‘ครู’ ผู้เป็นดวงตาของลูกศิษย์

‘ครู’ ผู้เป็นดวงตาของลูกศิษย์

“เราจะพูดเสมอว่า ครูจะพยายามหาสิ่งที่จะช่วยเติมเต็มให้ได้มากที่สุด ให้เขาได้เห็นว่ามีคนใจดีมากมายที่เขาอยู่ข้างๆ เรา ช่วยสนับสนุนเรา มีหน่วยงานต่าง ๆ มีทุนต่าง ๆ พร้อมช่วยเหลือพวกเรา ครูจะทำหน้าที่ของตัวเองให้ดีที่สุดคือคอยประสานดูแลให้พวกเราได้รับความช่วยเหลือผลักดันอย่างเต็มที่”

ด้วยใจที่ตั้งมั่นจะเป็นครูตามความฝันที่วางไว้แต่เด็ก ครูแอมอัจฉราภรณ์ หรั่งวัตร จึงขีดทางเดินชีวิตเป็นเส้นตรงสู่อาชีพครูนับแต่เข้าเรียนมหาวิทยาลัยในสาขาวิชาภาษาไทย แล้วเริ่มสอนที่โรงเรียนเขาย้อยวิทยา จ.เพชรบุรี ตั้งแต่เรียนจบ 

หากที่โรงเรียนแห่งนี้เอง ที่ทำให้ครูแอมได้เปิดโลกใบใหม่ของการเป็น ครูเมื่อได้รับหน้าที่ดูแลน้องๆ ในกลุ่มการเรียนรู้พิเศษ ที่นับถึงปีนี้ก็เป็นเวลามากกว่า 10 ปีแล้ว ซึ่งครูแอมบอกว่า เด็ก ๆ กลุ่มนี้ได้สอนให้เธอรู้ว่านอกจากหน้าที่สอนหนังสือ งานของครูจะ ต้องทำให้ลูกศิษย์ทุกคนเสมอภาคเท่าเทียมให้ได้ แม้พวกเขาจะแตกต่างกันสักเท่าไรก็ตาม

เติบโตในครอบครัวครู จึงไม่เคยคิดถึงอาชีพอื่น

ครูแอมเล่าว่าคนในครอบครัวไม่ว่าคุณพ่อคุณแม่คุณลุงหรือคุณน้า ต่างก็รับราชการครูเกือบทั้งหมด เธอจึงซึมซับวิถีชีวิตครูจนเกิดเป็นแรงบันดาลใจ กระทั่งวันหนึ่งในวัย 9 ขวบ ครูแอมตามพ่อแม่ไปที่โรงเรียนและได้มีโอกาสสอนครั้งแรก จึงยิ่งเหมือนเป็นการจุดประกายให้แน่ใจว่า ไม่มีงานใดอีกแล้วที่อยากทำเท่าการเป็น ครู

“เราผูกพันกับอาชีพครู เวลาเห็นคุณพ่อคุณแม่สอนก็อยากทำแบบเขา จนมีครั้งหนึ่งตอนเด็ก ตามคุณแม่ไปที่โรงเรียน มีน้องอนุบาลคนหนึ่งถือสมุดดินสอเดินตรงมาหาเราแล้วบอกว่าเขาเขียน ก.ไก่ ไม่ได้ เราเลยจับมือเขาเขียนไปเรื่อยๆ จนเขาเขียนด้วยตัวเองได้ นั่นคือเหตุการณ์เล็กๆ ที่ทำให้เราประทับใจ ว่าเราทำให้เขาเขียนได้ มันบันดาลใจให้เราเชื่อมั่นว่าตัวเองน่าจะเป็นครูเหมือนพ่อกับแม่ได้ จากนั้นเราก็มุ่งมั่นมาทางนี้ คิดอย่างเดียวว่าต้องเป็นครูให้ได้ ไม่เคยนึกถึงงานอื่นเลย”

รับหน้าที่ดูแลเด็กกลุ่มการเรียนรู้พิเศษ

ปี 2550 ครูแอมรับตำแหน่งครูอัตราจ้างที่โรงเรียนเขาย้อยวิทยา สอนรายวิชาภาษาไทย เป็นช่วงเวลาที่ระบบการศึกษากำลังตื่นตัวเรื่องการ เรียนร่วม ครูแอมจึงได้รับหน้าที่อีกตำแหน่ง คือดูแลจัดการเรียนร่วมของเด็กนักเรียนปกติ กลุ่มบกพร่องทางการเรียนรู้(LD) เด็กพิเศษ เด็กบกพร่องด้านสติปัญญา รวมถึงเด็กที่มีความพิการทางร่างกาย

“ขั้นตอนแรกของเด็กกลุ่มนี้คือเราจะช่วยให้เขาอ่านออกเขียนได้ ซึ่งมันตรงกับงานของครูภาษาไทย เราจึงได้รับหน้าที่หัวหน้างานเรียนร่วม จากนั้นก็ทำมาตลอด” ครูแอมเล่า

แผนงานที่ครูแอมวางไว้รองรับเด็กกลุ่มนี้ คือทุกคนต้องผ่านการประเมินความสามารถทางการเรียนรู้ การช่วยเหลือตัวเอง ก่อนเข้าสู่แผนการเรียนรู้เฉพาะบุคคล(IEP) จนค้นพบขีดความสามารถภายในตัวเอง แล้วจึงวางแผนพัฒนาทักษะเพื่อไปสู่เป้าหมายคือการเรียนร่วมกับเด็กนักเรียนทั่วไปอย่างเต็มตัว

ผสานความต่าง สร้างห้องเรียนร่วมที่ทุกคนสื่อสารกันผ่าน ภาษาดนตรี

กิจกรรมหนึ่งที่ครูแอมนำมาใช้ต่อยอดศักยภาพในตัวน้องๆ กลุ่มนี้ คือกิจกรรมดนตรีและศิลปะต่างๆ ขณะเดียวกันก็เป็นการสร้างห้องเรียนพิเศษที่นักเรียนทุกคนจะได้สื่อสารสิ่งที่อยู่ภายใน และทำความรู้จักกัน

“การสร้างห้องเรียนร่วมที่สมบูรณ์ เราต้องทำให้เขาเชื่อในตัวเองก่อนว่าทุกคนต่างมีศักยภาพ แม้จะแตกต่างหรือมีข้อบกพร่องไม่เหมือนกัน แต่ทุกคนมีความพิเศษในตัวเอง เราเริ่มจากค้นหาสิ่งนั้นในตัวเขาให้พบแล้วส่งเสริมต่อ

การที่โรงเรียนเขาย้อยวิทยาเป็นโรงเรียนต้นแบบการเรียนร่วม ทำให้มีนักเรียนพิการทางสายตาเข้ามาเรียนร่วมด้วยกลุ่มหนึ่ง ซึ่งหลายคนมีความสามารถด้านดนตรีติดตัวมาอยู่แล้ว เด็กกลุ่มนี้จึงเป็นแกนหลักให้เริ่มมีกิจกรรมการเล่นดนตรี ก่อนต่อยอดไปยังกิจกรรมการเล่านิทาน อ่านข่าว และงานประติมากรรมซึ่งได้อาจารย์ศิลปะมาช่วยสอนน้องๆ ทำงานปั้น

“เรามีทั้งคนที่เล่นดนตรีเป็นอยู่แล้วและเพิ่งเริ่มหัด เราพบว่าบางคนที่เขามองไม่เห็น แต่เขามีโสตประสาทที่ดีและร้องเพลงได้ดี เราก็ช่วยให้เขาได้เอาความสามารถออกมาใช้ สำคัญคือต้องช่วยให้เขาปรับตัวใช้ชีวิตอยู่กับสังคมที่มีคนทุกประเภทได้ เพราะส่วนใหญ่เขาจะเคยอยู่แต่โรงเรียนเฉพาะทางมาตลอด   

“ผลลัพธ์จริงๆ ที่เรามองว่าคือความสำเร็จ คือกิจกรรมเหล่านี้ทำให้การสื่อสารระหว่างเด็กๆ ดีขึ้น โดยมีดนตรีและศิลปะเป็นสื่อนำพา นอกจากนั้น การสร้างกำลังใจก็สำคัญ เพราะเมื่อเรามีเด็กหลายประเภทมารวมกัน เด็กบางคนนอกจากเขามีความบกพร่องทางร่างกายแล้ว ยังเป็นกลุ่มนักเรียนยากจนพิเศษด้วย ทำให้เขาประหม่าต่อการปรับตัวเข้ากับเพื่อน กับการบอกเล่าอารมณ์ความรู้สึก ความต้องการของตน การที่เขามองไม่เห็นทำให้บางทีเขาไม่รู้ว่าเพื่อนที่อยู่ด้วยกันรู้สึกหรืออยู่ในอารมณ์ไหน เขาก็จะเงียบ ไม่กล้าพูดกล้าแสดง มันทำให้การสื่อสารไม่เกิด เราก็ต้องพูดกับเขา ให้เขาแสดงมันออกมาผ่านการเล่นดนตรี และต้องเล่นร่วมกันกับเพื่อนๆ ได้

“ส่วนในความด้อยโอกาสทางฐานะของเขา เราจะพูดเสมอว่า ครูจะพยายามหาสิ่งที่จะช่วยเติมเต็มให้ได้มากที่สุด ให้เขาได้เห็นว่ามีคนใจดีมากมายที่เขาอยู่ข้าง ๆ เรา ช่วยสนับสนุนเรา มีหน่วยงานต่างๆ มีทุนต่างๆ พร้อมช่วยเหลือพวกเรา ครูจะทำหน้าที่ของตัวเองให้ดีที่สุดคือคอยประสานดูแลให้พวกเราได้รับความช่วยเหลือผลักดันอย่างเต็มที่ ขอแค่ทุกคนอย่าท้อ เพราะครูพร้อมที่จะพาทุกคนก้าวเดินต่อไปเรื่อยๆ แต่ถ้านักเรียนหยุดแล้วครูยังเดินอยู่ มันจะเกิดช่องว่าง แล้วสิ่งที่ครูทำจะไม่มีประโยชน์อะไรเลย” ครูแอมเล่าถึงวิธีการให้กำลังใจลูกศิษย์

“ให้ดวงตาของเราแทนดวงตาของเขา”

นอกจากการสื่อสารในหมู่เพื่อนนักเรียนแล้ว ครูแอมบอกว่าการทำให้น้องๆ สามารถสื่อสารอารมณ์ไปยังผู้ชมก็มีความสำคัญเช่นกัน เพราะในการแสดงดนตรี ถือเป็นช่วงเวลาหนึ่งที่เด็กๆ จะได้บอกเล่าความรู้สึกของเขาผ่านภาษากายไปสู่ผู้ฟังได้

“เราเข้าใจว่าเวลาที่เขาร้องเพลงหรือเล่นดนตรี เด็กๆ เขามีอารมรณ์ร่วมกับเพลงแต่ติดขัดที่วิธีการถ่ายทอด ความที่เขามองไม่เห็น บางครั้งจึงไม่รู้ว่าต้องแสดงออกอย่างไร เราจึงต้องเป็นเสมือนดวงตาช่วยนำทางให้เขา สื่อสารสิ่งที่เราเห็นไปให้ถึงเขา ให้เขาสามารถส่งอารมณ์ความสุข เศร้า หรือดีใจออกไปได้ผ่านท่าทาง

“เทคนิคที่ใช้บ่อยคือเราจะยืนทาบซ้อนกับเขา ข้างหน้าบ้างข้างหลังบ้าง หันหน้าไปทางเดียวกันแล้วใช้ผ้าผูกข้อมือกันไว้ เมื่อเราเคลื่อนไหว โยก หรือผายมือ เขาจะขยับตามเรา วิธีนี้ทำให้เขารู้จักการจัดร่างกาย ทำความเข้าใจกับสรีระตัวเอง รู้จักการค่อยๆ ผายมือออก เอามือกุมที่หัวใจ สื่อความรู้สึกข้างในออกมาได้ แล้วเขาจะนำไปปรับใช้ตามที่เขาถนัด คือเราต้องใช้ดวงตาของเราแทนดวงตาของเขาให้ได้มากที่สุด”

ต่างเป็นครูของกันและกัน

ครูแอมบอกถึงความรู้สึกที่ได้เป็นครูของน้องๆ กลุ่มนี้ว่า เราต่างเป็นครูของกันและกัน เพราะตนเองก็ไม่ได้เป็นครูการศึกษาพิเศษโดยตรง ดังนั้นการสอนเด็กๆ ที่มีความบกพร่องเฉพาะทาง ด้วยหน้าที่แล้วเธอเป็นครูของพวกเขา แต่ขณะเดียวกัน ทั้งศิษย์และครูต่างก็ต้องช่วยกัน ในบางเรื่องที่ครูไม่รู้ น้องๆ ก็จะเป็นคนคอยบอก คอยสอน นั่นทำให้ห้องเรียนของครูแอม ทุกคนต้องเดินไปพร้อมกันเสมอ

“สิ่งที่เราเชื่อคือถ้าส่งเสริมเขาถูกจุด ทุกคนจะมีทางไป มีที่ที่พร้อมรองรับพวกเขา เขามีสิ่งที่พิเศษในตัวเองรอแค่โอกาสได้แสดงออกมา เราก็จะพยายามหาเวทีให้ ทุกอย่างทั้งดนตรี งานปั้น อ่านข่าว เล่านิทาน มีเวทีไหนเด็ก ๆ เข้าร่วมได้เราสนับสนุนหมด เพราะเป้าหมายปลายทางของเราคือทำให้เขาภูมิใจในตัวเอง อยู่ร่วมกับคนอื่นได้อย่างภาคภูมิ ให้เขารู้ว่าแม้จะมีบางสิ่งที่ต่างจากคนอื่นแต่เขาอยู่ร่วมกับทุกคนได้ เรื่องนี้เราเป็นครูต้องมั่นใจก่อน แล้วเมื่อไหร่ที่เรามั่นใจแล้ว เขาจะมั่นใจไปกับเราด้วย” ครูแอมกล่าว

ร่วมสร้างโอกาสไปกับ
กองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (กสศ.)
www.eef.or.th/donate/
ธนาคารกรุงไทย สาขาซอยอารีย์
เลขที่ : 172-0-30021-6
บัญชี : กสศ.มาตรา 6(6) – เงินบริจาค

รายชื่อโรงเรียน พื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้

จังหวัด นราธิวาส จำนวน 4 โรงเรียน

  • โรงเรียนผดุงมาตร
  • โรงเรียนสวนพระยาวิทยา
  • โรงเรียนราชพัฒนา
  • โรงเรียนนราสิกขาลัย

จังหวัดยะลา จำนวน 15 โรงเรียน

  • โรงเรียนไทยรัฐวิทยา 94 (บ้านบ่อน้ำร้อน)
  • โรงเรียนคุรุชนพัฒนา
  • โรงเรียนบ้านตาเซะ
  • โรงเรียนบ้านราโมง
  • โรงเรียนบ้านกาตอง
  • โรงเรียนบ้านหลักเขต
  • โรงเรียนพัฒนาบาลอ
  • โรงเรียนบ้านโกตาบารู
  • โรงเรียนบ้านตะโละหะลอ
  • โรงเรียนบ้านเยาะ
  • โรงเรียนบ้านโต
  • โรงเรียนบ้านลูโบ๊ะปันยัง
  • โรงเรียนบ้านคลองน้ำใส
  • โรงเรียนบ้านสะเอะ
  • โรงเรียนกาบังพิทยาคม

จังหวัดปัตตานี จำนวน 16 โรงเรียน

  • โรงเรียนวุฒิชัยวิทยา
  • โรงเรียนนิคมสร้างตนเองโคกโพธิ์ มิตรภาพที่ 148
  • โรงเรียนบ้านบางมะรวด
  • โรงเรียนบ้านท่าน้ำตะวันออก
  • โรงเรียนบ้านน้ำบ่อ
  • โรงเรียนบ้านปาลัส
  • โรงเรียนบ้านตรัง
  • โรงเรียนบ้านกระเสาะ
  • โรงเรียนบ้านบูดี
  • โรงเรียนบ้านฝาง
  • โรงเรียนบ้านตะโละไกรทอง
  • โรงเรียนบ้านน้ำดำ
  • โรงเรียนบ้านโลทู
  • โรงเรียนบ้านวังกว้าง
  • โรงเรียนสะนอพิทยาคม
  • โรงเรียนวังกะพ้อพิทยาคม

รายชื่อโรงเรียน ภาคตะวันตก

จังหวัดตาก จำนวน 1 โรงเรียน

  • โรงเรียนบ้านร่มเกล้า 2

รายชื่อโรงเรียน พื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้

จังหวัด นราธิวาส จำนวน 6 โรงเรียน

  • โรงเรียนผดุงมาตร
  • โรงเรียนสวนพระยาวิทยา
  • โรงเรียนราชพัฒนา
  • โรงเรียนนราสิกขาลัย
  • โรงเรียนพิทักษ์วิยากุมุง
  • บ้านบูเก๊ะตาโมง มิตรภาพที่ 128

จังหวัดสงขลา จำนวน 20 โรงเรียน

  • โรงเรียนบ้านม้างอน
  • โรงเรียนวัดประจ่า
  • โรงเรียนจะนะชนูปถัมภ์
  • โรงเรียนบ้านป่าโอน
  • โรงเรียนชุมชนนิคม สร้างตนเองเทพา
  • โรงเรียนบ้านกระอาน
  • โรงเรียนบ้านวังใหญ่
  • โรงเรียนเทพา
  • โรงเรียนบ้านป่าเร็ด
  • โรงเรียนบ้านนาปรัง
  • โรงเรียนทับช้างวิทยาคม
  • โรงเรียนชุมชนบ้านนากัน
  • โรงเรียนบ้านโคกตก
  • โรงเรียนบ้านคอลอมุดอ
  • โรงเรียนบ้านบาโหย
  • โรงเรียนเขาแดงกุศลวิทยา
  • โรงเรียนบ้านเขาพระ
  • โรงเรียนบ้านพระพุทธ
  • โรงเรียนบ้านปากบางนาทับ
  • โรงเรียนบ้านคูนายสังข์

จังหวัดยะลา จำนวน 10 โรงเรียน

  • โรงเรียนบ้านราโมง
  • โรงเรียนพัฒนาบาลอ
  • โรงเรียนบ้านโกตาบารู
  • โรงเรียนบ้านตะโละหะลอ
  • โรงเรียนบ้านคลองน้ำใส
  • โรงเรียนบ้านสะเอะ
  • โรงเรียนกาบังพิทยาคม
  • บ้านด่านสันติราษฎร์
  • อัยเยอร์เวง
  • บ้านจุโป

จังหวัดปัตตานี จำนวน 8 โรงเรียน

  • โรงเรียนวุฒิชัยวิทยา
  • โรงเรียนบ้านกระเสาะ
  • โรงเรียนบ้านตะโละไกรทอง
  • โรงเรียนบ้านน้ำดำ
  • โรงเรียนบ้านโลทู
  • โรงเรียนบ้านวังกว้าง
  • โรงเรียนวังกะพ้อพิทยาคม
  • บ้านบางทัน

รายชื่อโรงเรียน ภาคตะวันตก

จังหวัดตาก จำนวน 1 โรงเรียน

  • โรงเรียนบ้านร่มเกล้า 2