อนาคตบทต่อไปของ E-Learning เติมเต็มชีวิตได้มากกว่าโซเชียลมีเดีย

อนาคตบทต่อไปของ E-Learning เติมเต็มชีวิตได้มากกว่าโซเชียลมีเดีย

การเรียนออนไลน์ได้เป็นรูปแบบการศึกษาที่เปลี่ยนแปลงบทบาทของการเรียนรู้สู่ทิศทางในอนาคต ทั้งยกระดับการศึกษาให้สามารถเข้าถึงได้มากขึ้น และเป็นช่องทางในการนำเสนอแหล่งข้อมูลสำหรับการเรียนรู้ที่เป็นประโยชน์ภายใต้ความไม่แน่นอนที่ผ่านมา ในช่วงการล็อคดาวน์ได้เผยให้เห็นความต้องการการเรียนออนไลน์และการเรียนผ่านโลกเสมือนที่เพิ่มขึ้นอย่างฉับพลัน

ยิ่งช่วงเวลาแห่งการล็อคดาวน์ยาวนานขึ้นเท่าไหร่ ผู้คนก็ยิ่งค้นพบว่าได้มีเวลามากมายที่เหลือใช้อย่างที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน และมีความต้องการที่จะใช้เวลาไปอย่างมีประสิทธิภาพ ด้วยการลงทะเบียนเรียนออนไลน์ในวิชาที่สนใจ หรือเมื่อก่อนที่อาจไม่มีเวลามากพอต่อการลงเรียนมาก่อน

แพลทฟอร์มสำหรับคอร์สออนไลน์อย่าง edX FutureLearn และ Coursera เป็นที่ต้องการอย่างมากสำหรับผู้เรียนทุกวัย รวมถึงการเปิดคอร์สเรียนออนไลน์ Massive Open Online Courses (MOOCs) ที่ทำให้ผู้คนเรียนได้จากที่บ้าน โดย MOOCs  นั้นมีเป้าหมายที่ส่งเสริมการศึกษาในระดับที่สูงขึ้นให้สามารถเข้าถึงได้สำหรับทุกคน ไม่มีการจำกัดจำนวนผู้เรียนที่สามารถลงทะเบียนได้ สถาบันการศึกษาชั้นนำอย่าง Harvard และ MIT เองก็เปิดหลักสูตรการเรียนออนไลน์เกี่ยวกับธุรกิจและวิทยาศาสตร์คอมพิวเตอร์สำหรับบุคคลที่สนใจ

แพลทฟอร์มเรียนรู้ออนไลน์ระดับโลกอย่าง Coursera มีจำนวนผู้ลงทะเบียนเรียนมากกว่า 10.3 ล้านบัญชีในปี 2020 เพิ่มขึ้น 644% จากปีก่อนหน้า ตลาดของการเรียนออนไลน์นั้นสามารถคาดการณ์การเติบโตเป็นมูลค่ามากถึงพันล้านดอลล่าร์สหรัฐในช่วงระหว่างปี 2020-2024 โดยมี CAGR (Compound Annual Growth Rate) หรืออัตราการเติบโตโดยเฉลี่ยต่อปีที่ 9% (ข้อมูลวิจัยตลาดจาก ReportLinker) ท่ามกลางมวลของความล่มสลายทางเศรษฐกิจที่กำลังเกิดขึ้นไปทั่วโลก เรามาดูกันว่าการเรียนรู้ด้วยตัวเองผ่านแพลทฟอร์มดิจิทัลนั้นเป็นวิธีการหนึ่งในการสร้างให้เกิดความรู้สึกมั่นใจและการสร้างความพึงพอใจได้อย่างไร

 

ได้รับการเติมเต็มความสุขในระยะยาว

การเรียนแบบอี-เลิร์นนิ่งได้มอบความรู้สึกเชิงลึกในมิติด้านการ วิดีโอเกม หรือแพลทฟอร์มสตรีมมิ่ง

เจมส์ วอลล์แมน (James Wallman) นักอนาคตศาสตร์และนักเขียนหนังสือชื่อ Time and How to Spend It ตั้งประเด็นเกี่ยวกับการพัฒนาตนเองจากการเรียนออนไลน์ว่าเป็นการสร้างความสุขและความรู้สึกพึงพอใจในระยะยาว โดยคอร์สเรียนออนไลน์และการฟังบรรยายอาจไม่ได้สร้างความพึงพอใจแบบทันด่วนเหมือนอย่างเวลาที่เราดูฟีดในโซเชียลมีเดีย หรือหารายการในสตรีมมิ่งต่างๆ ดู แต่การเรียนออนไลน์นั้นให้ผลที่มีประสิทธิภาพเป็นความรู้สึกถูกเติมเต็มในระยะยาวมากกว่า

ผู้คนเริ่มมองหาวิธีใช้เวลาในด้านบวกและส่งผลดีต่อสุขภาพจิตมากขึ้น การเรียนออนไลน์เป็นหนึ่งในวิธีที่ช่วยให้ผู้คนหันมาดูเเลสุขภาพความเป็นอยู่ที่ดีและใช้เวลาอย่างคุ้มค่ามากขึ้น Coursera เองพบว่ามีบัญชีผู้ใช้ลงทะเบียนเรียนออนไลน์เพิ่มขึ้น 8 เท่าในรายวิชาที่เกี่ยวกับสังคมศาสตร์ การพัฒนาตัวเอง ศิลปะและมนุษยศาสตร์มากขึ้นนับตั้งแต่เกิดสถานการณ์ Covid-19 โดยมีผู้คนกว่า 500,000 คนลงทะเบียนเรียนวิชาวิทยาศาสตร์ด้านความเป็นอยู่ที่ดี (Science of Well Being) เพิ่มขึ้นอย่างมากในช่วงปลายเดือนมีนาคมที่ผ่านมา

กลุ่มคนสร้างสรรค์และนักวิชาการต่างๆ ได้ร่วมกันออกแบบคอร์สเรียนเอง ทั้งแบ่งปันแบบไม่มีค่าใช้จ่ายและมีค่าใช้จ่ายในการลงทะเบียนเพื่อเป็นแหล่งรายได้อีกทางหนึ่ง แพลทฟอร์มแชร์คอร์สออนไลน์อย่าง Teachable มีรายรับเพิ่มขึ้นเป็นสองเท่าในระยะเวลาสองเดือน ระหว่างกุมภาพันธ์ถึงพฤษภาคม โดยมีจำนวนผู้ที่เปิดคอร์สเรียนของตัวเองเกิดขึ้นเป็นจำนวนมาก  

 

สร้างความเท่าเทียมทางการศึกษา

บริษัทต่างๆ ได้เข้ามามีส่วนร่วมในการให้ความช่วยเหลือกับกลุ่มผู้เรียนที่ขาดแคลนอุปกรณ์ทางการเรียนหรือการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตเพื่อเข้าถึงคอร์สเรียนออนไลน์หรือแหล่งข้อมูลการเรียนรู้

สถานการณ์ COVID-19 ได้แสดงให้เห็นว่ามีเด็กหลายคน ที่แม้แต่ในประเทศพัฒนาแล้วก็ตาม ต่างตกอยู่ในความเสี่ยงของการถูกมองข้ามหรือตกหล่นของการเข้าถึงระบบการศึกษาออนไลน์ ผลการศึกษาในปี 2020 องค์กรไม่แสวงหากำไรด้านการศึกษาอย่าง EdSource พบว่า 20% ของเด็กนักเรียนในแคลิฟอร์เนียนั้นไม่มีเครือข่ายการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตที่บ้านหรือมีอุปกรณ์ที่เหมาะสมต่อการเรียนรู้ บ้านที่ไม่มีสัญญาณอินเทอร์เน็ตนั้นยิ่งมีจำนวนเพิ่มขึ้นในกลุ่มคนรายได้น้อยหรือพื้นที่ชนบทห่างไกล กลุ่มคนผิวดำหรือชุมชนคนละติน 

ธุรกิจต่างๆ ได้เข้ามามีส่วนในการริเริ่มโครงการที่นำไปสู่การสร้างความเท่าเทียมทางสังคมและการศึกษา ตัวอย่างเช่น แคมเปญของบริษัทคมนาคมที่ออสเตรเลีย Optus ได้เปิดโอกาสให้ผู้ใช้ได้บริจาคปริมาณการใช้งานข้อมูลจากส่วนที่ตนเองต้องจ่ายรายเดือนอยู่เเล้วให้กับเด็กนักเรียนกลุ่มด้อยโอกาส

ในพฤษภาคมที่ผ่านมา บริษัทคมนาคมในสหราชอาณาจักรอย่าง O2 ได้ประกาศเป็นพันธมิตรกับมูลนิธิด้านสิ่งแวดล้อม Hubbub ในการลดขยะอิเล็กทรอนิกส์และเปิดโอกาสในการเข้าถึงบริการดิจิทัลสำหรับคนที่ต้องการ ซึ่งมีจำนวนมากถึง 1.9 ล้านครัวเรือนที่ไม่มีอินเทอร์เน็ต โปรเจ็กต์ทดลองนี้มีชื่อว่า Community Calling  ที่นำโทรศัพท์รุ่นเก่ามาปรับใหม่ให้ใช้งานได้ และมอบให้กับบ้านเรือนต่างๆ ในพื้นที่เซ้าท์วาร์ก ลอนดอนใต้

เมื่อการเรียนออนไลน์กลายเป็นเรื่องปกติ
สถาบันการศึกษาต้องปรับตัวอย่างไร

สร้างสภาพการเรียนรู้ที่เอื้อต่อการเรียนออนไลน์
หลายโรงเรียนยังปิดไม่พร้อมเปิดเทอมเนื่องด้วยข้อจำกัดต่างๆ ตัวอย่างจาก School of Communication Arts ลอนดอนได้นำเสนอเครื่องมือในการให้ผู้เรียนสามารถเข้าถึงการบรรยายจากรายวิชาต่างๆ ได้ทางไกล ด้วยการสร้างแพลทฟอร์ม Walkabout ที่ทำให้นักเรียนสามารถเข้าถึงเนื้อหาผ่านทางออนไลน์และทำหน้าที่เป็นพื้นที่ทางสังคมที่ออกแบบมาเพื่อสร้างเสริมให้เกิดการเเลกเปลี่ยนความคิดเห็นระหว่างผู้เรียนออนไลน์

คอมมูนิตี้การศึกษาออนไลน์
หลายคอร์สเรียนออนไลน์อาจมีจำนวนผู้ลงทะเบียนในช่วงเริ่มต้นจำนวนมาก แต่ก็ลดลงเมื่อเวลาผ่านไป ดังนั้นการเข้าถึงเพื่อสนับสนุนคอมมูนิตี้แห่งการเรียนรู้จึงเป็นหัวใจสำคัญของการสร้างการมีส่วนร่วม Xploration Centre Collective ได้เปิดช่องทางให้ครอบครัว พ่อแม่สามารถเข้าถึงแหล่งเรียนรู้ของเด็กๆ โดยเกิดเป็นคอมมูนิตี้ออนไลน์ในการช่วยดูเเลเด็กผู้เรียน เป็นการผสมผสานอันลงตัวระหว่างเทคโนโลยีและความเป็นอยู่

ผสานออนไลน์เข้ากับออฟไลน์
มีเด็กนักเรียนจำนวนหลายคนที่หลุดออกจากระบบการศึกษาหรือไม่เต็มใจที่จะกลับเข้ามาเรียนในระบบอีกครั้งเนื่องจากได้รับผลกระทบจาก COVID-19 บริษัทเทคโนโลยีรายใหญ่จึงร่วมมือกับสถาบันทางการศึกษา ผลลัพธ์คือการทำให้เกิดการผสมผสานการเรียนออนไลน์เข้ากับการเรียนแบบปกติ ลดอัตราการเรียนแบบห้องเรียนให้น้อยลง แต่ยังสร้างให้เกิดปฏิสัมพันธ์ระหว่างสมาชิกผู้เรียนอยู่บ้างผ่านกิจกรรมที่จัดขึ้นเป็นระยะ

 

ที่มาข้อมูล : บทความ Online Education: The Rise of ELearning เขียนโดย Matt Poile เข้าถึงได้จากฐานข้อมูล WGSN

รายชื่อโรงเรียน พื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้

จังหวัด นราธิวาส จำนวน 4 โรงเรียน

  • โรงเรียนผดุงมาตร
  • โรงเรียนสวนพระยาวิทยา
  • โรงเรียนราชพัฒนา
  • โรงเรียนนราสิกขาลัย

จังหวัดยะลา จำนวน 15 โรงเรียน

  • โรงเรียนไทยรัฐวิทยา 94 (บ้านบ่อน้ำร้อน)
  • โรงเรียนคุรุชนพัฒนา
  • โรงเรียนบ้านตาเซะ
  • โรงเรียนบ้านราโมง
  • โรงเรียนบ้านกาตอง
  • โรงเรียนบ้านหลักเขต
  • โรงเรียนพัฒนาบาลอ
  • โรงเรียนบ้านโกตาบารู
  • โรงเรียนบ้านตะโละหะลอ
  • โรงเรียนบ้านเยาะ
  • โรงเรียนบ้านโต
  • โรงเรียนบ้านลูโบ๊ะปันยัง
  • โรงเรียนบ้านคลองน้ำใส
  • โรงเรียนบ้านสะเอะ
  • โรงเรียนกาบังพิทยาคม

จังหวัดปัตตานี จำนวน 16 โรงเรียน

  • โรงเรียนวุฒิชัยวิทยา
  • โรงเรียนนิคมสร้างตนเองโคกโพธิ์ มิตรภาพที่ 148
  • โรงเรียนบ้านบางมะรวด
  • โรงเรียนบ้านท่าน้ำตะวันออก
  • โรงเรียนบ้านน้ำบ่อ
  • โรงเรียนบ้านปาลัส
  • โรงเรียนบ้านตรัง
  • โรงเรียนบ้านกระเสาะ
  • โรงเรียนบ้านบูดี
  • โรงเรียนบ้านฝาง
  • โรงเรียนบ้านตะโละไกรทอง
  • โรงเรียนบ้านน้ำดำ
  • โรงเรียนบ้านโลทู
  • โรงเรียนบ้านวังกว้าง
  • โรงเรียนสะนอพิทยาคม
  • โรงเรียนวังกะพ้อพิทยาคม

รายชื่อโรงเรียน ภาคตะวันตก

จังหวัดตาก จำนวน 1 โรงเรียน

  • โรงเรียนบ้านร่มเกล้า 2

รายชื่อโรงเรียนที่ได้รับทุนการศึกษาผ่านโครงการ Million Gift Million Smiles

จังหวัดเชียงราย จำนวน 1 โรงเรียน

  • โรงเรียนราชประชานุเคราะห์ 15
    (เวียงเก่าแสนภูวิทยาประสาท)

จังหวัดเชียงใหม่ จำนวน 3 โรงเรียน

  • โรงเรียนชลประทาน
    เขื่อนแม่กวงจิราธิวัฒน์อุปถัมภ์
  • โรงเรียนบ้านโป่งน้อย
  • โรงเรียนวัดสันคะยอม

จังหวัดลำปาง จำนวน 1 โรงเรียน

  • โรงเรียนวัดเสด็จ

จังหวัดพิษณุโลก จำนวน 1 โรงเรียน

  • โรงเรียนบ้านท่าข้าม

จังหวัดตาก จำนวน 3 โรงเรียน

  • โรงเรียนบ้านร่มเกล้า 2
  • โรงเรียนบ้านร่มเกล้า 4
  • โรงเรียนบ้านห้วยไม้แป้น

จังหวัดนครศรีธรรมราช จำนวน 4 โรงเรียน

  • โรงเรียนบ้านควนเงิน
  • โรงเรียนบ้านท่าไทร
  • โรงเรียนวัดชะอวด
  • โรงเรียนวัดไม้เสียบ

จังหวัดตรัง จำนวน 11 โรงเรียน

  • โรงเรียนท่างิ้ว (ต.ช.ด.อุปถัมภ์)
  • โรงเรียนบ้านเกาะเคี่ยม
  • โรงเรียนบ้านคลองคุ้ย
  • โรงเรียนบ้านช่องลม
  • โรงเรียนบ้านทอนเหรียน
  • โรงเรียนบ้านท่าส้ม
  • โรงเรียนบ้านบางสัก
  • โรงเรียนบ้านวังลำ
  • โรงเรียนวัดทุ่งหินผุด
  • โรงเรียนวัดวารีวง
  • โรงเรียนหาดทรายทอง

จังหวัดนราธิวาส จำนวน 6 โรงเรียน

  • โรงเรียนนราสิกขาลัย
  • โรงเรียนบ้านบูเก๊ะตาโมงมิตรภาพที่ 128
  • โรงเรียนผดุงมาตร
  • โรงเรียนพิทักษ์วิยากุมุง
  • โรงเรียนราชพัฒนา
  • โรงเรียนสวนพระยาวิทยา

จังหวัดพังงา จำนวน 2 โรงเรียน

  • โรงเรียนวัดนิโครธาราม
  • โรงเรียนวัดสุวรรณาวาส

จังหวัดปัตตานี จำนวน 8 โรงเรียน

  • โรงเรียนบ้านกระเสาะ
  • โรงเรียนบ้านตะโละไกรทอง
  • โรงเรียนบ้านน้ำดำ
  • โรงเรียนบ้านบางทัน
  • โรงเรียนบ้านโลทู
  • โรงเรียนบ้านวังกว้าง
  • โรงเรียนวังกะพ้อพิทยาคม
  • โรงเรียนวุฒิชัยวิทยา

จังหวัดยะลา จำนวน 10 โรงเรียน

  • โรงเรียนกาบังพิทยาคม
  • โรงเรียนบ้านโกตาบารู
  • โรงเรียนบ้านคลองน้ำใส
  • โรงเรียนบ้านจุโป
  • โรงเรียนบ้านด่านสันติราษฎร์
  • โรงเรียนบ้านตะโละหะลอ
  • โรงเรียนบ้านราโมง
  • โรงเรียนบ้านสะเอะ
  • โรงเรียนพัฒนาบาลอ
  • โรงเรียนอัยเยอร์เวง

จังหวัดสงขลา จำนวน 18 โรงเรียน

  • โรงเรียนเขาแดงกุศลวิทยา
  • โรงเรียนจะนะชนูปถัมภ์
  • โรงเรียนชุมชนนิคมสร้างตนเองเทพา
  • โรงเรียนชุมชนบ้านนากัน
  • โรงเรียนทับช้างวิทยาคม
  • โรงเรียนเทพา
  • โรงเรียนบ้านเขาพระ
  • โรงเรียนบ้านคอลอมุดอ
  • โรงเรียนบ้านคูนายสังข์
  • โรงเรียนบ้านโคกตก
  • โรงเรียนบ้านนาปรัง
  • โรงเรียนบ้านบาโหย
  • โรงเรียนบ้านปากบางนาทับ
  • โรงเรียนบ้านป่าเร็ด
  • โรงเรียนบ้านพระพุทธ
  • โรงเรียนบ้านม้างอน
  • โรงเรียนบ้านม้างอน
  • โรงเรียนวัดประจ่า