ทุนนวัตกรรมสายอาชีพชั้นสูง เสริมความเท่าเทียม ต่อยอดความฝัน

ทุนนวัตกรรมสายอาชีพชั้นสูง เสริมความเท่าเทียม ต่อยอดความฝัน

ทุนนวัตกรรมสายอาชีพชั้นสูง คือทุนให้เปล่าที่จะมอบให้แก่เด็กนักเรียนที่มีความเหมาะสม เพื่อให้เด็กในทุนได้รับโอกาสในการศึกษาต่อในสายอาชีพที่เป็นที่ต้องการในตลาดแรงงาน เป็นการพัฒนาระบบการศึกษา และบุคลากรด้านการศึกษาในประเทศ ให้ตรงกับแผนยุทธศาสตร์ประเทศไทย 4.0

นอกจากจะเป็นทุนที่ช่วยเพิ่มโอกาสทางการศึกษาแล้ว โครงการนี้ยังเป็นโครงการที่วางแผนระยะยาว โดยการแบ่งเงินทุนออกเป็น 3 ส่วน

ส่วนที่หนึ่ง-เป็นเงินทุนไว้สนับสนุนสถาบันการศึกษาสำหรับนำไปพัฒนาคุณภาพการสอน
ส่วนที่สอง-เป็นเงินทุนมอบให้แก่นักเรียนเป็นจำนวนกว่า 2,500 ทุน โดยทุนนี้จะครอบครุมค่าใช้จ่ายรายเดือน และค่าธรรมเนียมการศึกษาแบบประหยัดที่จะแบ่งออกเป็น
– แบบ 5 ปี สำหรับนักเรียนชั้น ม. 3 ให้เรียนปวช. ต่อเนื่องถึง ปวส. หรือ อนุปริญญาสายอาชีพ
– ​แบบ 2 ปี สำหรับนักเรียนช้ัน ม.6 หรือ ปวช.3 ให้เรียน ปวส. หรือ อนุปริญญาสายอาชีพ
ส่วนที่สาม-ให้การสนับสนุนผู้อบรบหรือผู้เชี่ยวชาญที่จะทำให้เด็กทุนได้รับประสบการณ์การทำงานจริง

ทุนนวัตกรรมสายอาชีพชั้นสูงนี้นอกจากจะเป็นการเพิ่มโอกาสทางการศึกษาแล้ว ยังมีเป้าหมายในการสร้างอาชีพชั้นสูงซึ่งมีแนวโน้มที่ต้องการของตลาดในประเทศเราในอนาคตอีกด้วย

นักเรียนที่ได้รับทุนไป เมื่อจบการศึกษาจะสามารถทำงานสร้างรายได้ให้ตนเอง และสร้างมูลค่าให้แก่ประเทศได้อีกมาก เรียกว่าทั้งมีประโยชน์ต่อประเทศ และช่วยเพิ่มโอกาสให้แก่เด็กๆ ไปพร้อมกันด้วย

ในตอนนี้ทุนนวัตกรรมสายอาชีพชั้นสูง มีสาขาที่เปิดรับ 3 สาขา ได้แก่

1 สาขาเป้าหมายหลักในการพัฒนาประเทศ ได้แก่ อุตสาหกรรมที่มีศักยภาพ (First-Curve) และอุตสาหกรรมในอนาคต (New S-Curve)
2 สาขาที่ขาดแคลนในจังหวัด หรือ กลุ่มจังหวัดที่สถาบันการศึกษานั้น ๆ ตั้งอยู่
3 สาขาด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และเทคโนโลยีดิจิทัล (STEM)

สำหรับ โครงการทุนนวัตกรรมสายอาชีพชั้นสูงรุ่น 2 มีแนวทางการพัฒนา 2 เรื่อง คือ

1. การให้ทุนเชิงรุก (Strategic Grant) ให้ความสำคัญกับสถานศึกษาที่มีความร่วมมือในการผลิตกำลังคนในเขตพัฒนาเศรษฐกิจภาคตะวันออก (Eastern Economic Corridor : EEC) โดยเป็นการพัฒนากำลังคนสายอาชีพตามยุทธศาสตร์ ซึ่งจะมุ่งให้การสนับสนุนทุนสถาบันที่มีโครงการความร่วมมือผลิตบุคลากรให้แก่บริษัทที่มีความชัดเจนและสาขาที่ให้การสนับสนุน จะเน้นสาขาที่มีโอกาสได้รับการเข้าทำงานสูง

2. ระดมความร่วมมือผ่านการร่วมทุนกับบริษัทต่าง ๆ เป็นกรอบแนวคิดสำคัญที่เพิ่มเติมขึ้นมาในการสร้างโอกาสให้แก่เยาวชนที่ขาดแคลนทุนทรัพย์และด้อยโอกาส และสร้างกำลังคน ซึ่งความรับผิดชอบต่อสังคมขององค์กรธุรกิจ (Coporate Social Responsibility : CSR) เป็นนโยบายสำคัญในการดำเนินงานของหลายองค์กร กสศ. สามารถใช้หลักการข้างต้นในการแสวงหาความร่วมมือในลักษณะ Co-funding หากได้รับการสนับสนุน งบประมาณทุนการศึกษาจะลดลง

สนใจสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่
กองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (กสศ.)
โทร : 02-079-5475

ดาวน์โหลดเพิ่มเติม