กสศ. ชูเป้าหมายการศึกษาตามบริบทพื้นที่ สร้างเมืองแห่งการเรียนรู้สู่พลังขับเคลื่อน SDGs ลดความเหลื่อมล้ำเพื่ออนาคตที่ยั่งยืน

กสศ. ชูเป้าหมายการศึกษาตามบริบทพื้นที่ สร้างเมืองแห่งการเรียนรู้สู่พลังขับเคลื่อน SDGs ลดความเหลื่อมล้ำเพื่ออนาคตที่ยั่งยืน

เมื่อวันที่ 11 สิงหาคม 2566 คณะกรรมาธิการต่างประเทศ วุฒิสภา ได้จัดสัมมนา ‘อนาคตของ SDGs: ทิศทางการขับเคลื่อน และความท้าทาย’ ณ ห้องประชุมสัมมนา บี 1-4 ชั้นบี 1 อาคารรัฐสภา โดย ดร.ไกรยส ภัทราวาท ผู้จัดการกองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (กสศ.) ในฐานะตัวแทนจากภาคการศึกษา ได้เข้าร่วมเป็นวิทยากรในหัวข้อ ‘การสร้างพลังขับเคลื่อน SDGs เพื่ออนาคตที่ยั่งยืน’ 

ดร.ไกรยส ได้นำเสนอประเด็นการศึกษากับการสร้างพลังขับเคลื่อน SDGs เพื่ออนาคตที่ยั่งยืน ว่าด้วยความพยายามบรรลุเป้าหมายการลดความเหลื่อมล้ำทางการศึกษา ผ่านมุมมองและประสบการณ์ของ กสศ.

ดร.ไกรยส เริ่มต้นถึงการเล่าบทบาทของ กสศ. ที่มีภารกิจเพื่อลดความเหลื่อมล้ำทางการศึกษา ซึ่งเหนี่ยวนำทุกภาคส่วน ทั้งภาครัฐและเอกชนให้เข้ามามีส่วนร่วมกับประเด็นความเหลื่อมล้ำทางการศึกษา

เนื่องจากโจทย์เรื่องความเหลื่อมล้ำทางการศึกษามีความซับซ้อน จึงต้องหาจุดคานงัดเชิงระบบให้เจอ ผ่านการใช้ทรัพยากรที่มีจำกัดเพื่อให้เกิดผลลัพธ์สูงสุด เน้นการใช้ข้อมูล นวัตกรรม เพื่อให้สามารถแก้ปัญหาความเหลื่อมล้ำทางการศึกษาได้อย่างมีประสิทธิภาพ

เมื่อสำรวจถึงเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน (Sustainable Development Goals: SDGs) ของสหประชาชาติที่จะต้องบรรลุให้ได้ภายในปี 2030 ดร.ไกรยส ชี้ว่าเป้าหมายที่ 4 หรือการจัดการศึกษาที่มีคุณภาพ นับเป็นเป้าหมายสำคัญ ซึ่งหากบรรลุเป้าหมายนี้ได้จะช่วยส่งเสริมเป้าหมายอื่น ๆ ด้วย เช่น เป้าหมายที่ 1 ขจัดความยากจน เป้าหมายที่ 10 ลดความเหลื่อมล้ำ เป้าหมายที่ 11 เมืองและชุมชนที่ยั่งยืน และเป้าหมายที่ 17 หุ้นส่วนเพื่อการพัฒนา

ในการบรรลุเป้าหมายที่ 4 นั้น จะต้องมี Game Changers 7 ประการ ที่จะทำให้เป้าหมายในการสร้างความเสมอภาคทางการศึกษาเกิดขึ้นได้จริง ได้แก่

  1. การพัฒนาครูและสถานศึกษา
  2. ระบบข้อมูลและเทคโนโลยีสารสนเทศ
  3. ความร่วมมือระหว่างภาครัฐและเอกชน
  4. นวัตกรรมการเงินและการคลัง
  5. การจัดการศึกษาตามบริบทพื้นที่ (area-based education)
  6. ระบบการคุ้มครองทางสังคมในระบบการศึกษา 5 ด้าน
  7. All for Education หรือ การศึกษาเป็นกิจของทุกคน

ขณะเดียวกัน การระบาดของโรคโควิด-19 ก็ได้สร้างความท้าทายและอุปสรรคทางการศึกษาหลายประการ ทำให้ปัญหาความเหลื่อมล้ำทางการศึกษาทวีความรุนแรงขึ้น เด็กที่เรียนออนไลน์มีพัฒนาการที่ต่ำลง เช่น ไม่สามารถจับดินสอเขียนหนังสือได้ ซึ่งเป็นปัญหาที่จะต้องเร่งฟื้นฟูอย่างเร่งด่วน

ต่อมาจึงเกิด Bangkok Statement 2022 (ถ้อยแถลงกรุงเทพฯ 2565) ซึ่งเป็นถ้อยแถลงที่มุ่งสู่การฟื้นฟูการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพสำหรับทุกคนและการพลิกโฉมการศึกษาในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก ถ้อยแถลงนี้เป็นข้อสรุปร่วมกันจากการประชุมรัฐมนตรีการศึกษาภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก ครั้งที่ 2 โดยถ้อยแถลงดังกล่าวมีสาระสำคัญอยู่ 2 ประการ

  1. การเปิดเรียนอย่างปลอดภัย การฟื้นฟูการเรียนรู้ และความต่อเนื่องของการเรียนรู้
  2. การพลิกโฉมการศึกษาและระบบการศึกษา

ในช่วงท้าย ดร.ไกรยส มุ่งเน้นความสำคัญว่า ภายใน 7 ปีสุดท้ายก่อนถึงปี 2030 จะต้องจัดการศึกษาตามบริบทพื้นที่ให้เกิดขึ้นจริง เพราะปัญหาความเหลื่อมล้ำทางการศึกษาเป็นปัญหาที่ซับซ้อนและแตกต่างกันไปตามแต่ละพื้นที่ 

นอกจากนี้จะต้องสร้าง ‘เมืองแห่งการเรียนรู้’ ให้เกิดขึ้นในไทยมากกว่านี้ เพราะเมืองแห่งการเรียนรู้นั้น เป็นกุญแจสำคัญในการจะบรรลุเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน ทั้ง 17 เป้าหมาย

ดร.ไกรยส ปิดท้ายด้วยประเด็นกลไกลงบประมาณ ซึ่งในการจัดการปัญหาความเหลื่อมล้ำทางการศึกษาจะต้องใช้งบประมาณจำนวนมาก ดังนั้น จึงต้องมีกลไกที่จะทำให้ได้รับงบประมาณมาเพียงพอในการแก้ปัญหาดังกล่าว

ด้วยเหตุนี้ กสศ. จึงมีนวัตกรรมระดมทุน โดยร่วมกับภาคเอกชน โครงการแรกคือ ‘PTT Virtual Run’ ร่วมกับ ปตท. จัดกิจกรรมเดิน-วิ่ง สะสมระยะทางออนไลน์ ซึ่งผลจากโครงการนี้ทำให้สามารถระดมทุนการศึกษาได้กว่า 150 ล้านบาท หลังจากนี้จะนำไปมอบให้เยาวชนจากครัวเรือนที่มีรายได้น้อยและได้รับผลกระทบทางเศรษฐกิจจากโควิด-19 

อีกโครงการคือ ‘Zero Dropout’ ร่วมกับกลุ่มบริษัทแสนสิริ ออกหุ้นระดมทุน ซึ่งตลอดระยะเวลาดำเนินโครงการในช่วง 3 ปี สามารถช่วยเหลือเด็กและเยาวชนที่มีความเสี่ยงหลุดจากระบบการศึกษาในช่วงชั้นรอยต่อในจังหวัดราชบุรี ให้สามารถคงอยู่ในระบบการศึกษาต่อไปได้มากกว่า 1,000 คน

รายชื่อโรงเรียน พื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้

จังหวัด นราธิวาส จำนวน 4 โรงเรียน

  • โรงเรียนผดุงมาตร
  • โรงเรียนสวนพระยาวิทยา
  • โรงเรียนราชพัฒนา
  • โรงเรียนนราสิกขาลัย

จังหวัดยะลา จำนวน 15 โรงเรียน

  • โรงเรียนไทยรัฐวิทยา 94 (บ้านบ่อน้ำร้อน)
  • โรงเรียนคุรุชนพัฒนา
  • โรงเรียนบ้านตาเซะ
  • โรงเรียนบ้านราโมง
  • โรงเรียนบ้านกาตอง
  • โรงเรียนบ้านหลักเขต
  • โรงเรียนพัฒนาบาลอ
  • โรงเรียนบ้านโกตาบารู
  • โรงเรียนบ้านตะโละหะลอ
  • โรงเรียนบ้านเยาะ
  • โรงเรียนบ้านโต
  • โรงเรียนบ้านลูโบ๊ะปันยัง
  • โรงเรียนบ้านคลองน้ำใส
  • โรงเรียนบ้านสะเอะ
  • โรงเรียนกาบังพิทยาคม

จังหวัดปัตตานี จำนวน 16 โรงเรียน

  • โรงเรียนวุฒิชัยวิทยา
  • โรงเรียนนิคมสร้างตนเองโคกโพธิ์ มิตรภาพที่ 148
  • โรงเรียนบ้านบางมะรวด
  • โรงเรียนบ้านท่าน้ำตะวันออก
  • โรงเรียนบ้านน้ำบ่อ
  • โรงเรียนบ้านปาลัส
  • โรงเรียนบ้านตรัง
  • โรงเรียนบ้านกระเสาะ
  • โรงเรียนบ้านบูดี
  • โรงเรียนบ้านฝาง
  • โรงเรียนบ้านตะโละไกรทอง
  • โรงเรียนบ้านน้ำดำ
  • โรงเรียนบ้านโลทู
  • โรงเรียนบ้านวังกว้าง
  • โรงเรียนสะนอพิทยาคม
  • โรงเรียนวังกะพ้อพิทยาคม

รายชื่อโรงเรียน ภาคตะวันตก

จังหวัดตาก จำนวน 1 โรงเรียน

  • โรงเรียนบ้านร่มเกล้า 2

รายชื่อโรงเรียนที่ได้รับทุนการศึกษาผ่านโครงการ Million Gift Million Smiles

จังหวัดเชียงราย จำนวน 1 โรงเรียน

  • โรงเรียนราชประชานุเคราะห์ 15
    (เวียงเก่าแสนภูวิทยาประสาท)

จังหวัดเชียงใหม่ จำนวน 3 โรงเรียน

  • โรงเรียนชลประทาน
    เขื่อนแม่กวงจิราธิวัฒน์อุปถัมภ์
  • โรงเรียนบ้านโป่งน้อย
  • โรงเรียนวัดสันคะยอม

จังหวัดลำปาง จำนวน 1 โรงเรียน

  • โรงเรียนวัดเสด็จ

จังหวัดพิษณุโลก จำนวน 1 โรงเรียน

  • โรงเรียนบ้านท่าข้าม

จังหวัดตาก จำนวน 3 โรงเรียน

  • โรงเรียนบ้านร่มเกล้า 2
  • โรงเรียนบ้านร่มเกล้า 4
  • โรงเรียนบ้านห้วยไม้แป้น

จังหวัดนครศรีธรรมราช จำนวน 4 โรงเรียน

  • โรงเรียนบ้านควนเงิน
  • โรงเรียนบ้านท่าไทร
  • โรงเรียนวัดชะอวด
  • โรงเรียนวัดไม้เสียบ

จังหวัดตรัง จำนวน 11 โรงเรียน

  • โรงเรียนท่างิ้ว (ต.ช.ด.อุปถัมภ์)
  • โรงเรียนบ้านเกาะเคี่ยม
  • โรงเรียนบ้านคลองคุ้ย
  • โรงเรียนบ้านช่องลม
  • โรงเรียนบ้านทอนเหรียน
  • โรงเรียนบ้านท่าส้ม
  • โรงเรียนบ้านบางสัก
  • โรงเรียนบ้านวังลำ
  • โรงเรียนวัดทุ่งหินผุด
  • โรงเรียนวัดวารีวง
  • โรงเรียนหาดทรายทอง

จังหวัดนราธิวาส จำนวน 6 โรงเรียน

  • โรงเรียนนราสิกขาลัย
  • โรงเรียนบ้านบูเก๊ะตาโมงมิตรภาพที่ 128
  • โรงเรียนผดุงมาตร
  • โรงเรียนพิทักษ์วิยากุมุง
  • โรงเรียนราชพัฒนา
  • โรงเรียนสวนพระยาวิทยา

จังหวัดพังงา จำนวน 2 โรงเรียน

  • โรงเรียนวัดนิโครธาราม
  • โรงเรียนวัดสุวรรณาวาส

จังหวัดปัตตานี จำนวน 8 โรงเรียน

  • โรงเรียนบ้านกระเสาะ
  • โรงเรียนบ้านตะโละไกรทอง
  • โรงเรียนบ้านน้ำดำ
  • โรงเรียนบ้านบางทัน
  • โรงเรียนบ้านโลทู
  • โรงเรียนบ้านวังกว้าง
  • โรงเรียนวังกะพ้อพิทยาคม
  • โรงเรียนวุฒิชัยวิทยา

จังหวัดยะลา จำนวน 10 โรงเรียน

  • โรงเรียนกาบังพิทยาคม
  • โรงเรียนบ้านโกตาบารู
  • โรงเรียนบ้านคลองน้ำใส
  • โรงเรียนบ้านจุโป
  • โรงเรียนบ้านด่านสันติราษฎร์
  • โรงเรียนบ้านตะโละหะลอ
  • โรงเรียนบ้านราโมง
  • โรงเรียนบ้านสะเอะ
  • โรงเรียนพัฒนาบาลอ
  • โรงเรียนอัยเยอร์เวง

จังหวัดสงขลา จำนวน 18 โรงเรียน

  • โรงเรียนเขาแดงกุศลวิทยา
  • โรงเรียนจะนะชนูปถัมภ์
  • โรงเรียนชุมชนนิคมสร้างตนเองเทพา
  • โรงเรียนชุมชนบ้านนากัน
  • โรงเรียนทับช้างวิทยาคม
  • โรงเรียนเทพา
  • โรงเรียนบ้านเขาพระ
  • โรงเรียนบ้านคอลอมุดอ
  • โรงเรียนบ้านคูนายสังข์
  • โรงเรียนบ้านโคกตก
  • โรงเรียนบ้านนาปรัง
  • โรงเรียนบ้านบาโหย
  • โรงเรียนบ้านปากบางนาทับ
  • โรงเรียนบ้านป่าเร็ด
  • โรงเรียนบ้านพระพุทธ
  • โรงเรียนบ้านม้างอน
  • โรงเรียนบ้านม้างอน
  • โรงเรียนวัดประจ่า