กสศ. MOU ภาคีเครือข่ายพัฒนาระบบ ‘อพม. Smart’ และ ระบบแจ้งเหตุฉุกเฉินทางสังคม ‘ESS Thailand’
ประสานความร่วมมือหน่วยงานในท้องถิ่น สร้างระบบดูแลช่วยเหลือและส่งต่อเด็กเยาวชน ผู้ประสบปัญหาทางสังคมในภาวะฉุกเฉิน เตรียมขยายผลใช้งาน 77 จังหวัด เม.ย. นี้ พม. ย้ำลงทุนคุ้มค่าช่วยคนนับแสน

กสศ. MOU ภาคีเครือข่ายพัฒนาระบบ ‘อพม. Smart’ และ ระบบแจ้งเหตุฉุกเฉินทางสังคม ‘ESS Thailand’

14 มีนาคม 2566 กองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (กสศ.) ร่วมกับกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) สำนักงานคณะกรรมการดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือในการพัฒนาระบบให้ความช่วยเหลือเด็กเยาวชนและผู้ประสบปัญหาทางสังคม ด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์ อพม. Smart และบันทึกความเข้าใจความร่วมมือในการพัฒนาระบบการแจ้งเหตุ ช่วยเหลือ และส่งต่อเด็กเยาวชนด้อยโอกาส เพื่อความเสมอภาคทางการศึกษาและสังคม หรือ ระบบแจ้งเหตุฉุกเฉิน Emergency Social Services: ESS Thailand โดยมีพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม และนายจุติ ไกรฤกษ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ร่วมเป็นสักขีพยาน ณ ตึกสันติไมตรี ทำเนียบรัฐบาล

นายจุติ ไกรฤกษ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ กล่าวว่า การดำเนินโครงการดังกล่าวทั้งระบบ อพม. Smart และ ระบบ ESS Thailand ถือเป็นการลงทุนที่คุ้มค่า สามารถช่วยเหลือประชาชนได้นับแสนคน และต้องขอขอบคุณ กสศ. และมูลนิธิศูนย์วิจัยและติดตามความเป็นธรรมทางสุขภาพ ตลอดจนความร่วมมือเป็นอย่างดีของสำนักงานคณะกรรมการดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติและสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ที่ได้พัฒนาและขยายผลระบบการช่วยเหลือดังกล่าวขึ้น เพื่อช่วยเหลือและส่งต่อเด็กเยาวชนด้อยโอกาสเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษาและสังคมให้ได้รับการช่วยเหลืออย่างเหมาะสม เป็นการนำเทคโนโลยีที่ทันสมัยเข้ามาช่วยในการป้องกันและแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของประชาชน รวมถึงกลุ่มเปราะบางให้สามารถเข้าถึงสิทธิและบริการ โดยมีอาสาสมัครจากส่วนต่าง ๆ เป็นผู้เฝ้าระวังเหตุและรับแจ้งเหตุทั่วประเทศ

ดร.ไกรยส ภัทราวาท ผู้จัดการกองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา กล่าวว่า สำหรับความร่วมมือในการพัฒนาระบบการดูแล ช่วยเหลือเด็กเยาวชนด้อยโอกาส เพื่อความเสมอภาคทางการศึกษาและสังคม (การขอรับการช่วยเหลือผู้ประสบปัญหาทางสังคม ด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์ : อพม. Smart) เป็นความร่วมมือระหว่างกระทรวง พม. และกองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (กสศ.) เพื่อนำระบบการส่งต่อให้การดูแลช่วยเหลือเด็กเยาวชนและครอบครัวด้อยโอกาสที่ประสบปัญหาความเดือดร้อนทางการศึกษาและสังคม ผ่าน application อพม.Smart บนโทรศัพท์มือถือด้วยบริการทางสังคมเชิงรุกในการดูแลช่วยเหลือในระดับพื้นที่

โดยอาสาสมัครพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ หรือ อพม. สามารถแจ้งเหตุส่งข้อมูลขอรับความช่วยเหลือ ผ่าน  Web Application ระบบจะประมวลผลและติดตามข้อมูลได้แบบ Real Time  ระบบดังกล่าวจะช่วยลดขั้นตอน ภาระทางเอกสาร ระยะเวลา และกระบวนการทำงานระหว่าง อพม. และเจ้าหน้าที่หรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ทั้งนี้ข้อมูลที่ถูกจัดเก็บในระบบจะนำมาประมวลผลเพื่อสนับสนุนการจัดทำข้อเสนอเชิงนโยบายเพื่อสร้างความเสมอภาคให้กับเด็กเยาวชนและครอบครัวที่ด้อยโอกาสทางการศึกษาและสังคมต่อไป ซึ่ง กสศ. พม. และมูลนิธิศูนย์วิจัยและติดตามความเป็นธรรมทางสุขภาพ จะร่วมกันพัฒนาอย่างต่อเนื่องเพื่อขยายผลระบบการช่วยเหลือกลุ่มเป้าหมายดังกล่าวผ่านระบบเทคโนโลยีที่ทันสมัยให้ครอบคลุมทั่วประเทศ

ดร.ไกรยส กล่าวเพิ่มเติมว่า สำหรับความร่วมมือในการพัฒนาระบบการแจ้งเหตุ ช่วยเหลือ และส่งต่อเด็กเยาวชนด้อยโอกาสและครอบครัว เพื่อความเสมอภาคทางการศึกษาและสังคม หรือ ระบบ Emergency Social Services: ESS Thailand  กสศ. ร่วมกับกระทรวง พม. สำนักงานคณะกรรมการดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ พัฒนาระบบและกลไกในการสนับสนุนให้กลุ่มเป้าหมาย คือ เด็กเยาวชน กลุ่มเปราะบางและด้อยโอกาส และครอบครัว เข้าถึงการคุ้มครองทางสังคม สิทธิ สวัสดิการ และชุดสิทธิประโยชน์ที่เหมาะสม  และสนับสนุนให้เกิดการบูรณาการเชื่อมโยงและส่งต่อข้อมูลระหว่างหน่วยงานเพื่อประโยชน์ในการดูแล ช่วยเหลือเด็กเยาวชน กลุ่มเปราะบางและด้อยโอกาส และครอบครัวอย่างเหมาสมและทันท่วงที   

“บทบาทของ กสศ. คือ การสนับสนุนให้เกิดการพัฒนา และบูรณาการฐานข้อมูลรายบุคคลระหว่างภาคี สำหรับการดูแลกลุ่มเปราะบางด้อยโอกาส และครอบครัว เพื่อบรรเทาอุปสรรคในการเข้าถึงการศึกษาหรือการพัฒนาตามศักยภาพ สนับสนุนการพัฒนางานวิจัย องค์ความรู้ เพื่อสนับสนุนส่งเสริมให้กลุ่มเด็กเยาวชนยากจนด้อยโอกาส รวมถึงสมาชิกในครอบครัว ได้รับบริการ การคุ้มครอง  และเข้าถึงชุดสิทธิประโยชน์และสวัสดิการที่เหมาะสม เพื่อลดความเหลื่อมล้ำทางการศึกษาที่เกิดขึ้นจากความไม่พร้อมทางสังคมได้ ตลอดจนเหนี่ยวนำความร่วมมือจากภาคีทุกภาคส่วน อาทิ เครือข่ายภาควิชาการ ภาคเอกชน และภาคประชาสังคม เพื่อให้เกิดความร่วมมือในการดูแลและช่วยเหลือกลุ่มเป้าหมายอย่างเหมาะสม ด้วยการพัฒนาองค์ความรู้ นวัตกรรมที่ทันสมัยและเหมาะสมกับบริบทของพื้นที่และประเทศไทย ให้กลุ่มเป้าหมายได้รับสิทธิประโยชน์สวัสดิการตามช่วงวัยและตามกรณีได้อย่างเหมาะสม รวมถึงร่วมติดตามและประเมินผลการดำเนินงาน ให้เกิดผลที่เป็นรูปธรรมและมีประสิทธิผล” ผู้จัดการ กสศ. กล่าว

สำหรับการทำงานของระบบแจ้งเหตุฉุกเฉินทางสังคม (Emergency Social Services: ESS) ที่กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม สำนักงานตำรวจแห่งชาติ และกองทุนเสมอภาคทางการศึกษา ได้ร่วมกันดำเนินการเพื่อเป็นช่องทางในการรับแจ้งเหตุฉุกเฉินทางสังคมทั่วประเทศ จะให้บริการเฉพาะปัญหาที่มีความเร่งด่วน ผ่านระบบ Line OA สามารถค้นหาด้วยคําว่า @ESS Help Me ในระบบ Line และดำเนินการเพิ่มเพื่อน จากนั้นผู้ประสบปัญหาหรือผู้พบเห็นเหตุการณ์ จะสามารถแจ้งเหตุด่วนเหตุร้ายที่ประสบได้ โดยเลือกระบุปัญหาเป็น 5 กลุ่ม 1) ข่มขู่ว่าจะทำร้ายหรือทำร้าย  2) กักขังหน่วงเหนี่ยว  3) เสี่ยงถูกล่วงละเมิดทางเพศ 4) ผู้คลุ้มคลั่งก่อให้เกิดเหตุร้าย และ 5) มั่วสุมจนก่อให้เกิดเหตุร้าย เพียงเท่านี้ข้อมูลจะส่งเข้าไปยังกลุ่มไลน์ที่มีทีมสหวิชาชีพในพื้นที่นั้น ๆ เป็นแอดมินร่วมกันอยู่ อาทิ ตำรวจ พมจ.  หัวหน้าบ้านพักเด็กและครอบครัวจังหวัด อัยการจังหวัด หรือเครือข่ายในพื้นที่ ซึ่งหลังได้รับการแจ้งเหตุเจ้าหน้าที่ตำรวจจากสถานีที่ใกล้จุดเกิดเหตุที่สุด รวมทั้งเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง จะเข้าไปดำเนินการระงับเหตุหรือบรรเทาเหตุที่เกิดขึ้นได้ในทันที

ผู้จัดการ กสศ. กล่าวว่า ระบบ ESS เป็นบริการแจ้งเหตุอิเล็กทรอนิกส์ที่สะดวก รวดเร็ว ผู้ใช้งานสามารถแชร์พิกัดจุดเกิดเหตุได้แม่นยำ ช่วยลดความเสี่ยงหรือความสูญเสียที่จะเกิดขึ้นกับประชาชนจากเหตุความรุนแรง ช่วยให้ประชาชนมีความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินมากขึ้น ด้วยการรวบรวมเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องในการแก้ไขปัญหาไว้ในที่เดียวกัน จึงสามารถดูแลและส่งต่อผู้ประสบเหตุถึงมือทีมสหวิชาชีพได้ตรงกับสถานการณ์ปัญหา รวมถึงมีแนวทางในการดูแลความสูญเสียและความปลอดภัยของผู้ประสบเหตุต่อเนื่องในระยะยาว จนกลับมาดำเนินชีวิตในสังคมได้อีกครั้ง โดย พม. และกสศ.จะเริ่มเปิดใช้ระบบแจ้งเหตุ ESS ตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน 2566 เป็นต้นไป และเปิดตัวอย่างเป็นทางการในวันที่ 5 เมษายน 2566 ณ อาคารรัฐประศาสนภักดี (อาคาร B) ศูนย์ราชการฯ แจ้งวัฒนะ กรุงเทพฯ ภายในงานวันผู้สูงอายุแห่งชาติ และวันแห่งครอบครัว ประจำปี 2566

รายชื่อโรงเรียน พื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้

จังหวัด นราธิวาส จำนวน 4 โรงเรียน

  • โรงเรียนผดุงมาตร
  • โรงเรียนสวนพระยาวิทยา
  • โรงเรียนราชพัฒนา
  • โรงเรียนนราสิกขาลัย

จังหวัดยะลา จำนวน 15 โรงเรียน

  • โรงเรียนไทยรัฐวิทยา 94 (บ้านบ่อน้ำร้อน)
  • โรงเรียนคุรุชนพัฒนา
  • โรงเรียนบ้านตาเซะ
  • โรงเรียนบ้านราโมง
  • โรงเรียนบ้านกาตอง
  • โรงเรียนบ้านหลักเขต
  • โรงเรียนพัฒนาบาลอ
  • โรงเรียนบ้านโกตาบารู
  • โรงเรียนบ้านตะโละหะลอ
  • โรงเรียนบ้านเยาะ
  • โรงเรียนบ้านโต
  • โรงเรียนบ้านลูโบ๊ะปันยัง
  • โรงเรียนบ้านคลองน้ำใส
  • โรงเรียนบ้านสะเอะ
  • โรงเรียนกาบังพิทยาคม

จังหวัดปัตตานี จำนวน 16 โรงเรียน

  • โรงเรียนวุฒิชัยวิทยา
  • โรงเรียนนิคมสร้างตนเองโคกโพธิ์ มิตรภาพที่ 148
  • โรงเรียนบ้านบางมะรวด
  • โรงเรียนบ้านท่าน้ำตะวันออก
  • โรงเรียนบ้านน้ำบ่อ
  • โรงเรียนบ้านปาลัส
  • โรงเรียนบ้านตรัง
  • โรงเรียนบ้านกระเสาะ
  • โรงเรียนบ้านบูดี
  • โรงเรียนบ้านฝาง
  • โรงเรียนบ้านตะโละไกรทอง
  • โรงเรียนบ้านน้ำดำ
  • โรงเรียนบ้านโลทู
  • โรงเรียนบ้านวังกว้าง
  • โรงเรียนสะนอพิทยาคม
  • โรงเรียนวังกะพ้อพิทยาคม

รายชื่อโรงเรียน ภาคตะวันตก

จังหวัดตาก จำนวน 1 โรงเรียน

  • โรงเรียนบ้านร่มเกล้า 2

รายชื่อโรงเรียนที่ได้รับทุนการศึกษาผ่านโครงการ Million Gift Million Smiles

จังหวัดเชียงราย จำนวน 1 โรงเรียน

  • โรงเรียนราชประชานุเคราะห์ 15
    (เวียงเก่าแสนภูวิทยาประสาท)

จังหวัดเชียงใหม่ จำนวน 3 โรงเรียน

  • โรงเรียนชลประทาน
    เขื่อนแม่กวงจิราธิวัฒน์อุปถัมภ์
  • โรงเรียนบ้านโป่งน้อย
  • โรงเรียนวัดสันคะยอม

จังหวัดลำปาง จำนวน 1 โรงเรียน

  • โรงเรียนวัดเสด็จ

จังหวัดพิษณุโลก จำนวน 1 โรงเรียน

  • โรงเรียนบ้านท่าข้าม

จังหวัดตาก จำนวน 3 โรงเรียน

  • โรงเรียนบ้านร่มเกล้า 2
  • โรงเรียนบ้านร่มเกล้า 4
  • โรงเรียนบ้านห้วยไม้แป้น

จังหวัดนครศรีธรรมราช จำนวน 4 โรงเรียน

  • โรงเรียนบ้านควนเงิน
  • โรงเรียนบ้านท่าไทร
  • โรงเรียนวัดชะอวด
  • โรงเรียนวัดไม้เสียบ

จังหวัดตรัง จำนวน 11 โรงเรียน

  • โรงเรียนท่างิ้ว (ต.ช.ด.อุปถัมภ์)
  • โรงเรียนบ้านเกาะเคี่ยม
  • โรงเรียนบ้านคลองคุ้ย
  • โรงเรียนบ้านช่องลม
  • โรงเรียนบ้านทอนเหรียน
  • โรงเรียนบ้านท่าส้ม
  • โรงเรียนบ้านบางสัก
  • โรงเรียนบ้านวังลำ
  • โรงเรียนวัดทุ่งหินผุด
  • โรงเรียนวัดวารีวง
  • โรงเรียนหาดทรายทอง

จังหวัดนราธิวาส จำนวน 6 โรงเรียน

  • โรงเรียนนราสิกขาลัย
  • โรงเรียนบ้านบูเก๊ะตาโมงมิตรภาพที่ 128
  • โรงเรียนผดุงมาตร
  • โรงเรียนพิทักษ์วิยากุมุง
  • โรงเรียนราชพัฒนา
  • โรงเรียนสวนพระยาวิทยา

จังหวัดพังงา จำนวน 2 โรงเรียน

  • โรงเรียนวัดนิโครธาราม
  • โรงเรียนวัดสุวรรณาวาส

จังหวัดปัตตานี จำนวน 8 โรงเรียน

  • โรงเรียนบ้านกระเสาะ
  • โรงเรียนบ้านตะโละไกรทอง
  • โรงเรียนบ้านน้ำดำ
  • โรงเรียนบ้านบางทัน
  • โรงเรียนบ้านโลทู
  • โรงเรียนบ้านวังกว้าง
  • โรงเรียนวังกะพ้อพิทยาคม
  • โรงเรียนวุฒิชัยวิทยา

จังหวัดยะลา จำนวน 10 โรงเรียน

  • โรงเรียนกาบังพิทยาคม
  • โรงเรียนบ้านโกตาบารู
  • โรงเรียนบ้านคลองน้ำใส
  • โรงเรียนบ้านจุโป
  • โรงเรียนบ้านด่านสันติราษฎร์
  • โรงเรียนบ้านตะโละหะลอ
  • โรงเรียนบ้านราโมง
  • โรงเรียนบ้านสะเอะ
  • โรงเรียนพัฒนาบาลอ
  • โรงเรียนอัยเยอร์เวง

จังหวัดสงขลา จำนวน 18 โรงเรียน

  • โรงเรียนเขาแดงกุศลวิทยา
  • โรงเรียนจะนะชนูปถัมภ์
  • โรงเรียนชุมชนนิคมสร้างตนเองเทพา
  • โรงเรียนชุมชนบ้านนากัน
  • โรงเรียนทับช้างวิทยาคม
  • โรงเรียนเทพา
  • โรงเรียนบ้านเขาพระ
  • โรงเรียนบ้านคอลอมุดอ
  • โรงเรียนบ้านคูนายสังข์
  • โรงเรียนบ้านโคกตก
  • โรงเรียนบ้านนาปรัง
  • โรงเรียนบ้านบาโหย
  • โรงเรียนบ้านปากบางนาทับ
  • โรงเรียนบ้านป่าเร็ด
  • โรงเรียนบ้านพระพุทธ
  • โรงเรียนบ้านม้างอน
  • โรงเรียนบ้านม้างอน
  • โรงเรียนวัดประจ่า