โรงเรียนญี่ปุ่นยกระดับมาตรการป้องกันเด็กฆ่าตัวตาย
โดย : KYODO NEWS
แปลและเรียบเรียง : นงลักษณ์ อัจนปัญญา

โรงเรียนญี่ปุ่นยกระดับมาตรการป้องกันเด็กฆ่าตัวตาย

รงเรียนทุกแห่งทั่วประเทศญี่ปุ่นยกระดับมาตรการคุมเข้มเพื่อดูแล รับมือ และป้องกัน ปัญหาเด็กนักเรียนฆ่าตัวตายที่มีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นหลังเกิดวิกฤตการระบาดของโควิด-19 ในประเทศ โดยมาตรการยังรวมถึงการจัดประชุมเกี่ยวกับภาวะสุขภาพจิต และใช้เทคโนโลยีเพื่อช่วยนักเรียนในการรายงานอารมณ์ความรู้สึก หรือสภาพจิตใจของตนเอง 

สำนักข่าวเกียวโดของญี่ปุ่นรายงานว่า บรรดาโรงเรียนทั่วประเทศญี่ปุ่นต่างยกระดับปรับปรุงและจัดทำมาตรการต่าง ๆ เพื่อป้องกันปัญหาเด็กนักเรียนฆ่าตัวตาย ทั้งนี้ในช่วงที่เกิดการระบาดของโควิด-19 พบสถิติเด็กวัยเรียนฆ่าตัวตายเพิ่มขึ้น มาตรการนี้ตั้งเป้าเข้าถึงและเยียวยาสภาพจิตใจของเด็ก ๆ ที่ตกอยู่ในภาวะความเครียดและวิตกกังวล ทั้งโดยรู้ตัวและไม่รู้ตัว ซึ่งจะช่วยให้เด็กไม่คิดสั้น ตัดช่องน้อยแต่พอตัว

ทั้งนี้ มีรายงานว่า ในช่วงปี 2020 ซึ่งเกิดการระบาดของโควิด-19 มีจำนวนเด็กวัยเรียนฆ่าตัวตายมากที่สุดเป็นประวัติการณ์จำนวน 499 ราย โดยคาดการณ์ว่าเป็นผลมาจากความรู้สึกโดดเดี่ยวที่เด็กต้องเผชิญจากมาตรการล็อกดาวน์ จนทำให้ไม่สามารถเดินทางไปโรงเรียนได้นานร่วมหลายเดือน ขณะที่ในปี 2021 นี้ เฉพาะครึ่งปีแรก ข้อมูลตัวเลขจากหน่วยงานรัฐพบว่า ตัวเลขของเด็กฆ่าตัวตายยังคงเพิ่มสูงขึ้นเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว 

ในการประชุมว่าด้วยการศึกษาสุขภาพจิต ซึ่งจัดโดยโรงเรียนมัธยมในเขตจังหวัดวากายามะ ทางตะวันตกของญี่ปุ่น เมื่อเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา ที่ปรึกษาโรงเรียนรายหนึ่งอธิบายว่า พบสัญญาณบ่งชี้ความเสี่ยงในเด็กนักเรียนราว 140 คน ที่มีอาการเข้าข่ายเงื่อนไขที่สามารถพัฒนาเป็นปัญหาสุขภาพจิต จนมีโอกาสฆ่าตัวตายได้ 

เอริโกะ ฟูจิตะ ที่ปรึกษาและนักจิตวิทยาอาชีพวัย 54 ปี ซึ่งทำหน้าที่ให้คำปรึกษากับบรรดาเด็กวัยเรียน โดยเฉพาะเด็กนักเรียนชั้นประถมศึกษา ให้คำแนะนำว่า หากพบเด็กที่มีสัญญาณเข้าข่ายปัญหาสุขภาพจิต เบื้องต้นให้หากิจกรรมที่ดึงตัวเองออกจากความจำเจหรือความเคยชิน เช่น ลองแวะร้านขายขนมหรือของหวาน หรือใช้เวลาอยู่กับสัตว์เลี้ยงให้มากขึ้น 

“คุณสามารถเรียนรู้สภาพจิตใจของตนเองด้วยการสังเกตการเปลี่ยนแปลงในจิตใจและพฤติกรรมของตนเอง” ฟูจิตะกล่าว

ด้านนักเรียนมัธยมหญิงรายหนึ่งที่ได้มีโอกาสเข้าร่วมการประชุมดังกล่าวเพื่อพูดคุยแลกเปลี่ยนประสบการณ์ปัญหาสุขภาพจิตของตนเอง เล่าว่า จุดเริ่มต้นของการช่วยเหลือที่ดีที่สุดเริ่มต้นจากการทำให้ตัวเด็กนักเรียนเองตระหนักและเข้าใจว่า ตนเองมีปัญหาสุขภาพจิตใจและต้องการความช่วยเหลือ 

ในกรณีของนักเรียนหญิงรายนี้ เจ้าตัวเล่าว่าได้รับการติดต่อจากเจ้าหน้าที่และผู้เชี่ยวชาญในพื้นที่ทันทีที่ตนเองรู้สึกว่าสภาวะจิตใจของตนกำลังเลวร้ายมากขึ้น และอยากได้รับความช่วยเหลือจากใครสักคน

“ไม่ใช่เรื่องที่น่าอายแต่อย่างใดในการที่จะส่งสัญญาณ SOS (รหัสขอความช่วยเหลือ)” นักเรียนหญิงรายนี้กล่าว 

โดยนับตั้งแต่ที่โรงเรียนในจังหวัดวากายามะจัดการประชุมในลักษณะดังกล่าวขึ้น มีนักเรียนจำนวนมากเริ่มเปิดใจและขอรับคำปรึกษาเกี่ยวกับปัญหาสุขภาพจิตของตนเองกับบรรดาคุณครู ซึ่งสอดคล้องกับคำแนะนำและความปรารถนาของนักจิตวิทยาอย่างฟูจิตะ ที่มองว่า ความตระหนักรู้เป็นกุญแจสำคัญที่จะทำให้ความช่วยเหลือและฟื้นฟูเยียวยาสภาพจิตใจเด็กเพื่อป้องกันการคิดสั้นฆ่าตัวตาย แผ่ขยายครอบคลุมสังคมในวงกว้างได้อย่างทั่วถึงและรวดเร็ว 

นอกจากการเดินหน้าจัดให้มีการอบรมให้ความรู้ อาทิ การอธิบายแนะนำให้นักเรียนตระหนักและเข้าใจสภาวะทางอารมณ์และจิตใจของตนเองแล้ว โรงเรียนอีกหลายแห่งยังเพิ่มวิธีการรับมือและป้องกันปัญหาสุขภาพจิตที่อาจนำไปสู่การฆ่าตัวตายในเด็กวัยเรียนด้วยการใช้เทคโนโลยีมาเป็นตัวช่วยสำคัญ 

โดยเมื่อเดือนเมษายนที่ผ่านมา คณะกรรมการการศึกษาแห่งมหานครโอซาก้าได้เริ่มต้นนำแอปพลิเคชันที่ใช้ชื่อว่า “weather of the heart” (สภาวะอากาศของหัวใจ) เข้ามาใช้เพื่อตรวจสอบสภาพจิตใจของเด็กนักเรียนในโอซาก้า โดยตัวแอปพลิเคชันได้รับการดาวน์โหลดลงบนแท็บเล็ตและคอมพิวเตอร์ที่นักเรียนระดับประถมศึกษาและมัธยมตอนต้นทุกคนในโอซาก้าใช้กันอยู่

ทั้งนี้ ตัวแอปพลิเคชันจะเปิดให้นักเรียนเลือกสภาวะจิตใจของตนเองในทุก ๆ วันตอนเช้า โดยใช้สัญลักษณ์พยากรณ์อากาศ อย่าง อาทิตย์สดใส มีเมฆขมุกขมัว ฝนตก หรือสายฟ้าฟาด เพื่อบ่งชี้ถึงความรู้สึกของตนเองในแต่ละวัน ผลลัพธ์ดังกล่าวจะถูกส่งตรงไปยังอุปกรณ์ของครูเพื่อให้ครูรับทราบสภาวะอารมณ์และจิตใจของเด็กในแต่ละวัน ว่ามีการเปลี่ยนแปลงไปจากเดิมมากน้อยเพียงใด ซึ่งจะช่วยให้สามารถดำเนินการสอบถามเพิ่มเติมอย่างเหมาะสมได้ 

หนึ่งในสมาชิกคณะกรรมการการศึกษาของมหานครโอซาก้ากล่าวว่า แอปพลิเคชันดังกล่าวถือเป็นผู้ช่วยที่ดีของครู โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับคุณครูมือใหม่ที่ยังมีประสบการณ์การสอนไม่มากพอ 

ทั้งนี้ ปีที่แล้วพบสถิติว่านักเรียนฆ่าตัวตายมากที่สุดในช่วงเดือนสิงหาคม จำนวน 65 ราย ตามด้วยเดือนกันยายนที่ 55 ราย โดยตัวเลขดังกล่าวบ่งชี้ว่า นักเรียนส่วนใหญ่รู้สึกตกอยู่ภาวะกดดันทางจิตใจที่จะต้องกลับไปเรียนหลังจากที่หยุดเรียนภาคฤดูร้อนไปเป็นเวลานานกว่าปกติ

เท็ตสึรุ โนดะ ศาสตราจารย์ด้านการศึกษาครูแห่งมหาวิทยาลัยเฮียวโกะ กล่าวว่า ในขณะที่การเตรียมสิ่งอำนวยความสะดวกและสภาพแวดล้อมให้เด็กสามารถส่งสัญญาณ SOS เพื่อขอความช่วยเหลือเป็นสิ่งสำคัญ โรงเรียนทั้งหลายก็ควรเตรียมระบบในการตอบรับ ตอบสนองความช่วยเหลือที่ส่งตรงมาอย่างรอบคอบระมัดระวังด้วยเช่นกัน 

นอกจากนี้ ศาสตราจารย์โนดะยังแนะนำว่า รัฐบาลและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจำเป็นต้องขยายความช่วยเหลือในด้านนี้ให้กับโรงเรียนทั่วญี่ปุ่น ด้วยการเพิ่มจำนวนครูและที่ปรึกษา ซึ่งจะช่วยให้เด็กนักเรียนมีช่องทางขอความช่วยเหลือได้อย่างทันท่วงที ก่อนที่จะคิดลงมือทำร้ายตนเอง 

ที่มา : Schools take action against rising pandemic-linked student suicides

รายชื่อโรงเรียน พื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้

จังหวัด นราธิวาส จำนวน 4 โรงเรียน

  • โรงเรียนผดุงมาตร
  • โรงเรียนสวนพระยาวิทยา
  • โรงเรียนราชพัฒนา
  • โรงเรียนนราสิกขาลัย

จังหวัดยะลา จำนวน 15 โรงเรียน

  • โรงเรียนไทยรัฐวิทยา 94 (บ้านบ่อน้ำร้อน)
  • โรงเรียนคุรุชนพัฒนา
  • โรงเรียนบ้านตาเซะ
  • โรงเรียนบ้านราโมง
  • โรงเรียนบ้านกาตอง
  • โรงเรียนบ้านหลักเขต
  • โรงเรียนพัฒนาบาลอ
  • โรงเรียนบ้านโกตาบารู
  • โรงเรียนบ้านตะโละหะลอ
  • โรงเรียนบ้านเยาะ
  • โรงเรียนบ้านโต
  • โรงเรียนบ้านลูโบ๊ะปันยัง
  • โรงเรียนบ้านคลองน้ำใส
  • โรงเรียนบ้านสะเอะ
  • โรงเรียนกาบังพิทยาคม

จังหวัดปัตตานี จำนวน 16 โรงเรียน

  • โรงเรียนวุฒิชัยวิทยา
  • โรงเรียนนิคมสร้างตนเองโคกโพธิ์ มิตรภาพที่ 148
  • โรงเรียนบ้านบางมะรวด
  • โรงเรียนบ้านท่าน้ำตะวันออก
  • โรงเรียนบ้านน้ำบ่อ
  • โรงเรียนบ้านปาลัส
  • โรงเรียนบ้านตรัง
  • โรงเรียนบ้านกระเสาะ
  • โรงเรียนบ้านบูดี
  • โรงเรียนบ้านฝาง
  • โรงเรียนบ้านตะโละไกรทอง
  • โรงเรียนบ้านน้ำดำ
  • โรงเรียนบ้านโลทู
  • โรงเรียนบ้านวังกว้าง
  • โรงเรียนสะนอพิทยาคม
  • โรงเรียนวังกะพ้อพิทยาคม

รายชื่อโรงเรียน ภาคตะวันตก

จังหวัดตาก จำนวน 1 โรงเรียน

  • โรงเรียนบ้านร่มเกล้า 2

รายชื่อโรงเรียน พื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้

จังหวัด นราธิวาส จำนวน 6 โรงเรียน

  • โรงเรียนผดุงมาตร
  • โรงเรียนสวนพระยาวิทยา
  • โรงเรียนราชพัฒนา
  • โรงเรียนนราสิกขาลัย
  • โรงเรียนพิทักษ์วิยากุมุง
  • บ้านบูเก๊ะตาโมง มิตรภาพที่ 128

จังหวัดสงขลา จำนวน 20 โรงเรียน

  • โรงเรียนบ้านม้างอน
  • โรงเรียนวัดประจ่า
  • โรงเรียนจะนะชนูปถัมภ์
  • โรงเรียนบ้านป่าโอน
  • โรงเรียนชุมชนนิคม สร้างตนเองเทพา
  • โรงเรียนบ้านกระอาน
  • โรงเรียนบ้านวังใหญ่
  • โรงเรียนเทพา
  • โรงเรียนบ้านป่าเร็ด
  • โรงเรียนบ้านนาปรัง
  • โรงเรียนทับช้างวิทยาคม
  • โรงเรียนชุมชนบ้านนากัน
  • โรงเรียนบ้านโคกตก
  • โรงเรียนบ้านคอลอมุดอ
  • โรงเรียนบ้านบาโหย
  • โรงเรียนเขาแดงกุศลวิทยา
  • โรงเรียนบ้านเขาพระ
  • โรงเรียนบ้านพระพุทธ
  • โรงเรียนบ้านปากบางนาทับ
  • โรงเรียนบ้านคูนายสังข์

จังหวัดยะลา จำนวน 10 โรงเรียน

  • โรงเรียนบ้านราโมง
  • โรงเรียนพัฒนาบาลอ
  • โรงเรียนบ้านโกตาบารู
  • โรงเรียนบ้านตะโละหะลอ
  • โรงเรียนบ้านคลองน้ำใส
  • โรงเรียนบ้านสะเอะ
  • โรงเรียนกาบังพิทยาคม
  • บ้านด่านสันติราษฎร์
  • อัยเยอร์เวง
  • บ้านจุโป

จังหวัดปัตตานี จำนวน 8 โรงเรียน

  • โรงเรียนวุฒิชัยวิทยา
  • โรงเรียนบ้านกระเสาะ
  • โรงเรียนบ้านตะโละไกรทอง
  • โรงเรียนบ้านน้ำดำ
  • โรงเรียนบ้านโลทู
  • โรงเรียนบ้านวังกว้าง
  • โรงเรียนวังกะพ้อพิทยาคม
  • บ้านบางทัน

รายชื่อโรงเรียน ภาคตะวันตก

จังหวัดตาก จำนวน 1 โรงเรียน

  • โรงเรียนบ้านร่มเกล้า 2