พ่อแม่ออสเตรเลียวอนรัฐเพิ่มบริการสุขภาพจิตวัยรุ่น
โดย : Evelyn Manfield - ABC News
แปลและเรียบเรียง : นงลักษณ์ อัจนปัญญา

พ่อแม่ออสเตรเลียวอนรัฐเพิ่มบริการสุขภาพจิตวัยรุ่น

พ่อแม่ผู้ปกครองทั่วออสเตรเลียวอนภาครัฐและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเร่งลงทุนในด้านการบริการดูแลสุขภาพจิตของกลุ่มเด็กและวัยรุ่น โดยครอบคลุมตั้งแต่บุคลากร ไปจนถึงช่องทางขอความช่วยเหลือ เพื่อป้องกันปัญหาการฆ่าตัวตายในหมู่เยาวชนที่มีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ

เว็บไซต์สถานีโทรทัศน์เอบีซี นิวส์ (ABC News) เผยแพร่รายงานพิเศษนำเสนอข้อเรียกร้องจากบรรดาพ่อแม่ผู้ปกครองทั่วออสเตรเลียที่ต้องการให้รัฐบาลจัดตั้งหน่วยงานที่จะเข้ามาดูแลและให้บริการด้านรักษา เยียวยา ฟื้นฟู ปัญหาที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพจิตของเด็ก เยาวชน และวัยรุ่น ในออสเตรเลียขึ้นมาโดยเฉพาะ โดยข้อเรียกร้องในครั้งนี้ มีขึ้นท่ามกลางบรรยากาศการเลือกตั้งทั่วไปที่กำลังจะมีขึ้นในช่วงเดือนพฤษภาคมปีนี้

ดีนเน และเกรแฮม เคิร์กแมน หนึ่งในพ่อแม่ที่ต้องเสียลูกสาวจากการฆ่าตัวตายในปี 2016 เล่าว่า หนึ่งในเหตุผลที่ทำให้ลูกจบชีวิตลง เพราะในเวลานั้นไม่มีจิตแพทย์คนใดที่สามารถให้คำปรึกษาหรือเข้ามาดูแลปัญหาสุขภาพจิตของลูกสาวของพวกเขาโดยเฉพาะ แม้ว่า ในช่วงเวลานั้น ทั้งคู่จะพาตัว มิเคย์ลา ลูกสาวไปพบแพทย์ที่โรงพยาบาลแล้วก็ตาม

โดยคุณนายเคิร์กแมนเล่าว่า ตนเองพาลูกสาวไปหาแพทย์ที่โรงพยาบาลถึง 3 แห่ง ทุกแห่งแนะนำให้พาลูกสาวกลับบ้าน เพราะแพทย์บอกว่าไม่สามารถรักษาหรือให้ความช่วยเหลือใดๆ แก่มิเคย์ลาได้ และหลังจากกลับจากโรงพยาบาลแห่งที่ 3 มิเคย์ลาก็ฆ่าตัวตาย

หลายปีที่ผ่านมา สองสามีภรรยารู้สึกสิ้นหวังที่หลายหน่วยงานต่างเมินเฉยในการเพิ่มทุนสนับสนุนให้กับการดูแลสุขภาพจิตของเยาวชน ซึ่งหมายรวมถึง การเพิ่มจำนวนเตียงในโรงพยาบาล และผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางอย่าง จิตแพทย์เด็กให้เพิ่มขึ้น ดังนั้น จึงหวังเป็นอย่างยิ่งว่า การเลือกตั้งในครั้งนี้ บรรดาพรรคการเมืองทั้งหลายจะเห็นความสำคัญและใส่ใจกับประเด็นสุขภาพจิตของเด็กและเยาวชนให้มากขึ้น

ด้าน เมลิสสา คิงส์ตัน-ลี อีกหนึ่งผู้ปกครองที่เพิ่งเสียลูกวัย 17 ปี กล่าวว่า การเพิ่มบริการดังกล่าวเป็นสิ่งจำเป็น เพราะลูกของตนเดินทางไปที่โรงพยาบาลมากกว่า 100 ครั้งในช่วง 18 เดือนที่ผ่านมา ก่อนที่จะถูกรถชนเสียชีวิตในเดือนธันวาคมปีที่แล้ว ขณะออกจากโรงพยาบาล ซึ่ง  คิงส์ตัน-ลี มองว่า เป็นความพยายามฆ่าตัวตายของลูกมากกว่า

“มันรู้สึกหมดหนทาง คุณต้องการช่วยลูกของคุณ อยากจะขอความช่วยเหลือจากใครก็ได้เพื่อช่วยลูก แต่กลับไม่มีความช่วยเหลือใด ๆ ให้เข้าถึงได้” คิงส์ตัน-ลี กล่าว พร้อมระบุว่า นับตั้งแต่เกิดเหตุกับลูก ตนเองได้ส่งจดหมายร้องเรียนท้วงติงถึงปัญหาที่ลูกของตนได้ประสบ นั่นคือไม่มีจิตแพทย์เด็กคอยให้คำปรึกษาอย่างจริงจัง กับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง แต่เรื่องก็ยังคงเงียบหาย

ทั้งนี้ ข้อมูลจากเว็บไซต์ของกระทรวงสาธารณสุขออสเตรเลีย ระบุว่า การฆ่าตัวตายเป็นสาเหตุการเสียชีวิตอันดับต้นๆ ในหมู่เยาวชนออสเตรเลีย โดยมีวัยรุ่นอายุระหว่าง 18 ถึง 24 ปี มากกว่า 350 คนฆ่าตัวตายทุกปีในออสเตรเลีย 

ขณะที่ รายงานประจำปีของโรงพยาบาลในเครือข่ายโรงพยาบาลสุขภาพสตรีและเด็กประจำปี 2020-21 (Women’s and Children’s Hospital – WCH) พบว่ามีความต้องการบริการทางสุขภาพจิต “เพิ่มขึ้นอย่างมาก” ทั้งในสภาพแวดล้อมแบบเฉียบพลันและในชุมชน โดยมีการส่งต่อผู้ป่วยไปยังแผนกฉุกเฉินเด็ก (Paediatric Emergency Department – PED) ขณะที่มีการแอดมิดเข้าโรงพยาบาลใน Mallee Ward ซึ่งเป็นแผนกดูแลเด็กขนาด 12 เตียงของโรงพยาบาลเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 21

ขณะเดียวกัน รายงานประจำปียังแสดงให้เห็นว่าทางโรงพยาบาลต้องให้บริการสุขภาพจิตเด็กและวัยรุ่นมากกว่า 100,000 ครั้งต่อปี ซึ่งค่อนข้างเกินกำลังขีดความสามารถที่ทางโรงพยาบาลจะรองรับ เพราะกุมารแพทย์ส่วนใหญ่ให้การรักษาในโรคหรืออาการเจ็บป่วยทางกาย ไม่ใช่ทางด้านจิตใจ

แน่นอนว่า พ่อแม่ผู้ปกครองที่สูญเสียลูกจากการฆ่าตัวตายต่างเข้าใจดีว่า สิ่งที่เกิดขึ้นไม่ใช่ความผิดของโรงพยาบาล แต่อย่างน้อยที่สุด ก็อยากให้กระทรวงสาธารณสุขที่มีหน้าที่ดูแลโรงพยาบาลรัฐทุกแห่งทั่วออสเตรเลียจัดสรรงบประมาณเพิ่มเติมเพื่อให้โรงพยาบาลเหล่านี้มีบุคลากรและเตียงที่มากพอที่จะรับดูแลกรณีที่เด็กและเยาวชนพยายามจะฆ่าตัวตาย ให้มากขึ้น ไม่ใช่แค่ให้การรักษาบาดแผลแล้วบอกให้พ่อแม่พาเด็กกลับบ้านเหมือนในช่วงหลายปีที่ผ่านมา

อีกทั้งบุคลากรทางการแพทย์บางส่วนยังไม่เข้าใจปัญหาฆ่าตัวตายของเด็กอย่างลึกซึ้ง โดย เคท สตีเฟนส์ ผู้ร่วมก่อตั้งกลุ่ม Parents for Change ที่มีเป้าหมายเรียกร้องให้รัฐบาลใส่ใจดูแลปัญหาสุขภาพจิตเด็กและเยาวชนอย่างจริงจัง เปิดเผยว่ามีพ่อแม่หลายคนร้องเรียนว่า ลูก ๆ เคยถูกบุคลากรทางการแพทย์เหล่านี้ต่อว่าที่ทำให้พวกเขาต้องเสียเวลามารักษา ซึ่งเป็นสิ่งที่ไม่สมควรอย่างยิ่งกับเด็กที่มีสภาพจิตใจเปราะบาง

ด้าน สตีเฟน เวด รัฐมนตรีกระทรวงสาธารณสุขออสเตรเลีย ให้คำมั่นว่า  รัฐบาลตั้งเป้าให้ความสำคัญในด้านสุขภาพจิตมากขึ้น การรณรงค์หาเสียงยังคงดำเนินต่อไป และได้จัดสรรงบประมาณของรัฐไปแล้ว 163.5 ล้านดอลลาร์สหรัฐในปีงบประมาณ 2021-2022 ที่่ผ่านมา

“การทำงานในเรื่องดังกล่าวกำลังดำเนินการ โดยหมายรวมถึงการเพิ่มตำแหน่งจิตแพทย์เด็กและวัยรุ่น ตลอดจนตำแหน่งผู้ฝึกงานด้านจิตเวชให้มากขึ้น” รัฐมนตรีกระทรวงสาธารณสุขออสเตรเลียกล่าว

ด้านความเห็นของ คริส พิคตัน โฆษกของพรรคฝ่ายค้านก็สอดคล้องไปในทางเดียวกัน เพียงแต่ต้องการให้ภาครัฐฯ จัดลำดับความสำคัญในเรื่องสุขภาพจิตเด็กและเยาวชนให้อยู่ในลำดับต้นๆ และว่าโรงพยาบาลจำเป็นต้องมีบุคลากรเพิ่มขึ้นไม่ว่าจะเป็นแพทย์ ผู้เชี่ยวชาญพิเศษ และพยาบาล เพื่อลดความล่าช้าในการให้บริการและดูแลเด็กได้มากขึ้น ตลอดจนเพิ่มจำนวนเตียงให้มากขึ้นด้วย

ที่มา : Parents call for urgent investment in child mental health services to save young lives

รายชื่อโรงเรียน พื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้

จังหวัด นราธิวาส จำนวน 4 โรงเรียน

  • โรงเรียนผดุงมาตร
  • โรงเรียนสวนพระยาวิทยา
  • โรงเรียนราชพัฒนา
  • โรงเรียนนราสิกขาลัย

จังหวัดยะลา จำนวน 15 โรงเรียน

  • โรงเรียนไทยรัฐวิทยา 94 (บ้านบ่อน้ำร้อน)
  • โรงเรียนคุรุชนพัฒนา
  • โรงเรียนบ้านตาเซะ
  • โรงเรียนบ้านราโมง
  • โรงเรียนบ้านกาตอง
  • โรงเรียนบ้านหลักเขต
  • โรงเรียนพัฒนาบาลอ
  • โรงเรียนบ้านโกตาบารู
  • โรงเรียนบ้านตะโละหะลอ
  • โรงเรียนบ้านเยาะ
  • โรงเรียนบ้านโต
  • โรงเรียนบ้านลูโบ๊ะปันยัง
  • โรงเรียนบ้านคลองน้ำใส
  • โรงเรียนบ้านสะเอะ
  • โรงเรียนกาบังพิทยาคม

จังหวัดปัตตานี จำนวน 16 โรงเรียน

  • โรงเรียนวุฒิชัยวิทยา
  • โรงเรียนนิคมสร้างตนเองโคกโพธิ์ มิตรภาพที่ 148
  • โรงเรียนบ้านบางมะรวด
  • โรงเรียนบ้านท่าน้ำตะวันออก
  • โรงเรียนบ้านน้ำบ่อ
  • โรงเรียนบ้านปาลัส
  • โรงเรียนบ้านตรัง
  • โรงเรียนบ้านกระเสาะ
  • โรงเรียนบ้านบูดี
  • โรงเรียนบ้านฝาง
  • โรงเรียนบ้านตะโละไกรทอง
  • โรงเรียนบ้านน้ำดำ
  • โรงเรียนบ้านโลทู
  • โรงเรียนบ้านวังกว้าง
  • โรงเรียนสะนอพิทยาคม
  • โรงเรียนวังกะพ้อพิทยาคม

รายชื่อโรงเรียน ภาคตะวันตก

จังหวัดตาก จำนวน 1 โรงเรียน

  • โรงเรียนบ้านร่มเกล้า 2

รายชื่อโรงเรียน พื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้

จังหวัด นราธิวาส จำนวน 6 โรงเรียน

  • โรงเรียนผดุงมาตร
  • โรงเรียนสวนพระยาวิทยา
  • โรงเรียนราชพัฒนา
  • โรงเรียนนราสิกขาลัย
  • โรงเรียนพิทักษ์วิยากุมุง
  • บ้านบูเก๊ะตาโมง มิตรภาพที่ 128

จังหวัดสงขลา จำนวน 20 โรงเรียน

  • โรงเรียนบ้านม้างอน
  • โรงเรียนวัดประจ่า
  • โรงเรียนจะนะชนูปถัมภ์
  • โรงเรียนบ้านป่าโอน
  • โรงเรียนชุมชนนิคม สร้างตนเองเทพา
  • โรงเรียนบ้านกระอาน
  • โรงเรียนบ้านวังใหญ่
  • โรงเรียนเทพา
  • โรงเรียนบ้านป่าเร็ด
  • โรงเรียนบ้านนาปรัง
  • โรงเรียนทับช้างวิทยาคม
  • โรงเรียนชุมชนบ้านนากัน
  • โรงเรียนบ้านโคกตก
  • โรงเรียนบ้านคอลอมุดอ
  • โรงเรียนบ้านบาโหย
  • โรงเรียนเขาแดงกุศลวิทยา
  • โรงเรียนบ้านเขาพระ
  • โรงเรียนบ้านพระพุทธ
  • โรงเรียนบ้านปากบางนาทับ
  • โรงเรียนบ้านคูนายสังข์

จังหวัดยะลา จำนวน 10 โรงเรียน

  • โรงเรียนบ้านราโมง
  • โรงเรียนพัฒนาบาลอ
  • โรงเรียนบ้านโกตาบารู
  • โรงเรียนบ้านตะโละหะลอ
  • โรงเรียนบ้านคลองน้ำใส
  • โรงเรียนบ้านสะเอะ
  • โรงเรียนกาบังพิทยาคม
  • บ้านด่านสันติราษฎร์
  • อัยเยอร์เวง
  • บ้านจุโป

จังหวัดปัตตานี จำนวน 8 โรงเรียน

  • โรงเรียนวุฒิชัยวิทยา
  • โรงเรียนบ้านกระเสาะ
  • โรงเรียนบ้านตะโละไกรทอง
  • โรงเรียนบ้านน้ำดำ
  • โรงเรียนบ้านโลทู
  • โรงเรียนบ้านวังกว้าง
  • โรงเรียนวังกะพ้อพิทยาคม
  • บ้านบางทัน

รายชื่อโรงเรียน ภาคตะวันตก

จังหวัดตาก จำนวน 1 โรงเรียน

  • โรงเรียนบ้านร่มเกล้า 2