ปันประสบการณ์จากรุ่นพี่ทุนพระกนิษฐาสัมมาชีพ ถึงน้องทุนนวัตกรรมสายอาชีพชั้นสูง

ปันประสบการณ์จากรุ่นพี่ทุนพระกนิษฐาสัมมาชีพ ถึงน้องทุนนวัตกรรมสายอาชีพชั้นสูง

ในพิธีปัจฉิมนิเทศนักศึกษาทุนนวัตกรรมสายอาชีพชั้นสูง จังหวัดชลบุรี มีกิจกรรมพูดคุยในหัวข้อ ‘เมื่อวันที่ กสศ. ได้ก้าวเข้ามาในชีวิตและวันนี้ที่ฉันจะต้องก้าวเดินต่อไป’ ซึ่งเป็นการแลกเปลี่ยนประสบการณ์โดยรุ่นพี่ทุนพระกนิษฐาสัมมาชีพ รุ่น 1 ที่ส่งไปถึงน้องๆ ทุนนวัตกรรมสายอาชีพชั้นสูง ที่กำลังจะเรียนจบในปีการศึกษานี้

โดย ‘พี่เม’ กนกอร ชมชาติ ที่กำลังจะจบหลักสูตรเทคโนโลยีบัณฑิต สาขาการโรงแรม จากวิทยาลัยอาชีวศึกษาเพชรบุรี และ ‘พี่จักร’ ชัยโรจน์ วงษ์สุวรรณ นักศึกษาชั้นปีที่ปี 2 หลักสูตรปริญญาตรี สาขาเทคโนโลยีวิศวกรรมแม่พิมพ์และเครื่องมือ คณะวิทยาลัยเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ ได้ขึ้นกล่าวกับน้องๆ ในฐานะตัวแทนรุ่นพี่ทุนพระกนิษฐาสัมมาชีพ รุ่น 1 ว่า สำหรับน้องๆ นักศึกษาทุนนวัตกรรมสายอาชีพชั้นสูง ที่กำลังจะจบชั้น ปวส. หรืออนุปริญญา แล้วมีความตั้งใจอยากเรียนต่อในระดับปริญญาตรี หรือตั้งความฝันเอาไว้ไกลถึงการเรียนในระดับปริญญาโทและปริญญาเอก แต่ด้วยข้อจำกัดเรื่องทุนการศึกษา หลายคนจึงไม่กล้าฝันต่อ จึงอยากแนะนำให้น้องๆ ได้รู้จักกับ ‘ทุน’ ที่จะช่วยให้ทุกคนที่มีความฝัน สามารถมองไปข้างหน้าและวางแผนต่อยอดการศึกษาไปได้จนถึงระดับที่ตั้งใจไว้

พี่เม กล่าวถึง ‘ทุนพระกนิษฐาสัมมาชีพ’ ว่าเป็นทุนสำหรับนักศึกษาสายอาชีพที่จบการศึกษาระดับชั้น ปวส. หรืออนุปริญญา โดยทุนนี้จะสนับสนุนต่อเนื่องตั้งแต่ปริญญาตรี ปริญญาโท จนถึงปริญญาเอก ตามแต่ความตั้งใจของผู้รับทุน

ส่วนคุณสมบัติผู้รับทุน เริ่มจากผู้เข้ารับคัดเลือกต้องมาจากครอบครัวที่มีรายได้ครัวเรือนต่ำกว่าเดือนละ 6,000 บาท มีเกรดเฉลี่ยไม่ต่ำกว่า 3.00 และติดอยู่ในอันดับ 100 ละ 20 บนของสาขาที่เรียน ทั้งนี้สถาบันที่จัดการศึกษาในระดับ ปวช. ปวส. และอนุปริญญา และสถานศึกษาที่จัดการศึกษาระดับปริญญาตรีในหลักสูตรต่อเนื่องหรือเทียบโอน หรือหลักสูตรปริญญาตรี 4 ปีในสาขาที่กำหนด ต้องเป็นผู้เสนอรายชื่อนักศึกษาตามคุณสมบัติที่กำหนด โดยสถาบันหนึ่งสามารถส่งนักศึกษาเข้ารับคัดเลือกได้สาขาละไม่เกิน 2 คน

“ผู้ได้รับทุนนี้จะได้รับทุนการศึกษาแบบไม่ต้องคืนทุน รวมค่าเทอม ค่าใช้จ่ายรายเดือน รวมถึงทุนสนับสนุนกิจกรรม อุปกรณ์การเรียน การทำวิจัย และมีการศึกษาดูงานต่างประเทศเมื่อเรียนในระดับปริญญาโทและปริญญาเอกด้วย”

อีกหนึ่งการปรับเปลี่ยนคุณสมบัติผู้รับทุนที่น่าสนใจในปีนี้คือ กสศ. เปิดโอกาสให้ผู้สำเร็จการศึกษามาแล้วไม่เกิน 3 ปี และมีผลการเรียนเฉลี่ยสะสมไม่ต่ำกว่า 3.00 สามารถร่วมพิจารณาเป็นผู้รับทุนได้ด้วย ซึ่งถือว่าสอดรับกับสถานการณ์ปัจจุบันที่ตลาดแรงงานยังผันผวนด้วยผลกระทบจาก COVID-19 ได้เป็นอย่างดี พี่เมระบุ

พี่จักร เสริมว่า เมื่อน้องๆ พิจารณาตนเองแล้วว่ามีคุณสมบัติตรงตามที่ทุนกำหนด ขั้นตอนต่อไปคือต้องเตรียมตัวให้พร้อมก่อนเข้าสู่กระบวนการคัดเลือก สิ่งสำคัญคือต้องตรวจสอบว่าสาขาที่ตั้งใจจะเรียนนั้น มีสถาบันในโครงการที่เปิดรองรับหรือไม่

สาขาที่เปิดรับนักศึกษาทุน คือสาขาที่เป็นเป้าหมายหลักในการพัฒนาประเทศ ได้แก่อุตสาหกรรมที่มีศักยภาพ(First S-Curve) และ อุตสาหกรรมอนาคต(New S-Curve) รวมถึงสาขาด้านวิทยาศาสตร์เทคโนโลยี(Science, Technology, Engineering, Mathematics: STEM) และเทคโนโลยีดิจิทัล

“ผมเชื่อว่าพื้นฐานของการเป็นนักศึกษาทุนฯ ที่ทุกคนมีอยู่ในตัว การันตีได้ถึงความขยัน ตั้งใจ และศักยภาพที่มีในตัวเองได้อยู่แล้ว ฉะนั้นสิ่งที่จะมาช่วยเป็นปัจจัยเสริมได้คือผลงานต่างๆ ที่แต่ละคนทำตั้งแต่เรียนชั้น ปวช. ปวส. หรืออนุปริญญา ที่สำคัญคือหลังจากผ่านขั้นตอนทั้งหมดไปจนถึงการสอบสัมภาษณ์ เราจะต้องแสดงให้คณะกรรมการได้เห็นความสามารถและความตั้งใจที่มีอยู่ในตัวเราให้ได้มากที่สุด โดยเฉพาะเป้าหมายที่ว่าเราอยากเรียนไปจนถึงระดับไหน และวางแผนอนาคตไว้อย่างไรบ้าง”  

ในฐานะคนที่ตั้งใจจะศึกษาต่อให้ได้สูงสุดเท่าที่ทำได้ แต่เคยเกือบต้องล้มเลิกความฝันไปด้วยความไม่พร้อมด้านฐานะทางเศรษฐกิจ พี่จักรเล่าว่าก่อนจะได้ทุน เคยกู้เงินเรียนมาก่อน แล้วก็พบว่ามีแต่ความรู้สึกกังวลใจ จนสูญเสียสมาธิในการเรียน

“ตอนนั้นทางบ้านผมต้องใช้หนี้เงินที่กู้ยืมมาเรียน แล้วยังต้องส่งเงินให้ผมใช้จ่ายประจำเดือนอีก จำได้ว่าตอนเรียนมีแต่ความกังวลเรื่องค่าใช้จ่าย จะคิดถึงเรื่องเรียนก็ทำได้ไม่เต็มที่ ทักษะหรือศาสตร์อื่นๆ ที่สนใจก็ไม่มีทุนให้ศึกษาเพิ่มเติม จนวันที่ได้ทุนพระกนิษฐาสัมมาชีพ ผมก็ไม่ต้องคิดเรื่องค่าใช้จ่ายหรือหนี้เงินกู้ยืมทุกวันอีกแล้ว หลังจากนั้นสิ่งที่ต้องทำก็มีแค่เรียนอย่างเดียวให้เต็มที่ เพิ่มขึ้นมาคือมีเวลาพัฒนาทักษะที่สนใจทั้งวิชาชีพหรือเรียนภาษาเพิ่มเติม ที่สำคัญคือผมกับครอบครัวมีความสุขกันมากขึ้นด้วย”

สำหรับแผนการในอนาคตของพี่ๆ ทั้งสองคน พี่เมตั้งใจไว้ว่าจะเรียนต่อในสาขาการโรงแรมจนจบปริญญาเอก และอยากจะเป็นอาจารย์หลังจบการศึกษาขั้นสูงสุด เพราะมองว่าอาจารย์สาขาการโรงแรมในสายอาชีวะยังขาดแคลนอยู่มาก ส่วนพี่จักร ตั้งใจว่าจะเรียนในสาขาที่เกี่ยวข้องต่อเนื่องไปให้สุดทางเท่าที่โอกาสเปิดให้ พร้อมเชิญชวนน้องทุนนวัตกรรมสายอาชีพชั้นสูงที่มีฝันอยากเรียนต่อให้เข้ามาลองสมัครทุนพระกนิษฐาสัมมาชีพ โดยปีนี้เป็นรุ่นที่ 3 จะเปิดรับสมัครไปจนถึงวันที่ 30 เมษายน 2564 นี้

ร่วมสร้างโอกาสไปกับ
กองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (กสศ.)
www.eef.or.th/donate/
ธนาคารกรุงไทย สาขาซอยอารีย์
เลขที่ : 172-0-30021-6
บัญชี : กสศ.มาตรา 6(6) – เงินบริจาค

รายชื่อโรงเรียน พื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้

จังหวัด นราธิวาส จำนวน 4 โรงเรียน

  • โรงเรียนผดุงมาตร
  • โรงเรียนสวนพระยาวิทยา
  • โรงเรียนราชพัฒนา
  • โรงเรียนนราสิกขาลัย

จังหวัดยะลา จำนวน 15 โรงเรียน

  • โรงเรียนไทยรัฐวิทยา 94 (บ้านบ่อน้ำร้อน)
  • โรงเรียนคุรุชนพัฒนา
  • โรงเรียนบ้านตาเซะ
  • โรงเรียนบ้านราโมง
  • โรงเรียนบ้านกาตอง
  • โรงเรียนบ้านหลักเขต
  • โรงเรียนพัฒนาบาลอ
  • โรงเรียนบ้านโกตาบารู
  • โรงเรียนบ้านตะโละหะลอ
  • โรงเรียนบ้านเยาะ
  • โรงเรียนบ้านโต
  • โรงเรียนบ้านลูโบ๊ะปันยัง
  • โรงเรียนบ้านคลองน้ำใส
  • โรงเรียนบ้านสะเอะ
  • โรงเรียนกาบังพิทยาคม

จังหวัดปัตตานี จำนวน 16 โรงเรียน

  • โรงเรียนวุฒิชัยวิทยา
  • โรงเรียนนิคมสร้างตนเองโคกโพธิ์ มิตรภาพที่ 148
  • โรงเรียนบ้านบางมะรวด
  • โรงเรียนบ้านท่าน้ำตะวันออก
  • โรงเรียนบ้านน้ำบ่อ
  • โรงเรียนบ้านปาลัส
  • โรงเรียนบ้านตรัง
  • โรงเรียนบ้านกระเสาะ
  • โรงเรียนบ้านบูดี
  • โรงเรียนบ้านฝาง
  • โรงเรียนบ้านตะโละไกรทอง
  • โรงเรียนบ้านน้ำดำ
  • โรงเรียนบ้านโลทู
  • โรงเรียนบ้านวังกว้าง
  • โรงเรียนสะนอพิทยาคม
  • โรงเรียนวังกะพ้อพิทยาคม

รายชื่อโรงเรียน ภาคตะวันตก

จังหวัดตาก จำนวน 1 โรงเรียน

  • โรงเรียนบ้านร่มเกล้า 2

รายชื่อโรงเรียน พื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้

จังหวัด นราธิวาส จำนวน 6 โรงเรียน

  • โรงเรียนผดุงมาตร
  • โรงเรียนสวนพระยาวิทยา
  • โรงเรียนราชพัฒนา
  • โรงเรียนนราสิกขาลัย
  • โรงเรียนพิทักษ์วิยากุมุง
  • บ้านบูเก๊ะตาโมง มิตรภาพที่ 128

จังหวัดสงขลา จำนวน 20 โรงเรียน

  • โรงเรียนบ้านม้างอน
  • โรงเรียนวัดประจ่า
  • โรงเรียนจะนะชนูปถัมภ์
  • โรงเรียนบ้านป่าโอน
  • โรงเรียนชุมชนนิคม สร้างตนเองเทพา
  • โรงเรียนบ้านกระอาน
  • โรงเรียนบ้านวังใหญ่
  • โรงเรียนเทพา
  • โรงเรียนบ้านป่าเร็ด
  • โรงเรียนบ้านนาปรัง
  • โรงเรียนทับช้างวิทยาคม
  • โรงเรียนชุมชนบ้านนากัน
  • โรงเรียนบ้านโคกตก
  • โรงเรียนบ้านคอลอมุดอ
  • โรงเรียนบ้านบาโหย
  • โรงเรียนเขาแดงกุศลวิทยา
  • โรงเรียนบ้านเขาพระ
  • โรงเรียนบ้านพระพุทธ
  • โรงเรียนบ้านปากบางนาทับ
  • โรงเรียนบ้านคูนายสังข์

จังหวัดยะลา จำนวน 10 โรงเรียน

  • โรงเรียนบ้านราโมง
  • โรงเรียนพัฒนาบาลอ
  • โรงเรียนบ้านโกตาบารู
  • โรงเรียนบ้านตะโละหะลอ
  • โรงเรียนบ้านคลองน้ำใส
  • โรงเรียนบ้านสะเอะ
  • โรงเรียนกาบังพิทยาคม
  • บ้านด่านสันติราษฎร์
  • อัยเยอร์เวง
  • บ้านจุโป

จังหวัดปัตตานี จำนวน 8 โรงเรียน

  • โรงเรียนวุฒิชัยวิทยา
  • โรงเรียนบ้านกระเสาะ
  • โรงเรียนบ้านตะโละไกรทอง
  • โรงเรียนบ้านน้ำดำ
  • โรงเรียนบ้านโลทู
  • โรงเรียนบ้านวังกว้าง
  • โรงเรียนวังกะพ้อพิทยาคม
  • บ้านบางทัน

รายชื่อโรงเรียน ภาคตะวันตก

จังหวัดตาก จำนวน 1 โรงเรียน

  • โรงเรียนบ้านร่มเกล้า 2