ผนึกกำลังชุมชนยืนหยัดปกป้องรร.ขนาดเล็ก

ผนึกกำลังชุมชนยืนหยัดปกป้องรร.ขนาดเล็ก

ยืนหยัดต่อลมหายใจ จาก รร.ที่เกือบถูกยุบ
สู่วันที่คะแนน O-NETสูงติดอันดับประเทศ

ภารกิจครั้งสำคัญในชีวิตของ ครูวิมล ช่วยรักษา คือการได้มารับตำแหน่งผอ.ที่โรงเรียนโคกล่ามผดุงวิทย์ ต.ดงลิง อ.กมลาไสย จ.กาฬสินธุ์  ในปี 2560  ท่ามกลางบรรยากาศที่ นักเรียนเริ่มถูกย้ายให้ไปเรียนโรงเรียนอื่น เพราะโรงเรียนโคกล่ามผดุงวิทย์เข้าข่ายเป็นโรงเรียนขนาดเล็กที่จะต้องถูกยุบ

“ตอนนั้นมีนโยบายว่า โรงเรียนที่มีนักเรียนต่ำกว่า 40 คนให้ไปเรียนกับโรงเรียนอื่น เรามีนักเรียน 32 คน มีครูแค่ 1 คนเท่านั้น และก่อนหน้านี้มีการทดลองให้เด็กในโรงเรียนไปเรียนในโรงเรียนที่อยู่ห่างไป 3 กิโลเมตร ผู้ปกครอง และนักเรียนไม่เห็นด้วยกันมาก เพราะเดินทางยากลำบาก และมีต้นทุนการส่งบุตรหลานที่สูงขึ้น”

สิ่งที่น่ากังวลคือหากโรงเรียนถูกยุบและนักเรียนต้องเดินทางยากลำบากไปเรียนไกลบ้าน อาจทำให้เขาหลุดออกจากระบบการศึกษาไปอย่างน่าเสียดาย และกลายเป็นความสูญเสียที่ไม่อาจประเมินค่าได้

 

ผนึกกำลังชุมชน จัดผ่าป่าการศึกษาปกป้องโรงเรียน

ครูวิมล จึงไปปรึกษากับเขตการศึกษาเพื่อขอให้ทบทวนการยุบโรงเรียนแห่งนี้ โดยมีข้อแม้ว่าเขาจะพัฒนาโรงเรียนโคกล่ามผดุงวิทย์ จากทรัพยากรที่มีอยู่ให้มีมาตรฐาน และผลิตนักเรียนที่มีคุณภาพ

“ผมบอกกับเขตการศึกษาไปว่า ผมขอโอกาส ผมไม่เห็นด้วยที่จะยุบโรงเรียนแห่งนี้  โรงเรียนมีทรัพยากรทุกอย่างอาคารสถานที่ นักเรียน งบประมาณได้น้อยมาก็ไม่เป็นไร เราก็พยายามหาทางสนับสนุนของเราเอง เพราะโรงเรียนเรามีปัจจัยภายนอก คือ ชุมชนที่เข้มแข็ง ปัจจัยภายใน นโยบายต่าง ๆ เราก็จะทำอย่างเต็มที่ เลยแจ้งเขาไปว่าขอเราสู้ ขอเราลองก่อน ถ้าไม่ได้ค่อยว่ากัน”

หลังจาก “ครูวิมล” กลับมา ได้ลงพื้นที่ไปคุยกับชุมชนทันที เพื่ออธิบายสถานการณ์ให้กับชุมชนและผู้ปกครองได้รับฟัง ซึ่งได้รับการสนับสนุนเป็นอย่างดี จนนำไปสู่การผนึกกำลังร่วมกันของชุมชน  คณะกรรมการสถานศึกษา และผู้ปกครอง ร่วมกันจัดผ้าป่าการศึกษาขึ้น เพื่อนำเงินไปพัฒนาการเรียนการสอนในโรงเรียน โดยเงินที่ได้มีจำนวนกว่า 5 แสนบาท ซึ่งงบประมาณก้อนแรกถูกนำไปใช้ในการจ้างครูเพิ่มขึ้น โดยเน้นไปที่ครู ซึ่งเป็นเด็กจบใหม่ “ไฟแรง”

 

ต้องทำให้เด็กอยากเรียน ก่อนพัฒนาคุณภาพ

สำหรับกลยุทธ์การพลิกฟื้นต่อลมหายใจโรงเรียนแห่งนี้นั้น  สิ่งแรกที่ทำก็คือสร้างเด็กให้อยู่ในวินัย ให้เด็กอยากมาโรงเรียน อยากรู้ อยากเรียน เมื่อเด็กเริ่มมีวินัยและมีความสุขในการมาโรงเรียนแล้ว จากนั้นเป็นขั้นตอนของการพัฒนาคุณภาพเด็ก และคุณภาพครู

การพัฒนาคุณครูนั้น “ครูวิมล” ย้ำว่า ตัวเองจะต้องพยายามทำเป็นตัวอย่างให้ครูรุ่นใหม่ได้ดู และคอยให้คำแนะนำ ให้กำลังใจ ถ้าทำดีต้องยกย่องชมเชย ที่สำคัญคือพัฒนามุมคิด โดยการพาไปศึกษาดูงาน เพื่อให้รู้ว่าโรงเรียนอื่นมีแนวทางการพัฒนาอย่างไร และสามารถนำมาปรับใช้ที่โรงเรียนได้อย่างไร

“หัวใจสำคัญ” ของการปฏิรูปครั้งนี้ คือ ให้ทุกคนมีความตระหนักร่วมกัน และช่วยกันทำให้โรงเรียนโคกล่ามผดุงวิทย์ ยืนหยัดต่อไปให้ได้

 

คะแนน O-NET สูงระดับประเทศ 2 ปีซ้อน

1 ปีผ่านไปความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นหลังจากใช้ระยะเวลาในการยกระดับมาตรฐานอย่างเข้มข้น  และยังต่อยอดการพัฒนาจนมาถึงปัจจุบัน คือ โรงเรียนแห่งนี้มีนักเรียนเพิ่มขึ้น เพราะผู้ปกครองให้ความมั่นใจกับการเรียนการสอน ที่ผ่านมามีตัวอย่างของนักเรียนที่สามารถสร้างชื่อเสียงทางวิชาการต่างๆ มากมาย

สิ่งที่”ครูวิมล”ภาคภูมิใจที่สุด ไม่ใช่แค่โรงเรียนนี้มีคะแนนโอเน็ตสูงในระดับประเทศ 2 ปีซ้อน หรือมีเด็กนักเรียนสามารถสอบเข้าโรงเรียนในระดับจังหวัดได้ แต่เป็นการที่ทั้งชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมพัฒนาโรงเรียนเพื่อให้บุตรหลานของเขาได้มีที่เรียนใกล้บ้านไม่ต้องเสียเงิน เสียเวลาไปเรียนโรงเรียนขนาดใหญ่ในพื้นที่อื่น โดยเฉพาะกับเด็กบางคนที่ฐานะทางบ้านไม่ดีนัก การต้องเดินทางที่ยากลำบากไป 3 กม. ก็สุ่มเสี่ยงที่จะทำให้เขาหลุดออกจากระบบการศึกษาไปอย่างไม่มีทางเลือก

 

ค้นหาตัวเองเปลี่ยนแปลงการสอนอย่างจริงจัง

หากย้อนไปในอดีตหลายคนคงไม่เชื่อว่า ผู้อำนวยการที่ยืนหยัดต่อสู้จนโรงเรียนประสบความสำเร็จได้มากมายขนาดนี้ ไม่ได้มีเป้าหมายในชีวิตที่จะมารับราชการเป็นครูสอนหนังสือมาก่อน 

“ที่เรียนวิทยาลัยครูเพราะว่าไม่รู้จะไปเรียนอะไร อย่างน้อยเรียนจบไปถ้าสอบครูไม่ได้ ก็สามารถไปสอนคนในชุมชนที่บ้านได้ เลยคิดว่าเราพัฒนาหมู่บ้านเราดีกว่า เพราะตอนนั้นหมู่บ้านเรายังด้อยพัฒนาเยอะ แต่พอผมเข้าไปเรียนก็ชอบนะ จบมาสอนหนังสือก็ได้เห็นธรรมชาติของเด็ก ” ครูวิมล ย้อนอดีตของตัวเอง

ใน 3 ปีแรกของชีวิตการทำงาน เป็นช่วงวัยรุ่น สอนไปแบบเรื่อยๆ  แต่พอผ่านไประยะหนึ่ง เขาเริ่มตั้งคำถามกับตัวเองว่า เด็กได้อะไรจากการเรียนการสอน  และพบว่า เด็กนักเรียนไม่ได้อะไรเลย ทำให้ครูวิมล เปลี่ยนแปลงการสอนของตัวเองอย่างจริงจังจนทำให้เด็กนักเรียนสามารถสอบเข้าโรงเรียนดังได้ ซึ่งเป็นสิ่งที่เขาเห็นว่ามาถูกทางและใช้เป็นแนวทางในการทำงานที่ยึดประโยชน์ของเด็กเป็นตัวตั้ง

ประวัตการทำงาน หลังเรียนจบปี 2535 วิมล ไปเป็นครูโรงเรียนเอกชน ที่กรุงเทพฯ ประมาณ 3 ปี ก่อนกลับมาสอบบรรจุในปี 2539 ที่โรงเรียนบ้านดงน้อย ต.สามผง อ.ศรีสงคราม จ.นครพนม  ปี 2544 ย้ายไปที่ โรงเรียนสะอาดโนนงามวิทยา จ.กาฬสินธุ์   ปี 2557 ย้ายไปเป็นผอ.ที่่แม่ฮ่องสอน ก่อนจะกลับมาเป็นผอ.ที่กาฬสินธุ์ ปี 2560

 

ร่วมสร้างโอกาสทางการศึกษา
กองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (กสศ.)
www.eef.or.th/donate/
ธนาคารกรุงไทย สาขาซอยอารีย์
เลขที่ : 172-0-30021-6
บัญชี : กสศ.มาตรา 6(6) – เงินบริจาค

รายชื่อโรงเรียน พื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้

จังหวัด นราธิวาส จำนวน 4 โรงเรียน

  • โรงเรียนผดุงมาตร
  • โรงเรียนสวนพระยาวิทยา
  • โรงเรียนราชพัฒนา
  • โรงเรียนนราสิกขาลัย

จังหวัดยะลา จำนวน 15 โรงเรียน

  • โรงเรียนไทยรัฐวิทยา 94 (บ้านบ่อน้ำร้อน)
  • โรงเรียนคุรุชนพัฒนา
  • โรงเรียนบ้านตาเซะ
  • โรงเรียนบ้านราโมง
  • โรงเรียนบ้านกาตอง
  • โรงเรียนบ้านหลักเขต
  • โรงเรียนพัฒนาบาลอ
  • โรงเรียนบ้านโกตาบารู
  • โรงเรียนบ้านตะโละหะลอ
  • โรงเรียนบ้านเยาะ
  • โรงเรียนบ้านโต
  • โรงเรียนบ้านลูโบ๊ะปันยัง
  • โรงเรียนบ้านคลองน้ำใส
  • โรงเรียนบ้านสะเอะ
  • โรงเรียนกาบังพิทยาคม

จังหวัดปัตตานี จำนวน 16 โรงเรียน

  • โรงเรียนวุฒิชัยวิทยา
  • โรงเรียนนิคมสร้างตนเองโคกโพธิ์ มิตรภาพที่ 148
  • โรงเรียนบ้านบางมะรวด
  • โรงเรียนบ้านท่าน้ำตะวันออก
  • โรงเรียนบ้านน้ำบ่อ
  • โรงเรียนบ้านปาลัส
  • โรงเรียนบ้านตรัง
  • โรงเรียนบ้านกระเสาะ
  • โรงเรียนบ้านบูดี
  • โรงเรียนบ้านฝาง
  • โรงเรียนบ้านตะโละไกรทอง
  • โรงเรียนบ้านน้ำดำ
  • โรงเรียนบ้านโลทู
  • โรงเรียนบ้านวังกว้าง
  • โรงเรียนสะนอพิทยาคม
  • โรงเรียนวังกะพ้อพิทยาคม

รายชื่อโรงเรียน ภาคตะวันตก

จังหวัดตาก จำนวน 1 โรงเรียน

  • โรงเรียนบ้านร่มเกล้า 2