เยาวชนนักกิจกรรมผู้ต่อสู้กับมรสุมที่ไม่หยุดยั้งเพื่อสิทธิในการเลือกอัตลักษณ์ของตนเอง
โดย : กองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (กสศ.) และสำนักงานยูเนสโกเพื่อการศึกษาส่วนภูมิภาคเอเชียและแปซิฟิก (ยูเนสโก กรุงเทพฯ)

เยาวชนนักกิจกรรมผู้ต่อสู้กับมรสุมที่ไม่หยุดยั้งเพื่อสิทธิในการเลือกอัตลักษณ์ของตนเอง

คุณอินก์จิน กันซอริก นักกิจกรรมข้ามเพศชาวมองโกเลียคนสำคัญปัจจุบันเป็นนักศึกษาระดับมหาวิทยาลัย เขาได้อดทนต่อความท้าทายและข้อจำกัดหลายประการ ซึ่งเกิดจากสังคมที่ไม่ยอมรับความหลากหลายทางเพศและเพศสภาพ ประสบการณ์ของคุณอินก์จินที่ถูกกลั่นแกล้งและถูกเลือกปฏิบัติในโรงเรียนไม่เพียงกระตุ้นให้เขาออกมาเปิดเผยว่าเป็นคนข้ามเพศ แต่ยังทำให้เขาเริ่มรณรงค์ให้สนับสนุนการศึกษาเกี่ยวกับ LGBTIQ+ และความเท่าเทียมทางเพศผ่านหลากหลายกิจกรรม

เนื่องจากคุณอินก์จินมุ่งมั่นที่จะเป็นตัวของตัวเอง ชีวิตในมหาวิทยาลัยของเขาจึงไม่ราบรื่น และเคยทำให้เขารู้สึกถูกครอบงำด้วยความกลัว ความกังวล และความอับอาย ในความเห็นของเขา แค่ไม่กี่ปีที่แล้ว คนส่วนใหญ่ในมองโกเลียยังขาดความเข้าใจเกี่ยวกับชุมชน LGBTIQ+ ด้วยเหตุนี้ “คำพูดที่ไม่ดี” จึงมักจะถูกใช้เพื่อตราหน้าหรือกล่าวถึงชาว LGBTIQ+ แบบไม่ใส่ใจนักในการสนทนา นอกจากนี้ เด็กที่เป็น LGBTIQ+ ไม่กล้าที่จะออกมาเปิดเผยตัวตนและเป็นตัวของตัวเองในที่สาธารณะ เพราะกลัวว่าจะถูกไล่ออกจากบ้าน

คุณอินก์จิน กันซอริก ตัวแทนเยาวชนจากมองโกเลีย

คุณอินก์จินเล่าถึงความเหนื่อยใจที่เขาเคยเผชิญ แม้กับเรื่องง่าย ๆ อย่างการมีเพื่อน คุณอินก์จินกล่าวว่า “ทุกคนต้องการมีเพื่อน ปีที่แล้ว ผมก็มีเพื่อนหลายคนเหมือนกัน แต่เกือบทุกครั้งที่ผมเปิดเผยตัวตนกับเพื่อน เพื่อนก็จะทิ้งผมไป และไม่มองผมเป็นเพื่อนอีกต่อไป นั่นคือเหตุผลที่ผมกลัวที่จะเป็นตัวของตัวเองในตอนนั้น” เนื่องจากอัตลักษณ์ LGBTQ+ ของคุณอินก์จิน นักเรียนคนอื่น ๆ ที่โรงเรียนจึงไม่ยอมรับเขาอย่างชัดเจน การเป็นตัวของตัวเองกลายเป็นอุปสรรคในการสร้างมิตรภาพ กล่าวอีกนัยหนึ่ง เขาถูกโดดเดี่ยวซ้ำแล้วซ้ำเล่า ไม่มีใครอยากคบหรือมองว่าเขาเป็นเพื่อน เพียงเพราะการแสดงออกทางเพศของเขา ดังนั้น ดังที่คุณอินก์จิน หวนระลึกในวันนี้ เขารู้สึกว่าเขาต้องแกล้งทำตัวเป็นคนอื่นเพื่อพยายามรักษามิตรภาพไว้

ในที่สุด สำหรับคุณอินก์จินแล้ว ดูเหมือนว่าปัญหาของเขาไม่ได้รับการแก้ไขอย่างถูกวิธี นับวัน เขายิ่งไม่สามารถก้าวข้ามความรู้สึกหัวเสียที่เขาต้องเผชิญอยู่ทุกวัน ในฐานะผู้นับถือศาสนาคริสต์ คุณอินก์จินสวดภาวนาอย่างเคร่งครัด แต่กลับโดนต่อต้านจากผู้อื่นที่นับถือศาสนาเดียวกัน เขาร้องไห้บ่อยครั้ง และต้องพูดปลอบตัวเองเพื่อให้ผ่านพ้นอีกวันหนึ่งไปให้ได้

พฤติกรรมที่สะท้อนถึงความขัดแย้งภายใน เป็นเรื่องปกติในชีวิตประจำวันของคุณอินก์จิน จนกระทั่งเขาได้รู้จักกับศูนย์ LGBT (มองโกเลีย) ซึ่งกลายมาเป็นที่พักพิงให้กับเขา เชื่อมโยงให้เขาได้รู้จักบุคคล LGBTIQ+ อื่น ๆ และมอบพื้นที่ปลอดภัยให้เขาได้แบ่งปันความรู้สึกของตัวเอง สิ่งที่น่าจะสำคัญที่สุดก็คือ เขาได้รับโอกาสที่จะมีปฏิสัมพันธ์กับคนที่สนับสนุนให้เขาเป็นตัวของตัวเอง

คุณอินก์จิน หวนนึกย้อนและบอกว่า “โชคดีที่ผมค้นพบศูนย์ LGBT และสานสัมพันธ์กับผู้อื่นที่นั่น ในที่สุดผมก็สามารถพูดคุยกับใครสักคนและเป็นตัวของตัวเองได้อย่างสง่างามในเวลาเดียวกัน”

กิจกรรมทางสังคมที่ศูนย์ LGBT เช่น การฉายภาพยนตร์ ช่วยสร้างพื้นที่ปลอดภัยให้ทุกคนรู้สึกว่าได้เป็นส่วนหนึ่งของชุมชน แทนที่จะต้องทนทุกข์ทรมานกับความรู้สึกแปลกแยก เป้าหมายหลักของกิจกรรมทั้งหมดที่ศูนย์ LGBT คือการสร้างความหวังและเสริมพลังให้กับชาว LGBTIQ+ ที่อาศัยอยู่ในมองโกเลีย นอกจากนี้ ที่ศูนย์ คุณอินก์จินยังได้รับโอกาสที่จะมีส่วนร่วมในกิจกรรมต่าง ๆ ซึ่งมุ่งให้ความรู้แก่สาธารณชนเกี่ยวกับประเด็น LGBTIQ+ รวมถึงการผลิตพอดแคสต์ การจัดกลุ่มสนทนา และการวางแผนจัดงานประจำปี อาทิ เดือนไพรด์

คุณอินก์จินไม่โทษครูหรือเพื่อนร่วมชั้นสำหรับความยากลำบากที่เขาต้องเผชิญในขณะที่เขาฝ่าฟันกับการแสดงออกอัตลักษณ์ทางเพศของตัวเอง แม้ว่าการเลือกปฏิบัติและทัศนคติเชิงลบต่อชุมชน LGBTIQ+ ยังคงเป็นเรื่องที่พบเห็นได้ทั่วไปในมองโกเลีย เขากล่าวว่าสถานการณ์กำลังดีขึ้น เนื่องด้วยความพยายามสร้างความตระหนักรู้ของศูนย์ LGBT เขาเชื่อว่าทางออกที่ดีที่สุด คือการสื่อสารกับสังคมโดยรวมและ “มอบความรู้ที่ถูกต้องเพื่อปลูกฝังความตระหนักรู้เกี่ยวกับบุคคล LGBTIQ+” คุณอินก์จินกล่าวว่า “ความรู้ที่ถูกต้องเป็นสิ่งสำคัญ”

คุณอินก์จินตั้งข้อสังเกตว่า ก่อนที่เขาจะตัดสินใจออกมาเปิดเผยว่าเป็นคนข้ามเพศ หรือก่อนที่เขาจะมาเข้าร่วมกิจกรรมการเคลื่อนไหวเพื่อคนข้ามเพศ เขามีแต่รู้สึกหดหู่ใจ แต่เมื่อเขาออกมาเปิดเผยตัวตน นั่นคือครั้งแรกที่เขารู้สึกว่าตัวเองเป็นมนุษย์ที่มีชีวิตจริง ๆ และมีความสุข สำหรับคุณอินก์จินในวันนี้ ความรู้สึกเหล่านี้เป็นสัญญาณที่บ่งบอกว่า “ถ้าเราใช้ชีวิตแบบเป็นตัวของเราเอง เราจะสามารถสัมผัสได้ถึงความรู้สึกอื่น ๆ ที่ไม่ใช่ความเศร้าหรือความกลัว การออกมาเปิดเผยตัวตนคือความกล้าหาญ”

เมื่อมองย้อนกลับไป คุณอินก์จินสะท้อนถึงความสำคัญเรื่องการตระหนักรู้ของสาธารณชน โดยกล่าวว่า “โปรดรับฟังเราและเชื่อเรา เราถูกเลือกปฏิบัติและด้อยโอกาส” เขาเสริมว่า “ผมคิดว่า ผู้คนควรใส่ใจเสียงของเราและมาร่วมกับเราในการสร้างการเปลี่ยนแปลง เรื่องนี้ง่ายมาก แต่ก็สำคัญมากเช่นกัน”

คุณอินก์จินเน้นความสำคัญของการที่ทุกคนจะต้องเป็นตัวของตัวเอง เขาเชื่อว่าเมื่อเราดำเนินชีวิตอย่างซื่อสัตย์ เราจะเข้าใจถึงความชอบ ความฝัน และความสุขที่แท้จริงของเรา เมื่อนั้น เราจะสามารถอุทิศตนเพื่อทำความฝันของเราให้เป็นจริง โดยไม่ต้องกังวลว่าจะเป็นตัวของตัวเองได้หรือไม่ หรือจะเข้ากับสังคมได้อย่างไร ความจริงก็คือชาว LGBTIQ+ จำนวนมากถูกครอบงำด้วยความกังวลเหล่านี้ เนื่องจากถูกกดขี่อยู่ตลอดเวลา เวลาของพวกเขาถูกพรากไป และโอกาสที่จะทำตามความฝันของตัวเองก็เหลือริบหรี่

คุณอินก์จินสรุปสิ่งที่เขาได้เรียนรู้จากประสบการณ์และความเข้าใจเชิงลึกของตัวเองซึ่งได้มาด้วยการฝ่าฟัน และเสนอว่าทุกคนควรทำความเข้าใจว่าตัวเองเป็นใคร การทำเช่นนั้นจะทำให้สามารถสานฝันของตัวเองได้ “นั่นคือเหตุผลที่ว่าทำไมการศึกษาจึงเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่ง ในอนาคต ผมอยากเห็นทุกคนทำตามความฝันของตัวเองได้ ภายใต้ระบบการศึกษาที่สร้างขึ้นเพื่อทุกกลุ่มคน คำนึงถึงเพศวิถีและอัตลักษณ์ทางเพศที่หลากหลาย และควรมีเป้าหมายที่จะสร้างความตระหนักรู้ให้กับทั้งนักเรียนและคุณครู ถ้าเราปลูกฝังข้อมูลที่ถูกต้อง คนในสังคมของเราก็จะปฏิบัติต่อกันและกันได้ดีกว่าเดิม”

คุณอินก์จิน กันซอริก เป็นตัวแทนเยาวชนสำหรับสมาคมการศึกษาขั้นพื้นฐานและการศึกษาผู้ใหญ่แห่งภาคพื้นเอเชียและแปซิฟิกใต้ (ASPBAE) และเป็นเยาวชนที่ได้รับการเสนอชื่อโดยยูเนสโก กรุงเทพฯ สำหรับการประชุมวิชาการนานาชาติครั้งที่ 2 เพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา: ก้าวสู่ความเสมอภาคไปด้วยกันซึ่งจัดขึ้นในเดือนตุลาคม พ.ศ. 2565 ในการประชุมนี้ เขาได้สร้างแรงบันดาลใจให้กับผู้ร่วมการประชุมเกือบ 4,000 คนทั่วโลกด้วยความฝันของเขาเกี่ยวกับระบบการศึกษาที่นับรวมทุกกลุ่มคนและเสมอภาคมากขึ้นสำหรับผู้เรียนทุกคน

ในการเร่งความคืบหน้าสู่เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนข้อที่ 4 ของสหประชาชาติ หรือวาระการศึกษา 2030 กองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (กสศ.) ร่วมกับยูเนสโก กรุงเทพฯ และพันธมิตร ยังคงเดินหน้าสร้างพื้นที่เปิดและปลอดภัยสำหรับทุกคน ที่ซึ่งเสียงของเยาวชนสามารถมีบทบาทในการขับเคลื่อนวาระระดับโลก สนับสนุนสิทธิการศึกษาของเยาวชน และส่งเสริมโอกาสในการเรียนรู้ตลอดชีวิตเพื่อมุ่งสู่ความเสมอภาคและการนับรวมทุกกลุ่มคน

สารคดีของคุณอินก์จิน กันซอริก Enkhijin Documentary : “Миний түүх” богино хэмжээний баримтат кино

รายชื่อโรงเรียน พื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้

จังหวัด นราธิวาส จำนวน 4 โรงเรียน

  • โรงเรียนผดุงมาตร
  • โรงเรียนสวนพระยาวิทยา
  • โรงเรียนราชพัฒนา
  • โรงเรียนนราสิกขาลัย

จังหวัดยะลา จำนวน 15 โรงเรียน

  • โรงเรียนไทยรัฐวิทยา 94 (บ้านบ่อน้ำร้อน)
  • โรงเรียนคุรุชนพัฒนา
  • โรงเรียนบ้านตาเซะ
  • โรงเรียนบ้านราโมง
  • โรงเรียนบ้านกาตอง
  • โรงเรียนบ้านหลักเขต
  • โรงเรียนพัฒนาบาลอ
  • โรงเรียนบ้านโกตาบารู
  • โรงเรียนบ้านตะโละหะลอ
  • โรงเรียนบ้านเยาะ
  • โรงเรียนบ้านโต
  • โรงเรียนบ้านลูโบ๊ะปันยัง
  • โรงเรียนบ้านคลองน้ำใส
  • โรงเรียนบ้านสะเอะ
  • โรงเรียนกาบังพิทยาคม

จังหวัดปัตตานี จำนวน 16 โรงเรียน

  • โรงเรียนวุฒิชัยวิทยา
  • โรงเรียนนิคมสร้างตนเองโคกโพธิ์ มิตรภาพที่ 148
  • โรงเรียนบ้านบางมะรวด
  • โรงเรียนบ้านท่าน้ำตะวันออก
  • โรงเรียนบ้านน้ำบ่อ
  • โรงเรียนบ้านปาลัส
  • โรงเรียนบ้านตรัง
  • โรงเรียนบ้านกระเสาะ
  • โรงเรียนบ้านบูดี
  • โรงเรียนบ้านฝาง
  • โรงเรียนบ้านตะโละไกรทอง
  • โรงเรียนบ้านน้ำดำ
  • โรงเรียนบ้านโลทู
  • โรงเรียนบ้านวังกว้าง
  • โรงเรียนสะนอพิทยาคม
  • โรงเรียนวังกะพ้อพิทยาคม

รายชื่อโรงเรียน ภาคตะวันตก

จังหวัดตาก จำนวน 1 โรงเรียน

  • โรงเรียนบ้านร่มเกล้า 2

รายชื่อโรงเรียนที่ได้รับทุนการศึกษาผ่านโครงการ Million Gift Million Smiles

จังหวัดเชียงราย จำนวน 1 โรงเรียน

  • โรงเรียนราชประชานุเคราะห์ 15
    (เวียงเก่าแสนภูวิทยาประสาท)

จังหวัดเชียงใหม่ จำนวน 3 โรงเรียน

  • โรงเรียนชลประทาน
    เขื่อนแม่กวงจิราธิวัฒน์อุปถัมภ์
  • โรงเรียนบ้านโป่งน้อย
  • โรงเรียนวัดสันคะยอม

จังหวัดลำปาง จำนวน 1 โรงเรียน

  • โรงเรียนวัดเสด็จ

จังหวัดพิษณุโลก จำนวน 1 โรงเรียน

  • โรงเรียนบ้านท่าข้าม

จังหวัดตาก จำนวน 3 โรงเรียน

  • โรงเรียนบ้านร่มเกล้า 2
  • โรงเรียนบ้านร่มเกล้า 4
  • โรงเรียนบ้านห้วยไม้แป้น

จังหวัดนครศรีธรรมราช จำนวน 4 โรงเรียน

  • โรงเรียนบ้านควนเงิน
  • โรงเรียนบ้านท่าไทร
  • โรงเรียนวัดชะอวด
  • โรงเรียนวัดไม้เสียบ

จังหวัดตรัง จำนวน 11 โรงเรียน

  • โรงเรียนท่างิ้ว (ต.ช.ด.อุปถัมภ์)
  • โรงเรียนบ้านเกาะเคี่ยม
  • โรงเรียนบ้านคลองคุ้ย
  • โรงเรียนบ้านช่องลม
  • โรงเรียนบ้านทอนเหรียน
  • โรงเรียนบ้านท่าส้ม
  • โรงเรียนบ้านบางสัก
  • โรงเรียนบ้านวังลำ
  • โรงเรียนวัดทุ่งหินผุด
  • โรงเรียนวัดวารีวง
  • โรงเรียนหาดทรายทอง

จังหวัดนราธิวาส จำนวน 6 โรงเรียน

  • โรงเรียนนราสิกขาลัย
  • โรงเรียนบ้านบูเก๊ะตาโมงมิตรภาพที่ 128
  • โรงเรียนผดุงมาตร
  • โรงเรียนพิทักษ์วิยากุมุง
  • โรงเรียนราชพัฒนา
  • โรงเรียนสวนพระยาวิทยา

จังหวัดพังงา จำนวน 2 โรงเรียน

  • โรงเรียนวัดนิโครธาราม
  • โรงเรียนวัดสุวรรณาวาส

จังหวัดปัตตานี จำนวน 8 โรงเรียน

  • โรงเรียนบ้านกระเสาะ
  • โรงเรียนบ้านตะโละไกรทอง
  • โรงเรียนบ้านน้ำดำ
  • โรงเรียนบ้านบางทัน
  • โรงเรียนบ้านโลทู
  • โรงเรียนบ้านวังกว้าง
  • โรงเรียนวังกะพ้อพิทยาคม
  • โรงเรียนวุฒิชัยวิทยา

จังหวัดยะลา จำนวน 10 โรงเรียน

  • โรงเรียนกาบังพิทยาคม
  • โรงเรียนบ้านโกตาบารู
  • โรงเรียนบ้านคลองน้ำใส
  • โรงเรียนบ้านจุโป
  • โรงเรียนบ้านด่านสันติราษฎร์
  • โรงเรียนบ้านตะโละหะลอ
  • โรงเรียนบ้านราโมง
  • โรงเรียนบ้านสะเอะ
  • โรงเรียนพัฒนาบาลอ
  • โรงเรียนอัยเยอร์เวง

จังหวัดสงขลา จำนวน 18 โรงเรียน

  • โรงเรียนเขาแดงกุศลวิทยา
  • โรงเรียนจะนะชนูปถัมภ์
  • โรงเรียนชุมชนนิคมสร้างตนเองเทพา
  • โรงเรียนชุมชนบ้านนากัน
  • โรงเรียนทับช้างวิทยาคม
  • โรงเรียนเทพา
  • โรงเรียนบ้านเขาพระ
  • โรงเรียนบ้านคอลอมุดอ
  • โรงเรียนบ้านคูนายสังข์
  • โรงเรียนบ้านโคกตก
  • โรงเรียนบ้านนาปรัง
  • โรงเรียนบ้านบาโหย
  • โรงเรียนบ้านปากบางนาทับ
  • โรงเรียนบ้านป่าเร็ด
  • โรงเรียนบ้านพระพุทธ
  • โรงเรียนบ้านม้างอน
  • โรงเรียนบ้านม้างอน
  • โรงเรียนวัดประจ่า