กสศ. จับมือคุรุสภา ปั้นต้นแบบการผลิตและพัฒนาครูรุ่นใหม่เชื่อมต่อการทำงานลดความเหลื่อมล้ำ ชูความสำเร็จ “โครงการครูรัก(ษ์)ถิ่น” 4 ปี ปั้นแม่พิมพ์ครูนักพัฒนาโรงเรียนห่างไกล 1,172 คน

กสศ. จับมือคุรุสภา ปั้นต้นแบบการผลิตและพัฒนาครูรุ่นใหม่เชื่อมต่อการทำงานลดความเหลื่อมล้ำ ชูความสำเร็จ “โครงการครูรัก(ษ์)ถิ่น” 4 ปี ปั้นแม่พิมพ์ครูนักพัฒนาโรงเรียนห่างไกล 1,172 คน

เมื่อวันที่ 24 สิงหาคม 66 กองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (กสศ.) และสำนักงานเลขาธิการคุรุสภา ได้ลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MOU) ในการดำเนินการพัฒนาคุณภาพและประสิทธิภาพครู และบุคลากรทางการศึกษา และร่วมขับเคลื่อนสถาบันต้นแบบในการผลิตและพัฒนาครู ระหว่างปี 2566-2570 โดยมีผู้บริหารสำนักงานเลขาธิการครุสภา ผู้บริหารกองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา ผู้ทรงคุณวุฒิ ตัวแทนนักศึกษาในโครงการครูรัก(ษ์)ถิ่น และสื่อมวลชน เข้าร่วม ณ ห้องประชุมไทยาจารย์ สำนักงานเลขาธิการครุสภา

ผศ.ดร.อมลวรรณ วีระธรรมโม เลขาธิการคุรุสภา กล่าวว่า การลงนาม MOU ครั้งนี้จะเป็นการร่วมมือกันสนับสนุนการศึกษา วิจัย หรือค้นคว้าแนวทางในการพัฒนาคุณภาพการศึกษาของประเทศไทยผ่านการผลิตและพัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษาให้มีจิตวิญญาณของความเป็นครู มีคุณธรรมจริยธรรม มีจรรยาบรรณวิชาชีพ และมีสมรรถนะในการจัดการเรียนการสอน เพื่อลดความเหลื่อมล้ำและสร้างโอกาสทางการศึกษาให้แก่ผู้เรียนทุกคน เพื่อสนับสนุนการปรับระบบผลิตและพัฒนาครูโดยให้มีสถาบันต้นแบบตามเจตนารมณ์ของ พ.ร.บ.สภาครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ.2564 และ พ.ร.บ.กองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา พ.ศ. 2561 ซึ่งมุ่งส่งเสริมให้มีระบบการพัฒนาวิชาชีพครูอย่างต่อเนื่อง สร้างเครือข่ายการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในประเด็นที่สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงของโลกปัจจุบัน พัฒนาและสร้างเสริมทักษะวิชาชีพครูตั้งแต่ระดับปฐมวัยจนถึงระดับอุดมศึกษาให้ตรงกับความต้องการ และเพื่อร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐและเอกชน จัดทำข้อเสนอเชิงนโยบายในการสนับสนุน ส่งเสริม และปรับปรุงการผลิตและพัฒนาครูของประเทศไทย 

“สำนักงานเลขาธิการคุรุสภา และ กสศ. ได้ร่วมกันวางแผนและกำหนดกลยุทธ์การดำเนินงานเพื่อส่งเสริมและพัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษาให้มีศักยภาพ มีคุณธรรมจริยธรรม และมีจิตวิญญาณความเป็นครูตามกลุ่มเป้าหมายที่กำหนด สนับสนุนให้สถาบันผลิตและพัฒนาครู ออกแบบและปรับปรุงแผนการผลิตและพัฒนาครูแนวใหม่ ครอบคลุมการพัฒนากลุ่มเป้าหมายเพื่อลดช่องว่างความเหลื่อมล้ำทางการศึกษาที่นำมาสู่ความเสมอภาคทางสังคมและเศรษฐกิจของประเทศ”  ผศ.ดร.อมลวรรณ กล่าว

ด้าน ดร.ไกรยส ภัทราวาท ผู้จัดการ กสศ. กล่าวว่า กสศ. มีพันธกิจในการช่วยเหลือผู้ขาดแคลนทุนทรัพย์ ลดความเหลื่อมล้ำทางการศึกษา เสริมสร้างและพัฒนาคุณภาพและประสิทธิภาพครูและโรงเรียนเพื่อลดความเหลื่อมล้ำทางการศึกษาอยู่แล้ว เช่น ดำเนินโครงการครูรัก(ษ์)ถิ่นร่วมกับกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม (อว.) กระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา (ก.ค.ศ.) และสำนักงานเลขาธิการคุรุสภา ตั้งแต่ปี 2563 เพื่อสร้างโอกาสทางการศึกษาสำหรับนักเรียนด้อยโอกาสในพื้นที่ห่างไกลให้ได้เป็นครูรุ่นใหม่ ด้วยวิธีการวิจัยเชิงปฏิบัติการในลักษณะ SOCIAL LAB ด้วยแนวคิดสร้างโอกาส ปรับเปลี่ยนกระบวนการจัดการเรียนการสอนของคณะครุศาสตร์-ศึกษาศาสตร์ และการพัฒนาโรงเรียนในพื้นที่ห่างไกลไปพร้อม ๆ กับการมีส่วนร่วมในการผลิตและพัฒนาครู เพื่อให้ครูรุ่นใหม่เป็น “ครูนักพัฒนา” หรือ “ครูนวัตกรชุมชน” เพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษา และลดปัญหาการขาดแคลนครูในโรงเรียนพื้นที่ห่างไกลอย่างยั่งยืน

ดร.ไกรยส กล่าวต่อว่า ปัจจุบัน กสศ. ได้สร้างโอกาสให้นักเรียนที่มีฐานะยากจนที่สุดร้อยละ 20 แรกของประเทศ ให้เข้าถึงการศึกษาในระดับอุดมศึกษาผ่านโครงการครูรัก(ษ์)ถิ่น เพื่อเตรียมกลับไปสร้างโอกาสให้นักเรียนและโรงเรียนในชุมชนบ้านเกิดตนเองแล้ว 4 รุ่น รวม 1,172 คน จากเป้าหมาย 1,500 คนภายใน 5 รุ่น ทั้งหมดมีผลการเรียนดีตามเกณฑ์ พบอัตราการเสี่ยงหลุดออกจากระบบเพียงร้อยละ 0.34 โดยครูเหล่านี้จะกระจายตัวทำงานครอบคลุมทั่วประเทศ 60 จังหวัด 635 ตำบล และปี 2567 นักศึกษาครูรัก(ษ์)ถิ่น รุ่นที่ 1 จำนวน 327 อัตรา จะได้รับการบรรจุเป็นข้าราชการครูสาขาปฐมวัย และประถมศึกษา ในโรงเรียนพื้นที่ห่างไกล 281 แห่ง ใน 44 จังหวัด ซึ่ง กสศ. จะติดตามความก้าวหน้าต่อเนื่อง 6 ปี ดังนั้นผลการดำเนินงานในช่วง 4 ปีที่ผ่านมาสามารถพิสูจน์ให้เห็นชัดเจนว่า การผลิตและพัฒนาครูคุณภาพสูงตามความต้องการที่แท้จริงมีความเป็นไปได้ และจะเป็นต้นแบบในการผลิตและพัฒนาครูในโครงการของรัฐในระยะต่อไปได้ บนความร่วมมือการทำงานกันอย่างใกล้ชิดของภาคีด้านการศึกษา โดยขณะนี้มีสถาบันอุดมศึกษาที่ผลิตและพัฒนาครู และพร้อมจะเป็นสถาบันต้นแบบในการผลิตและพัฒนาครูจำนวน 19 แห่ง

“กสศ. หวังเป็นอย่างยิ่งว่าการลงนามความร่วมมือกันในครั้งนี้จะสร้างประโยชน์คุณูปการต่อระบบการผลิตและพัฒนาครูของประเทศในอนาคต ที่จะช่วยลดความเหลื่อมล้ำทางการศึกษา ลดปัญหาการโยกย้ายการขาดแคลนครูในพื้นที่โรงเรียนห่างไกล และเพิ่มอัตราการเข้าถึงการศึกษาที่มีคุณภาพ นำไปสู่การพัฒนาคุณภาพโรงเรียนและเป็นต้นแบบการผลิตและพัฒนาครูรุ่นใหม่ต่อไป” ผู้จัดการ กสศ. กล่าว

รายชื่อโรงเรียน พื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้

จังหวัด นราธิวาส จำนวน 4 โรงเรียน

  • โรงเรียนผดุงมาตร
  • โรงเรียนสวนพระยาวิทยา
  • โรงเรียนราชพัฒนา
  • โรงเรียนนราสิกขาลัย

จังหวัดยะลา จำนวน 15 โรงเรียน

  • โรงเรียนไทยรัฐวิทยา 94 (บ้านบ่อน้ำร้อน)
  • โรงเรียนคุรุชนพัฒนา
  • โรงเรียนบ้านตาเซะ
  • โรงเรียนบ้านราโมง
  • โรงเรียนบ้านกาตอง
  • โรงเรียนบ้านหลักเขต
  • โรงเรียนพัฒนาบาลอ
  • โรงเรียนบ้านโกตาบารู
  • โรงเรียนบ้านตะโละหะลอ
  • โรงเรียนบ้านเยาะ
  • โรงเรียนบ้านโต
  • โรงเรียนบ้านลูโบ๊ะปันยัง
  • โรงเรียนบ้านคลองน้ำใส
  • โรงเรียนบ้านสะเอะ
  • โรงเรียนกาบังพิทยาคม

จังหวัดปัตตานี จำนวน 16 โรงเรียน

  • โรงเรียนวุฒิชัยวิทยา
  • โรงเรียนนิคมสร้างตนเองโคกโพธิ์ มิตรภาพที่ 148
  • โรงเรียนบ้านบางมะรวด
  • โรงเรียนบ้านท่าน้ำตะวันออก
  • โรงเรียนบ้านน้ำบ่อ
  • โรงเรียนบ้านปาลัส
  • โรงเรียนบ้านตรัง
  • โรงเรียนบ้านกระเสาะ
  • โรงเรียนบ้านบูดี
  • โรงเรียนบ้านฝาง
  • โรงเรียนบ้านตะโละไกรทอง
  • โรงเรียนบ้านน้ำดำ
  • โรงเรียนบ้านโลทู
  • โรงเรียนบ้านวังกว้าง
  • โรงเรียนสะนอพิทยาคม
  • โรงเรียนวังกะพ้อพิทยาคม

รายชื่อโรงเรียน ภาคตะวันตก

จังหวัดตาก จำนวน 1 โรงเรียน

  • โรงเรียนบ้านร่มเกล้า 2

รายชื่อโรงเรียนที่ได้รับทุนการศึกษาผ่านโครงการ Million Gift Million Smiles

จังหวัดเชียงราย จำนวน 1 โรงเรียน

  • โรงเรียนราชประชานุเคราะห์ 15
    (เวียงเก่าแสนภูวิทยาประสาท)

จังหวัดเชียงใหม่ จำนวน 3 โรงเรียน

  • โรงเรียนชลประทาน
    เขื่อนแม่กวงจิราธิวัฒน์อุปถัมภ์
  • โรงเรียนบ้านโป่งน้อย
  • โรงเรียนวัดสันคะยอม

จังหวัดลำปาง จำนวน 1 โรงเรียน

  • โรงเรียนวัดเสด็จ

จังหวัดพิษณุโลก จำนวน 1 โรงเรียน

  • โรงเรียนบ้านท่าข้าม

จังหวัดตาก จำนวน 3 โรงเรียน

  • โรงเรียนบ้านร่มเกล้า 2
  • โรงเรียนบ้านร่มเกล้า 4
  • โรงเรียนบ้านห้วยไม้แป้น

จังหวัดนครศรีธรรมราช จำนวน 4 โรงเรียน

  • โรงเรียนบ้านควนเงิน
  • โรงเรียนบ้านท่าไทร
  • โรงเรียนวัดชะอวด
  • โรงเรียนวัดไม้เสียบ

จังหวัดตรัง จำนวน 11 โรงเรียน

  • โรงเรียนท่างิ้ว (ต.ช.ด.อุปถัมภ์)
  • โรงเรียนบ้านเกาะเคี่ยม
  • โรงเรียนบ้านคลองคุ้ย
  • โรงเรียนบ้านช่องลม
  • โรงเรียนบ้านทอนเหรียน
  • โรงเรียนบ้านท่าส้ม
  • โรงเรียนบ้านบางสัก
  • โรงเรียนบ้านวังลำ
  • โรงเรียนวัดทุ่งหินผุด
  • โรงเรียนวัดวารีวง
  • โรงเรียนหาดทรายทอง

จังหวัดนราธิวาส จำนวน 6 โรงเรียน

  • โรงเรียนนราสิกขาลัย
  • โรงเรียนบ้านบูเก๊ะตาโมงมิตรภาพที่ 128
  • โรงเรียนผดุงมาตร
  • โรงเรียนพิทักษ์วิยากุมุง
  • โรงเรียนราชพัฒนา
  • โรงเรียนสวนพระยาวิทยา

จังหวัดพังงา จำนวน 2 โรงเรียน

  • โรงเรียนวัดนิโครธาราม
  • โรงเรียนวัดสุวรรณาวาส

จังหวัดปัตตานี จำนวน 8 โรงเรียน

  • โรงเรียนบ้านกระเสาะ
  • โรงเรียนบ้านตะโละไกรทอง
  • โรงเรียนบ้านน้ำดำ
  • โรงเรียนบ้านบางทัน
  • โรงเรียนบ้านโลทู
  • โรงเรียนบ้านวังกว้าง
  • โรงเรียนวังกะพ้อพิทยาคม
  • โรงเรียนวุฒิชัยวิทยา

จังหวัดยะลา จำนวน 10 โรงเรียน

  • โรงเรียนกาบังพิทยาคม
  • โรงเรียนบ้านโกตาบารู
  • โรงเรียนบ้านคลองน้ำใส
  • โรงเรียนบ้านจุโป
  • โรงเรียนบ้านด่านสันติราษฎร์
  • โรงเรียนบ้านตะโละหะลอ
  • โรงเรียนบ้านราโมง
  • โรงเรียนบ้านสะเอะ
  • โรงเรียนพัฒนาบาลอ
  • โรงเรียนอัยเยอร์เวง

จังหวัดสงขลา จำนวน 18 โรงเรียน

  • โรงเรียนเขาแดงกุศลวิทยา
  • โรงเรียนจะนะชนูปถัมภ์
  • โรงเรียนชุมชนนิคมสร้างตนเองเทพา
  • โรงเรียนชุมชนบ้านนากัน
  • โรงเรียนทับช้างวิทยาคม
  • โรงเรียนเทพา
  • โรงเรียนบ้านเขาพระ
  • โรงเรียนบ้านคอลอมุดอ
  • โรงเรียนบ้านคูนายสังข์
  • โรงเรียนบ้านโคกตก
  • โรงเรียนบ้านนาปรัง
  • โรงเรียนบ้านบาโหย
  • โรงเรียนบ้านปากบางนาทับ
  • โรงเรียนบ้านป่าเร็ด
  • โรงเรียนบ้านพระพุทธ
  • โรงเรียนบ้านม้างอน
  • โรงเรียนบ้านม้างอน
  • โรงเรียนวัดประจ่า