ความยากจนนับเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้เกิดความเหลื่อมล้ำทางการศึกษา

ความยากจนนับเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้เกิดความเหลื่อมล้ำทางการศึกษา

รู้หรือไม่ว่า ประเทศไทยมีเด็กนักเรียนยากจนกว่า 1,726,995 คน ในจำนวนนี้แบ่งออกเป็นนักเรียนยากจน 965,266 คน และนักเรียนยากจนพิเศษ 761,729 คน โดยจากการสำรวจของกองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (กสศ.) พบว่า ครอบครัวของเด็กบางคนมีรายได้เฉลี่ยไม่ถึง 3,000 บาทต่อเดือน ความยากจนเหล่านี้นับเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้เกิดความเหลื่อมล้ำทางการศึกษา ส่งผลให้เด็กจำนวนมากไม่สามารถเข้าถึงประตูสู่โอกาสที่จะมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นได้ เนื่องจากเด็กหลายคนถูกปัญหาทางเศรษฐกิจของครอบครัวบีบบังคับให้ต้องออกจากระบบการศึกษากลางคัน

ถึงแม้จะมีโครงการเรียนฟรี 15 ปี แต่หลายครอบครัวก็ยังต้องแบกรับภาระค่าใช้จ่ายในด้านต่างๆ เช่น ค่าอุปกรณ์การเรียน ค่าชุดนักเรียน ค่าเดินทาง ฯลฯ ผู้ปกครองจำนวนไม่น้อยจึงจำต้องตัดสินใจให้บุตรหลานหันหลังให้กับการศึกษาในระบบ เพื่อประหยัดค่าใช้จ่าย และมาเป็นแรงงานช่วยหาเลี้ยงครอบครัวอีกทางหนึ่ง ดังจะเห็นได้จากตัวเลขสถิติที่จำนวนนักเรียนในระบบการศึกษาลดลงกว่าครึ่งหลังเรียนจบชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น ยกตัวอย่างเช่นในปี 2562 ที่ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 มีจำนวนนักเรียนชายหญิงรวม 602,657 คน แต่พอขยับขึ้นไปสำรวจข้อมูลนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 กลับพบว่าจำนวนนักเรียนลดลงเหลือเพียง 360,643 คนเท่านั้น

เป็นเรื่องน่าเสียดายที่เด็กๆ หลายคนมีศักยภาพในการพัฒนาตนเอง และพวกเขาเหล่านั้นก็ล้วนมีความใฝ่ฝันถึงอนาคตที่ดีขึ้นไม่ต่างจากเด็กคนอื่นๆ แต่กลับขาดโอกาสและทางเลือก ซึ่งเป็นโจทย์สำคัญที่ผู้ใหญ่อย่างเราๆ ต้องย้อนกลับมาขบคิดว่า เราจะสร้างกระบวนการช่วยเหลือเด็กยากจนในสังคมไทยอย่างไรให้เห็นผลเป็นรูปธรรมและยั่งยืน ด้วยเหตุนี้ จึงมีการก่อตั้งกองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (กสศ.) ขึ้น เพื่อดำเนินการโครงการจัดสรรเงินอุดหนุนนักเรียนยากจนทั่วประเทศไทย ซึ่งที่ผ่านมาได้มีการลงพื้นที่เก็บข้อมูล จัดทำเกณฑ์คัดกรอง และออกแบบกลไกตรวจสอบต่างๆ อย่างมีมาตรฐาน เพื่อมุ่งแก้ปัญหาความเหลื่อมล้ำทางการศึกษาอย่างเอาจริงเอาจัง ทั้งยังมีการจัดทำระบบฐานข้อมูลที่เป็นประโยชน์อย่างยิ่งต่อการวิจัย และพัฒนาด้านการศึกษาในระยะยาว

แต่ด้วยข้อจำกัดด้านงบประมาณและบุคลากร กสศ. จึงไม่สามารถขับเคลื่อนการดำเนินการเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษาได้เพียงลำพัง หากแต่จำเป็นต้องได้รับความร่วมมือจากภาคีทุกภาคส่วน ไม่ว่าจะเป็นโรงเรียน ชุมชน หน่วยงานเอกชน และอาสาสมัครภาคประชาสังคม ความท้าทายในการทำงานของ กสศ. อยู่ที่การส่งเสริมผลักดันให้สังคมไทยตระหนักถึงปัญหาเรื่องความเหลื่อมล้ำทางการศึกษา ซึ่งเป็นรากฐานสำคัญในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ของประเทศชาติ และสร้างแรงจูงใจให้บุคลากรในแวดวงการศึกษาที่ทำงานด้านนี้อยู่แล้วเข้ามาทำงานร่วมกันเป็นเครือข่าย เพื่อขยายผลสัมฤทธิ์ออกไปให้กว้างไกลยิ่งขึ้น โดยทุกคนที่ทำงานด้านการศึกษาหรือสนใจประเด็นเรื่องความเหลื่อมล้ำทางการศึกษา สามารถเข้าไปดูสถิติและข้อมูลต่างๆ ที่เป็นประโยชน์ได้ที่ https://isee.eef.or.th

รายชื่อโรงเรียน พื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้

จังหวัด นราธิวาส จำนวน 4 โรงเรียน

  • โรงเรียนผดุงมาตร
  • โรงเรียนสวนพระยาวิทยา
  • โรงเรียนราชพัฒนา
  • โรงเรียนนราสิกขาลัย

จังหวัดยะลา จำนวน 15 โรงเรียน

  • โรงเรียนไทยรัฐวิทยา 94 (บ้านบ่อน้ำร้อน)
  • โรงเรียนคุรุชนพัฒนา
  • โรงเรียนบ้านตาเซะ
  • โรงเรียนบ้านราโมง
  • โรงเรียนบ้านกาตอง
  • โรงเรียนบ้านหลักเขต
  • โรงเรียนพัฒนาบาลอ
  • โรงเรียนบ้านโกตาบารู
  • โรงเรียนบ้านตะโละหะลอ
  • โรงเรียนบ้านเยาะ
  • โรงเรียนบ้านโต
  • โรงเรียนบ้านลูโบ๊ะปันยัง
  • โรงเรียนบ้านคลองน้ำใส
  • โรงเรียนบ้านสะเอะ
  • โรงเรียนกาบังพิทยาคม

จังหวัดปัตตานี จำนวน 16 โรงเรียน

  • โรงเรียนวุฒิชัยวิทยา
  • โรงเรียนนิคมสร้างตนเองโคกโพธิ์ มิตรภาพที่ 148
  • โรงเรียนบ้านบางมะรวด
  • โรงเรียนบ้านท่าน้ำตะวันออก
  • โรงเรียนบ้านน้ำบ่อ
  • โรงเรียนบ้านปาลัส
  • โรงเรียนบ้านตรัง
  • โรงเรียนบ้านกระเสาะ
  • โรงเรียนบ้านบูดี
  • โรงเรียนบ้านฝาง
  • โรงเรียนบ้านตะโละไกรทอง
  • โรงเรียนบ้านน้ำดำ
  • โรงเรียนบ้านโลทู
  • โรงเรียนบ้านวังกว้าง
  • โรงเรียนสะนอพิทยาคม
  • โรงเรียนวังกะพ้อพิทยาคม

รายชื่อโรงเรียน ภาคตะวันตก

จังหวัดตาก จำนวน 1 โรงเรียน

  • โรงเรียนบ้านร่มเกล้า 2

รายชื่อโรงเรียน พื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้

จังหวัด นราธิวาส จำนวน 6 โรงเรียน

  • โรงเรียนผดุงมาตร
  • โรงเรียนสวนพระยาวิทยา
  • โรงเรียนราชพัฒนา
  • โรงเรียนนราสิกขาลัย
  • โรงเรียนพิทักษ์วิยากุมุง
  • บ้านบูเก๊ะตาโมง มิตรภาพที่ 128

จังหวัดสงขลา จำนวน 20 โรงเรียน

  • โรงเรียนบ้านม้างอน
  • โรงเรียนวัดประจ่า
  • โรงเรียนจะนะชนูปถัมภ์
  • โรงเรียนบ้านป่าโอน
  • โรงเรียนชุมชนนิคม สร้างตนเองเทพา
  • โรงเรียนบ้านกระอาน
  • โรงเรียนบ้านวังใหญ่
  • โรงเรียนเทพา
  • โรงเรียนบ้านป่าเร็ด
  • โรงเรียนบ้านนาปรัง
  • โรงเรียนทับช้างวิทยาคม
  • โรงเรียนชุมชนบ้านนากัน
  • โรงเรียนบ้านโคกตก
  • โรงเรียนบ้านคอลอมุดอ
  • โรงเรียนบ้านบาโหย
  • โรงเรียนเขาแดงกุศลวิทยา
  • โรงเรียนบ้านเขาพระ
  • โรงเรียนบ้านพระพุทธ
  • โรงเรียนบ้านปากบางนาทับ
  • โรงเรียนบ้านคูนายสังข์

จังหวัดยะลา จำนวน 10 โรงเรียน

  • โรงเรียนบ้านราโมง
  • โรงเรียนพัฒนาบาลอ
  • โรงเรียนบ้านโกตาบารู
  • โรงเรียนบ้านตะโละหะลอ
  • โรงเรียนบ้านคลองน้ำใส
  • โรงเรียนบ้านสะเอะ
  • โรงเรียนกาบังพิทยาคม
  • บ้านด่านสันติราษฎร์
  • อัยเยอร์เวง
  • บ้านจุโป

จังหวัดปัตตานี จำนวน 8 โรงเรียน

  • โรงเรียนวุฒิชัยวิทยา
  • โรงเรียนบ้านกระเสาะ
  • โรงเรียนบ้านตะโละไกรทอง
  • โรงเรียนบ้านน้ำดำ
  • โรงเรียนบ้านโลทู
  • โรงเรียนบ้านวังกว้าง
  • โรงเรียนวังกะพ้อพิทยาคม
  • บ้านบางทัน

รายชื่อโรงเรียน ภาคตะวันตก

จังหวัดตาก จำนวน 1 โรงเรียน

  • โรงเรียนบ้านร่มเกล้า 2