กสศ. ระดมไอเดียสานฝันเด็กนอกระบบ ตั้งเป้า 3 ปี เติมความรู้สู่อาชีพ

กสศ. ระดมไอเดียสานฝันเด็กนอกระบบ ตั้งเป้า 3 ปี เติมความรู้สู่อาชีพ

14 กุมภาพันธ์ 2566 กองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (กสศ.) จัด ‘เวทีระดมความคิดเห็นเพื่อออกแบบแนวทางการส่งเสริมโอกาสทางการเรียนรู้ และพัฒนาทักษะเยาวชนนอกระบบการศึกษา’ โดยดำเนินงานร่วมนักวิชาการและภาคีเครือข่าย ภายใต้โจทย์ ‘ภาพฝัน’ ของเด็กและเยาวชนนอกระบบการศึกษาที่อยากเห็นภายใน 3 ปี พร้อมวิธีการจัดการ แนวทาง และข้อเสนอแนะที่เป็นรูปธรรม 

ศาสตราจารย์ ดร.สมพงษ์ จิตระดับ กรรมการบริหาร กสศ. และประธานอนุกรรมการส่งเสริมและพัฒนาเยาวชนและประชากรวัยแรงงานนอกระบบ กล่าวสรุปภาพรวมการทำงานของ กสศ. ในระยะที่ผ่านมา ว่าได้มีความพยายามผลิตโมเดลที่จะสร้างความเปลี่ยนแปลงทางการศึกษาให้กับกลุ่มเด็กนอกระบบการศึกษา โดยเสนอแนวทางสำคัญคือ การจัดการศึกษาทางเลือกที่เชื่อมโยงกับชุมชน

ข้อเสนอจากนักวิชาการต่อการส่งเสริมโอกาสทางการเรียนรู้และพัฒนาทักษะ โดยดร.สมชัย จิตสุชน ที่ปรึกษาอนุกรรมการส่งเสริมและพัฒนาเยาวชนและประชากรวัยแรงงานนอกระบบ มองว่า ควรนำเทคโนโลยีสมัยใหม่มาปรับใช้เพื่อพัฒนาทักษะแห่งอนาคตให้กับเด็กนอกระบบ โดยยกตัวอย่าง ‘ChatGPT’ ปัญญาประดิษฐ์ที่มีความสามารถในการสื่อสารและพัฒนาการเรียนรู้ของตัวเองได้ตามข้อมูลที่ถูกผู้ใช้งานป้อนให้ ซึ่งอาจนำมาประยุกต์ใช้กับกระบวนการเรียนรู้ของเด็กนอกระบบได้

สอดคล้องกับข้อเสนอของ รองศาสตราจารย์ ดร.รัตติยา ภูละออ อาจารย์ประจำวิทยาลัยประชากรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ที่มุ่งผลักดันให้เกิดการอบรมทักษะที่ตรงกับความต้องการของตลาด เพื่อเพิ่มช่องทางให้เด็กเหล่านี้สามารถเข้าสู่ตลาดแรงงานได้

ขณะที่ รองศาสตราจารย์ ดร.วีระเทพ ปทุมเจริญวัฒนา หัวหน้าภาควิชาการศึกษาตลอดชีวิต คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เสนอให้มีนโยบายสนับสนุนคนทำงานด้านการศึกษากับเด็กนอกระบบ ซึ่งเป็นบุคลากรที่สำคัญต่อวงจรการพัฒนาทักษะของเด็ก เช่น การยกระดับให้เป็นอาชีพที่ชัดเจน ส่งเสริมการพัฒนาทักษะ (up-skill) ฟื้นฟูทักษะ (re-skill) หรือสนับสนุนค่าเบี้ยเลี้ยง ค่าใช้จ่าย และสวัสดิการให้กับคนทำงานจิตอาสา 

รองศาสตราจารย์ ดร.ลือชัย ศรีเงินยวง อนุกรรมการส่งเสริมและพัฒนาเยาวชนและประชากรวัยแรงงานนอกระบบ กล่าวเสริมแนวทางการทำงานกับกลุ่มเยาวชนนอกระบบการศึกษาว่า คนทำงานด้านการศึกษาจะต้องมีทักษะหลากหลาย มีจิตใจที่พร้อม ยืดหยุ่น อดทน และรับฟัง อีกทั้งต้องมีมุมมองการตั้งคำถามต่อการออกแบบนโยบายและปัญหาของเด็กที่ซับซ้อน ที่สำคัญระบบการทำงานที่เอื้อต่อคนทำงานต้องไม่ใช่โครงสร้างแนวดิ่ง 

หลังเวทีสรุปภาพรวม ผู้เข้าร่วมจากเครือข่ายการทำงานกับเด็กและเยาวชนนอกระบบการศึกษาได้นำเสนอสิ่งที่อยากให้เยาวชนกลุ่มนี้ประสบความสำเร็จภายใน 3 ปี โดยเห็นไปในทิศทางเดียวกันว่า ต้องไม่มีเด็กคนใดต้องหลุดออกจากระบบการศึกษา และอยากให้สังคมยอมรับและสลายเส้นแบ่งอคติลง 

ทั้งนี้ แนวทางการช่วยเหลือเด็กนอกระบบในระยะยาว ระบบการศึกษาควรต้องปรับปรุงให้สอดรับกับความต้องการของผู้เรียน ยึดเด็กเป็นศูนย์กลางการเรียนรู้ เพื่อสลายเส้นแบ่งของคำว่า ‘ในระบบ-นอกระบบ’ ให้หมดไป

รายชื่อโรงเรียน พื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้

จังหวัด นราธิวาส จำนวน 4 โรงเรียน

  • โรงเรียนผดุงมาตร
  • โรงเรียนสวนพระยาวิทยา
  • โรงเรียนราชพัฒนา
  • โรงเรียนนราสิกขาลัย

จังหวัดยะลา จำนวน 15 โรงเรียน

  • โรงเรียนไทยรัฐวิทยา 94 (บ้านบ่อน้ำร้อน)
  • โรงเรียนคุรุชนพัฒนา
  • โรงเรียนบ้านตาเซะ
  • โรงเรียนบ้านราโมง
  • โรงเรียนบ้านกาตอง
  • โรงเรียนบ้านหลักเขต
  • โรงเรียนพัฒนาบาลอ
  • โรงเรียนบ้านโกตาบารู
  • โรงเรียนบ้านตะโละหะลอ
  • โรงเรียนบ้านเยาะ
  • โรงเรียนบ้านโต
  • โรงเรียนบ้านลูโบ๊ะปันยัง
  • โรงเรียนบ้านคลองน้ำใส
  • โรงเรียนบ้านสะเอะ
  • โรงเรียนกาบังพิทยาคม

จังหวัดปัตตานี จำนวน 16 โรงเรียน

  • โรงเรียนวุฒิชัยวิทยา
  • โรงเรียนนิคมสร้างตนเองโคกโพธิ์ มิตรภาพที่ 148
  • โรงเรียนบ้านบางมะรวด
  • โรงเรียนบ้านท่าน้ำตะวันออก
  • โรงเรียนบ้านน้ำบ่อ
  • โรงเรียนบ้านปาลัส
  • โรงเรียนบ้านตรัง
  • โรงเรียนบ้านกระเสาะ
  • โรงเรียนบ้านบูดี
  • โรงเรียนบ้านฝาง
  • โรงเรียนบ้านตะโละไกรทอง
  • โรงเรียนบ้านน้ำดำ
  • โรงเรียนบ้านโลทู
  • โรงเรียนบ้านวังกว้าง
  • โรงเรียนสะนอพิทยาคม
  • โรงเรียนวังกะพ้อพิทยาคม

รายชื่อโรงเรียน ภาคตะวันตก

จังหวัดตาก จำนวน 1 โรงเรียน

  • โรงเรียนบ้านร่มเกล้า 2

รายชื่อโรงเรียน พื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้

จังหวัด นราธิวาส จำนวน 6 โรงเรียน

  • โรงเรียนผดุงมาตร
  • โรงเรียนสวนพระยาวิทยา
  • โรงเรียนราชพัฒนา
  • โรงเรียนนราสิกขาลัย
  • โรงเรียนพิทักษ์วิยากุมุง
  • บ้านบูเก๊ะตาโมง มิตรภาพที่ 128

จังหวัดสงขลา จำนวน 20 โรงเรียน

  • โรงเรียนบ้านม้างอน
  • โรงเรียนวัดประจ่า
  • โรงเรียนจะนะชนูปถัมภ์
  • โรงเรียนบ้านป่าโอน
  • โรงเรียนชุมชนนิคม สร้างตนเองเทพา
  • โรงเรียนบ้านกระอาน
  • โรงเรียนบ้านวังใหญ่
  • โรงเรียนเทพา
  • โรงเรียนบ้านป่าเร็ด
  • โรงเรียนบ้านนาปรัง
  • โรงเรียนทับช้างวิทยาคม
  • โรงเรียนชุมชนบ้านนากัน
  • โรงเรียนบ้านโคกตก
  • โรงเรียนบ้านคอลอมุดอ
  • โรงเรียนบ้านบาโหย
  • โรงเรียนเขาแดงกุศลวิทยา
  • โรงเรียนบ้านเขาพระ
  • โรงเรียนบ้านพระพุทธ
  • โรงเรียนบ้านปากบางนาทับ
  • โรงเรียนบ้านคูนายสังข์

จังหวัดยะลา จำนวน 10 โรงเรียน

  • โรงเรียนบ้านราโมง
  • โรงเรียนพัฒนาบาลอ
  • โรงเรียนบ้านโกตาบารู
  • โรงเรียนบ้านตะโละหะลอ
  • โรงเรียนบ้านคลองน้ำใส
  • โรงเรียนบ้านสะเอะ
  • โรงเรียนกาบังพิทยาคม
  • บ้านด่านสันติราษฎร์
  • อัยเยอร์เวง
  • บ้านจุโป

จังหวัดปัตตานี จำนวน 8 โรงเรียน

  • โรงเรียนวุฒิชัยวิทยา
  • โรงเรียนบ้านกระเสาะ
  • โรงเรียนบ้านตะโละไกรทอง
  • โรงเรียนบ้านน้ำดำ
  • โรงเรียนบ้านโลทู
  • โรงเรียนบ้านวังกว้าง
  • โรงเรียนวังกะพ้อพิทยาคม
  • บ้านบางทัน

รายชื่อโรงเรียน ภาคตะวันตก

จังหวัดตาก จำนวน 1 โรงเรียน

  • โรงเรียนบ้านร่มเกล้า 2