ก พัฒนาได้ดียิ่งขึ้น

เด็กปฐมวัยเป็นช่วงเวลาที่สำคัญมาก เพราะเป็นก้าวแรกที่จะเติบโตไปสู่โลกกว้าง เราต้องให้ความสำคัญกับพวกเขา ถ้ากลับไปเป็นครูในพื้นที่ก็จะตั้งใจดูแลเด็กๆ ตอนนี้เริ่มออกแบบสื่อการสอนที่จะช่วยพัฒนาเด็ก ซึ่งสื่อการสอนที่ดีไม่จำเป็นต้องแพง แต่สามารถออกแบบเชื่อมโยงจากสิ่งที่อยู่รอบตัว มากระตุ้นความสนใจให้เกิดการเรียนรู้ได้

“ตอนนี้นำแนวการสอนแบบวอลดอร์ฟ มาปรับใช้ในการทำสื่อการสอน ที่เน้นใช้วัสดุจากธรรมชาติ ทั้งดอกไม้ ต้นไม้ สิ่งที่อยู่รอบตัว เช่น กว่าจะเป็นผีเสื้อ ต้องเป็นหนอน เป็นดักแด้มาก่อน สื่อการสอนที่ทำก็จะเป็นกล่องที่ตกแต่งด้วยดอกไม้ มีรูปผีเสื้อเกาะ มีเมฆ เพราะสื่อหนึ่งอาจจะไม่ได้โฟกัสแค่จุดเดียว แต่สามารถปรับเปลี่ยนไปตามสิ่งที่เด็กอยากจะรู้ได้” 

ข้อดีของการเป็นคนในพื้นที่คือทำให้รู้จักชุมชนได้ดีกว่าคนอื่น แก้ปัญหาได้ดีกว่าคนอื่น โดยเฉพาะการที่รู้จักครอบครัวของเด็กๆ ในชุมชนด้วยแล้ว ยิ่งเป็นพื้นฐานที่ดีสำหรับการพัฒนาและช่วยให้ทำงานง่ายขึ้น

“ชุมชนของเรา เราก็อยากเป็นส่วนหนึ่งในการพัฒนาเปลี่ยนแปลงให้ดีขึ้น แม้จะไม่มากนัก แต่ก็ขอเป็นส่วนเล็กๆ ที่นำการศึกษาไปสู่การพัฒนาชุมชนอย่างอย่างยั่งยืน” ​

รายชื่อโรงเรียน พื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้

จังหวัด นราธิวาส จำนวน 4 โรงเรียน

  • โรงเรียนผดุงมาตร
  • โรงเรียนสวนพระยาวิทยา
  • โรงเรียนราชพัฒนา
  • โรงเรียนนราสิกขาลัย

จังหวัดยะลา จำนวน 15 โรงเรียน

  • โรงเรียนไทยรัฐวิทยา 94 (บ้านบ่อน้ำร้อน)
  • โรงเรียนคุรุชนพัฒนา
  • โรงเรียนบ้านตาเซะ
  • โรงเรียนบ้านราโมง
  • โรงเรียนบ้านกาตอง
  • โรงเรียนบ้านหลักเขต
  • โรงเรียนพัฒนาบาลอ
  • โรงเรียนบ้านโกตาบารู
  • โรงเรียนบ้านตะโละหะลอ
  • โรงเรียนบ้านเยาะ
  • โรงเรียนบ้านโต
  • โรงเรียนบ้านลูโบ๊ะปันยัง
  • โรงเรียนบ้านคลองน้ำใส
  • โรงเรียนบ้านสะเอะ
  • โรงเรียนกาบังพิทยาคม

จังหวัดปัตตานี จำนวน 16 โรงเรียน

  • โรงเรียนวุฒิชัยวิทยา
  • โรงเรียนนิคมสร้างตนเองโคกโพธิ์ มิตรภาพที่ 148
  • โรงเรียนบ้านบางมะรวด
  • โรงเรียนบ้านท่าน้ำตะวันออก
  • โรงเรียนบ้านน้ำบ่อ
  • โรงเรียนบ้านปาลัส
  • โรงเรียนบ้านตรัง
  • โรงเรียนบ้านกระเสาะ
  • โรงเรียนบ้านบูดี
  • โรงเรียนบ้านฝาง
  • โรงเรียนบ้านตะโละไกรทอง
  • โรงเรียนบ้านน้ำดำ
  • โรงเรียนบ้านโลทู
  • โรงเรียนบ้านวังกว้าง
  • โรงเรียนสะนอพิทยาคม
  • โรงเรียนวังกะพ้อพิทยาคม

รายชื่อโรงเรียน ภาคตะวันตก

จังหวัดตาก จำนวน 1 โรงเรียน

  • โรงเรียนบ้านร่มเกล้า 2

รายชื่อโรงเรียน พื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้

จังหวัด นราธิวาส จำนวน 6 โรงเรียน

  • โรงเรียนผดุงมาตร
  • โรงเรียนสวนพระยาวิทยา
  • โรงเรียนราชพัฒนา
  • โรงเรียนนราสิกขาลัย
  • โรงเรียนพิทักษ์วิยากุมุง
  • บ้านบูเก๊ะตาโมง มิตรภาพที่ 128

จังหวัดสงขลา จำนวน 20 โรงเรียน

  • โรงเรียนบ้านม้างอน
  • โรงเรียนวัดประจ่า
  • โรงเรียนจะนะชนูปถัมภ์
  • โรงเรียนบ้านป่าโอน
  • โรงเรียนชุมชนนิคม สร้างตนเองเทพา
  • โรงเรียนบ้านกระอาน
  • โรงเรียนบ้านวังใหญ่
  • โรงเรียนเทพา
  • โรงเรียนบ้านป่าเร็ด
  • โรงเรียนบ้านนาปรัง
  • โรงเรียนทับช้างวิทยาคม
  • โรงเรียนชุมชนบ้านนากัน
  • โรงเรียนบ้านโคกตก
  • โรงเรียนบ้านคอลอมุดอ
  • โรงเรียนบ้านบาโหย
  • โรงเรียนเขาแดงกุศลวิทยา
  • โรงเรียนบ้านเขาพระ
  • โรงเรียนบ้านพระพุทธ
  • โรงเรียนบ้านปากบางนาทับ
  • โรงเรียนบ้านคูนายสังข์

จังหวัดยะลา จำนวน 10 โรงเรียน

  • โรงเรียนบ้านราโมง
  • โรงเรียนพัฒนาบาลอ
  • โรงเรียนบ้านโกตาบารู
  • โรงเรียนบ้านตะโละหะลอ
  • โรงเรียนบ้านคลองน้ำใส
  • โรงเรียนบ้านสะเอะ
  • โรงเรียนกาบังพิทยาคม
  • บ้านด่านสันติราษฎร์
  • อัยเยอร์เวง
  • บ้านจุโป

จังหวัดปัตตานี จำนวน 8 โรงเรียน

  • โรงเรียนวุฒิชัยวิทยา
  • โรงเรียนบ้านกระเสาะ
  • โรงเรียนบ้านตะโละไกรทอง
  • โรงเรียนบ้านน้ำดำ
  • โรงเรียนบ้านโลทู
  • โรงเรียนบ้านวังกว้าง
  • โรงเรียนวังกะพ้อพิทยาคม
  • บ้านบางทัน

รายชื่อโรงเรียน ภาคตะวันตก

จังหวัดตาก จำนวน 1 โรงเรียน

  • โรงเรียนบ้านร่มเกล้า 2