ความเหลื่อมล้ำทางการศึกษาหลังโควิด-19: ครูไทยต้องปรับตัวอย่างไร?

ความเหลื่อมล้ำทางการศึกษาหลังโควิด-19: ครูไทยต้องปรับตัวอย่างไร?

พอล คอลลาร์ด (Paul Collard) คือนักการศึกษาที่มีประสบการณ์ในการปฏิรูปการเรียนรู้มาอย่างยาวนาน เขาเป็นหัวเรือสำคัญของรัฐบาลสหราชอาณาจักรเมื่อเริ่มโครงการ Creative Partnerships ซึ่งเป็นโครงการปฏิรูปการเรียนรู้ แต่สิ่งที่ทำให้เขาเป็นที่รู้จักมากขึ้นในระดับนานาชาติ คือการตั้งมูลนิธิ Creativity, Culture and Education (CCE) หลังอำลาตำแหน่งที่ปรึกษารัฐบาล ซึ่งมุ่งทำงานด้านการศึกษาในหลายมิติตั้งแต่ การทำวิจัย การเป็นที่ปรึกษาให้กับองค์กรรัฐหลายประเทศ รวมถึงการลงพื้นที่เพื่อสร้างการเปลี่ยนแปลงโดยตรง โดยอาศัยแนวคิด ‘การเรียนรู้เชิงสร้างสรรค์’ (Creative Education) ซึ่งเขาและทีม CCE พัฒนาขึ้นเป็นจุดขายสำคัญ

ในฐานะที่พอลสนใจความเหลื่อมล้ำทางการศึกษาเป็นการเฉพาะ สถานการณ์การระบาดของไวรัสโดวิด-19 ซึ่งถ่างความเหลื่อมล้ำดังกล่าวออกไปอีก กสศ. จึงชวนเขามานั่งคุยถึงผลกระทบที่เขามองเห็นในไทย และคำแนะนำที่เราคิดว่าทุกคนที่เกี่ยวข้องกับระบบการศึกษาควรรับฟัง

 

Q: สถานการณ์การระบาดของไวรัสโควิด-19 ส่งผลกระทบต่อการทำงานของครูอย่างไร? โดยเฉพาะในช่วงเวลานี้ที่เด็กนักเรียนเริ่มทยอยกลับมาเรียนในห้องเรียนอีกครั้ง

ผมคิดว่า สถานการณ์ทางการศึกษาในยุโรปได้รับผลกระทบจากโควิด-19 ที่รุนแรงกว่ามากเมื่อเทียบกับสถานการณ์ทางการศึกษาในไทย เพราะว่าในยุโรปมีเด็กที่ห่างหายไปจากโรงเรียนนานนับปีอยู่จำนวนหนึ่ง และต้องโดนล็อคดาวน์จำกัดพื้นที่อยู่แต่ภายในบ้าน ไม่สามารถออกไปไหนได้ โดยสถานการณ์เหล่านี้เป็นสิ่งที่เราไม่สามารถรู้ผลกระทบของมันได้จริงๆ ไม่มีงานวิจัยที่จัดทำอย่างเป็นระบบเพื่อจะได้รู้ว่ามีผลกระทบอะไรบ้างที่เกิดขึ้นกับบรรดานักเรียน

ดังนั้น สิ่งที่เราพูดคุยกันอยู่ในขณะนี้คือการพูดในเชิงทฤษฎีเท่านั้น เรารู้ว่าเด็กนักเรียนส่วนหนึ่งไม่สามารถเรียนหรือทำการบ้านได้ทันตามที่ได้รับมอบหมายได้ ยกเว้นแต่เพียงเด็กนักเรียนเพียงกลุ่มเล็กๆ กลุ่มหนึ่งเท่านั้น ส่วนแนวคิดที่ให้ครูคิดการบ้านออนไลน์มากๆ แล้วส่งไปให้เด็กๆ ที่นั่งอยู่ที่บ้านทำการบ้านอย่างมีความสุขก็เป็นที่รู้กันว่าเป็นไปไม่ได้

ทุกคนคงรู้แล้วว่าพ่อแม่ไม่ใช่ครูผู้สอน และพวกเขาก็คงรู้ตัวแล้ว และผมคิดว่าพ่อแม่คงคาดหวังกับครูอาจารย์ไว้อย่างมาก โดยเฉพาะหลังจากเหตุการณ์การระบาดของไวรัสโควิด-19 จบลง อย่างไรก็ตาม ผลกระทบที่แท้จริงกลับตกอยู่กับเด็กนักเรียนมากกว่า ซึ่งเป็นสิ่งที่เรายังไม่รู้ และเป็นสิ่งที่เราค่อนข้างกังวลมากที่สุด

พอล คอลลาร์ด (Paul Collard)

ถึงแม้ ผมคิดว่าเด็กและเยาวชนเป็นกลุ่มที่ค่อนข้างมีความยืดหยุ่น (resilience) พอสมควรที่จะสามารถฟื้นตัวกลับมาได้อย่างรวดเร็ว  แต่ใครจะรู้ว่าพวกเขาเหล่านี้สูญเสียการเรียนรู้ไปมากน้อยแค่ไหนอย่างไร แล้วเราจะทำอย่างไรเพื่อให้สิ่งที่เสียไปฟื้นกลับมา ถ้าเด็กๆ เข้าถึงความรู้ที่เราคิดว่าต้องรู้เพียงแค่ 2 ใน 3 จะถือว่าด้อยการศึกษาหรือมีการศึกษาน้อยหรือไม่ หรือถ้าเด็กเหล่านี้สอบไม่ผ่านเอาใบประกาศรับรองวุฒิมาไม่ได้ จะหมายความว่าเด็กเหล่านี้ไม่สามารถใช้ชีวิตในฐานะผู้ใหญ่คนหนึ่งในสังคมได้อย่างราบรื่นหรือเปล่า ทั้งหมดนี้เป็นสิ่งที่ผมรู้สึกสงสัยอย่างมาก

ดังนั้น ความวิตกตื่นตระหนักต่อสถานการณ์ที่เกิดขึ้นเหล่านี้ทั้งหมด จึงยังไม่ใช่ประเด็นที่น่ากังวลอย่างแท้จริง คนทั่วไปน่าจะปรับตัวให้เข้ากับสถานการณ์ท่ามกลางความรู้ที่ได้จากการเรียนรู้ที่ลดลงได้ เพราะตราบใดที่พวกเขาตระหนักรู้และหากระบวนการเพื่อเรียนรู้ให้ได้ความรู้เพื่อก้าวผ่านสถานการณ์ดังกล่าว เมื่อพวกเขาตัดสินใจแล้ว ย่อมรู้ว่าจำเป็นต้องหาทางเรียน ซึ่งเงื่นไขดังกล่าวเกิดขึ้นในสังคม พวกเขารู้แล้วว่าไม่จำเป็นต้องมีครูก็หาทางเรียนรู้ต่อไปด้วยตัวเองได้ สำหรับผม ประเด็นที่น่าวิตกกังวลยิ่งกว่าก็คือผลกระทบต่อสุขภาพร่างกายและชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีของประชาชน เพราะต้องยอมรับว่า เราเป็นสิ่งมีชีวิตที่เป็นสัตว์สังคมอย่างแท้จริง แล้วแง่มุมในการพัฒนาทางสังคมถือเป็นพื้นฐานที่สำคัญต่อการดำรงชีวิตของมนุษย์

แน่นอนว่า มีเด็กหลายกลุ่มที่มีปัญหาต่อการเรียนรู้ในการเข้าสังคม เช่น เด็กออทิสติก ซึ่งเป็นกลุ่มที่คุณรู้แน่ๆ ว่า การเข้าสังคมไม่มีผลช่วยพัฒนาการเรียนรู้ของเด็กเหล่านี้ แต่โดยพื้นฐานแล้ว คุณไม่สามารถแยกสังคมออกจากการเรียนรู้ของเด็กได้ แต่มันก็เกิดขึ้นแล้ว เพราะเด็กถูกบังคับให้อยู่แต่ภายในบ้าน ไม่ได้เจอเพื่อนๆ และไม่ได้เจอสังคมใดๆ และผมก็ไม่เชื่อว่าเงื่อนไขที่เกิดขึ้น จะไม่ส่งผลกระทบทางลบต่อชีวิตและการพัฒนาของเยาวชนคนหนึ่งในสังคมในภายหลังได้ เราจำเป็นที่จะต้องหาทางทดแทนชดเชยสิ่งที่สูญเสียไปเหล่านี้

สำหรับบทเรียนทั้งหมดที่ได้เรียนรู้จากโควิด-19 หนึ่งในนั้นก็คือการเรียนรู้ที่จะดำรงชีวิตอยู่โดยไม่มีคนอื่นในช่วงระยะเวลาหนึ่้ง อาจหลายสัปดาห์หรือหลายเดือน ขณะเดียวกันสิ่ งที่เด็กเหล่านี้ได้เรียนรู้ส่วนใหญ่ก็คือการเรียนรู้ที่จะใช้ชีวิตอยู่กับผู้ปกครองซึ่งในความเป็นจริงทักษะเหล่านี้ไม่ได้จำเป็นสักเท่าไรนัก เพราะเรารู้ว่าวันหนึ่ง เด็กๆ ต้องเดินจากอ้อมอกของพ่อแม่ไปอยู่แล้ว พ่อแม่ไม่ใช่คนที่พวกเขาต้องใช้ชีวิตที่เหลืออยู่ด้วย เด็กๆ เหล่านี้ต้องรู้ว่าคนในสังคมภายนอกต่างหากที่พวกเขาต้องใช้ชีวิตอยู่ด้วย ซึ่งการเรียนรู้ที่ว่านี้ ได้หายไป

อย่างไรก็ตาม สิ่งที่สำคัญเหนือสิ่งอื่นใด ก็คือ สุขภาพ สวัสดิภาพ และชีวิตความเป็นอยู่ที่ดี (wellbeing) ของเด็กเหล่านี้ต่างหากที่น่าเป็นห่วงว่าจะได้รับผลกระทบในทางที่แย่ลง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง รูปแบบของสวัสดิภาพที่เด็กต้องตระหนักว่า เขาจะมีชีวิตที่มีสุขภาพที่ดี ความรู้สึกว่าตนเองสามารถควบคุมดูแลชีวิตของตนเองได้ เป็นผู้ที่รับผิดชอบต่อชีวิตความเป็นอยู่ของตนเอง เป็นบ่อเกิดของพฤติกรรมของพวกเขาเอง

แต่โควิด-19 ทำให้ความรู้สึกตรงนี้หายไป พวกเขาไม่รู้สึกว่าตนเองต้องรับผิดชอบหรือรู้สึกใดๆ กับพฤติกรรมและผลใดๆ ที่เกิดจากการกระทำของตนเอง ทั้งนี้ ในความเห็นของผม ผลลัพธ์ดังกล่าวจะสร้างความเสียหายรุนแรงในชีวิตและพัฒนาการของเด็กเหล่านี้

ผมได้เห็นระบบของโรงเรียนหลายแห่งเตรียมพร้อมสำหรับการกลับมาเรียนที่โรงเรียนของเด็กเหล่านี้ ด้วยการวางแผนว่าจะให้เด็กลงมือทำโน่น นั่น นี่ ซึ่งสำหรับผม แนวทางดังกล่าวเป็นวิธีที่ผิด 100%  โดยสิ่งที่สำคัญที่สุดและจำเป็นที่โรงเรียนจะต้องทำมากกว่าก็คือการนั่งหันหน้าเข้าหาเด็กเหล่านี้แล้วถามว่า “เธออยากจะทำอะไรในตอนนี้” “เธอคิดว่าเธอสูญเสียอะไรหรือทำอะไรหายไป” “แล้วเธอจะอยากจะพัฒนาต่อจากจุดนี้ไปอย่างไร”

ทั้งหมดเป็นไปเพื่อฟื้นฟูความรู้สึกของเด็กๆ ที่จะตระหนักรู้ได้ว่าตนเองต้องสามารถควบคุมดูแลรับผิดชอบชีวิตความเป็นอยู่ของตนเองให้ดีไว้ให้ได้ เด็กๆ จะเป็นคนออกแบบวางแผนชีวิตการเรียนรู้ที่โรงเรียนของตนเองว่าจะทำอย่างไร รวมถึงออกแบบว่าอะไรเป็นสิ่งสำคัญลำดับแรกสำหรับพวกเขา เพราะนั่นเป็นหนทางเดียวที่จะทำให้การมีสวัสดิภาพที่ดี ซึ่งเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุดของเด็กฟื้นคืนกลับมาได้

 

Q : คำแนะนำถึงโรงเรียนที่รับนักเรียนกลับมาเรียนที่โรงเรียนอีกครั้ง หลังจากห่างหายไปนาน โดยหลายคนต้องเผชิญกับการสูญเสียการเรียนรู้ ในช่วงที่หยุดเรียน เพราะขาดอุปกรณ์การเรียนหรือเข้าไม่ถึงอินเตอร์เน็ต โรงเรียนสมควรรับมือหรือเตรียมพร้อมอย่างไร?

คือจริงๆ แล้ว เราไม่รู้ว่ามีภาวะถดถอยทางการเรียนรู้เกิดขึ้นจริงหรือไม่ เท่าที่ผมรู้จักยังไม่มีใครลงมือทำการสำรวจในหัวข้อดังกล่าวอย่างจริงจังเกี่ยวกับผลกระทบหลังการล็อคดาวน์โรงเรียนเพราะโควิด-19 มันอาจจะเป็นหนึ่งในปัญหาที่เกิดขึ้นแต่เราไม่รู้ว่าจริงหรือไม่ ซึ่งสิ่งที่ผมอยากจะบอกต่อจากนี้ก็คือความวิตกกังวลดังกล่าวทำให้พวกเขาหลงลืมไปว่าอะไรเป็นสิ่งที่พวกเขาควรจะต้องลงมือทำต่อไป

ทั้งนี้ ในแวดวงการศึกษานั้น ล้วนมีภาวะถดถอยทางการเรียนรู้เกิดขึ้นได้เสมอ อย่างผมเอง ตอนเรียนอยู่โรงเรียน หลังจากผมสอบผ่านแล้ว ผมก็ลืมเกือบทุกอย่างที่ผมเรียนไปหมดแล้ว แล้วมันเป็นปัญหาหรือเปล่า ก็ไม่ เพราะความรู้เหล่านี้ไม่ใช่สิ่งที่สำคัญจำเป็นสำหรับชีวิต ซึ่งเท่าที่ผมเห็นว่า สถานการณ์ดังกล่าวก็เป็นข้อเท็จจริงสำหรับคนส่วนใหญ่ในสังคมที่ว่า การเรียนการสอนในการศึกษา ก็คือเราเรียน เราสอบ แล้วเราก็ลืม มันเป็นสิ่งธรรมดาสามัญมากๆ เมื่อถามว่า นั่นเป็นปัญหาหรือไม่ เราตอบได้ว่าเราไม่รู้

ขณะเดียวกัน ในความเป็นจริง โควิด-19 ก็ทำให้เรามองเห็นโอกาสอีกมากที่จะได้มองและปรับปรุงหลักสูตรการเรียนการสอน โดยคำนึงถึงข้อเท็จจริงที่ว่า วิชาการหรือสิ่งที่เรียนรู้ในหลักสูตรเหล่านี้มีความจำเป็นต่อชีวิตมากน้อยแค่ไหน เราจำเป็นต้องเรียนจริงๆ หรือไม่ และผมก็ได้สังเกตเห็นว่า ในบางประเทศ การถกเถียงในหัวข้อดังกล่าวได้มีการเริ่มต้นขึ้นแล้ว และเดินหน้าต่อไปอย่างดี ออกดอกออกผลพอสมควร

ยกตัวอย่างเช่นในประเทศหนึ่งที่ผมได้มีโอกาสเข้าร่วมหารือ ประเด็นที่พวกเขาสนใจคุยกันขณะนี้ก็คือ การหารยาว (long division) ว่าวิธีการคำนวณแบบนี้เป็นสิ่งจำเป็นที่เด็กๆ จะต้องเรียนจริงเหรอก็ในเมื่อพวกเขามีเครื่องคิดเลขให้กดอยู่แล้วนี่ สิ่งที่เด็กต้องรู้และเข้าใจก็คือแนวคิดของวิธีการหาร ซึ่งก็ใช้เวลาแค่ 20 นาทีเท่านั้น แต่ความเป็นจริงก็คือ พวกเขาให้เด็กฝึกหารหลายต่อหลายชั่วโมงจนคล่องแคล่ว สิ่งที่ผมอยากถามก็คือ แล้วมันจำเป็นจริงๆ เหรอที่เด็กเหล่านี้ต้องมาเรียนการหารเลขแบบนี้ โดยอย่างน้อยโรงเรียนในระบบการศึกษาดังกล่าวก็มีการพูดคุยหารือในประเด็นเหล่านี้อย่างมีเหตุมีผล หารือเกี่ยวกับการปรับทอนหลักสูตรให้กระชับขึ้น นี่คือโอกาสที่โควิด-19 ทำให้เห็นว่าหลักสูตรการเรียนการสอนของหลายๆ ประเทศ ค่อนข้างกำกวมไม่ชัดเจน จนกลายเป็นว่าทำให้เด็กไม่ได้เรียนรู้อะไรเลย

แต่เราไม่มีเวลาที่จะแก้ปัญหาไปเรื่อยๆ อีกต่อไปแล้วเช่นกัน ตอนนี้ จำเป็นต้องมีการพูดคุยหารือที่มีวุฒิภาวะอย่างจริงจัง เกี่ยวกับสิ่งที่เกิดขึ้นว่าควรค่าแก่การใส่ใจมากน้อยแค่ไหน มันมีบ้างแหละ ในบางวิชาบางทักษะที่เราจำเป็นต้องฟื้นฟูทบทวนให้ชัดเจนและเป็นรูปธรรม ไม่เช่นนั้น ระบบการศึกษาในแบบองค์รวมไม่รอดแน่ๆ

รายชื่อโรงเรียน พื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้

จังหวัด นราธิวาส จำนวน 4 โรงเรียน

  • โรงเรียนผดุงมาตร
  • โรงเรียนสวนพระยาวิทยา
  • โรงเรียนราชพัฒนา
  • โรงเรียนนราสิกขาลัย

จังหวัดยะลา จำนวน 15 โรงเรียน

  • โรงเรียนไทยรัฐวิทยา 94 (บ้านบ่อน้ำร้อน)
  • โรงเรียนคุรุชนพัฒนา
  • โรงเรียนบ้านตาเซะ
  • โรงเรียนบ้านราโมง
  • โรงเรียนบ้านกาตอง
  • โรงเรียนบ้านหลักเขต
  • โรงเรียนพัฒนาบาลอ
  • โรงเรียนบ้านโกตาบารู
  • โรงเรียนบ้านตะโละหะลอ
  • โรงเรียนบ้านเยาะ
  • โรงเรียนบ้านโต
  • โรงเรียนบ้านลูโบ๊ะปันยัง
  • โรงเรียนบ้านคลองน้ำใส
  • โรงเรียนบ้านสะเอะ
  • โรงเรียนกาบังพิทยาคม

จังหวัดปัตตานี จำนวน 16 โรงเรียน

  • โรงเรียนวุฒิชัยวิทยา
  • โรงเรียนนิคมสร้างตนเองโคกโพธิ์ มิตรภาพที่ 148
  • โรงเรียนบ้านบางมะรวด
  • โรงเรียนบ้านท่าน้ำตะวันออก
  • โรงเรียนบ้านน้ำบ่อ
  • โรงเรียนบ้านปาลัส
  • โรงเรียนบ้านตรัง
  • โรงเรียนบ้านกระเสาะ
  • โรงเรียนบ้านบูดี
  • โรงเรียนบ้านฝาง
  • โรงเรียนบ้านตะโละไกรทอง
  • โรงเรียนบ้านน้ำดำ
  • โรงเรียนบ้านโลทู
  • โรงเรียนบ้านวังกว้าง
  • โรงเรียนสะนอพิทยาคม
  • โรงเรียนวังกะพ้อพิทยาคม

รายชื่อโรงเรียน ภาคตะวันตก

จังหวัดตาก จำนวน 1 โรงเรียน

  • โรงเรียนบ้านร่มเกล้า 2

รายชื่อโรงเรียนที่ได้รับทุนการศึกษาผ่านโครงการ Million Gift Million Smiles

จังหวัดเชียงราย จำนวน 1 โรงเรียน

  • โรงเรียนราชประชานุเคราะห์ 15
    (เวียงเก่าแสนภูวิทยาประสาท)

จังหวัดเชียงใหม่ จำนวน 3 โรงเรียน

  • โรงเรียนชลประทาน
    เขื่อนแม่กวงจิราธิวัฒน์อุปถัมภ์
  • โรงเรียนบ้านโป่งน้อย
  • โรงเรียนวัดสันคะยอม

จังหวัดลำปาง จำนวน 1 โรงเรียน

  • โรงเรียนวัดเสด็จ

จังหวัดพิษณุโลก จำนวน 1 โรงเรียน

  • โรงเรียนบ้านท่าข้าม

จังหวัดตาก จำนวน 3 โรงเรียน

  • โรงเรียนบ้านร่มเกล้า 2
  • โรงเรียนบ้านร่มเกล้า 4
  • โรงเรียนบ้านห้วยไม้แป้น

จังหวัดนครศรีธรรมราช จำนวน 4 โรงเรียน

  • โรงเรียนบ้านควนเงิน
  • โรงเรียนบ้านท่าไทร
  • โรงเรียนวัดชะอวด
  • โรงเรียนวัดไม้เสียบ

จังหวัดตรัง จำนวน 11 โรงเรียน

  • โรงเรียนท่างิ้ว (ต.ช.ด.อุปถัมภ์)
  • โรงเรียนบ้านเกาะเคี่ยม
  • โรงเรียนบ้านคลองคุ้ย
  • โรงเรียนบ้านช่องลม
  • โรงเรียนบ้านทอนเหรียน
  • โรงเรียนบ้านท่าส้ม
  • โรงเรียนบ้านบางสัก
  • โรงเรียนบ้านวังลำ
  • โรงเรียนวัดทุ่งหินผุด
  • โรงเรียนวัดวารีวง
  • โรงเรียนหาดทรายทอง

จังหวัดนราธิวาส จำนวน 6 โรงเรียน

  • โรงเรียนนราสิกขาลัย
  • โรงเรียนบ้านบูเก๊ะตาโมงมิตรภาพที่ 128
  • โรงเรียนผดุงมาตร
  • โรงเรียนพิทักษ์วิยากุมุง
  • โรงเรียนราชพัฒนา
  • โรงเรียนสวนพระยาวิทยา

จังหวัดพังงา จำนวน 2 โรงเรียน

  • โรงเรียนวัดนิโครธาราม
  • โรงเรียนวัดสุวรรณาวาส

จังหวัดปัตตานี จำนวน 8 โรงเรียน

  • โรงเรียนบ้านกระเสาะ
  • โรงเรียนบ้านตะโละไกรทอง
  • โรงเรียนบ้านน้ำดำ
  • โรงเรียนบ้านบางทัน
  • โรงเรียนบ้านโลทู
  • โรงเรียนบ้านวังกว้าง
  • โรงเรียนวังกะพ้อพิทยาคม
  • โรงเรียนวุฒิชัยวิทยา

จังหวัดยะลา จำนวน 10 โรงเรียน

  • โรงเรียนกาบังพิทยาคม
  • โรงเรียนบ้านโกตาบารู
  • โรงเรียนบ้านคลองน้ำใส
  • โรงเรียนบ้านจุโป
  • โรงเรียนบ้านด่านสันติราษฎร์
  • โรงเรียนบ้านตะโละหะลอ
  • โรงเรียนบ้านราโมง
  • โรงเรียนบ้านสะเอะ
  • โรงเรียนพัฒนาบาลอ
  • โรงเรียนอัยเยอร์เวง

จังหวัดสงขลา จำนวน 18 โรงเรียน

  • โรงเรียนเขาแดงกุศลวิทยา
  • โรงเรียนจะนะชนูปถัมภ์
  • โรงเรียนชุมชนนิคมสร้างตนเองเทพา
  • โรงเรียนชุมชนบ้านนากัน
  • โรงเรียนทับช้างวิทยาคม
  • โรงเรียนเทพา
  • โรงเรียนบ้านเขาพระ
  • โรงเรียนบ้านคอลอมุดอ
  • โรงเรียนบ้านคูนายสังข์
  • โรงเรียนบ้านโคกตก
  • โรงเรียนบ้านนาปรัง
  • โรงเรียนบ้านบาโหย
  • โรงเรียนบ้านปากบางนาทับ
  • โรงเรียนบ้านป่าเร็ด
  • โรงเรียนบ้านพระพุทธ
  • โรงเรียนบ้านม้างอน
  • โรงเรียนบ้านม้างอน
  • โรงเรียนวัดประจ่า