ลดช่องว่าง ครู-นักเรียน เพิ่มประสิทธิภาพการเรียนรู้

ลดช่องว่าง ครู-นักเรียน เพิ่มประสิทธิภาพการเรียนรู้

ว่ากันว่าความดุ ครูก้อย-ทัศนีย์ แก้วกองทรัพย์ แห่งโรงเรียนบ้านหนองกุลา อ.บางระกำ จ.พิษณุโลก  ​ถึงขั้นทำให้เด็กนักเรียนที่กำลังวิ่งเล่นส่งเสียงดังกันมาตลอดทาง แต่พอถึงหน้าห้อง “ครูก้อย” กลับต้องลดฝีเท้า เงียบเสียงและเดินผ่านไปอย่างสงบเรียบร้อย  ก่อนจะวิ่งเล่นเสียงดังเมื่อผ่านหน้าห้องครูไปแล้ว

ส่วนหนึ่งเพราะบุคลิกที่เคยใช้เสียงดังเพื่อกำราบเด็กให้อยู่ในระเบียบวินัย  และยังเคยรับหน้าที่เป็นครูฝ่ายปกครอง ยิ่งตอกย้ำทำให้เกิดภาพความน่าเกรงขามในหมู่นักเรียน   

​​แต่วันนี้ ครูก้อย ลบภาพ “ครูดุ”  เปลี่ยนมาเป็นครูที่มีแรงดึงดูด​ จนนักเรียนกล้าพูดคุย ซักถามข้อสงสัย  ไปจนถึงปรึกษาปัญหาส่วนตัว  ด้วยกระบวนการ “จิตศึกษา” ที่นำมาปรับใช้ในการสอน​เชื่อมโยงกับการ “สร้างสนามพลังบวก” เพื่อกระตุ้นให้เด็กเกิดการเรียนรู้ที่ดีขึ้น

 

ลดช่องว่างระหว่าง “ครู”​กับ “นักเรียน”​

สาเหตุของการเปลี่ยนแปลงมาจาก “ความดุ” ทำให้เกิดช่องว่างระหว่างระหว่าง “ครู” กับ “นักเรียน” จนไม่กล้าซักถามเวลาสงสัย จึงตัดสินใจหาทางลดช่องว่างที่เป็นอยู่อันจะทำให้เกิดการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น

ครูก้อย เล่าถึงจุดเปลี่ยนที่เกิดขึ้นว่า มาจากได้ไปดูงานที่โรงเรียนลำปลายมาศพัฒนา จ.บุรีรัมย์ และเกิดความประทับใจในรูปแบบที่ใช้ ที่เน้นให้เด็กกำกับตัวเอง โดยครูไม่ต้องใช้เสียงดัง หรือมีบทลงโทษไปขู่เด็ก ​จึง​พยายาม​นำกลับมาปรับใช้ที่โรงเรียนด้วยการสนับสนุนของผู้อำนวยการโรงเรียน​

“ต้องเริ่มจากเปลี่ยนที่ตัวเราเองก่อน เดิมเราเป็นครูที่เสียงดังก็เปลี่ยนมาพูดเสียงเบา เพื่อสร้างจิตวิทยาเชิงบวก ​เดิมเรามีอำนาจเต็มในห้องก็เปลี่ยนให้เด็กๆ มามีบทบาท ถามเขาว่าอยากเห็นครูเป็นอย่างไรบ้าง เขาชอบอะไร อยากให้เพิ่ม ลดอะไร เช่น เขาอยากให้พูดเสียงเบา ไม่ทำโทษ เราอยากให้เขาตั้งใจฟัง ไม่ส่งเสียงดัง เราก็มาปรับจูนกำหนดกติการ่วมกันจากเดิมที่เราเคยเป็นคนกำหนดเอง”

 

เด็กสงบเรียบร้อยด้วยการควบคุมตัวเอง

ความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นเด็กสามารถเงียบลงได้ มีสมาธิกับการเรียน โดยที่ไม่ต้องใช้การบังคับ แต่เป็นการกำหนดตัวเอง ​ ซึ่งไม่ใช่เปลี่ยนได้ทันทีต้องใช้เวลาเกือบสองปี จากที่เริ่มเปลี่ยนจนเห็นผลชัดเจน

“เดิมเราก็ไม่ได้ดุตลอด เวลาสอนเราก็ยิ้มแย้ม สอนสนุกเฮฮา  แต่เราดุใช้เสียงดังเพื่อให้เด็กเขาสงบลง แต่พอเรามาใช้วิธีใหม่ให้เด็กมาร่วมกำหนดกติกา ให้เขาคุมตัวเอง กลับเห็นผลที่ดีขึ้น แรกๆ  เราก็ต้องปรับตัวมีอยากเผลอดุบ้าง เผลอใช้เสียงดังบ้าง ​แต่เด็กก็เป็นส่วนหนึ่งที่กระตุ้นให้เราเปลี่ยน”

“บางครั้งเราหลุดไปเด็กกจะเริ่มเตือนครูครับ…  ถ้าเราฉุกคิดได้เร็ว ดึงสติกกลับมาได้เร็วเราก็จะเปลี่ยนได้เร็ว สิ่งสำคัญคือเวลาเราเปลี่ยนแล้วเด็กจะกล้าเข้าหาเรามากขึ้น จากเดิมที่มีช่องว่าง ​พอเราเปลี่ยนมา ช่องว่างลดลง เด็กมีปัญหากล้าบอกเรา ถ้าเมื่อก่อนมีปัญหา ไม่อยากให้เรารู้ แต่ตอนนี้เขารู้สึกไว้วางใจมากขึ้น”​

 

เด็กกล้าพูดกล้าปรึกษากล้าคิดสร้างสรรค์มากขึ้น

ครูก้อย เล่าให้ฟังว่า เมื่อเด็กไว้วางใจ กล้าพูดมากขึ้นมีปัญหาอะไรเขาก็กล้าปรึกษา เราก็ให้คำแนะนำเขาได้ เขาสามารถคิดเรียนรู้ คิดสร้างสรรค์ กล้าแสดงความคิดความเห็น กล้าตอบคำถาม ไม่กลัวว่าจะตอบผิดหรือตอบถูก​ เขาสามารถที่จะแสดงความเห็นที่แตกต่างจากคนอื่นได้   

สำหรับขั้นตอนของ “จิตศึกษา” ที่นำมาใช้ เริ่มต้นจากการ “เตรียมสภาวะจิต” ทำให้เด็กได้กลับเข้าสู่โหมดรู้ตัวเอง จากนั้นจะเป็นขั้นตอนของกิจกรรม “ชง- เชื่อม-ใช้” ผ่านเรื่องเล่า คลิป วัสดุสิ่งของรอบตัวที่นำมาใช้ เช่น ชงเรื่องก้อนหิน เริ่มจากเด็กเห็นอะไร เชื่อความรู้เก่ากับความรู้ใหม่ แล้วนำไปสู่การใช้ในอนาคตว่าจะใช้อย่างไร การฝึกให้เด็กได้คิดหาคำตอบจะต้องใช้การฝึกฝน ทำไปต่อเนื่องเด็กก็จะมีความคิดเป็นของตัวเอง

โดยทั้งหมดจะเริ่มจากการรู้สึกด้วยตัวเอง ได้กำกับตัวเอง และพัฒนาไปสู่การมีวิจารณญาณ นำพอตัวเองไปสู่การคิดแบบมีเหตุมีผล ซึ่งขึ้นสูงสุดคือ ขั้นของการหลุดพ้นจากการตัดสิน มองสิ่งรอบตัวแบบไม่ตัดสิน มองว่าโลกเป็นไปแบบนี้ 

“จิตศึกษาจึงเป็นการสอนให้เข้าใจแบบถ่องแท้ เช่น เรื่องความกตัญญู เขาก็จะเข้าใจด้วยตัวเองว่ากตัญญูคืออะไร ทำไมต้องกตัญญู ไม่ใช่แค่ครูมาบอกต้องทำเท่านั้น เป็นการสอนตั้งแต่ระดับจิตใจ เป็นเรื่องของปัญญาภายใน ซึ่งจะต้องมีการสร้างสนามพลังบวกทั้งการพูดเสียงเบา การกอด ที่ทำให้เด็กเกิดความไว้วางใจ” 

 

จุดเริ่มต้นต้องมาจากการ “เปิดใจ”

กว่าจะมาถึงจุดนี้ ครูก้อย บอกกว่า ทั้งหมดต้องเริ่มจากการ “เปิดใจ”  พร้อมที่จะเปลี่ยนแปลงตัวเอง โดยทุกอย่างมีแผน ขั้นตอน วิธีการทำอยู่แล้ว เพียงแค่ครูต้องแสดงเจตจำนงว่าเราจะเปลี่ยนเพื่อให้เด็กได้มีคุณภาพที่ดีขึ้น  หากครูไม่เปิดใจทุกอย่างก็ไม่เกิดขึ้น ​

นอกจากครูก้อยแล้ว ปัจจุบันคุณครูทุกคน ที่โรงเรียนบ้านหนองกุลา ได้พร้อมใจกันปรับเปลี่ยนตัวเอง เพื่อทำให้การเรียนรู้ของนักเรียนดีขึ้น และเริ่มเห็นผลที่จับต้องได้

โดยการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นเป็นส่วนหนึ่งที่มาจาก​โครงการพัฒนาครูและโรงเรียนเพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษาอย่างต่อเนื่อง (TSQP) ของกองทุนเพื่อความเสมอภาค (กสศ.)​ ซึ่งกำลังจะขยายผลต่อเนื่องไปยังโรงเรียนอื่นในพื้นที่ใกล้เคียง​ ด้วยเป้าหมายที่ต้องการลดความเหลื่อมล้ำ สร้างความเสมอภาคทางการศึกษา

รายชื่อโรงเรียน พื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้

จังหวัด นราธิวาส จำนวน 4 โรงเรียน

  • โรงเรียนผดุงมาตร
  • โรงเรียนสวนพระยาวิทยา
  • โรงเรียนราชพัฒนา
  • โรงเรียนนราสิกขาลัย

จังหวัดยะลา จำนวน 15 โรงเรียน

  • โรงเรียนไทยรัฐวิทยา 94 (บ้านบ่อน้ำร้อน)
  • โรงเรียนคุรุชนพัฒนา
  • โรงเรียนบ้านตาเซะ
  • โรงเรียนบ้านราโมง
  • โรงเรียนบ้านกาตอง
  • โรงเรียนบ้านหลักเขต
  • โรงเรียนพัฒนาบาลอ
  • โรงเรียนบ้านโกตาบารู
  • โรงเรียนบ้านตะโละหะลอ
  • โรงเรียนบ้านเยาะ
  • โรงเรียนบ้านโต
  • โรงเรียนบ้านลูโบ๊ะปันยัง
  • โรงเรียนบ้านคลองน้ำใส
  • โรงเรียนบ้านสะเอะ
  • โรงเรียนกาบังพิทยาคม

จังหวัดปัตตานี จำนวน 16 โรงเรียน

  • โรงเรียนวุฒิชัยวิทยา
  • โรงเรียนนิคมสร้างตนเองโคกโพธิ์ มิตรภาพที่ 148
  • โรงเรียนบ้านบางมะรวด
  • โรงเรียนบ้านท่าน้ำตะวันออก
  • โรงเรียนบ้านน้ำบ่อ
  • โรงเรียนบ้านปาลัส
  • โรงเรียนบ้านตรัง
  • โรงเรียนบ้านกระเสาะ
  • โรงเรียนบ้านบูดี
  • โรงเรียนบ้านฝาง
  • โรงเรียนบ้านตะโละไกรทอง
  • โรงเรียนบ้านน้ำดำ
  • โรงเรียนบ้านโลทู
  • โรงเรียนบ้านวังกว้าง
  • โรงเรียนสะนอพิทยาคม
  • โรงเรียนวังกะพ้อพิทยาคม

รายชื่อโรงเรียน ภาคตะวันตก

จังหวัดตาก จำนวน 1 โรงเรียน

  • โรงเรียนบ้านร่มเกล้า 2