“ปวดท้องจนเรียนไม่ไหว ปวดฟันจนเรียนไม่ได้” อุปสรรคทางร่างกายที่ส่งต่อการเรียนรู้ที่ไม่ควรมองข้าม

“ปวดท้องจนเรียนไม่ไหว ปวดฟันจนเรียนไม่ได้” อุปสรรคทางร่างกายที่ส่งต่อการเรียนรู้ที่ไม่ควรมองข้าม

เหมือนเส้นผมบังภูเขา เราอาจจะคิดว่าอุปสรรคที่ขัดขวางการเรียนรู้ของเด็กคนหนึ่ง หนีไม่พ้นการขาดแคลนครู งบประมาณสื่อการเรียนรู้มีไม่พอ ไปจนถึงปัญหาปากท้องของที่บ้าน

แต่จริงๆ แล้ว ขวากหนามสำคัญและการใกล้ตัวมากกว่านั้นแต่ผู้ใหญ่หลายๆ คนแม้แต่ตัวเด็กเองกลับมองข้าม นั่นคือ อุปสรรคทางร่างกาย ที่ขัดขวางไม่ให้การเรียนรู้อย่างมีความสุขเกิดขึ้นได้

คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ร่วมมือกับกองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา ได้ทำการศึกษานำร่องกับนักเรียนในบริบทโรงเรียนพื้นที่สูง จ.เชียงราย และพบว่ามีนักเรียนจำนวนมากที่ต้องเผชิญหน้ากับปัญหาสุขลักษณะทางกาย และไม่สามารถจดจ่อกับการเรียนภายในห้องเรียนได้อย่างเต็มที่ โดยพบว่าปัญหา 5 อันดับแรก มีดังต่อไปนี้

📌 อันดับที่ 1 ปัญหาช่องปาก
มีอาการฟันผุ ปวดฟันบ่อย จนไม่สามารถจดจ่อกับการเรียนได้

📌 อันดับที่ 2 ปัญหาทุพโภชนาการ
ไม่ได้รับประทานอาหารเช้าหรือได้รับสารอาหารไม่ครบตามหลักโภชนาการ ทำให้มีน้ำหนักหรือส่วนสูง ต่ำกว่าเกณฑ์ที่กำหนด

📌 อันดับที่ 3 ปัญหาทางผิวหนัง
มีอาการคันบริเวณผิวหนัง เนื่องจากมีตุ่ม ผื่น หรือแผลตกสะเก็ดตามตัว

📌 อันดับที่ 4 ปัญหาด้านสุขอนามัย
ถูกรบกวนจากกลิ่นไม่พึงประสงค์ เช่น กลิ่นตัว กลิ่นเท้า กลิ่นปาก หรือมี ประจำเดือนเปรอะเปื้อนเสื้อผ้า

📌 อันดับที่ 5 ปัญหาจากระบบทางเดินอาหาร
รู้สึกไม่สบายตัวเนื่องจากอาการปวดท้อง ท้องผูก ท้องเฟ้อ หรือเข้าห้องน้ำบ่อยจากอาการท้องเสีย

นอกจากนี้ยังมีปัญหาทางการมองเห็น สายตาสั้น มองกระดานไม่ชัดเจน, ปัญหาการได้ยิน หูอื้อ หูอักเสบ มีหนอง, ปัญหาการเคลื่อนไหว ปวดหลังจากการนั่งเป็นเวลานาน ปวดมือจากการเกร็งเพื่อเขียนหนังสือ

ปัญหาดังกล่าวส่งผลให้นักเรียนจำนวนมากไม่สามารถจดจ่อกับการเรียนได้เป็นระยะเวลานาน และอาจะส่งผลรุนแรงจนทำให้ต้องหยุดเรียนเพื่อรักษาตัวอยู่ที่บ้าน และเรียนหนังสือตามเพื่อนในห้องไม่ทัน ส่งผลต่อแรงจูงใจในการเรียนในระยะยาว

การปรากฏตัวของนักเรียนในห้องเรียน จึงไม่สามารถการันตีได้ว่านักเรียนสามารถเข้าถึงการเรียนรู้ที่มีคุณภาพได้ เนื่องจากอุปสรรคทางร่างกายที่เข้าต้องเผชิญอยู่ และไม่สามารถสื่อสารกับคุณครูให้รับรู้ได้อย่างชัดเจน

ซึ่งงานวิจัยพบว่าการแก้ไขปัญหาดังกล่าวอย่างมีประสิทธิภาพนั้น จำเป็นต้องสร้างความตระหนักรู้ในการดูแลสุขลักษณะทางกายให้กับนักเรียนในระระยาว ตั้งแต่การแปรงฟันอย่างถูกวิธี ชี้ให้เห็นความสำคัญของการรับประทานอาหารที่ถูกหลักโภชนาการ หรือการดูแลความสะอาดของร่างกาย

นอกจากนี้ต้องมีการร่วมมือกันในทุกภาคส่วน เช่น คุณครู ผู้ปกครอง โรงเรียน หรือบุคลากรทางสาธารณสุข ในการให้ความรู้กับนักเรียน จัดหาสื่อการเรียนรู้เกี่ยวกับสุขอนามัยที่มีคุณภาพ เก็บข้อมูลเชิงคุณภาพเพื่อนำมาวิเคราะห์การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของนักเรียนในระยะยาว เพื่อทำให้นักเรียนสามารถดูแลสุขอนามัยตัวเองได้อย่างมีประสิทธิภาพ และลดอุปสรรคที่อาจส่งผลต่อการเรียนรู้ภายในห้องเรียน

ในบางครั้งพฤติกรรมที่ ‘ดูเหมือนจะไม่ตั้งใจเรียน’ เหตุผลที่แท้จริงอาจมาจาก ‘ร่างกายที่ไม่พร้อมต่อการเรียน’ ก็ได้

ดาวน์โหลดเพิ่มเติม

รายชื่อโรงเรียน พื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้

จังหวัด นราธิวาส จำนวน 4 โรงเรียน

  • โรงเรียนผดุงมาตร
  • โรงเรียนสวนพระยาวิทยา
  • โรงเรียนราชพัฒนา
  • โรงเรียนนราสิกขาลัย

จังหวัดยะลา จำนวน 15 โรงเรียน

  • โรงเรียนไทยรัฐวิทยา 94 (บ้านบ่อน้ำร้อน)
  • โรงเรียนคุรุชนพัฒนา
  • โรงเรียนบ้านตาเซะ
  • โรงเรียนบ้านราโมง
  • โรงเรียนบ้านกาตอง
  • โรงเรียนบ้านหลักเขต
  • โรงเรียนพัฒนาบาลอ
  • โรงเรียนบ้านโกตาบารู
  • โรงเรียนบ้านตะโละหะลอ
  • โรงเรียนบ้านเยาะ
  • โรงเรียนบ้านโต
  • โรงเรียนบ้านลูโบ๊ะปันยัง
  • โรงเรียนบ้านคลองน้ำใส
  • โรงเรียนบ้านสะเอะ
  • โรงเรียนกาบังพิทยาคม

จังหวัดปัตตานี จำนวน 16 โรงเรียน

  • โรงเรียนวุฒิชัยวิทยา
  • โรงเรียนนิคมสร้างตนเองโคกโพธิ์ มิตรภาพที่ 148
  • โรงเรียนบ้านบางมะรวด
  • โรงเรียนบ้านท่าน้ำตะวันออก
  • โรงเรียนบ้านน้ำบ่อ
  • โรงเรียนบ้านปาลัส
  • โรงเรียนบ้านตรัง
  • โรงเรียนบ้านกระเสาะ
  • โรงเรียนบ้านบูดี
  • โรงเรียนบ้านฝาง
  • โรงเรียนบ้านตะโละไกรทอง
  • โรงเรียนบ้านน้ำดำ
  • โรงเรียนบ้านโลทู
  • โรงเรียนบ้านวังกว้าง
  • โรงเรียนสะนอพิทยาคม
  • โรงเรียนวังกะพ้อพิทยาคม

รายชื่อโรงเรียน ภาคตะวันตก

จังหวัดตาก จำนวน 1 โรงเรียน

  • โรงเรียนบ้านร่มเกล้า 2