สมาคมสันนิบาต ฯ – กสศ. ลงนาม MOU สานพลัง ลดเหลื่อมล้ำการศึกษาผ่านเครือข่ายเทศบาลทั่วประเทศ

สมาคมสันนิบาต ฯ – กสศ. ลงนาม MOU สานพลัง ลดเหลื่อมล้ำการศึกษาผ่านเครือข่ายเทศบาลทั่วประเทศ

สมาคมสันนิบาตเทศบาลแห่งประเทศไทย ร่วมกับ กสศ. ลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือช่วยเหลือเด็กยากจนด้อยโอกาสกลับเข้าสู่ระบบลดความเหลื่อมล้ำทางการศึกษา พร้อมเชื่อมโยงการสนับสนุนเพื่อขับเคลื่อนสู่งานผ่านเทศบาล 2,400 แห่งทั่วประเทศ ควบคู่กับการพัฒนาระบบฐานข้อมูล องค์ความรู้ เครื่องมือ เพื่อสร้างโอกาสทางการศึกษา

ที่ห้องจูปิเตอร์ 4 อาคารชาเลนเจอร์ เมืองทองธานี จังหวัดนนทบุรี กองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (กสศ.) ได้ร่วมลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือกับสมาคมสันนิบาตเทศบาลแห่งประเทศไทย (ส.ท.ท.) ในการดำเนินงานร่วมกันเพื่อส่งเสริม สนับสนุนให้ความช่วยเหลือแก่เด็กและเยาวชนที่ขาดแคลนทุนทรัพย์หรือด้อยโอกาส และผู้ด้อยโอกาส ให้เข้าถึงการเรียนรู้ตลอดชีวิตเพื่อสร้างความเสมอภาคทางการศึกษา

นายพัฒนะพงษ์ สุขมะดัน ผู้ช่วยผู้จัดการกองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา เปิดเผยว่า ปัจจุบันหนึ่งในภารกิจสำคัญของกองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา ที่ได้ดำเนินการมาอย่างต่อเนื่องคือ ความพยายามในการช่วยเหลือเด็กและเยาวชนที่ครอบครัวมีฐานะยากจนพิเศษ ในกลุ่ม 20 เปอร์เซ็นต์ล่างสุดของประเทศให้ ได้รับการศึกษาจนจบการศึกษาขั้นพื้นฐานเป็นอย่างน้อย เพื่อจะได้มีความรู้ความสามารถในการออกไปประกอบอาชีพตามความถนัดและมีศักยภาพเพียงพอที่จะพึ่งพาตนเองในการดำรงชีวิตประจำวันอยู่ได้

ที่ผ่านมา กสศ. มีบทบาทหน้าที่ในการเหนี่ยวนำให้ทุกภาคส่วนได้เกิดความร่วมมือเพื่อช่วยกันกำหนดเป้าหมายต่อการพัฒนานโยบายลดความเหลี่อมล้ำสร้างความเสมอภาคทางการศึกษา โดยมุ่งเป้าไปที่กลุ่มเด็กและเยาวชนที่ยังขาดโอกาสทางการศึกษามากที่สุด ถือว่าสอดคล้องกับบทบาทของเทศบาลทั่วประเทศที่มีหน้าที่สำคัญอย่างยิ่งในการส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตเด็กและเยาวชน โดยครอบคลุมทั้งกลุ่มเด็กในระบบและนอกระบบการศึกษา ตลอดจนไปถึงเด็กที่หลุดจากระบบการศึกษา

นายพัฒนะพงษ์ สุขมะดัน ผู้ช่วยผู้จัดการ กสศ.

“ในการลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือระหว่างสมาคมสันนิบาตเทศบาล ฯ และ กสศ. ในครั้งนี้ จะนำไปสู่ความร่วมมือสำคัญคือ 1. นำองค์ความรู้และนวัตกรรมที่ได้รับไปสู่วิธีการลดความเหลื่อมล้ำทางการศึกษา และสร้างทางเลือกในการเข้าถึงการศึกษาให้มีความหลากหลายแก่เด็กและเยาวชนที่ขาดแคลนทุนทรัพย์หรือด้อยโอกาส รวมถึงผู้ด้อยโอกาส นอกจากนี้ยังมีการส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิตเพื่อให้สอดคล้องกับบริบท และความต้องการที่แตกต่าง มีหลากหลายตามบริบทของพื้นที่นั้น ๆ 2.วางกลไกการทำงานเพื่อสร้างความเสมอภาคทางการศึกษาในระดับเทศบาล และ 3.สร้างความตระหนัก และการมีส่วนร่วมของภาคภาคีเครือข่ายในพื้นที่ เพื่อขับเคลื่อนการสร้างความเสมอภาคทางการศึกษาร่วมกัน” 

นายพัฒนะพงษ์ กล่าวว่า ในนามของ กสศ. ขอขอบคุณ สมาคมสันนิบาตเทศบาลแห่งประเทศไทย คณะกรรมาธิการบริหารสมาคมสันนิบาตเทศบาล ฯ ในการร่วมมือกันเพื่อจะทำงานช่วยเหลือเด็กและเยาวชนที่ขาดแคลนทุนทรัพย์หรือด้อยโอกาส ได้เข้าถึงระบบการเรียนรู้ตลอดชีวิตเพื่อสร้างความเสมอภาคทางการศึกษาต่อไป

นายพงษ์ศักดิ์ ยิ่งชนม์เจริญ นายกสมาคมสันนิบาตเทศบาลแห่งประเทศไทย

นายพงษ์ศักดิ์ ยิ่งชนม์เจริญ นายกสมาคมสันนิบาตเทศบาลแห่งประเทศไทย กล่าวว่า สมาคมสันนิบาต ฯ เป็นศูนย์กลางของเทศบาลทั้งหมด ปัจจุบันมีสมาชิกถึง 2,400 แห่งทั่วประเทศ และเทศบาลทุกแห่งถือเป็นองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่อยู่ใกล้ชิดกับประชาชนมากที่สุด ขณะเดียวกันเทศบาลต่างมีโรงเรียนที่อยู่ภายใต้การดูแลของเทศบาลเช่นกัน ดังนั้นในแง่พื้นฐานการทำงานของเทศบาลจะมีเรื่องของการจัดการศึกษา การดูแลพื้นที่ จึงเป็นสาเหตุสำคัญที่มาร่วมมือกับกองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา เพราะ กสศ. มีนวัตกรรม ระบบการชี้เป้าถึงพื้นที่ การค้นหาเด็กยากจนด้อยโอกาส ประกอบกับเทศบาลมีทีมงานไม่ว่าจะเป็นกองสวัสดิการสังคม กองทุนสำนักงานการศึกษา สำหรับอออกไปทำงานค้นหาเด็กยากจนด้อยโอกาสร่วมกับกสศ.ในอนาคต เพราะหลังจากค้นเด็กเจอแล้วจะมีการนำเด็กกลุ่มนี้กลับเข้ามาสู่ระบบการศึกษาให้มากที่สุด

“ต้องยอมรับว่าสังคมทุกวันนี้เป็นสังคมแห่งความรู้ เมื่อใดก็ตามที่เด็กออกนอกระบบการศึกษาไปแล้ว ก็จะไม่มีอะไรช่วยให้เด็กมีหลักยึด สุดท้ายทำให้เกิดปัญหาสังคมตามมาในอนาคต ดังนั้นทางสมาคมสันนิบาต ฯ จึงต้องพยายามติดตามเด็กกลับเข้าสู่ระบบให้มากที่สุด จึงเป็นเหตุผลสำคัญที่ทำให้สมาคมสันนิบาตเทศบาลฯ ได้ลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือกับกองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา สำหรับทำงานร่วมกันสร้างโอกาสและลดความเหลื่อมล้ำทางการศึกษา” นายพงษ์ศักดิ์ กล่าว

นายกสมาคมสันนิบาตเทศบาลแห่งประเทศไทย กล่าวทิ้งท้ายว่า ท้องถิ่นมีงบประมาณเช่นเดียวกับ กสศ. จะเป็นบทบาทสำคัญในการสนับสนุนงานท้องถิ่นร่วมกัน เพื่อช่วยเหลือเด็กและเยาวชนยากจนด้อยโอกาส และในอนาคตอาจมีการจัดตั้งกองทุนสำหรับช่วยเรื่องการให้ทุนการศึกษาเด็กตลอดจนไปถึงการฝึกสอนอบรมการออกไปประกกอบวิชาชีพได้ ทั้งหมดนี้หากเทศบาล 2,400 แห่งทั่วประเทศ สามารถทำงานตรงนี้อย่างเต็มที่จะสามารถช่วยนำเด็กนอกระบบการศึกษากว่า 200,000 คน กลับเข้ามาสู่ระบบการศึกษาได้

รายชื่อโรงเรียน พื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้

จังหวัด นราธิวาส จำนวน 4 โรงเรียน

  • โรงเรียนผดุงมาตร
  • โรงเรียนสวนพระยาวิทยา
  • โรงเรียนราชพัฒนา
  • โรงเรียนนราสิกขาลัย

จังหวัดยะลา จำนวน 15 โรงเรียน

  • โรงเรียนไทยรัฐวิทยา 94 (บ้านบ่อน้ำร้อน)
  • โรงเรียนคุรุชนพัฒนา
  • โรงเรียนบ้านตาเซะ
  • โรงเรียนบ้านราโมง
  • โรงเรียนบ้านกาตอง
  • โรงเรียนบ้านหลักเขต
  • โรงเรียนพัฒนาบาลอ
  • โรงเรียนบ้านโกตาบารู
  • โรงเรียนบ้านตะโละหะลอ
  • โรงเรียนบ้านเยาะ
  • โรงเรียนบ้านโต
  • โรงเรียนบ้านลูโบ๊ะปันยัง
  • โรงเรียนบ้านคลองน้ำใส
  • โรงเรียนบ้านสะเอะ
  • โรงเรียนกาบังพิทยาคม

จังหวัดปัตตานี จำนวน 16 โรงเรียน

  • โรงเรียนวุฒิชัยวิทยา
  • โรงเรียนนิคมสร้างตนเองโคกโพธิ์ มิตรภาพที่ 148
  • โรงเรียนบ้านบางมะรวด
  • โรงเรียนบ้านท่าน้ำตะวันออก
  • โรงเรียนบ้านน้ำบ่อ
  • โรงเรียนบ้านปาลัส
  • โรงเรียนบ้านตรัง
  • โรงเรียนบ้านกระเสาะ
  • โรงเรียนบ้านบูดี
  • โรงเรียนบ้านฝาง
  • โรงเรียนบ้านตะโละไกรทอง
  • โรงเรียนบ้านน้ำดำ
  • โรงเรียนบ้านโลทู
  • โรงเรียนบ้านวังกว้าง
  • โรงเรียนสะนอพิทยาคม
  • โรงเรียนวังกะพ้อพิทยาคม

รายชื่อโรงเรียน ภาคตะวันตก

จังหวัดตาก จำนวน 1 โรงเรียน

  • โรงเรียนบ้านร่มเกล้า 2

รายชื่อโรงเรียนที่ได้รับทุนการศึกษาผ่านโครงการ Million Gift Million Smiles

จังหวัดเชียงราย จำนวน 1 โรงเรียน

  • โรงเรียนราชประชานุเคราะห์ 15
    (เวียงเก่าแสนภูวิทยาประสาท)

จังหวัดเชียงใหม่ จำนวน 3 โรงเรียน

  • โรงเรียนชลประทาน
    เขื่อนแม่กวงจิราธิวัฒน์อุปถัมภ์
  • โรงเรียนบ้านโป่งน้อย
  • โรงเรียนวัดสันคะยอม

จังหวัดลำปาง จำนวน 1 โรงเรียน

  • โรงเรียนวัดเสด็จ

จังหวัดพิษณุโลก จำนวน 1 โรงเรียน

  • โรงเรียนบ้านท่าข้าม

จังหวัดตาก จำนวน 3 โรงเรียน

  • โรงเรียนบ้านร่มเกล้า 2
  • โรงเรียนบ้านร่มเกล้า 4
  • โรงเรียนบ้านห้วยไม้แป้น

จังหวัดนครศรีธรรมราช จำนวน 4 โรงเรียน

  • โรงเรียนบ้านควนเงิน
  • โรงเรียนบ้านท่าไทร
  • โรงเรียนวัดชะอวด
  • โรงเรียนวัดไม้เสียบ

จังหวัดตรัง จำนวน 11 โรงเรียน

  • โรงเรียนท่างิ้ว (ต.ช.ด.อุปถัมภ์)
  • โรงเรียนบ้านเกาะเคี่ยม
  • โรงเรียนบ้านคลองคุ้ย
  • โรงเรียนบ้านช่องลม
  • โรงเรียนบ้านทอนเหรียน
  • โรงเรียนบ้านท่าส้ม
  • โรงเรียนบ้านบางสัก
  • โรงเรียนบ้านวังลำ
  • โรงเรียนวัดทุ่งหินผุด
  • โรงเรียนวัดวารีวง
  • โรงเรียนหาดทรายทอง

จังหวัดนราธิวาส จำนวน 6 โรงเรียน

  • โรงเรียนนราสิกขาลัย
  • โรงเรียนบ้านบูเก๊ะตาโมงมิตรภาพที่ 128
  • โรงเรียนผดุงมาตร
  • โรงเรียนพิทักษ์วิยากุมุง
  • โรงเรียนราชพัฒนา
  • โรงเรียนสวนพระยาวิทยา

จังหวัดพังงา จำนวน 2 โรงเรียน

  • โรงเรียนวัดนิโครธาราม
  • โรงเรียนวัดสุวรรณาวาส

จังหวัดปัตตานี จำนวน 8 โรงเรียน

  • โรงเรียนบ้านกระเสาะ
  • โรงเรียนบ้านตะโละไกรทอง
  • โรงเรียนบ้านน้ำดำ
  • โรงเรียนบ้านบางทัน
  • โรงเรียนบ้านโลทู
  • โรงเรียนบ้านวังกว้าง
  • โรงเรียนวังกะพ้อพิทยาคม
  • โรงเรียนวุฒิชัยวิทยา

จังหวัดยะลา จำนวน 10 โรงเรียน

  • โรงเรียนกาบังพิทยาคม
  • โรงเรียนบ้านโกตาบารู
  • โรงเรียนบ้านคลองน้ำใส
  • โรงเรียนบ้านจุโป
  • โรงเรียนบ้านด่านสันติราษฎร์
  • โรงเรียนบ้านตะโละหะลอ
  • โรงเรียนบ้านราโมง
  • โรงเรียนบ้านสะเอะ
  • โรงเรียนพัฒนาบาลอ
  • โรงเรียนอัยเยอร์เวง

จังหวัดสงขลา จำนวน 18 โรงเรียน

  • โรงเรียนเขาแดงกุศลวิทยา
  • โรงเรียนจะนะชนูปถัมภ์
  • โรงเรียนชุมชนนิคมสร้างตนเองเทพา
  • โรงเรียนชุมชนบ้านนากัน
  • โรงเรียนทับช้างวิทยาคม
  • โรงเรียนเทพา
  • โรงเรียนบ้านเขาพระ
  • โรงเรียนบ้านคอลอมุดอ
  • โรงเรียนบ้านคูนายสังข์
  • โรงเรียนบ้านโคกตก
  • โรงเรียนบ้านนาปรัง
  • โรงเรียนบ้านบาโหย
  • โรงเรียนบ้านปากบางนาทับ
  • โรงเรียนบ้านป่าเร็ด
  • โรงเรียนบ้านพระพุทธ
  • โรงเรียนบ้านม้างอน
  • โรงเรียนบ้านม้างอน
  • โรงเรียนวัดประจ่า