ออสเตรเลียประกาศยุทธศาสตร์การศึกษาปฐมวัยเพื่อเด็กอะบอริจิน
โดย : Aaron Bloch
แปลและเรียบเรียง : นงลักษณ์ อัจนปัญญา

ออสเตรเลียประกาศยุทธศาสตร์การศึกษาปฐมวัยเพื่อเด็กอะบอริจิน

รัฐบาลกลางออสเตรเลียเปิดเผยแผนยุทธศาสตร์การศึกษาสำหรับเด็กปฐมวัยเพื่อเด็กชาวอะบอริจิน หรือ เด็กจากชนเผ่าพื้นเมือง ภายใต้ความร่วมมือกับองค์กรไม่แสวงหาผลกำไรอย่าง SNAICC และ National Voice for our Children โดยเป็นส่วนตัวของแผนยุทธศาสตร์เพื่อการพัฒนาชาวอะบอริจินและชาวเกาะช่องแคบทอร์เรส (National Aboriginal and Torres Strait Islander Early Childhood Strategy)

ทั้งนี้ SNAICC เป็นองค์กรระดับประเทศที่จัดตั้งขึ้นเพื่อปกป้องและรักษาผลประโยชน์ของเด็กและครอบครัวชนเผ่าพื้นเมืองในออสเตรเลีย

รายงานระบุว่า ยุทธศาสตร์ดังกล่าวเป็นกรอบการทำงานระยะยาวสำหรับความร่วมมือที่เข้มแข็งขึ้นในการปรับปรุงยกระดับผลการศึกษาของเด็กชนเผ่าพื้นเมืองในระดับปฐมวัย ซึ่งเคน ไวแอตต์ (Ken Wyatt) รัฐมนตรีกระทรวงชนพื้นเมืองของออสเตรเลียกล่าวว่า กรอบการทำงานดังกล่าว เป็นการตอบสนองต่อความต้องการความร่วมมือที่มากขึ้นระหว่างรัฐบาลกลางและเจ้าหน้าที่ให้พื้นที่ซึ่งทำหน้าที่ในฐานะผู้ให้บริการแก่ประชาชนโดยตรง

“วิธีการทำงานรูปแบบใหม่นี้จะทำงานภายใต้โครงการ Closing the Gap (ข้อตกลงเบื้องต้นของรัฐบาลกลางออสเตรเลียที่ร่วมมือกับรัฐบาลท้องถิ่น โดยมีเป้าหมายเพื่อลดช่องว่างความเหลื่อมล้ำระหว่างชาวออสเตรเลียทั่วไปกับชาวออสเตรเลียในกลุ่มชนเผ่าพื้นเมือง) ซึ่งทำให้เกิดกรอบการทำงานเพื่อให้มีแนวทางทั้งของรัฐบาลและทั้งชุมชนในการพัฒนาเด็ก” ไวแอตต์ รัฐมนตรีกระทรวงชนพื้นเมืองของออสเตรเลียกล่าว

ทั้งนี้ ยุทธศาสตร์ดังกล่าวจะมุ่งเน้นไปที่การส่งเสริมสนับสนุนการศึกษาเรียนรู้ของเด็กพื้นเมืองในระดับปฐมวัย รวมถึงให้การดูแลด้านสุขภาพ ที่อยู่อาศัย ความปลอดภัย ความทุพพลภาพ ภาคส่วนแรงงาน และการเชื่อมโยงทางวัฒนธรรม เพื่อให้เด็กพื้นเมืองมีสภาพแวดล้อมที่ดีและเหมาะสมต่อพัฒนาการการเติบโตของตน พร้อมกำหนดวิสัยทัศน์ไว้ว่า “เด็กชาวอะบอริจินและชาวเกาะช่องแคบทอร์เรสทุกคนต้องเกิดและเติบโตมามีสุขภาพแข็งแรงและยังคงความเข้มแข็ง ได้รับการเลี้ยงดูจากครอบครัวที่เข้มแข็งและเติบโตได้อย่างดีนับตั้งแต่ย่างก้าวแรกของชีวิต”

ขณะเดียวกัน แผนยุทธศาสตร์ที่ยึดเด็กเป็นศูนย์กลางและต่อยอดจากข้อตกลง Closing the Gap ยังครอบคลุมถึงงบช่วยเหลือสำหรับการศึกษาของเด็กปฐมวัยหรือเด็กก่อนวัยเรียน มูลค่า 123 ล้านดอลลาร์ออสเตรเลีย ที่รัฐบาลกลางประกาศไปก่อนหน้านี้ และหมายรวมถึงเงินลงทุนมูลค่า 9.1 ล้านดอลลาร์ออสเตรเลีย เพื่อสนับสนุนโครงการนำร่องเพื่อสนับสนุนการศึกษาของเด็กวัยประถม หรือ Intermediary Services Support Pilot ของ SNAICC

ด้านสจวร์ต โรเบิร์ต (Stuart Robert) รักษาการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการและเยาวชนแสดงความเห็นว่าโครงการนำร่องนี้จะช่วยปรับปรุงคุณภาพและเพิ่มการเข้าถึงการฝึกอบรมและการพัฒนาสำหรับนักการศึกษาที่ทำงานใกล้ชิดกับประชากรชนเผ่าพื้นเมืองของออสเตรเลีย

“รัฐบาล (ออสเตรเลีย) กำลังแสวงหาการลงทุนร่วมจากรัฐบาลของแต่ละรัฐและเขตปกครองเพื่อสนับสนุนโครงการนำร่อง ในการเสริมสร้างองค์กรระดับชุมชนให้เข้มแข็งยิ่งขึ้น และให้การเข้าถึงการศึกษาปฐมวัยที่มีคุณภาพมากขึ้น เพื่อให้เด็กๆ ชนเผ่าพื้นเมืองมีความพร้อมที่จะไปโรงเรียนตามหลักสูตรภาคบังคับต่อไป” รัฐมนตรีโรเบิร์ตกล่าว

ขณะที่แอน รัสตัน (Anne Ruston) รัฐมนตรีเพื่อครอบครัวและบริการสังคมแห่งออสเตรเลีย กล่าวเสริมว่า แผนยุทธศาสตร์ในครั้งนี้ยังมีส่วนช่วยลดจำนวนเด็กชนเผ่าพื้นเมืองที่มีปัญหาจนต้องไปรายงานตัวในสถานดูแลเด็กและเยาวชน โดยกลยุทธ์นี้จะทำงานร่วมกับกรอบการทำงานแห่งชาติเพื่อการปกป้องเด็กของออสเตรเลียปี 2021-2031 (National Framework for Protecting Australia’s Children 2021-2031) ซึ่งเป็นกรอบการทำงานระดับชาติระยะเวลา10 ปีที่เพิ่งเปิดตัวเมื่อช่วงกลางเดือนมกราคมที่ผ่านมา โดยมีเป้าหมายเพื่อผลักดันการเปลี่ยนแปลงผ่านความพยายามร่วมกันในทุกด้านที่จะเข้าถึงเด็ก คนหนุ่มสาว และครอบครัวชนเผ่าพื้นเมืองในออสเตรเลียที่ต้องการความช่วยเหลือ

“ด้วยความร่วมมืออย่างแท้จริงกับชุมชนชาวอะบอริจินและชาวเกาะช่องแคบทอร์เรส เราสามารถพัฒนาวิธีแก้ปัญหาที่นำโดยชุมชนเพื่อรับมือกับความท้าทายในพื้นที่ได้” รัสตัน รัฐมนตรีเพื่อครอบครัวและบริการสังคมแห่งออสเตรเลีย กล่าว

ขณะเดียวกัน ทางด้าน SNAICC แสดงความยินดีกับการอนุมัติยุทธศาสตร์ชาติดังกล่าว โดย แคทเธอรีน ลิดเดิล (Catherine Liddle) ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร (ซีอีโอ) ของ SNAICC เชื่อว่า เป็น “การเคลื่อนไหวที่มุ่งไปในทิศทางที่ถูกต้อง” และว่า กลยุทธ์ดังกล่าวจะเปิดโอกาสในการทำงานข้ามภาคส่วนและกับรัฐบาลและชุมชนพื้นเมืองเพื่อสร้างแพลตฟอร์มที่แข็งแกร่งสำหรับการศึกษาของเด็กก่อนวัยเรียน

ด้านผู้ช่วยศาสตราจารย์มิวเรียล แบมเบล็ตต์ (Muriel Bamblett) ประธาน SNAICC แสดงความเห็นเพิ่มเติมว่า แผนยุทธศาสตร์เป็นเสมือนแผนแม่บทในการทำงานร่วมกับชุมชนพื้นเมืองเพื่อสานต่อสิ่งที่เกิดขึ้นเพื่อลูกหลานชนเผ่าพื้นเมืองของออสเตรเลีย

นอกจากนี้ ผู้ช่วยศาสตราจารย์แบมเบล็ตต์ยังหวังว่า ความเชื่อมโยงของเด็กๆ ชาวอะบอริจินกับวัฒนธรรมและประเทศจะคงอยู่ เพื่อให้เด็กเหล่านี้สามารถสานต่อวิถีชีวิตและเรื่องราวของบรรพบุรุษชนเผ่าพื้นเมืองต่อไปได้หลายชั่วอายุคน ควบคู่ไปกับการเรียนรู้โลกสมัยใหม่ในฐานะพลเรือนของประเทศ“การแก้ปัญหาที่นำโดยชนพื้นเมืองจะช่วยให้มั่นใจได้ว่าเด็กและคนหนุ่มสาวชาวอะบอริจินและชาวเกาะช่องแคบทอร์เรสจะมีโอกาสใช้ชีวิตอย่างมีความสุขและมีสุขภาพดี เข้มแข็งในวัฒนธรรมและเอกลักษณ์ของพวกเขา” ผู้ช่วยศาสตราจารย์แบมเบล็ตต์กล่าวปิดท้าย

ที่มา : National Early Childhood Strategy announced for First Nations children

รายชื่อโรงเรียน พื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้

จังหวัด นราธิวาส จำนวน 4 โรงเรียน

  • โรงเรียนผดุงมาตร
  • โรงเรียนสวนพระยาวิทยา
  • โรงเรียนราชพัฒนา
  • โรงเรียนนราสิกขาลัย

จังหวัดยะลา จำนวน 15 โรงเรียน

  • โรงเรียนไทยรัฐวิทยา 94 (บ้านบ่อน้ำร้อน)
  • โรงเรียนคุรุชนพัฒนา
  • โรงเรียนบ้านตาเซะ
  • โรงเรียนบ้านราโมง
  • โรงเรียนบ้านกาตอง
  • โรงเรียนบ้านหลักเขต
  • โรงเรียนพัฒนาบาลอ
  • โรงเรียนบ้านโกตาบารู
  • โรงเรียนบ้านตะโละหะลอ
  • โรงเรียนบ้านเยาะ
  • โรงเรียนบ้านโต
  • โรงเรียนบ้านลูโบ๊ะปันยัง
  • โรงเรียนบ้านคลองน้ำใส
  • โรงเรียนบ้านสะเอะ
  • โรงเรียนกาบังพิทยาคม

จังหวัดปัตตานี จำนวน 16 โรงเรียน

  • โรงเรียนวุฒิชัยวิทยา
  • โรงเรียนนิคมสร้างตนเองโคกโพธิ์ มิตรภาพที่ 148
  • โรงเรียนบ้านบางมะรวด
  • โรงเรียนบ้านท่าน้ำตะวันออก
  • โรงเรียนบ้านน้ำบ่อ
  • โรงเรียนบ้านปาลัส
  • โรงเรียนบ้านตรัง
  • โรงเรียนบ้านกระเสาะ
  • โรงเรียนบ้านบูดี
  • โรงเรียนบ้านฝาง
  • โรงเรียนบ้านตะโละไกรทอง
  • โรงเรียนบ้านน้ำดำ
  • โรงเรียนบ้านโลทู
  • โรงเรียนบ้านวังกว้าง
  • โรงเรียนสะนอพิทยาคม
  • โรงเรียนวังกะพ้อพิทยาคม

รายชื่อโรงเรียน ภาคตะวันตก

จังหวัดตาก จำนวน 1 โรงเรียน

  • โรงเรียนบ้านร่มเกล้า 2

รายชื่อโรงเรียน พื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้

จังหวัด นราธิวาส จำนวน 6 โรงเรียน

  • โรงเรียนผดุงมาตร
  • โรงเรียนสวนพระยาวิทยา
  • โรงเรียนราชพัฒนา
  • โรงเรียนนราสิกขาลัย
  • โรงเรียนพิทักษ์วิยากุมุง
  • บ้านบูเก๊ะตาโมง มิตรภาพที่ 128

จังหวัดสงขลา จำนวน 20 โรงเรียน

  • โรงเรียนบ้านม้างอน
  • โรงเรียนวัดประจ่า
  • โรงเรียนจะนะชนูปถัมภ์
  • โรงเรียนบ้านป่าโอน
  • โรงเรียนชุมชนนิคม สร้างตนเองเทพา
  • โรงเรียนบ้านกระอาน
  • โรงเรียนบ้านวังใหญ่
  • โรงเรียนเทพา
  • โรงเรียนบ้านป่าเร็ด
  • โรงเรียนบ้านนาปรัง
  • โรงเรียนทับช้างวิทยาคม
  • โรงเรียนชุมชนบ้านนากัน
  • โรงเรียนบ้านโคกตก
  • โรงเรียนบ้านคอลอมุดอ
  • โรงเรียนบ้านบาโหย
  • โรงเรียนเขาแดงกุศลวิทยา
  • โรงเรียนบ้านเขาพระ
  • โรงเรียนบ้านพระพุทธ
  • โรงเรียนบ้านปากบางนาทับ
  • โรงเรียนบ้านคูนายสังข์

จังหวัดยะลา จำนวน 10 โรงเรียน

  • โรงเรียนบ้านราโมง
  • โรงเรียนพัฒนาบาลอ
  • โรงเรียนบ้านโกตาบารู
  • โรงเรียนบ้านตะโละหะลอ
  • โรงเรียนบ้านคลองน้ำใส
  • โรงเรียนบ้านสะเอะ
  • โรงเรียนกาบังพิทยาคม
  • บ้านด่านสันติราษฎร์
  • อัยเยอร์เวง
  • บ้านจุโป

จังหวัดปัตตานี จำนวน 8 โรงเรียน

  • โรงเรียนวุฒิชัยวิทยา
  • โรงเรียนบ้านกระเสาะ
  • โรงเรียนบ้านตะโละไกรทอง
  • โรงเรียนบ้านน้ำดำ
  • โรงเรียนบ้านโลทู
  • โรงเรียนบ้านวังกว้าง
  • โรงเรียนวังกะพ้อพิทยาคม
  • บ้านบางทัน

รายชื่อโรงเรียน ภาคตะวันตก

จังหวัดตาก จำนวน 1 โรงเรียน

  • โรงเรียนบ้านร่มเกล้า 2