มาเลเซียออกคู่มือแนะแนวทางให้โรงเรียนเปิดเรียนในยุคโควิด-19
โดย : REBECCA RAJAENDRAM
แปลและเรียบเรียง : นงลักษณ์ อัจนปัญญา

มาเลเซียออกคู่มือแนะแนวทางให้โรงเรียนเปิดเรียนในยุคโควิด-19

กระทรวงศึกษาธิการมาเลเซียออกคู่มือเพื่อเป็นแนวทางในการดำเนินการเปิดโรงเรียนที่เรียกว่า Standard Operating Procedure (SOP) หรือ “กระบวนการปฏิบัติการมาตรฐาน” ซึ่งทางกระทรวงระบุอย่างชัดเจนว่าจะบังคับใช้อย่างเข้มงวดเพื่อให้สามารถเปิดโรงเรียนและทำการเรียนการสอนในห้องเรียนได้ตามปกติอีกครั้งในเดือนตุลาคมที่จะถึงนี้ ท่ามกลางสถานการณ์วิกฤตการระบาดของไวรัสโควิด-19

ดอกเตอร์ราดไซ ไจดิน (Radzi Jidin) รัฐมนตรีกระทรวงศึกษาธิการมาเลเซียกล่าวว่า การบังคับใช้แนวทางเปิดโรงเรียนแบบ SOP อย่างเข้มงวดจริงจังนี้ จะส่งผลดีในการช่วยให้มีการปกป้องนักเรียนจากเชื้อไวรัสโควิด-19 ได้ดียิ่งขึ้น อีกทั้งการกลับมาเรียนหนังสือที่โรงเรียนอีกครั้งยังจะช่วยป้องกันไม่ให้เด็กนักเรียนมีการเรียนที่ถดถอยย่ำแย่ลง หรือตกอยู่ในความเสี่ยงต้องหลุดออกจากระบบการศึกษากลางคัน

อย่างไรก็ตาม รัฐมนตรีกระทรวงศึกษาธิการมาเลเซียยอมรับว่า พ่อแม่ผู้ปกครองของเด็กนักเรียนยังคงมีสิทธิ์ขาดชอบธรรมในการตัดสินใจในเรื่องที่จะยินยอมให้บุตรหลานเดินทางกลับเข้าชั้นเรียนในโรงเรียนหรือไม่ พร้อมกับย้ำว่า สิ่งที่สำคัญที่สุดในห้วงเวลานี้คือ การนำเด็กกลับมาเรียนหนังสือที่โรงเรียนให้เร็วที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ 

เหตุผลเพราะทางกระทรวงศึกษาธิการไม่สามารถแบกรับผลกระทบที่เกิดจากการที่นักเรียนหยุดเรียนไปเป็นเวลานานมากกว่านี้อีกแล้ว 

ทั้งนี้ ทางกระทรวงศึกษาธิการมาเลเซียได้ประกาศกฎระเบียบ SOP เมื่อช่วงสุดสัปดาห์ที่ผ่านมา ซึ่งแน่นอนว่า แม้พ่อแม่จะมีสิทธิ์ตัดสินใจว่าจะให้ลูกหลานไปเรียนหนังสือที่โรงเรียนดีหรือไม่ แต่ในกรณีที่ตัดสินใจว่าไม่ พ่อแม่ก็ต้องส่งจดหมายอธิบายเหตุผลให้กับทางโรงเรียนได้รับทราบ เพื่อที่ทางโรงเรียนจะได้จัดหามาตรการรองรับ รวมถึงไม่ต้องเสียเวลาตรวจสอบหรือออกหนังสือเตือนถึงเด็กฐานไม่ยอมมาเรียนที่โรงเรียน 

ขณะเดียวกัน การเดินหน้าเปิดรั้วโรงเรียนทั่วมาเลเซียในครั้งนี้ยังดำเนินการโดยอิงกับความจำเป็นและขีดความสามารถของนักเรียนแต่ละกลุ่มซึ่งมีภูมิหลังทางเศรษฐกิจและสังคมที่แตกต่างกันออกไป

“ไม่ใช่เรื่องง่ายเลยที่จะหาพื้นที่ตรงกลางที่เหมาะสมกับทุกฝ่าย แต่เราก็มั่นใจว่า หลังจากพูดคุยหารือกับผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องอย่างต่อเนื่อง ทางกระทรวงศึกษาธิการเชื่อว่า แนวทางนี้คือกรอบการทำงานที่ดีที่สุดที่สามารถนำมาใช้ในห้วงเวลานี้ แม้ว่าจะไม่ได้สมบูรณ์ก็ตาม” ดอกเตอร์ไจดินกล่าว 

ทั้งนี้ การลงทะเบียนของโรงเรียนจะอยู่ภายใต้การดูแลจัดการของโรงเรียน โดยโรงเรียนจะเปิดด้วยการแบ่งนักเรียนในทุกชั้นออกเป็น 2 กลุ่ม โดยครึ่งหนึ่งเข้าเรียนในโรงเรียนตามเวลาที่กำหนด ในขณะที่อีกครึ่งหนึ่งได้รับการสอนที่บ้าน (PdPR) แล้วก็เปลี่ยนสลับกัน โดยนักเรียนจะเข้าโรงเรียนสลับหมุนเวียนกันทุกสัปดาห์ 

กระทรวงศึกษาธิการมาเลเซียระบุว่า โมเดลการเรียนการสอนนี้จะยังดำเนินต่อไป ในขณะที่กระทรวงจะยังคงติดตามสถานการณ์โควิด-19 ในประเทศ เพื่อให้สามารถเปลี่ยนแปลงกรอบการทำงานได้ตามสถานการณ์

กระนั้น ภายใต้กรอบดังกล่าว จะมีนักเรียนบางกลุ่มที่ไม่สามารถสลับมาเรียนได้ โดยนักเรียนกลุ่มที่ว่านี้ประกอบด้วย นักเรียนในกลุ่มที่เรียกว่า “Form Six Semester 2”, นักเรียนโรงเรียนประจำ (โรงเรียนกินนอน), นักเรียนที่มีภาวะการเรียนรู้ที่ต้องการการดูแลเป็นพิเศษ, นักเรียนโรงเรียนนานาชาติ, นักเรียนโรงเรียนก่อนอนุบาล/อนุบาล และโรงเรียนที่มีจำนวนนักเรียนลงทะเบียนเรียนจำนวนน้อยราย

ขณะเดียวกัน การมาเรียนที่โรงเรียนนักเรียนต้องรับประทานอาหารในห้องเรียน ยกเว้นว่าห้องเรียนนั้นๆ จะเป็นห้องเรียนที่ติดตั้งเครื่องปรับอากาศไว้ ซึ่งถ้าเป็นกรณีนี้ มาตรการ SOP จะกำหนดให้นักเรียนต้องไปรับประทานอาหารในพื้นที่โล่งโปร่งและมีอากาศถ่ายเท 

กระทรวงศึกษาธิการมาเลเซียย้ำว่า การแบ่งกลุ่มนักเรียนให้มีนักเรียนมาเรียนที่โรงเรียนในกลุ่มที่เล็กลง จะช่วยให้ครูสามารถเฝ้าระวังและดูแลความปลอดภัยของเด็กนักเรียนได้อย่างทั่วถึง

ในส่วนของเรื่องอาคารสถานที่ สิ่งที่สำคัญที่สุดก็คือระบบระบายอากาศที่ห้องเรียนต้องมีการถ่ายเทที่ดี หากติดผ้าม่านให้เอาออกให้หมด และนำมาพัดลมมาติดตั้งภายในห้องเรียนเพื่อเพิ่มระบบระบายอากาศให้ดียิ่งขึ้น 

นอกจากนี้ นักเรียน ครู และเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องต้องสวมหน้ากากอนามัยตลอดเวลาที่อยู่ภายในอาณาบริเวณรั้วโรงเรียน และหากเป็นไปได้ แนะนำให้สวมหน้ากากอนามัยสองชั้น ซึ่งทางกระทรวงศึกษาธิการกำลังประสานเพื่อจัดหาหน้ากากอนามัยให้เพียงพอกับจำนวนนักเรียนในระบบ 

และถ้าหากเกิดกรณีที่ตรวจพบการติดเชื้อภายในโรงเรียน ทางโรงเรียนจำเป็นต้องแจ้งให้ทางเจ้าหน้าที่สาธารณสุขของเขตรับทราบ เพื่อดำเนินการประเมินทดสอบความเสี่ยงและจัดสรรมาตรการดูแลที่เหมาะสมต่อไป 

สำหรับมาตรการ SOP ที่ออกมาก่อนหน้านี้ยังคงต้องปฎิบัติตามอย่างเคร่งครัดทั้งหมดต่อไป 

ยิ่งไปกว่านั้น เพื่อลดภาระของพ่อแม่ผู้ปกครอง ทางกระทรวงศึกษาธิการมาเลเซียพิจารณาเห็นสมควรอนุญาตให้นักเรียนสามารถสวมเสื้อผ้าอื่นๆ นอกจากชุดเครื่องแบบยูนิฟอร์มมาเรียนหนังสือที่โรงเรียนได้จนถึงสิ้นปี แต่ต้องเป็นเสื้อผ้าที่เรียบร้อยและเหมาะสม

ดอกเตอร์ไจดินกล่าวอีกว่า ภายใต้แนวทางการเรียนแบบให้นักเรียนสับเปลี่ยนหมุนเวียนโดยสลับกันเรียนที่บ้านและที่โรงเรียน (PdPR) นั้น คุณครูจำเป็นต้องเตรียมความพร้อมให้กับนักเรียน ซึ่งหมายรวมถึงการปรับหลักสูตรการเรียนการสอนให้เด็กนักเรียนสามารถเรียนรู้ได้ด้วยตนเอง โดยครูจะจัดเตรียมแนวทางและสื่อการเรียนรู้สำหรับบทเรียนในขณะที่ทำการเรียนการสอนแบบตัวต่อตัวกับนักเรียนในห้องเรียน เพื่อให้นักเรียนสามารถเรียนออนไลน์จากที่บ้านต่อได้หลังจากได้เรียนแนวคิดหลักของบทเรียนไปแล้ว 

ขณะที่โรงเรียนกินนอนหรือโรงเรียนประจำจะต้องกำหนดมาตรการป้องกัน “บับเบิ้ล” (Bubble) แบบเต็มรูปแบบ โดยนักเรียนต้องมีการตรวจหาเชื้อโควิด-19 จำนวน 3 ครั้ง คือ ก่อนเปิดเทอมหนึ่งครั้ง ซึ่งตรงกับวันที่มารายงานตัว วันที่ 6 หลังมาเรียนที่โรงเรียนหนึ่งครั้ง และวันที่ 14 หลังเปิดเรียนอีกหนึ่งครั้ง 

รัฐมนตรีกระทรวงศึกษาธิการมาเลเซียยอมรับว่า แม้วิธีที่ง่ายที่สุดในการดูแลสถานการณ์การระบาดในหมู่เด็กนักเรียนและเยาวชนของประเทศก็คือการสั่งปิดโรงเรียนไปจนถึงปีหน้า แต่ด้วยสถานการณ์ที่เริ่มคลี่คลาย แม้จะยังไม่ 100% ก็เพียงพอให้โรงเรียนกลับมาเปิดอีกครั้ง 

เพราะยิ่งเปิดเรียนได้เร็วเท่าไร ก็ยิ่งทำให้สถานการณ์การศึกษาของมาเลเซียเดินหน้าได้เร็วขึ้นเท่านั้น โดยโรงเรียนจะสามารถกลับมาเปิดให้บริการได้อย่างเต็มรูปแบบอีกครั้ง ในกรณีที่สถานการณ์การระบาดทั่วไปเข้าสู่ระยะที่ 2, 3 และ 4 ตามเงื่อนไขของแผนฟื้นฟูแห่งชาติ (National Recovery Plan: NRP) ของรัฐบาลเท่านั้น โดยมีการคาดการณ์ว่า สถานการณ์การระบาดของมาเลเซียจะเข้าสู่ระยะที่ 4 ที่นักเรียนทุกคนจะสามารถกลับเข้าเรียนได้ตามปกติตั้งแต่วันที่ 31 ตุลาคม เป็นต้นไป

ที่มา : Schools to reopen with rules

รายชื่อโรงเรียน พื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้

จังหวัด นราธิวาส จำนวน 4 โรงเรียน

  • โรงเรียนผดุงมาตร
  • โรงเรียนสวนพระยาวิทยา
  • โรงเรียนราชพัฒนา
  • โรงเรียนนราสิกขาลัย

จังหวัดยะลา จำนวน 15 โรงเรียน

  • โรงเรียนไทยรัฐวิทยา 94 (บ้านบ่อน้ำร้อน)
  • โรงเรียนคุรุชนพัฒนา
  • โรงเรียนบ้านตาเซะ
  • โรงเรียนบ้านราโมง
  • โรงเรียนบ้านกาตอง
  • โรงเรียนบ้านหลักเขต
  • โรงเรียนพัฒนาบาลอ
  • โรงเรียนบ้านโกตาบารู
  • โรงเรียนบ้านตะโละหะลอ
  • โรงเรียนบ้านเยาะ
  • โรงเรียนบ้านโต
  • โรงเรียนบ้านลูโบ๊ะปันยัง
  • โรงเรียนบ้านคลองน้ำใส
  • โรงเรียนบ้านสะเอะ
  • โรงเรียนกาบังพิทยาคม

จังหวัดปัตตานี จำนวน 16 โรงเรียน

  • โรงเรียนวุฒิชัยวิทยา
  • โรงเรียนนิคมสร้างตนเองโคกโพธิ์ มิตรภาพที่ 148
  • โรงเรียนบ้านบางมะรวด
  • โรงเรียนบ้านท่าน้ำตะวันออก
  • โรงเรียนบ้านน้ำบ่อ
  • โรงเรียนบ้านปาลัส
  • โรงเรียนบ้านตรัง
  • โรงเรียนบ้านกระเสาะ
  • โรงเรียนบ้านบูดี
  • โรงเรียนบ้านฝาง
  • โรงเรียนบ้านตะโละไกรทอง
  • โรงเรียนบ้านน้ำดำ
  • โรงเรียนบ้านโลทู
  • โรงเรียนบ้านวังกว้าง
  • โรงเรียนสะนอพิทยาคม
  • โรงเรียนวังกะพ้อพิทยาคม

รายชื่อโรงเรียน ภาคตะวันตก

จังหวัดตาก จำนวน 1 โรงเรียน

  • โรงเรียนบ้านร่มเกล้า 2

รายชื่อโรงเรียน พื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้

จังหวัด นราธิวาส จำนวน 6 โรงเรียน

  • โรงเรียนผดุงมาตร
  • โรงเรียนสวนพระยาวิทยา
  • โรงเรียนราชพัฒนา
  • โรงเรียนนราสิกขาลัย
  • โรงเรียนพิทักษ์วิยากุมุง
  • บ้านบูเก๊ะตาโมง มิตรภาพที่ 128

จังหวัดสงขลา จำนวน 20 โรงเรียน

  • โรงเรียนบ้านม้างอน
  • โรงเรียนวัดประจ่า
  • โรงเรียนจะนะชนูปถัมภ์
  • โรงเรียนบ้านป่าโอน
  • โรงเรียนชุมชนนิคม สร้างตนเองเทพา
  • โรงเรียนบ้านกระอาน
  • โรงเรียนบ้านวังใหญ่
  • โรงเรียนเทพา
  • โรงเรียนบ้านป่าเร็ด
  • โรงเรียนบ้านนาปรัง
  • โรงเรียนทับช้างวิทยาคม
  • โรงเรียนชุมชนบ้านนากัน
  • โรงเรียนบ้านโคกตก
  • โรงเรียนบ้านคอลอมุดอ
  • โรงเรียนบ้านบาโหย
  • โรงเรียนเขาแดงกุศลวิทยา
  • โรงเรียนบ้านเขาพระ
  • โรงเรียนบ้านพระพุทธ
  • โรงเรียนบ้านปากบางนาทับ
  • โรงเรียนบ้านคูนายสังข์

จังหวัดยะลา จำนวน 10 โรงเรียน

  • โรงเรียนบ้านราโมง
  • โรงเรียนพัฒนาบาลอ
  • โรงเรียนบ้านโกตาบารู
  • โรงเรียนบ้านตะโละหะลอ
  • โรงเรียนบ้านคลองน้ำใส
  • โรงเรียนบ้านสะเอะ
  • โรงเรียนกาบังพิทยาคม
  • บ้านด่านสันติราษฎร์
  • อัยเยอร์เวง
  • บ้านจุโป

จังหวัดปัตตานี จำนวน 8 โรงเรียน

  • โรงเรียนวุฒิชัยวิทยา
  • โรงเรียนบ้านกระเสาะ
  • โรงเรียนบ้านตะโละไกรทอง
  • โรงเรียนบ้านน้ำดำ
  • โรงเรียนบ้านโลทู
  • โรงเรียนบ้านวังกว้าง
  • โรงเรียนวังกะพ้อพิทยาคม
  • บ้านบางทัน

รายชื่อโรงเรียน ภาคตะวันตก

จังหวัดตาก จำนวน 1 โรงเรียน

  • โรงเรียนบ้านร่มเกล้า 2