Banner
ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอสุไหงโก-ลก
นราธิวาส

‘ต่อยอดให้เป็น แปรรูปให้ได้’ กศน.สุไหง-โกลกเปิดโครงการเสริมทักษะการพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้กับแรงงานด้อยโอกาสเพื่อเพิ่มมูลค่าของผลผลิตทางการเกษตร

อำเภอสุไหงโก-ลก คืออำเภอที่มีความสำคัญทางด้านเศรษฐกิจแห่งนึ่งในภาคใต้ โดยอำเภอนี้มีจุดเด่นในหลายๆ ด้าน ไม่ว่าจะเป็นมีการตั้งร้านค้าสหกรณ์ชุมนุมขึ้น มีการจัดตั้งกลุ่มอาชีพต่างๆ เพื่อความเข้มแข็งทางธุรกิจ โดยเฉพาะกลุ่มผู้ค้าขายที่มีความแน่นแฟ้นกันอย่างมาก แต่ขณะเดียวกันเมืองแห่งนี้ยังมีพื้นที่ในการพัฒนาและฟื้นฟูอีกมาก โดยเฉพาะการฝึกฝนแรงงานรุ่นใหม่ๆ ขึ้นมาเพื่อรองรับการเติบโตของเมือง

ในเบื้องต้น หลังจากที่กศน.สุไหงโก-ลก ได้ลงพื้นที่เพื่อวิคราะห์กลุ่มเป้าหมาย ก็ได้พบว่าตัวพื้นที่เองมีกลุ่มที่ทำงานกับคนด้อยโอกาสอยู่แล้ว ซึ่งมีการเชื่อมโยงข้อมูลกับหน่วยงานภาครัฐและเอกชน เช่น กลุ่มด้อยโอกาสตำบลมูโนะ กลุ่มด้อยโอกาสตำบลปาเสมัส กลุ่มด้อยโอกาสตำบลปูโยะ กลุ่มด้อยโอกาสตำบลแว้ง และกลุ่มด้อยโอกาสตำบลสุไหงโก-ลก

หลังจากที่กศน. ได้ประสานงานกับกลุ่มที่ทำงานในพื้นที่แล้ว จึงจัดเวทีประชาคมขึ้นเพื่อรับฟังความคิดเห็นของกลุ่มเป้าหมาย เพื่อหาแนวทางในการทำแผนพัฒนาทักษะอาชีพและได้มีการรับสมัครสมาชิกโครงการขึ้น โดยมีผู้เข้าร่วมจำนวน 150 คนประกอบด้วยแรงงานนอกระบบ ผู้ว่างงาน ผู้สูงอายุ และผู้ถือบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ

นอกจากนี้โครงการยังได้จัดทำหลักสูตรขึ้นมาตามความต้องการของกลุ่มเป้าหมาย โดยแบ่งเป็น 8 ทักษะอาชีพ 1.หลักสูตรการทำอาหารและขนม 2.หลักสูตรการตัดเย็บเสื้อผ้า 3.หลักสูตรงานจักสาน 4.หลักสูตรการเกษตรผสมผสาน 5.หลักสูตรการทำหน้ากากอนามัย 6.หลักสูตรการทำบัญชีครัวเรือน 7.หลักสูตรการค้าออนไลน์ 8.หลักสูตรการออกบรรจุภัณฑ์

ระหว่างที่มีการอบรมฝึกฝนกลุ่มเป้าหมาย โครงการได้เห็นการร่วมมือร่วมใจในการเรียนรู้ระหว่างกลุ่มสมาชิกด้วยกัน ซึ่งทำให้เครือข่ายกลุ่มคนด้อยโอกาสทั้ง 5 กลุ่ม ทำให้เกิดการแลกเปลี่ยนวิเคราะห์จุดเด่นและจุดด้อยของแต่ละพื้นที่อย่างชัดเจน โดยหลังจากการที่กลุ่มเป้าหมายได้ฝึกฝนจนจบหลักสูตรที่เลือกแล้ว จะมีการคัดเลือกตัวแทนมาเพื่อทำการถอดบทเรียนร่วมกับหน่วยพัฒนาอาชีพ จากนั้นกศน. อำเภอสุไหงโก-ลกจะทำการประสานงานกับภาคีเครื่องข่ายเพื่อช่วยกันจัดหางานให้กับกลุ่มเป้าหมายต่อไป

การรวมกลุ่มกันของเครือข่ายคือหัวใจหลักของโครงการพัฒนาฯ นี้ เพราะนับว่าเครือข่ายที่มีอยู่แล้วจากทั้ง 5 ชุมชนเป็นต้นทุนที่มีคุณค่าทางองค์ความรู้และการเข้าถึง ซึ่งการมารวมกลุ่มกันนอกจากจะเห็นให้เกิดการแลกเปลี่ยนบทเรียนระหว่างกันมากขึ้นแล้ว ยังทำให้ชุมชนที่อยู่ใกล้เคียงกันเกิดความเป็นปึกแผ่นและมีความสามารถในการต่อรองเพื่อจัดหางานที่ตรงกับความต้องการของสมาชิกกลุ่มได้อีกด้วย

เกี่ยวกับโครงการเบื้องต้น

พัฒนาทักษะอาชีพกลุ่มแรงงานขาดแคลนทุนทรัพย์และด้อยโอกาสเพื่อพึ่งพาตนเอง

ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอสุไหงโก-ลก

  • โทร: 080-7075946
  • ผู้ประสานงาน: นางอัศนีย์ หมาดสตูล

เป้าประสงค์

กลุ่มแรงงานผู้ขาดแคลนทุนทรัพย์และด้อยโอกาส สามารถมีทักษะการประกอบอาชีพ และนำความรู้ ทักษะที่ได้รับการฝึกอบรมไปสร้างรายได้ให้กับตนเอง ครอบครัวและนำมาใช้ในชีวิตประจำวันได้อย่างเหมาะสม

เรื่องราวนี้เป็นส่วนหนึ่งของโครงการพัฒนาระบบทดลองการพัฒนาทักษะแรงงานที่ขาดแคลนทุนทรัพย์และด้อยโอกาส โดยกองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา

กว่า 74 หน่วยงาน 42 จังหวัด กับ 1 เป้าหมายเพื่อสร้างชุมชนที่มีศักยภาพ ด้วยการพัฒนาทักษะอาชีพแก่แรงงานด้อยโอกาส