สรุปประเด็นการประชุมรัฐมนตรีด้านการศึกษาแห่งภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกครั้งที่ 2 : Session 1

สรุปประเด็นการประชุมรัฐมนตรีด้านการศึกษาแห่งภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกครั้งที่ 2 : Session 1

Session 1 :  การฟื้นฟูการเรียนรู้และการแก้ปัญหากับวิกฤตการเรียนรู้ในเอเชียแปซิฟิก (Learning Recovery and Addressing the Learning Crisis)

COVID-19 สะท้อนปัญหาความเหลื่อมล้ำทางการศึกษารุนแรง เด็กทั่วเอเชียพัฒนาการล่าช้า ต้องฟื้นฟูเร่งด่วน!

จากการระบาดครั้งใหญ่ของ COVID-19 ถือเป็นอุปสรรคสำคัญในการศึกษาของนักเรียนกว่า 1.2 พันล้านคน ทั่วภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก โรงเรียนถูกบังคับให้ปิดทั่วทุกภูมิภาค ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงไปสู่การเรียนรู้ทางไกลและความเหลื่อมล้ำทางการศึกษาที่เพิ่มมากขึ้น

ในขณะที่ระบบการศึกษาในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกพยายามที่จะฟื้นฟูการสูญเสียการเรียนรู้อันเนื่องมาจากการระบาดครั้งใหญ่นี้ และจัดการกับวิกฤตการเรียนรู้ในวงกว้าง ซึ่งเป็นหน้าที่ของรัฐบาลที่จะต้องกำหนดกลยุทธ์ในการฟื้นตัวที่เหมาะสม นอกจากนี้ รัฐบาลจำเป็นต้องสนับสนุนการเปลี่ยนแปลงระบบการศึกษา เพื่อให้ผู้เรียนทุกคนมีความชำนาญพื้นฐานในด้านการคำนวณ การรู้หนังสือ และพัฒนาความสามารถเพื่อเติมเต็มศักยภาพในตัวเอง รวมถึงศักยภาพในการพัฒนาสังคมและเศรษฐกิจต่อไปด้วย

ข้อมูลจากการประชุมรัฐมนตรีด้านการศึกษาแห่งภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกครั้งที่ 2 จัดขึ้นที่โรงแรมแชงกรีลา เมื่อวันที่ 5 มิถุนายน 2565 เผยว่า ตลอดระยะเวลา 5 ปี ที่ได้มีการทบทวนความก้าวหน้าของเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืนทั้ง4 (Sustainable Development Goal 4 – SDG4) ในด้านการศึกษาในเอเชียแปซิฟิก ระบุว่า จากการปรับปรุงโดยภาพรวมแล้ว ประเทศในภูมิภาคส่วนใหญ่ มีความเป็นไปได้น้อยมากที่จะบรรลุเป้าหมายของ SDG4 ทางด้านการรู้หนังสือและการคำนวณ ซึ่งวิกฤตการเรียนรู้นี้เกิดขึ้นก่อนการการระบาดใหญ่ของ COVID-19 ครอบครัวของเด็กที่มีรายได้น้อยถึงปานกลาง ซึ่งคิดเป็น 53% ของประเทศต่างๆ ไม่สามารถอ่านข้อความพื้นฐานได้เมื่ออายุ 10 ขวบ และมีอัตราการพัฒนาการทักษะด้านการเรียนรู้ช้าที่มาก 

เนื่องด้วยสถานการณ์การแพร่ระบาดของ COVID-19 เป็นการบังคับให้โรงเรียนต้องปิดอย่างไม่มีเงื่อนไข เป็นอุปสรรคในการศึกษาทำให้การเรียนต้องหยุดชะงักไปเป็นระยะเวลากว่า 2 ปี  ทำให้เกิดวิกฤตการเรียนรู้ที่รุนแรงมากยิ่งขึ้นก่อนการเกิดการระบาดของ COVID-19 ซึ่งในปี 2019 เด็กในระดับประถมศึกษาของภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกกว่า 80% มีความสามารถในด้านการอ่านและการคำนวณในระดับต่ำกว่ามาตรฐาน ทำให้ไม่สามารถบรรลุผลทางการศึกษา และวิกฤตนี้ทำให้เด็กหลายล้านคนไม่ศึกษาต่อในระดับชั้นถัดไป และออกจากโรงเรียน เพราะมีทักษะพื้นฐานทางด้านการอ่านและการคำนวณในระดับที่ต่ำกว่าเกณฑ์ 

Margarete Sachs-Israel หัวหน้าแผนกคุณภาพการศึกษา ประจำ UNESCO Asia and Pacific Regional Bureau for Education กล่าวว่า จากผลชี้วัดการเรียนรู้ในระดับชั้นประถมศึกษาของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในปี 2019 (SEA-PLM) พบว่ามีเพียง 2 ประเทศจาก 6 ประเทศของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ที่มีเด็กมากกว่าครึ่งที่จบการศึกษาระดับชั้นประถม และมีระดับความสามารถในการอ่านและคณิตศาสตร์ถึงเกณฑ์

ในทำนองเดียวกัน การประเมินการรู้หนังสือและการคำนวณของหมู่เกาะแปซิฟิก (PILNA) ปี 2018 พบว่าทั่วทั้ง 15 ประเทศที่มีการเข้าร่วม โดยเฉลี่ยแล้ว มีเด็กน้อยกว่า 14% ที่มีระดับความรู้ทางคณิตศาสตร์ถึงเกณฑ์ และเด็กน้อยกว่า 17% มีความรู้ทางด้านการอ่านถึงเกณฑ์ หลังจบจากโรงเรียนประถมศึกษา (Australian Council for Educational Research (ACER), 2019).

Dr. Baela Jamil – ประธานกรรมการ (CEO), Idara-e-Taleem-o-Aagahi (ITA) หรือ Centre of Education and Consciousness ประเทศปากีสถาน กล่าวว่า วิกฤตการเรียนรู้ยังคงอยู่ในระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 และ 5 และ ระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นที่ต้องการการดูแลระดับพื้นฐานอย่างเร่งด่วน  ในปีที่ 2021 ที่ผ่านมา เราได้ทำการประเมินผลจากการเรียนรู้ (SEA-PLM Assessment) จากเด็กอายุตั้งแต่ 5-16 ปีและเมื่อนำผลประเมินมาเปรียบเทียบกับปี 2019 พบว่า “จำนวนของเด็กที่อ่านออกและคำนวณได้ ลดลงไปถึง 4% ในระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 และลดลงไป 8% ในระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น” ซึ่งเราได้เห็นการสูญเสียการเรียนรู้จากสถานการณ์โรคระบาด เป็นวิกฤตการเรียนรู้ของเด็กในระดับชั้นประถมศึกษาจนถึงระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น ที่เราต้องให้ความสนใจอย่างเร่งด่วน เพราะผลกระทบที่เกิดขึ้นกำลังขยายกลายเป็นวงกว้างหากไม่ได้รับการแก้ไข ฟื้นฟู อย่างเร่งด่วน

Dr. Rukmini Baneji – ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร (CEO) Pratham Education Foundation ประเทศอินเดีย กล่าวว่า 

“ก่อนที่เราจะไปสร้างนวัตกรรม เราต้องรู้ว่าสิ่งที่เราทำนั้นมีประสิทธิภาพเสียก่อน” เราต้องวางแนวทางจากวิกฤตในประเทศอินเดีย เราพบกับความท้าทายที่สำคัญคือ โรงเรียนถูกปิดโดยไม่ได้มีการเตรียมการใดๆ และเราเป็นประเทศที่โรงเรียนถูกปิดเป็นระยะเวลานานที่สุด เกือบ 500 วัน ยิ่งโรงเรียนถูกสั่งปิดนานมากขึ้น ก็ยิ่งสร้างความเสียหายทางการเรียนรู้ให้แก่เด็กๆ โดยเฉพาะเด็กที่อาศัยอยู่ในชนบทห่างไกล และในชุมชนยากจนด้อยโอกาสของสังคม ซึ่งในสถานการณ์ปกติก็ต้องเผชิญกับอุปสรรคในการเรียนหนังสือเป็นทุนเดิมอยู่แล้ว 

สำหรับสิ่งที่อยากฝากให้ทุกคนได้ตระหนักก็คือ “เด็กในระดับชั้นประถมศึกษา 1 และ 2 เป็นช่วงที่มีความสำคัญอย่างยิ่ง พวกเขาสามารถแสดงให้เราเห็นหนทางที่นำไปสู่อนาคตได้จริงๆ” ตอนนี้โรงเรียนสามารถเปิดเรียนได้ และเด็กสามารถกลับเข้ามาเรียนได้แล้ว แต่พบปัญหาในเด็กตั้งแต่ระดับชั้นประถมศึกษาชั้นปีที่ 3 ขึ้นไป ที่จะต้องตามให้ทันตามแผนการเรียนต่างๆ ตลอดไปจนถึงในระดับมหาวิทยาลัย

ดร.อัมพร พินะสา เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ได้กล่าวถึงปัญหาผลกระทบจากสถานการณ์การแพร่ระบาด COVID-19 ซึ่งส่งผลกระทบต่อด้านการศึกษาของประเทศไทยด้วยเช่นกันกับนานาประเทศทั่วโลก เราพบปัญหาในด้านของความเหลื่อมล้ำทางการศึกษาค่อนข้างสูง อยู่ 3 อย่าง คือ

  1. การเหลื่อมล้ำจากด้านภูมิศาสตร์ – พื้นที่ชนบท และพื้นที่บริเวณชายขอบ 
  2. การเหลื่อมล้ำจากสถานะทางการเงินของครอบครัว – ความยากจนและความร่ำรวย ทำให้มีช่องว่างในการเหลื่อมล้ำที่สูงมาก
  3. ขนาดของโรงเรียน – มีทั้งขนาดเล็ก และขนาดใหญ่ที่แตกต่างกัน

และภายใต้ความเหลื่อมล้ำนั้น ทางรัฐบาลมีความตั้งใจที่จะพัฒนา มุ่งเน้น เพื่อให้ทุกคนได้เข้าถึงการศึกษาและกาารศึกษาเข้าถึงในทุกพื้นที่ โดยเฉพาะพื้นที่ห่างไกลและเข้าไม่ถึงระบบอินเตอร์เน็ตและสัญญานโทรศัพท์ เพื่อลดปัญหาความเหลื่อมล้ำทางการศึกษา

จากสถานการณ์ที่ผ่านมา รัฐบาลจึงได้ทำการปรับรูปแบบการเรียนการสอนเป็นแบบผสมผสาน (Blended leaning) และได้มีการปรับปรุงหลักสูตร การเรียนการสอนใหม่เพื่อให้สอดคล้องและเหมาะสมตามสมรรถนะของผู้เรียน โดยมุ่งเน้นไปที่การจัดกระบวนการเรียนการสอนแบบ Active Learning และเรื่องของการจัดการประเมินผล ซึ่งเป้าหมายสำคัญสำคัญคือ ต้องการให้การศึกษาสามารถเข้าถึงคนไทยทุกคน ทุกพื้นที่ในประเทศไทย เพื่อลดปัญหาของความเหลื่อมล้ำ

ประเทศไทยมีการจัดรูปแบบการเรียนการสอนแบบ DLTV คือการเรียนการสอนทางไกลผ่านดาวเทียม อันเนื่องมาจากพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลดุลยเดช (รัชกาลที่9) ซึ่งใช้แก้ปัญหาเรื่องการสอนในโรงเรียนขนาดเล็ก ซึ่งสามารถจัดการเรียนการสอนได้ตั้งแต่ระดับชั้นอนุบาลจนถึงระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ในปัจจุบันโรงเรียนได้เปิดทำการแล้ว และเด็กกลับมาเรียนแบบ Onsite 100% จากสถานการณ์ที่ผ่านมา ทำให้ได้บทเรียนคือ “การจัดการศึกษาที่แท้จริง คือทุกคนต้องมีส่วนร่วม”

หลังจากการเปิดเรียนใน 2-3 สัปดาห์ เราพบปัญหาของนักเรียน ที่ต้องเร่งแก้ปัญหาและต้องได้รับการแก้ไข ดังนี้

  1. ทางด้านสังคม นักเรียนไม่สามารถปรับตัวในการอยู่ร่วมกันในโรงเรียนได้ 
  2. ทางด้านสุขภาพและอนามัย เรายังต้องคอยติดตามและดูแลอย่างต่อเนื่อง
  3. ทางด้านการเรียนรู้ของนักเรียน ทางสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ( สพฐ. ) ประกาศเป้าหมายใน 3 เดือนแรก คือไม่เร่งรัดการเรียนรู้ในหลักสูตร 8 กลุ่มสาระ และทำการประเมินสมรรถนะของความพร้อม 3 ด้านของนักเรียน คือ 1.ด้านร่างกาย (การเจ็บป่วย)  2.ด้านอารมณ์และสังคม 3.ต้นทุนการเรียน

หลังจากการวัดและประเมินผลแล้ว จะจัดให้มีการซ่อมเสริมความพร้อม เพื่อให้นักเรียนมาโรงเรียนอย่างปลอดภัยและมีความสุข หลังจากนั้นจึงจะเน้นที่วิชาภาษาไทยและคณิตศาสตร์ ในระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-3 เป็นสำคัญ 

“หากเด็กไม่สามารถอ่านหนังสือได้ หรือคิดเลขไม่เป็น เขาจะไม่มีเครื่องมือที่จะช่วยให้ชีวิตไปต่อได้” ดร.อัมพร พินะสา เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.)

Dr. Pina Tarricone หัวหน้านักวิจัยและหัวหน้าสภาวิจัยการศึกษาแห่งออสเตรเลีย (Australian Council for Educational Research – ACER) กล่าวว่า สรุปได้ว่าจากสถานการณ์การระบาดของ COVID-19 นั้น ได้เพิ่มอัตราความไม่เท่าเทียมกันทางการศึกษา โดยนักเรียนชายขอบได้รับผลกระทบมากที่สุด เช่น การขาดทรัพยากรและเทคโนโลยีในการเข้าถึงการศึกษาที่มีคุณภาพ และในบางประเทศ เช่น บังคลาเทศ และปากีสถาน การระบาดใหญ่ครั้งนี้ส่งผลกระทบด้านความเหลื่อมล้ำทางการศึกษา ทางสังคมและเพศ ส่วนใหญ่เด็กผู้ชายจะได้รับการสนับสนุนทางด้านการศึกษาจากครอบครัวมากกว่าเด็กผู้หญิง ในขณะที่เด็กผู้หญิงต้องออกจากระบบการศึกษา ถูกบังคับให้แต่งงาน ตั้งครรภ์ก่อนวัยอันควร ทำให้ปัญหาด้านความรุนแรงในครอบครัวและความรุนแรงทางเพศเพิ่มสูงขึ้น

Ethel Agnes P. Valenzuela, Director, SEAMEO Secretariat ในฐานะผู้ดำเนินรายการในช่วงการอภิปราย ได้กล่าวว่า เราได้เรียนรู้อะไรมากมายจากวิกฤตของ COVID-19 ที่ผ่านมา และอย่างที่เรารู้ เรามาที่นี่เพราะเราต้องการให้เด็กๆและผู้ที่เกี่ยวข้อง ได้ค้นพบรูปแบบของการฟื้นฟูการเรียนรู้และแนวทางปฏิบัติที่ดีจริงๆ

เพราะในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา มีผู้เรียนกว่า 1.6 พันล้านคนที่ได้รับความเดือดร้อน หรือไม่สามารถปรับตัวให้เข้ากับชีวิตวิถีใหม่ได้ และสูญเสียการเรียนรู้ไปเกือบครึ่งของปีการศึกษานั้น ทั้งนี้เราได้จัดเตรียมตัวชี้วัดนโยบายสำหรับการฟื้นฟูการเรียนรู้ ดังนี้ 

  1. ดําเนินการประเมินระดับการเรียนรู้ของนักเรียนแต่ละคน ทั้งด้านการเรียนรู้ทั้งความรู้ความเข้าใจและทางด้านอารมณ์ และวางแผนการเรียนการสอนที่แตกต่างกัน 
  2. ปรับหลักสูตร โดยให้จัดลําดับความสําคัญของความสามารถพื้นฐานและหลักสูตรในแต่ละระดับชั้น ขยายเวลาการเรียนการสอนเพื่อติดตามหรือปรับปฏิทินของโรงเรียนตามต้องการ
  3. เตรียมความพร้อมและสนับสนุนครูและนักการศึกษานอกระบบเพื่อดําเนินกลยุทธ์การกู้คืนการเรียนรู้รวมทั้งให้พวกเขามีการพัฒนาขีดความสามารถทางวิชาชีพในการสอนที่สนับสนุนโดย ICT และการเรียนรู้แบบผสมผสานเทคโนโลยีดิจิทัลและเนื้อหาที่สามารถเข้าถึงได้และมั่นใจในความเป็นอยู่ที่ดีของพวกเขา
  4. ให้การสนับสนุนด้านจิตสังคมและรับรองความเป็นอยู่ที่ดีของผู้เรียนทุกคนเพื่อให้สามารถฟื้นตัวสร้างสภาพแวดล้อมของโรงเรียนที่ปลอดภัยเพื่อพร้อมสำหรับการกู้คืนการเรียนรู้

และสำหรับการแก้ไขปัญหาวิกฤติการเรียนรู้ (บทบาทของหลักสูตรการสอนและการประเมินผลในการเปลี่ยนแปลงการศึกษา) มีดังนี้

  1. การออกแบบหลักสูตรใหม่ให้มีพื้นฐานและช่วยให้ผู้เรียนมีพื้นฐานดิจิทัลถ่ายโอนได้ / ความสามารถในศตวรรษที่ 21 การเรียนรู้ทางสังคมและอารมณ์รวมถึงการศึกษาเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน (ESD) การศึกษาพลเมืองโลก (GCED) และโลกของการทํางาน
  2. เปลี่ยนการสอนเพื่อให้ผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง (Whole-Child Approach) และอํานวยความสะดวกในการเรียนรู้ในหลายโดเมน (ความรู้ทักษะทัศนคติและคุณค่า) ขึ้นอยู่กับหลักการของความร่วมมือและความสามัคคีและร่ายมนตร์ความสามารถของผู้เรียนที่จะเป็นผู้เรียนตลอดชีวิต
  3. เสริมสร้างการใช้การประเมินอย่างมีประสิทธิภาพ (สรุปและจัดรูปแบบ) เพื่อการเรียนรู้และลดการล้างหลังเชิงลบของการทดสอบและการสอบเดิมพันสูง
  4. กําหนดมาตรฐานผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนฐานความรู้ความสามารถที่ชัดเจน และเสริมสร้างการประเมินผลขนาดใหญ่ระดับชาติและระดับภูมิภาคเพื่อติดตามผลการเรียนรู้และแจ้งการปฏิรูปนโยบายและแนวปฏิบัติด้านการเรียนการสอน
  5. จัดการเรียนการสอนแบบผสมผสาน (Blended Learning)/Hybrid สําหรับผู้เรียนทุกคน และเสริมสร้างความพร้อมและความยืดหยุ่นภายในโรงเรียนและสถาบันการเรียนรู้อื่นๆ สําหรับเหตุฉุกเฉินและการระบาดในอนาคต
  6. ใช้ประโยชน์จากและเสริมสร้างความร่วมมือและความร่วมมือระหว่างครอบครัวและชุมชนของโรงเรียนและความร่วมมือให้หน่วยงานแก่ผู้ปกครองครูและผู้เรียนมากขึ้นและให้การสนับสนุนและคําแนะนําสําหรับการทํางานร่วมกันของพวกเขา
  7. แก้ไขปัญหาวิกฤตการเรียนรู้ที่เกิดจากการย้ายถิ่นฐานและการเรียนรู้แบบไม่สูญเสีย