รัฐบาลท้องถิ่นสหรัฐฯ จัดงบให้ทุนการศึกษาครู
โดย : AP News
แปลและเรียบเรียง : นงลักษณ์ อัจนปัญญา

รัฐบาลท้องถิ่นสหรัฐฯ จัดงบให้ทุนการศึกษาครู

รัฐบาลท้องถิ่นในรัฐมิสซิสซิปปีของสหรัฐฯ จัดสรรงบเกือบ 10 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพื่อเป็นทุนการศึกษาแก่บรรดาครู โดยมอบให้กับทางมหาวิทยาลัยในพื้นที่ 5 แห่ง โดยครอบคลุมค่าใช้จ่ายทั้งหมดตลอดหลักสูตรการศึกษา ตั้งเป้าสร้างบุคลากรครูคุณภาพ แก้ปัญหาขาดแคลนครูในระยะยาว

สำนักข่าวเอพีรายงานว่า รัฐบาลท้องถิ่นของรัฐมิสซิสซิปปีได้จัดสรรทุนเกือบ 10 ล้านเหรียญสหรัฐ ให้กับมหาวิทยาลัยรัฐ 5 แห่งภายใต้โครงการ “Mississippi Teacher Residency Program” หรือครูท้องถิ่นมิสซิสซิปปี ซึ่งถือเป็นโครงการที่จัดทำขึ้นเพื่อพยายามแก้ปัญหาการขาดแคลนบุคลากรครูคุณภาพในระยะยาว หลังผลการสำรวจล่าสุดของกระทรวงศึกษาธิการสหรัฐฯ ระหว่างวันที่ 21 สิงหาคม – 11 ตุลาคม ที่ผ่านมา พบว่า โดรงเรียนรัฐในรัฐมิสซิสซิปปียังขาดครูมืออาชีพอยู่มากถึง 3,036 ตำแหน่ง

สำหรับการให้ทุนในครั้งนี้จะครอบคลุมตั้งแต่ค่าเล่าเรียน ค่าเทอม และค่าใช้จ่ายต่างๆ ที่เกิดขึ้นในระหว่างเรียน และเป็นจำนวนทุนที่เพียงพอสำหรับนักเรียนครูที่สนใจมากถึง 240 คน โดยเบื้องต้นจะให้เป็นทุนการศึกษาสำหรับหลักสูตรครูในระดับประถมศึกษาและมัธยมศึกษา ซึ่งงบที่จัดสรรมานี้ จัดสรรมาจากเงินเยียวยาชาวอเมริกันที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของไวรัสโควิด-19 (American Rescue Plan) ที่รัฐบาลประธานาธิบดี โจ ไบเดน ของสหรัฐฯ เป็นผู้จัดสรรให้กับรัฐบาลท้องถิ่นทั่วประเทศ

สำหรับมหาวิทยาลัยทั้ง 5 แห่งที่ได้รับทุนสนับสนุนการศึกษาครูวิชาชีพครั้งนี้ประกอบด้วย มหาวิทยาลัยรัฐเดลต้า (Delta State University) มหาวิทยาลัยรัฐแจ๊คสัน (Jackson State University) มหาวิทยาลัยรัฐมิสซิสซิปปี (Mississippi State University) มหาวิทยาลัยเซาเทิร์นมิสซิสซิปปี (University of Southern Mississippi) และมหาวิทยาลัยวิลเลียมแครีย์ (William Carey University)

ในส่วนของผู้สมัครที่ได้รับทุนจะได้รับเงินทุนการศึกษาแบบเต็มจำนวน ซึ่งรวมถึงค่าธรรมเนียมการสอบวัดระดับ ค่าหนังสือ และค่าจ้างที่ปรึกษา ขณะเดียวกันตัวเงินทุนยังรวมถึงค่าการฝึกสอน ค่าแนะแนว เงินสนับสนุนการสอบ และทุนส่งเสริมการพัฒนาทักษะทางวิชาชีพครู  โดยผู้ที่สนใจเข้ารับทุนต้องลงนามให้คำมั่นที่จะยินดีสอนหนังสือกับกลุ่มเด็กยากจน กลุ่มเด็กชายขอบ กลุ่มเด็กจากชนกลุ่มน้อย และกลุ่มเด็กผู้พิการทุพพลภาพด้วยความเต็มใจ

นอกจากนี้ ในช่วงเดียวกัน มีรายงานว่าทางกองทัพเรือสหรัฐฯ ได้จับมือร่วมกับมหาวิทยาลัยโรดไอแลนด์ (University of Rhode Island – URI) และมหาวิทยาลัยคอนเนตทิคัต (University of Connecticut – UC) ออกแบบหลักสูตรโปรแกรมด้านวิศวกรรมศาสตร์ เพื่อให้การศึกษาและฝึกอบรมนักศึกษาในระดับปริญญาตรีที่สนใจจะเข้ามาทำงานรับใช้กองทัพเรือในด้านที่เกี่ยวกับงานด้านวิศวกรรมใต้ทะเล

รายงานระบุว่า ทางกระทรวงกลาโหมสหรัฐฯ ได้มอบทุนการศึกษามูลค่า 3 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ให้กับมหาวิทยาลัยทั้งสองแห่ง เพื่อใช้เป็นทุนตั้งต้นในการออกแบบหลักสูตรระดับปริญญาตรีด้านวิศวกรรมใต้ทะเล (undersea engineering) โดยทางมหาวิทยาลัยโรดไอแลนด์เปิดเผยว่า ทุนสนับสนุนดังกล่าวได้นำไปพัฒนาและออกแบบหลักสูตรวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีกองทัพเรือ ภายใต้ความร่วมมือจากกองทัพเรือสหรัฐฯ

ทั้งนี้ ตัวโครงการริเริ่มขึ้นในปี 2017 ด้วยทุนสนับสนุนเป็นระยะเวลา 3 ปี มูลค่ารวม 1.3 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพื่อจัดตั้งโครงการร่วมในการเฟ้นหาและให้การสนับสนุนบุคลากรรุ่นใหม่ที่สนใจทำงานให้กับหน่วยงานหรือองค์กรที่เกี่ยวข้องกับกองทัพเรือ ซึ่งทุนสนับสนุนดังกล่าวครอบคลุมโรงเรียนต่างๆ ที่ตั้งอยู่ในเขตการศึกษาคิงส์ตัน โรดไอแลนด์ และสตอร์ส คอนเนตทิคัต ตามลำดับ โดยในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา โรงเรียนเหล่านี้ได้มีการเปิดตัวหลักสูตรหลากหลายที่มุ่งเน้นการศึกษาในวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่ว่าด้วยเรื่องด้านการทหารเรือโดยเฉพาะ

สำหรับทุนงวดใหม่ที่เพิ่มขึ้นมาครั้งนี้ แถลงการณ์กระทรวงกลาโหมสหรัฐฯ ระบุว่า จะนำไปใช้เพื่อส่งเสริมความคิดริเริ่มด้านการศึกษา การขยายงาน และการพัฒนาอาชีพ รวมถึงการขยายการเข้าถึงไปยังนักเรียนในหลักมัธยมศึกษาให้มีทางเลือกในหลักสูตรเรียนต่อในระดับอุดมศึกษา รวมถึงการจัดสรรวิทยากรผู้เชี่ยวชาญมาให้ความรู้และทำความเข้าใจเกี่ยวกับหลักสูตรด้านวิศวกรรมศาสตร์ใต้ทะเลโดยเฉพาะ

“ทุนก้อนใหม่นี้จะช่วยให้เราสามารถขยายความร่วมมือกับทางมหาวิทยาลัยชั้นนำในพื้นที่ โดยเป็นหลักสูตรที่เราร่วมสร้างและพัฒนาขึ้นเพื่อจัดทำงานด้านการวิจัย รวมถึงการจัดสรรเงินทุนให้กับหลักสูตรในส่วนที่เกี่ยวข้องกับกิจกรรมด้านการศึกษาและการพัฒนาบุคลากรทั้งหมด” วาเลอรี ไมเออร์-สเปียร์เดโลซซี (Valerie Maier-Speredelozzi) ผู้อำนวยการร่วมโครงการ STEM กองทัพเรือกับมหาวิทยาลัยโรดไอแลนด์กล่าว

ตัวแทนจากกองทัพเรือสหรัฐฯ ยังกล่าวต่อไปว่า อีกหนึ่งเป้าหมายของโครงการก็คือ ต้องการช่วยให้นักศึกษาระดับปริญญาตรีและบัณฑิตศึกษาของสหรัฐฯ รู้ว่ามีโอกาสทางอาชีพอยู่ที่กองทัพเรือ และตอบโจทย์ความต้องการของกองทัพและบริษัทเอกชนที่เกี่ยวข้องกับทางกองทัพที่กำลังต้องการบุคลากรด้านวิศวกรรม การผลิต และเทคโนโลยี เพื่อกองทัพ

ทั้งนี้ พื้นที่ในแถบตอนใต้ของรัฐนิวอิงแลนด์ ถือเป็นแหล่งวัตถุดิบหลักในการจัดหาเรือดำน้ำและอุปกรณ์ชิ้นส่วนที่สำคัญให้กับทางกองทัพเรือสหรัฐฯ รวมถึงมีบริษัทหลายร้อยแห่งทำหน้าที่ผลิตและจัดหาเครื่องมือต่างๆ สำหรับการใช้งานในกองทัพเรือโดยเฉพาะ

ที่มา :

รายชื่อโรงเรียน พื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้

จังหวัด นราธิวาส จำนวน 4 โรงเรียน

  • โรงเรียนผดุงมาตร
  • โรงเรียนสวนพระยาวิทยา
  • โรงเรียนราชพัฒนา
  • โรงเรียนนราสิกขาลัย

จังหวัดยะลา จำนวน 15 โรงเรียน

  • โรงเรียนไทยรัฐวิทยา 94 (บ้านบ่อน้ำร้อน)
  • โรงเรียนคุรุชนพัฒนา
  • โรงเรียนบ้านตาเซะ
  • โรงเรียนบ้านราโมง
  • โรงเรียนบ้านกาตอง
  • โรงเรียนบ้านหลักเขต
  • โรงเรียนพัฒนาบาลอ
  • โรงเรียนบ้านโกตาบารู
  • โรงเรียนบ้านตะโละหะลอ
  • โรงเรียนบ้านเยาะ
  • โรงเรียนบ้านโต
  • โรงเรียนบ้านลูโบ๊ะปันยัง
  • โรงเรียนบ้านคลองน้ำใส
  • โรงเรียนบ้านสะเอะ
  • โรงเรียนกาบังพิทยาคม

จังหวัดปัตตานี จำนวน 16 โรงเรียน

  • โรงเรียนวุฒิชัยวิทยา
  • โรงเรียนนิคมสร้างตนเองโคกโพธิ์ มิตรภาพที่ 148
  • โรงเรียนบ้านบางมะรวด
  • โรงเรียนบ้านท่าน้ำตะวันออก
  • โรงเรียนบ้านน้ำบ่อ
  • โรงเรียนบ้านปาลัส
  • โรงเรียนบ้านตรัง
  • โรงเรียนบ้านกระเสาะ
  • โรงเรียนบ้านบูดี
  • โรงเรียนบ้านฝาง
  • โรงเรียนบ้านตะโละไกรทอง
  • โรงเรียนบ้านน้ำดำ
  • โรงเรียนบ้านโลทู
  • โรงเรียนบ้านวังกว้าง
  • โรงเรียนสะนอพิทยาคม
  • โรงเรียนวังกะพ้อพิทยาคม

รายชื่อโรงเรียน ภาคตะวันตก

จังหวัดตาก จำนวน 1 โรงเรียน

  • โรงเรียนบ้านร่มเกล้า 2