แรงงานครูขาด โอกลาโฮมาจึงคิด “นอกกรอบ” ออกค่าเรียนมหาวิทยาลัยให้บุตรหลานครู
โดย : Janelle Stecklein | CNHI Oklahoma - Enid News & Eagle / UCO.edu / Okhighered.org
แปลและเรียบเรียง : นงลักษณ์ อัจนปัญญา

แรงงานครูขาด โอกลาโฮมาจึงคิด “นอกกรอบ” ออกค่าเรียนมหาวิทยาลัยให้บุตรหลานครู

โอกลาโฮมาแก้ปัญหาขาดแคลนครูด้วยการสนุนสำหรับแนวคิด “นอกกรอบ” มอบค่าเล่าเรียนฟรีให้กับบุตรหลานของคุณครู เพราะเชื่อว่าจะดึงบุคลากรคุณภาพที่ลดน้อยลงอย่างมีนัยยะสำคัญในโรงเรียนรัฐให้กลับมาได้ แถม Win-Win ทั้งเด็กและครูได้ประโยชน์ แต่ข้อท้าทายคือผู้ออกกฎต้อง “คิดนอกกรอบ” อย่างแท้จริง

โครงการทุนการศึกษา Oklahoma’s Promise ถือกำเนิดขึ้นในค.ศ. 1992 เป็นโครงการสนับสนุนการเข้าถึงการศึกษาระดับปริญญาของโอกลาโฮมา (Oklahoma Higher Learning Access Program) โดยจุดประสงค์ดั้งเดิมนั้นเรียบง่าย คือต้องการให้สนุบสนุนเด็กๆ ในพื้นที่ได้เล่าเรียนในระดับมหาวิทยาลัย ช่วยให้นักเรียนที่มีสถานะเป็นลูกของครูมีคุณสมบัติในการได้รับค่าเล่าเรียนวิทยาลัยหรือ CareerTech หากมีคุณสมบัติตรงตามข้อกำหนดด้านวิชาการ พฤติกรรม และระดับรายได้รวมกันสำหรับครอบครัวสี่คน ต้องไม่เกิน 60,000 ดอลลาร์ต่อปี (ราว 2,023,800 บาทต่อปี)

ล่าสุด รายงานระบุว่า เกณฑ์ดั้งเดิมกำหนดไม่ให้บุตรหลานของครูได้รับสิทธิ์เข้าร่วมใน โครงการทุนการศึกษา Oklahoma’s Promise แต่ข้อเสนอการสนับสนุนแนวคิดใหม่นี้ จะลบเกณฑ์ดังกล่าวออก การจำกัดรายได้สำหรับบุตรหลานของครูที่ผ่านการรับรอง เพื่อให้บุตรหลานของพวกเขามีสิทธิ์เข้าร่วมในโครงการทุนการศึกษา Oklahoma’s Promise หากครูสอนในห้องเรียนของโรงเรียนรัฐบาลตามระยะเวลาที่กำหนด 

จอย ฮอฟไมน์สเตอร์ (Joy Hofmeister) อดีตผู้กำกับรัฐโอกลาโฮมา ระบุว่า ตนเองสนับสนุนแผนดังกล่าวมาตั้งแต่ปี 2018 โดยมีเป้าหมายเพื่อป้องกันภาวะการไหลออกของนักการศึกษา โดยในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา มีครูที่ผ่านการรับรองของรัฐประมาณ 33,000 คน แต่กลับลงเอยด้วยการไม่ได้ทำงานในโรงเรียนรัฐของโอกลาโฮมาอีกต่อไป 

อย่างไรก็ตาม แม้ว่าการเพิ่มค่าจ้างนักการศึกษาจะเป็นวิธีที่รวดเร็วที่สุดในการดึงดูดครูคุณภาพให้กลับมาสอนที่ห้องเรียน แต่ทางฮอฟไมน์สเตอร์เชื่อว่าการตัดเงื่อนไขด้านเพดานค่าแรงของครูตามสัญญาของรัฐโอกลาโฮมาจะช่วยสร้างแรงจูงใจให้ครูและนักการศึกษาที่มีคุณสมบัติเหมาะสมที่สุดกลับมาและคงอยู่ในระบบ รวมถึงดึงดูดผู้เชี่ยวชาญมืออาชีพที่มีการศึกษาระดับวิทยาลัยให้เข้ามาสอนในโรงเรียนของรัฐในระยะยาวอีกด้วย

โรงเรียนภาครัฐได้ครูมืออาชีพเข้าทำงาน มหาวิทยาลัยก็ได้นักเรียนชั้นดีที่จะสร้างบุคลากรที่แข็งแกร่งยิ่งขึ้นสำหรับโลกในอนาคต นี่คือ Win-Win Situation หรือสถานการณ์ที่มีแต่ได้กับได้ที่ฮอฟไมน์สเตอร์มองไว้ อีกทั้งไม่ใช่ว่าครูทุกคนจะมีบุตรหลานที่เข้าเรียนมหาวิทยาลัยในเวลาเดียวกัน ดังนั้น แรงจูงใจดังกล่าวจึงช่วยประหยัดงบประมาณของรัฐจากการขึ้นค่าจ้างทันที 10,000 ดอลลาร์ได้อีกด้วย ดังนั้นการพิจารณาเรื่องแรงจูงใจและสวัสดิการอื่นๆ แทนการขึ้นเงินเดือน น่าจะมีส่วนช่วยบรรเทาปัญหาเกี่ยวกับการเพิ่มเงินเดือนครูในช่วงเวลาที่งบประมาณของรัฐมีจำกัด

อย่างไรก็ตาม ฝ่ายที่สนับสนุน อย่างวุฒิสมาชิกรอนนี จอห์นส์ ( Ronny Johns) ก็ยอมรับตามตรงว่า มาตรการดังกล่าว ต้องการ “เกราะป้องกัน” ในแง่ของระยะเวลาการสอนที่เหมาะสม การพิจารณาว่าควรให้ครูสอนในขณะที่ลูกกำลังเรียนมหาวิทยาลัยด้วยหรือไม่ รวมถึงการประเมินผลกระทบทางการเงินจากการดำเนินการมาตรการดังกล่าว เนื่องจากยังไม่มีตัวเลขของบุตรหลานครูที่แน่ชัด 

ในฐานะที่จอห์นส์และภรรยาเคยเป็นครูมาก่อน พวกเขาจึงตระหนักดีว่า เงื่อนไขของโครงการ Oklahoma’s Promise ส่งผลให้ลูกสาวคนโตไม่สามารถสมัครขอทุนได้ ตนเองจึงต้องหันไปกู้ยืมเงินเพื่อจ่ายค่าเล่าเรียนลูกและยังต้องจ่ายหนี้ดังกล่าวอยู่จนถึงปัจจุบัน โดยเกณฑ์เจ้าปัญหาที่ว่า ก็คือการระบุว่าเงินเดือนของครูมากเกินขอบเขตที่ทุนการศึกษากำหนดไว้ 

ด้านโจนาธาน สมอลล์ (Jonathan Small) ประธานสภากิจการสาธารณะแห่งรัฐโอกลาโฮมา (Oklahoma Council of Public Affairs president) ยอมรับว่า แม้แนวคิดนี้จะมีผลลัพธ์ที่ดี แต่ยังคงมีกระแสต่อต้านด้านกรอบกฎหมาย เนื่องจากการขาดแคลนแรงงานนั้นเกิดขึ้นในอุตสาหกรรมอีกมากมาย ดังนั้นการยกเว้นให้แต่เฉพาะลูกหลานของครู จะไม่เป็นธรรมต่ออาชีพอื่นๆ อีกทั้งยังมีความกังวลเกี่ยวกับผลกระทบทางการเงินต่อกองทุนของรัฐ และประเด็นค่าเล่าเรียนที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว

อย่างไรก็ตามสมอลล์ เห็นว่า ผู้ออกกฎของโอกลาโฮมาจำเป็นต้องหาทางเพิ่มแรงจูงใจเพื่อดึงบุคลากรด้านการสอนให้เพียงพอ เพราะขณะนี้ครูมีตัวเลือกการจ้างงานมากมาย ดังนั้นเจ้าตัวจึงสนับสนุนการขยายเกณฑ์ของรัฐโอกลาโฮมาให้กับบุตรหลานของนักการศึกษาเพราะเป็น “เครื่องมืออีกชิ้นหนึ่งในกล่องเครื่องมือ” เพื่อรักษาครูที่มีคุณภาพไว้ในระบบ โดยเฉพาะผู้ที่กังวลว่าบุตรหลานของครูจะถูกผูกมัดด้วยภาระหนี้จากการเล่าเรียนมหาวิทยาลัย 

จากข้อถกเถียงที่ว่า รายได้ของครอบครัวครูเกินเพดาน เนื่องจากครูส่วนใหญ่มีรายได้น้อย การจุนเจือครอบครัวจึงจะมาจากรายได้ของสามีเป็นส่วนใหญ่ ทำให้เด็กไม่เข้าเกณฑ์การรับทุน ฌอน ไฮม์ (Shawn Hime) ผู้อำนวยการบริหารของสมาคมโรงเรียนรัฐบาลแห่งโอกลาโฮมา (Oklahoma State School Boards Association) เห็นว่า ไม่ควรมีเพดานกำหนดรายได้สูงสุดสำหรับครู เพราะผู้ปกครองต่างต้องการครูคุณภาพ และนักเรียนสมควรได้รับครูที่มีคุณภาพสูงในห้องเรียน ซึ่งแม้จะมีความพยายามหลายครั้งในช่วงหลายปีที่ผ่านมา แต่ก็ไม่ประสบความสำเร็จ 

“เขตการศึกษาต่างๆ ทั่วรัฐโอกลาโฮมาต่างต้องการเครื่องมือทั้งหมดที่เป็นไปได้ในการสรรหาและรักษาครูที่มีคุณภาพสูงไว้ การขยายสวัสดิการให้ครอบคลุมบุตรหลานของครูและนักการศึกษาจึงจะเป็นสิ่งที่แตกต่างจากสิ่งที่รัฐอื่นๆ กำลังทำอยู่” ไฮม์ กล่าว

ไฮม์ย้ำว่า ตอนนี้ทุกฝ่ายตระหนักดีว่า ภาวะการขาดแคลนครูกำลังอยู่ในช่วงวิกฤต และทุกฝ่ายจำเป็นต้องเร่งหาวิธีแก้ไขต่างๆ มากมายเพื่อพัฒนาเด็กนักเรียนของรัฐกว่า 700,000 คนในโอกลาโฮมาให้ดีขึ้น และเป็นหน้าที่อันท้าทายของผู้ออกแบบกฎที่จะต้องผลิต “แพ็กเกจแนวคิดนอกกรอบ” ออกมาเพื่อถนอมนักการศึกษาไว้กับห้องเรียน เพราะวิกฤตการขาดแคลนบุคลากรครู ณ ขณะนี้เป็นมากกว่าวิกฤตเสียอีก

ขณะที่สมาชิกวุฒิประจำรัฐโอกลาโฮมา จอห์น วอลดรัน (John Waldron) กล่าวว่า รัฐต้องการแนวทางแก้ไขปัญหาการขาดแคลนครูในระยะยาว นักการศึกษามืออาชีพมีกำลังในการผลิตนักเรียนที่ดีขึ้น และวิธีหนึ่งที่จะทำให้แน่ใจว่ามีนักเรียนคุณภาพจำนวนมากขึ้น คือการให้การสนับสนุนครูและครอบครัวของครูเพิ่มเติม

“การปรับปรุงระบบสวัสดิการจะช่วยเป็นกำลังใจให้ครู เป็นการบอกครูว่าโอกลาโฮมาเชื่อมั่นในตัวครูทุกคน และจะเป็นสถานที่ที่ครูคุณภาพสามารถหาเลี้ยงครอบครัวได้ด้วยเงินเดือนของครู เราจะดูแลครู และครูจะดูแลลูก ๆ ของเรา” จอห์น วอลดรัน ปิดท้าย

ที่มา :
Support grows for giving free college tuition to teachers’ children
Oklahoma Promise
WHAT IS OKLAHOMA’S PROMISE?

รายชื่อโรงเรียน พื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้

จังหวัด นราธิวาส จำนวน 4 โรงเรียน

  • โรงเรียนผดุงมาตร
  • โรงเรียนสวนพระยาวิทยา
  • โรงเรียนราชพัฒนา
  • โรงเรียนนราสิกขาลัย

จังหวัดยะลา จำนวน 15 โรงเรียน

  • โรงเรียนไทยรัฐวิทยา 94 (บ้านบ่อน้ำร้อน)
  • โรงเรียนคุรุชนพัฒนา
  • โรงเรียนบ้านตาเซะ
  • โรงเรียนบ้านราโมง
  • โรงเรียนบ้านกาตอง
  • โรงเรียนบ้านหลักเขต
  • โรงเรียนพัฒนาบาลอ
  • โรงเรียนบ้านโกตาบารู
  • โรงเรียนบ้านตะโละหะลอ
  • โรงเรียนบ้านเยาะ
  • โรงเรียนบ้านโต
  • โรงเรียนบ้านลูโบ๊ะปันยัง
  • โรงเรียนบ้านคลองน้ำใส
  • โรงเรียนบ้านสะเอะ
  • โรงเรียนกาบังพิทยาคม

จังหวัดปัตตานี จำนวน 16 โรงเรียน

  • โรงเรียนวุฒิชัยวิทยา
  • โรงเรียนนิคมสร้างตนเองโคกโพธิ์ มิตรภาพที่ 148
  • โรงเรียนบ้านบางมะรวด
  • โรงเรียนบ้านท่าน้ำตะวันออก
  • โรงเรียนบ้านน้ำบ่อ
  • โรงเรียนบ้านปาลัส
  • โรงเรียนบ้านตรัง
  • โรงเรียนบ้านกระเสาะ
  • โรงเรียนบ้านบูดี
  • โรงเรียนบ้านฝาง
  • โรงเรียนบ้านตะโละไกรทอง
  • โรงเรียนบ้านน้ำดำ
  • โรงเรียนบ้านโลทู
  • โรงเรียนบ้านวังกว้าง
  • โรงเรียนสะนอพิทยาคม
  • โรงเรียนวังกะพ้อพิทยาคม

รายชื่อโรงเรียน ภาคตะวันตก

จังหวัดตาก จำนวน 1 โรงเรียน

  • โรงเรียนบ้านร่มเกล้า 2

รายชื่อโรงเรียนที่ได้รับทุนการศึกษาผ่านโครงการ Million Gift Million Smiles

จังหวัดเชียงราย จำนวน 1 โรงเรียน

  • โรงเรียนราชประชานุเคราะห์ 15
    (เวียงเก่าแสนภูวิทยาประสาท)

จังหวัดเชียงใหม่ จำนวน 3 โรงเรียน

  • โรงเรียนชลประทาน
    เขื่อนแม่กวงจิราธิวัฒน์อุปถัมภ์
  • โรงเรียนบ้านโป่งน้อย
  • โรงเรียนวัดสันคะยอม

จังหวัดลำปาง จำนวน 1 โรงเรียน

  • โรงเรียนวัดเสด็จ

จังหวัดพิษณุโลก จำนวน 1 โรงเรียน

  • โรงเรียนบ้านท่าข้าม

จังหวัดตาก จำนวน 3 โรงเรียน

  • โรงเรียนบ้านร่มเกล้า 2
  • โรงเรียนบ้านร่มเกล้า 4
  • โรงเรียนบ้านห้วยไม้แป้น

จังหวัดนครศรีธรรมราช จำนวน 4 โรงเรียน

  • โรงเรียนบ้านควนเงิน
  • โรงเรียนบ้านท่าไทร
  • โรงเรียนวัดชะอวด
  • โรงเรียนวัดไม้เสียบ

จังหวัดตรัง จำนวน 11 โรงเรียน

  • โรงเรียนท่างิ้ว (ต.ช.ด.อุปถัมภ์)
  • โรงเรียนบ้านเกาะเคี่ยม
  • โรงเรียนบ้านคลองคุ้ย
  • โรงเรียนบ้านช่องลม
  • โรงเรียนบ้านทอนเหรียน
  • โรงเรียนบ้านท่าส้ม
  • โรงเรียนบ้านบางสัก
  • โรงเรียนบ้านวังลำ
  • โรงเรียนวัดทุ่งหินผุด
  • โรงเรียนวัดวารีวง
  • โรงเรียนหาดทรายทอง

จังหวัดนราธิวาส จำนวน 6 โรงเรียน

  • โรงเรียนนราสิกขาลัย
  • โรงเรียนบ้านบูเก๊ะตาโมงมิตรภาพที่ 128
  • โรงเรียนผดุงมาตร
  • โรงเรียนพิทักษ์วิยากุมุง
  • โรงเรียนราชพัฒนา
  • โรงเรียนสวนพระยาวิทยา

จังหวัดพังงา จำนวน 2 โรงเรียน

  • โรงเรียนวัดนิโครธาราม
  • โรงเรียนวัดสุวรรณาวาส

จังหวัดปัตตานี จำนวน 8 โรงเรียน

  • โรงเรียนบ้านกระเสาะ
  • โรงเรียนบ้านตะโละไกรทอง
  • โรงเรียนบ้านน้ำดำ
  • โรงเรียนบ้านบางทัน
  • โรงเรียนบ้านโลทู
  • โรงเรียนบ้านวังกว้าง
  • โรงเรียนวังกะพ้อพิทยาคม
  • โรงเรียนวุฒิชัยวิทยา

จังหวัดยะลา จำนวน 10 โรงเรียน

  • โรงเรียนกาบังพิทยาคม
  • โรงเรียนบ้านโกตาบารู
  • โรงเรียนบ้านคลองน้ำใส
  • โรงเรียนบ้านจุโป
  • โรงเรียนบ้านด่านสันติราษฎร์
  • โรงเรียนบ้านตะโละหะลอ
  • โรงเรียนบ้านราโมง
  • โรงเรียนบ้านสะเอะ
  • โรงเรียนพัฒนาบาลอ
  • โรงเรียนอัยเยอร์เวง

จังหวัดสงขลา จำนวน 18 โรงเรียน

  • โรงเรียนเขาแดงกุศลวิทยา
  • โรงเรียนจะนะชนูปถัมภ์
  • โรงเรียนชุมชนนิคมสร้างตนเองเทพา
  • โรงเรียนชุมชนบ้านนากัน
  • โรงเรียนทับช้างวิทยาคม
  • โรงเรียนเทพา
  • โรงเรียนบ้านเขาพระ
  • โรงเรียนบ้านคอลอมุดอ
  • โรงเรียนบ้านคูนายสังข์
  • โรงเรียนบ้านโคกตก
  • โรงเรียนบ้านนาปรัง
  • โรงเรียนบ้านบาโหย
  • โรงเรียนบ้านปากบางนาทับ
  • โรงเรียนบ้านป่าเร็ด
  • โรงเรียนบ้านพระพุทธ
  • โรงเรียนบ้านม้างอน
  • โรงเรียนบ้านม้างอน
  • โรงเรียนวัดประจ่า