การประชุม เวทีเสวนาวิชาการทักษะพื้นฐานของทุนมนุษย์แห่งโลกยุคใหม่: การพัฒนาพื้นฐานทักษะและบทบาทในระดับจังหวัด

การประชุม เวทีเสวนาวิชาการทักษะพื้นฐานของทุนมนุษย์แห่งโลกยุคใหม่: การพัฒนาพื้นฐานทักษะและบทบาทในระดับจังหวัด

วันจันทร์ที่ 29 พฤษภาคม พ.ศ. 2566 เวลา 09.00 – 11.40 น.
ณ กองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา

ความเป็นมา

กองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (กสศ.) เป็นหน่วยงานภายใต้การกำกับของนายกรัฐมนตรีโดยมีภารกิจตาม พรบ. กองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา เพื่อช่วยเหลือผู้ขาดแคลนทุนทรัพย์และด้อยโอกาส ลดความเหลื่อมล้ำทางการศึกษา และเสริมสร้างและพัฒนาประสิทธิภาพครู เพื่อส่งเสริม สนับสนุน และช่วยเหลือ เด็ก เยาวชน และปราชาชน ที่ขาดแคลนทั้งทุนทรัพย์และด้อยโอกาส ให้ได้รับการพัฒนาทักษะและศักยภาพ มีการดำเนินงานที่ใช้ข้อมูลจากงานวิจัยและความร่วมมือในการชี้เป้าและความต้องการ และนำผลจากการวิเคราะห์วิจัยและการพัฒนาต้นแบบไปสู่ระดับนโยบายเพื่อขยายผลในระดับประเทศ

กสศ. ร่วมกับ ธนาคารโลก มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และ สำนักงานสถิติแห่งชาติ ได้พัฒนาความร่วมมือด้านวิชาการและจัดทำข้อเสนอแนะเชิงนโยบายในการพัฒนาทุนมนุษย์ไทยให้พร้อมแข่งขันในศตวรรษที่ 21 ผ่าน “การวิจัยสำรวจทักษะและความพร้อมกลุ่มประชากรวัยแรงงานในประเทศไทย (Adult Skills Assessment in Thailand)” เพื่อร่วมกันหาแนวทางการยกระดับทักษะแรงงาน และการกำหนดนโยบายด้านการศึกษา ให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงของตลาดแรงงานในโลกยุคดิจิทัล เพิ่มขีดความสามารถในด้านการแข่งขัน ให้ประเทศไทยก้าวพ้นกับดักประเทศรายได้ปานกลาง และเพื่อให้แรงงานในประเทศไทยได้รับการพัฒนากลายเป็นแรงงานที่มีทักษะสูงขึ้น ซึ่งจะส่งผลให้ประชากรไทยจะมีคุณภาพชีวิตและความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น ลดปัญหาความยากจนข้ามรุ่น ช่วยให้ไทยเป็นประเทศที่มีรายได้สูงขึ้น และยังสามารถลดความเหลื่อมล้ำในมิติต่าง ๆ

ดังนั้นเพื่อสนับสนุนการดำเนินงานข้างต้น กสศ. ธนาคารโลก มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และ สำนักงานสถิติแห่งชาติ จึงได้ร่วมกันจัด เวทีเสวนาวิชาการทักษะพื้นฐานของทุนมนุษย์แห่งโลกยุคใหม่ ครั้งที่ 3ในหัวข้อการพัฒนาพื้นฐานทักษะและบทบาทในระดับจังหวัด

วัตถุประสงค์

  1. เพื่อสร้างความเข้าใจในยุทธศาสตร์และความท้าทายใหม่กับการพัฒนาทักษะพื้นฐานของทุนมนุษย์ในระดับจังหวัด
  2. ให้ความสำคัญและบทบาทของทักษะและการเรียนรู้ที่มีความจำเป็นเพื่อลดความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจและสังคมจากทุกภาคส่วนทั้ง เช่น ในระดับนานาชาติ ประเทศ และ จังหวัด เป็นต้น
  3. เพื่อให้ข้อเสนอแนะและความร่วมมือเชิงนโยบายในการพัฒนาทักษะพื้นฐานของทุนมนุษย์แห่งโลกยุคใหม่

รายละเอียดเวทีการประชุม

  1. นำเสนอ “กรณีศึกษาการพัฒนาทักษะพื้นฐานของทุนมนุษย์และบทบาทในระดับจังหวัด”จากต่างประเทศ
  2. เสวนาและแลกเปลี่ยนข้อคิดเห็นในประเด็น “การพัฒนาพื้นฐานทักษะและบทบาทในระดับจังหวัดของประเทศไทย” โดยผู้ขับเคลื่อนทางนโยบาย นักวิชาการด้านการศึกษาและตัวแทนจากการศึกษาเชิงพื้นที่

กลุ่มเป้าหมายผู้เข้าร่วม

  1. หน่วยงานของรัฐ ภาคเอกชน ภาควิชาการ และสื่อสารมวลชน ที่ทำงานด้านการลดความเหลื่อมล้ำของสถานศึกษาและการพัฒนาขีดความสามารถของเยาวชนและแรงงานไทย
  2. ตัวแทนหน่วยงานภาคีภาคท้องถิ่นและจังหวัด

รูปแบบการประชุม เวลาและสถานที่

วันจันทร์ที่ 29 พฤษภาคม พ.ศ. 2566 เวลา 09.00-11.40 น.

สถานที่ : กองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา อาคารเอส. พี. (อาคารเอ) ชั้น 13 เลขที่ 388 ถนนพหลโยธิน
แขวงสามเสนใน เขตพญาไท กรุงเทพมหานคร 10400 (เฉพาะวิทยากรและสื่อมวลชน)

ออนไลน์ : ผู้เข้าร่วมประชุมสามารถเข้าร่วมผ่านระบบ Zoom คลิก
หรือ รับฟังการถ่ายทอดสดทาง Facebook Live : กสศ. กองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา

เครือข่ายจัดเวทีการประชุม

  • กองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา
  • ธนาคารโลก
  • มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
  • สำนักงานสถิติแห่งชาติ


กำหนดการประชุมเวทีเสวนาวิชาการทักษะพื้นฐานของทุนมนุษย์แห่งโลกยุคใหม่: การพัฒนาพื้นฐานทักษะและบทบาทในระดับจังหวัด

วันจันทร์ที่ 29 พฤษภาคม พ.ศ. 2566 เวลา 09.00 – 11.40 น.
ณ กองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา

เวลากิจกรรม
09.00 – 09.30 น.ลงทะเบียน ผู้เข้าร่วมประชุม ณ สถานที่จัดงาน
09.30 – 09.40 น.กล่าวเปิด
โดย:
นางสาวธันว์ธิดา วงศ์ประสงค์ ผู้อำนวยการสำนักพัฒนานวัตกรรมเพื่อสร้างโอกาสการเรียนรู้
      กองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (กสศ.)
09.40 – 10.10 น.นำเสนอ “กรณีศึกษาการพัฒนาทักษะพื้นฐานของทุนมนุษย์และบทบาทในระดับจังหวัด”จากต่างประเทศ
โดย:
Mr. Koji Miyamoto, Senior Economist for Global Practice, World Bank
10.10 – 11.10 น.เสวนา “การพัฒนาพื้นฐานทักษะและบทบาทในระดับจังหวัดของประเทศไทย” โดย:      • นายเศรษฐ์ อัลยุฟรี นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดปัตตานี • ผศ.ดร.วิยดา เหล่มตระกูล คณบดีคณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง นายสมศักดิ์ พะเนียงทอง คณะกรรมการขับเคลื่อนพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาจังหวัดระยอง • นายเจริญลักษณ์ เพ็ชรประดับ เลขาธิการมูลนิธิชุมชนขอนแก่นทศวรรษหน้าจังหวัดขอนแก่น   ผู้นำเสวนา: คุณกมลธร โกมารทัต ผู้สื่อข่าวและผู้ประกาศข่าว พีพีทีวี
11.10 – 11.30 น.ถาม – ตอบ
11.30 – 11.40 น.กล่าวปิด
โดย:
นายพัฒนะพงษ์ สุขมะดัน ผู้ช่วยผู้จัดการ กองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (กสศ.) 
กำหนดการอาจมีการเปลี่ยนแปลงตามความเหมาะสม

รายชื่อโรงเรียน พื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้

จังหวัด นราธิวาส จำนวน 4 โรงเรียน

  • โรงเรียนผดุงมาตร
  • โรงเรียนสวนพระยาวิทยา
  • โรงเรียนราชพัฒนา
  • โรงเรียนนราสิกขาลัย

จังหวัดยะลา จำนวน 15 โรงเรียน

  • โรงเรียนไทยรัฐวิทยา 94 (บ้านบ่อน้ำร้อน)
  • โรงเรียนคุรุชนพัฒนา
  • โรงเรียนบ้านตาเซะ
  • โรงเรียนบ้านราโมง
  • โรงเรียนบ้านกาตอง
  • โรงเรียนบ้านหลักเขต
  • โรงเรียนพัฒนาบาลอ
  • โรงเรียนบ้านโกตาบารู
  • โรงเรียนบ้านตะโละหะลอ
  • โรงเรียนบ้านเยาะ
  • โรงเรียนบ้านโต
  • โรงเรียนบ้านลูโบ๊ะปันยัง
  • โรงเรียนบ้านคลองน้ำใส
  • โรงเรียนบ้านสะเอะ
  • โรงเรียนกาบังพิทยาคม

จังหวัดปัตตานี จำนวน 16 โรงเรียน

  • โรงเรียนวุฒิชัยวิทยา
  • โรงเรียนนิคมสร้างตนเองโคกโพธิ์ มิตรภาพที่ 148
  • โรงเรียนบ้านบางมะรวด
  • โรงเรียนบ้านท่าน้ำตะวันออก
  • โรงเรียนบ้านน้ำบ่อ
  • โรงเรียนบ้านปาลัส
  • โรงเรียนบ้านตรัง
  • โรงเรียนบ้านกระเสาะ
  • โรงเรียนบ้านบูดี
  • โรงเรียนบ้านฝาง
  • โรงเรียนบ้านตะโละไกรทอง
  • โรงเรียนบ้านน้ำดำ
  • โรงเรียนบ้านโลทู
  • โรงเรียนบ้านวังกว้าง
  • โรงเรียนสะนอพิทยาคม
  • โรงเรียนวังกะพ้อพิทยาคม

รายชื่อโรงเรียน ภาคตะวันตก

จังหวัดตาก จำนวน 1 โรงเรียน

  • โรงเรียนบ้านร่มเกล้า 2