สหรัฐ ทุ่ม 2,750 ล้านดอลลาร์ หวังสร้างความเท่าเทียมด้านการศึกษาด้วยดิจิทัล
โดย : U.S.Department of Education
แปลและเรียบเรียง : นงลักษณ์ อัจนปัญญา

สหรัฐ ทุ่ม 2,750 ล้านดอลลาร์ หวังสร้างความเท่าเทียมด้านการศึกษาด้วยดิจิทัล

กระทรวงศึกษาธิการสหรัฐ เปิดเผยทิศทางนโยบายและวิสัยทัศน์เพื่อพัฒนาความเท่าเทียมทางดิจิทัลสำหรับเด็กนักเรียนทุกคนทั่วประเทศ ภายใต้การสนับสนุนจากกฎหมายฉบับใหม่ Digital Equity Act และกฎหมายโครงสร้างพื้นฐานมูลค่ารวม 2,750 ล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยมีเป้าหมายหลักเพื่อแก้ปัญหาความไม่เสมอภาคเท่าเทียมทางดิจิทัล ที่มีช่องว่างกว้างมากขึ้นในช่วงวิกฤตการระบาดใหญ่ของไวรัสโควิด-19

กระทวงศึกษาธิการสหรัฐ เปิดเผยวิสัยทัศน์ด้านความเสมอภาคทางดิจิทัลภายในงาน National Digital Equity Summit ซึ่งเป็นงานประชุมที่ว่าด้วยเรื่องความเสมอภาคทางการศึกษา ซึ่งทางกระทรวงศึกษาธิการสหรัฐ เป็นเจ้าภาพจัดงานร่วมกับทางสำนักงานเทคโนโลยีการศึกษา (Office of Educational Technology – OET)

ทั้งนี้ ทั้งสองหน่วยงาน ยังได้ร่วมเปิดการประชุมภายใต้หัวข้อ Advancing Digital Equity for All: Community-based Recommendations for Developing Digital Equity Plans to Closed the Digital Divide and Enable Technology-Empowered Learning ที่มุ่งให้ความสำคัญกับการส่งเสริมสนับสนุนความเสมอภาคทางเทคโนโลยีดิจิทัลสำหรับทุกคน  พร้อมคำแนะนำสำหรับชุมชนในการวางแผนพัฒนาเพื่อปิดช่องว่างทางดิจิทัลและส่งเสริมศักยภาพทางเทคโนโลยี และการเรียนรู้ทางเทคโนโลยี นอกจากนี้ ยังให้คำแนะนำสำหรับการปรับใช้บรอดแบนด์อย่างเท่าเทียมกันเพื่อสนับสนุนผู้นำในการกำหนดแผนการลงทุนด้านดิจิทัล เพื่อให้โรงเรียนและครอบครัวจำนวนมากสามารถเข้าเชื่อมโยงเข้าถึงสัญญาณอินเตอร์เน็ต เนื่องจากหลังการระบาดของไวรัสโควิด-19 ได้ทำให้โรงเรียนและหลายครอบครัวตระหนักถึงความสำคัญของสัญญาณอินเทอร์เน็ตกับการเรียนทางไกล

คำแนะนำดังกล่าวสอดคล้องกับกฎหมายโครงสร้างพื้นฐานที่สภาคองเกรสสหรัฐ ที่ลงมติให้การสนับสนุนพร้อมให้มีผลบังคับใช้เมื่อต้นปีที่ผ่านมา โดยภายใต้กฎหมายดังกล่าว รัฐบาลกลางสหรัฐฯ จะจัดสรรเงิน 2,750 ล้านดอลลาร์สหรัฐจากกฎหมายว่าด้วยตราสารทุนดิจิทัล เพื่อให้แน่ใจว่าทุกคนสามารถเก็บเกี่ยวผลประโยชน์อย่างเต็มที่จากเศรษฐกิจดิจิทัล

 Miguel Cardona รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการสหรัฐฯ กล่าวว่า ในช่วงเวลานี้ ความเสมอภาคเท่าเทียมทางดิจิทัลเป็นเรื่องเร่งด่วนที่จำเป็นต้องเร่งจัดการ ซึ่งที่ผ่านมา โอกาสในการส่งมอบความเสมอภาคทางดิจิทัลไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน

“การระบาดใหญ่ของไวรัสโควิด-19 ได้เปลี่ยนการเข้าถึงเทคโนโลยีอย่างเท่าเทียม จากเป้าหมายที่ต้องทำ กลายเป็นเรื่องเร่งด่วนที่ต้องทำ นักเรียนที่ไม่มีการเข้าถึงบรอดแบนด์หรือไม่สามารถเข้าถึงสัญญาณโทรศัพท์มือถือมีอัตราการทำการบ้านที่สำเร็จและเกรดเฉลี่ยที่ต่ำกว่าเพื่อนร่วมชั้นเรียน” รัฐมนตรีกระทรวงศึกษาธิการสหรัฐฯ กล่าว

“นอกจากผลการเรียนที่แย่กว่าแล้ว การเข้าไม่ถึงสัญญาณเน็ตยังส่งผลต่ออัตราความสำเร็จในการเรียนจบ ดังนั้น กล่าวได้ว่า ทุกวันนี้ การศึกษาไม่สามารถมีความเสมอภาคได้หากปราศจากความเสมอภาคทางดิจิทัล” จากนั้น รัฐมนตรีศึกษาธิการสหรัฐ ยังได้ากฎหมายฉบับดังกล่าวจะช่วยให้ความเสมอภาคทางการศึกษาบรรลุเป้าหมายได้เร็วขึ้น

ในส่วนของการประชุมสุดยอด Digital Equity Summit ระดับชาติเป็นการจัดประชุมที่เกือบ 200 องค์กรด้านความเสมอภาคเท่าเทียม ตลอดจนผู้นำระบบระดับรัฐและระดับท้องถิ่น หน่วยงานของรัฐบาลกลาง และผู้เชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีการศึกษาเข้าร่วม เพื่อหารือแลกเปลี่ยนความเห็นเกี่ยวกับวิธีที่การลงทุนบรอดแบนด์จากกฎหมายโครงสร้างพื้นฐานเพื่อให้สามารถใช้ประโยชน์ได้ดียิ่งขึ้นในการให้บริการนักเรียนในพื้นที่ห่างไกล และเพิ่มโอกาสที่จะตามมาจากการเข้าถึงดิจิทัลได้อย่างใกล้ชิด ขณะเดียวกัน การลดช่องว่างการแบ่งแยกทางดิจิทัลยังจะเป็นการสนับสนุนประสบการณ์การเรียนรู้ที่เปลี่ยนแปลงไปผ่านการส่งเสริมศักยภาพด้านเทคโนโลยี

Roberto Rodríguez ผู้ช่วยรัฐมนตรีฝ่ายวางแผน ประเมิน และนโยบาย กล่าวว่า การระบาดใหญ่ของไวรัสโควิด-19 ทำให้ช่องว่างด้านการศึกษาที่มีมายาวนานรุนแรงขึ้น และกระตุ้นให้เกิดการเรียนรู้จากระยะไกลในกรณีฉุกเฉินอย่างที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน หนึ่งในความท้าทายที่สำคัญที่สุดในช่วงเวลานี้คือการให้การเข้าถึงพื้นฐานสู่อินเทอร์เน็ตความเร็วสูงที่เชื่อถือได้ซึ่งจำเป็นต่อการอำนวยความสะดวกในทุกที่และการเรียนรู้ตลอดเวลา

“เราทุกคนเข้าใจดีว่าความเท่าเทียมทางดิจิทัลไม่ใช่เงื่อนไข ‘ดีที่จะมี’ อีกต่อไป แต่เป็น ‘ต้องมี’ เพื่อให้แน่ใจว่าทุกคนจะมีส่วนร่วมอย่างเต็มที่ในเศรษฐกิจดิจิทัลและสังคมในปัจจุบันและอนาคต” Roberto Rodríguez กล่าว

รายงานฉบับใหม่นี้ยังเน้นย้ำถึงอุปสรรคที่มีอยู่ในองค์ประกอบทั้งสามของความเสมอภาคทางดิจิทัล ได้แก่ความพร้อมใช้งาน ความสามารถในการจ่ายได้ และการรับไปใช้งาน ยิ่งไปกว่านั้น ยังรวบรวมตัวอย่างของกลยุทธ์ที่มีแนวโน้มว่าจะสามารถเอาชนะอุปสรรคเหล่านี้ได้ โดยเนื้อหาส่วนใหญ่ถูกรวบรวมผ่านโครงการริเริ่ม Digital Equity Education Roundtables (DEER) ที่เปิดตัวโดย OET ในช่วงฤดูใบไม้ผลิที่่ผ่านมา ซึ่งทำให้มีการสนทนาระดับชาติก้าวหน้ากับผู้นำจากองค์กรในชุมชน ตลอดจนครอบครัวและนักเรียนจากโอกาสทางดิจิทัลให้ได้มากที่สุด เพื่อเรียนรู้เพิ่มเติม อุปสรรคที่ชุมชนผู้เรียนต้องเผชิญและแนวทางแก้ไขที่มีแนวโน้มว่าจะช่วยเพิ่มการเข้าถึงเทคโนโลยี

ทั้งนี้ ในระหว่างกิจกรรมการประชุม ทางผู้เข้าร่วมยังได้แสดงความจำเป็นในการจัดการองค์ประกอบสามประการของความเท่าเทียมทางดิจิทัล ได้แก่ ความพร้อมใช้งาน ความสามารถในการจ่ายได้ และการนำไปใช้ เพื่อให้บริการผู้เรียนทุกคนอย่างเท่าเทียมกัน ประเด็นสำคัญจากผู้เข้าร่วมจะถูกบันทึกไว้เป็นฐานข้อมูลด้าน Advancing Digital Equity for All ใหม่

โครงการ DEER Initiative บวกกับ ผลลัพธ์การประชุม และ ฐานข้อมูลทรัพยากรใหม่ที่ทางกระทรวงศึกษาธิการร่วมกับหน่วยงานในสังกัดจัดทำขึ้น จะเป็นตัวอย่างของความมุ่งมั่นจากฝ่ายบริหารของรัฐบาลประธานาธิบดีโจ ไบเดน เพื่อจัดการกับอุปสรรคด้านการเชื่อมต่อทั่วประเทศ

นอกจากนี้ Cindy Marten รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการสหรัฐฯ ยังได้เข้าร่วมการอภิปรายโต๊ะกลมในเมืองชาร์ลอตต์ รัฐนอร์ทแคโรไลนา โดยรับฟังความคิดเห็นโดยตรงจากผู้นำโรงเรียน องค์กรในชุมชน และผู้ปกครองเกี่ยวกับความพยายามที่จำเป็นในการส่งเสริมการมีส่วนร่วมในโครงการการเชื่อมต่อราคาไม่แพง หรือ Affordable Connectivity Program (ACP) ยิ่งไปกว่านั้น ทางแผนกยังมีส่วนร่วมในการรณรงค์เปิดเทอมเพื่อส่งเสริมการลงทะเบียน ACP รวมถึงมีส่วนสนับสนุนความพยายามระหว่างหน่วยงานในการปรับปรุงข้อมูลเกี่ยวกับเงินทุนบรอดแบนด์ของรัฐบาลกลาง และเผยแพร่ชุดแหล่งข้อมูลเพื่อให้แน่ใจว่านักเรียนจะเข้าถึงได้สัญญาณอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงจากที่บ้านได้

ขณะเดียวกัน ในปีหน้า ทาง OET จะสร้างความก้าวหน้านี้โดยส่งเสริมความรู้สึกเร่งด่วนเกี่ยวกับอุปสรรคในการนำมาใช้ที่ขัดขวางความเท่าเทียมทางดิจิทัลในการศึกษาและการปลูกฝังผลักดันให้ชุมชนที่กำลังดำเนินการแก้ไขปัญหาให้สำเร็จอย่างลุล่วง

ที่มา : U.S. Department of Education Communicates Vision to Advance Digital Equity for All Learners