“กลุ่มลูกเหรียง”รวมพลังท้องถิ่น ผลักดันผลิตภัณฑ์ลูกหยี-นวดแผนไทย สู้วิกฤตอาชีพท้องถิ่นชายแดนใต้

“กลุ่มลูกเหรียง”รวมพลังท้องถิ่น ผลักดันผลิตภัณฑ์ลูกหยี-นวดแผนไทย สู้วิกฤตอาชีพท้องถิ่นชายแดนใต้

จังหวัดชายแดนภาคใต้เป็นหนึ่งในพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบจากโควิด-19  โดยเฉพาะจังหวัดยะลา ปัตตานี และสงขลา ซึ่งมีผู้ติดเชื้ออยู่ในกลุ่ม 10 อันดับสูงสุดของประเทศ 

นอกจากต้องระมัดระวังเรื่องการติดเชื้อแล้ว ยังมีปัญหาวิกฤตเศรษฐกิจที่ทำให้แรงงานถูกเลิกจ้าง ต้องเคลื่อนย้ายกลับภูมิลำเนา ข้อมูลระบุว่าผลกระทบจากโควิด-19 ทำให้แรงงานไทยในต่างประเทศเดินทางกลับมาราว 20,000 – 30,000 คน

 

สมาคมเด็กและเยาวชนเพื่อสันติภาพชายแดนใต้ หรือ “กลุ่มลูกเหรียง” องค์กรไม่แสวงหาผลกำไรที่ทำงานอยู่ในพื้นที่มาร่วม 20 ปี ได้เข้ามาช่วยผลักดันเศรษฐกิจชุมชนท้องถิ่น ในพื้นที่จังหวัดยะลาและปัตตานี ภายใต้ โครงการพัฒนาอาชีพแก่กลุ่มผู้ได้รับผลกระทบจากโควิด-19 ในพื้นที่จังหวัดชายแดนใต้ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของ ทุนพัฒนาอาชีพและนวัตกรรมที่ใช้ชุมชนเป็นฐาน กองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (กสศ.)  โดยมีเป้าหมายเพื่อสร้างชุมชนที่มีศักยภาพ พัฒนาทักษะอาชีพแก่แรงงานด้อยโอกาสในแต่ละท้องถิ่น

จากประสบการณ์ทำงานของกลุ่ม พบว่าคนในชุมชนต้องการทำงานจากต้นทุนชุมชนที่มีอยู่แล้ว เช่น ทรัพยากรธรรมชาติ หรือความต้องการที่สอดคล้องกับวิถีชีวิต และส่วนใหญ่หากมีทางเลือกก็อยากทำงานอยู่ในพื้นที่ อยู่กับครอบครัวมากกว่าออกไปทำงานนอกชุมชน 

กลายเป็นโจทย์ตั้งต้นที่กลุ่มลูกเหรียงใช้พูดคุยกับกลุ่มเป้าหมาย ซึ่งเป็นแรงงานตกงานที่กลับมาอยู่ในพื้นที่ และส่วนหนึ่งเป็นแม่เลี้ยงเดี่ยวที่อายุยังน้อย นำมาสู่ผลลัพธ์การสนับสนุนอาชีพ 2 รูปแบบ ได้แก่ การแปรรูปผลิตภัณฑ์จากผลผลิตท้องถิ่น ได้แก่ ลูกหยี และการนวดแผนไทยกับสปา ควบคู่ไปกับการอบรมเรื่องการตลาด การหาลูกค้า และการเจาะกลุ่มเป้าหมาย

จึงต้องตั้งโจทย์ที่จะนำไปสู่การพัฒนาผลิตภัณฑ์และสร้างการรับรู้ ยกตัวอย่างเช่น การพัฒนารสชาติให้ได้มาตรฐานทุกครั้ง การออกแบบแพ็คเกจที่แข็งแรงและทันสมัย คิดรูปแบบผลิตภัณฑ์ใหม่ เช่น ลูกหยีจี๊ดจ๊าด  รวมถึงการกระจายผลิตภัณฑ์ออกนอกชุมชน ด้วยการประชาสัมพันธ์ผ่านโซเชียลมีเดีย เพิ่มเติมจากการออกบูธขายสินค้า เช่น การไลฟ์สดและการทำเนื้อหานำเสนอผลิตภัณฑ์ให้ดึงดูดใจ 

รวมถึงการเปิดช่องทางให้กลุ่มชุมชนที่อยู่ในพื้นที่ เข้ามามีส่วนร่วมในกระบวนการผลิต เพื่อสร้างอาชีพ สร้างรายได้ให้คนในชุมชนอื่น ๆ ที่ไม่ใช่กลุ่มเป้าหมายในโครงการ เช่น การนำลูกหยีที่ปลูกมาขาย การรับจ้างปอกเปลือก แกะเมล็ด และตากลูกหยี จนเกิดเป็นเศรษฐกิจฐานชุมชน

ส่วนธุรกิจแพทย์แผนไทยตอบโจทย์เรื่องความต้องการผู้บริโภคกลุ่มเมืองเป็นหลัก ผู้เข้าร่วมโครงการทั้ง 15 คน ได้เข้าเรียนหลักสูตรการนวดแผนไทย 330 ชั่วโมง ต่อเนื่องกว่า 2 เดือน จนได้ใบประกอบวิชาชีพนวดแผนไทยอย่างเป็นทางการ 

นอกจากนี้ยังนำน้ำมันนวดสูตรลังกาสุกะ ผลงานวิจัยของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานีมาใช้ในโครงการ  และอบรมแนวคิดเรื่องการตลาดด้วย ทำให้สามารถนำเอาการเดลิเวอรี่มาปรับใช้กับการนวดแผนไทยได้เป็นอย่างดี แถมยังเหมาะสมกับสถานการณ์การเว้นระยะห่างทางสังคม ทำให้ผู้ประกอบการไม่ต้องออกไปพบเจอคนหมู่มากอีกด้วย

ความสำเร็จของโครงการจากการสนับสนุนอาชีพทั้ง 2 รูปแบบ คงไม่ใช่แค่เรื่องรายได้เท่านั้น แต่คือการสร้างโอกาสในภาวะวิกฤต ทำให้ผู้ได้รับผลกระทบ ยืนหยัดด้วยตัวเองได้อย่างยั่งยืน ผ่านการคิด วิเคราะห์ และต่อยอดจากต้นทุนและศักยภาพที่มีอยู่ในชุมชน

รายชื่อโรงเรียน พื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้

จังหวัด นราธิวาส จำนวน 4 โรงเรียน

  • โรงเรียนผดุงมาตร
  • โรงเรียนสวนพระยาวิทยา
  • โรงเรียนราชพัฒนา
  • โรงเรียนนราสิกขาลัย

จังหวัดยะลา จำนวน 15 โรงเรียน

  • โรงเรียนไทยรัฐวิทยา 94 (บ้านบ่อน้ำร้อน)
  • โรงเรียนคุรุชนพัฒนา
  • โรงเรียนบ้านตาเซะ
  • โรงเรียนบ้านราโมง
  • โรงเรียนบ้านกาตอง
  • โรงเรียนบ้านหลักเขต
  • โรงเรียนพัฒนาบาลอ
  • โรงเรียนบ้านโกตาบารู
  • โรงเรียนบ้านตะโละหะลอ
  • โรงเรียนบ้านเยาะ
  • โรงเรียนบ้านโต
  • โรงเรียนบ้านลูโบ๊ะปันยัง
  • โรงเรียนบ้านคลองน้ำใส
  • โรงเรียนบ้านสะเอะ
  • โรงเรียนกาบังพิทยาคม

จังหวัดปัตตานี จำนวน 16 โรงเรียน

  • โรงเรียนวุฒิชัยวิทยา
  • โรงเรียนนิคมสร้างตนเองโคกโพธิ์ มิตรภาพที่ 148
  • โรงเรียนบ้านบางมะรวด
  • โรงเรียนบ้านท่าน้ำตะวันออก
  • โรงเรียนบ้านน้ำบ่อ
  • โรงเรียนบ้านปาลัส
  • โรงเรียนบ้านตรัง
  • โรงเรียนบ้านกระเสาะ
  • โรงเรียนบ้านบูดี
  • โรงเรียนบ้านฝาง
  • โรงเรียนบ้านตะโละไกรทอง
  • โรงเรียนบ้านน้ำดำ
  • โรงเรียนบ้านโลทู
  • โรงเรียนบ้านวังกว้าง
  • โรงเรียนสะนอพิทยาคม
  • โรงเรียนวังกะพ้อพิทยาคม

รายชื่อโรงเรียน ภาคตะวันตก

จังหวัดตาก จำนวน 1 โรงเรียน

  • โรงเรียนบ้านร่มเกล้า 2

รายชื่อโรงเรียน พื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้

จังหวัด นราธิวาส จำนวน 6 โรงเรียน

  • โรงเรียนผดุงมาตร
  • โรงเรียนสวนพระยาวิทยา
  • โรงเรียนราชพัฒนา
  • โรงเรียนนราสิกขาลัย
  • โรงเรียนพิทักษ์วิยากุมุง
  • บ้านบูเก๊ะตาโมง มิตรภาพที่ 128

จังหวัดสงขลา จำนวน 20 โรงเรียน

  • โรงเรียนบ้านม้างอน
  • โรงเรียนวัดประจ่า
  • โรงเรียนจะนะชนูปถัมภ์
  • โรงเรียนบ้านป่าโอน
  • โรงเรียนชุมชนนิคม สร้างตนเองเทพา
  • โรงเรียนบ้านกระอาน
  • โรงเรียนบ้านวังใหญ่
  • โรงเรียนเทพา
  • โรงเรียนบ้านป่าเร็ด
  • โรงเรียนบ้านนาปรัง
  • โรงเรียนทับช้างวิทยาคม
  • โรงเรียนชุมชนบ้านนากัน
  • โรงเรียนบ้านโคกตก
  • โรงเรียนบ้านคอลอมุดอ
  • โรงเรียนบ้านบาโหย
  • โรงเรียนเขาแดงกุศลวิทยา
  • โรงเรียนบ้านเขาพระ
  • โรงเรียนบ้านพระพุทธ
  • โรงเรียนบ้านปากบางนาทับ
  • โรงเรียนบ้านคูนายสังข์

จังหวัดยะลา จำนวน 10 โรงเรียน

  • โรงเรียนบ้านราโมง
  • โรงเรียนพัฒนาบาลอ
  • โรงเรียนบ้านโกตาบารู
  • โรงเรียนบ้านตะโละหะลอ
  • โรงเรียนบ้านคลองน้ำใส
  • โรงเรียนบ้านสะเอะ
  • โรงเรียนกาบังพิทยาคม
  • บ้านด่านสันติราษฎร์
  • อัยเยอร์เวง
  • บ้านจุโป

จังหวัดปัตตานี จำนวน 8 โรงเรียน

  • โรงเรียนวุฒิชัยวิทยา
  • โรงเรียนบ้านกระเสาะ
  • โรงเรียนบ้านตะโละไกรทอง
  • โรงเรียนบ้านน้ำดำ
  • โรงเรียนบ้านโลทู
  • โรงเรียนบ้านวังกว้าง
  • โรงเรียนวังกะพ้อพิทยาคม
  • บ้านบางทัน

รายชื่อโรงเรียน ภาคตะวันตก

จังหวัดตาก จำนวน 1 โรงเรียน

  • โรงเรียนบ้านร่มเกล้า 2