Equity Lab กสศ. ร่วมกับ Disrupt Technology Venture ชวนนวัตกรการศึกษาไทย ระดมไอเดียเพิ่มทักษะภาษาอังกฤษให้ครูรัก(ษ์)ถิ่น

Equity Lab กสศ. ร่วมกับ Disrupt Technology Venture ชวนนวัตกรการศึกษาไทย ระดมไอเดียเพิ่มทักษะภาษาอังกฤษให้ครูรัก(ษ์)ถิ่น

เมื่อวันที่ 27 มกราคม 2566 Equity Lab โดยกองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (กสศ.) ร่วมกับ Disrupt Technology Venture จัดงาน Equity Opportunity Day ครั้งที่ 2 เปิดพื้นที่ให้นวัตกรที่ทำงานด้านการเรียนรู้และการศึกษาจำนวนมากเข้าร่วมแลกเปลี่ยนไอเดียเกี่ยวกับการพัฒนาครู โดยโจทย์ในครั้งนี้ คือ ‘นวัตกรรมการศึกษาเพื่อพัฒนาภาษาอังกฤษสำหรับชีวิตประจำวันให้กับครูในพื้นที่ห่างไกล (นักศึกษาครูรัก(ษ์)ถิ่น)’ รวมถึงพัฒนาศักยภาพอาจารย์มหาวิทยาลัย เสริมสร้างทักษะในการถ่ายทอดความรู้ให้กับนักศึกษาครูรัก(ษ์)ถิ่น 

ดร.อุดม วงษ์สิงห์ ผู้อำนวยการสำนักพัฒนาคุณภาพครูและสถานศึกษา กสศ. กล่าวถึงกรอบแนวคิดในการดำเนินงานของโครงการครูรัก(ษ์)ถิ่นให้เหล่านวัตกรเข้าใจถึงความเป็นมาและเป้าประสงค์ของโครงการ โดยระบุถึงความสำคัญของครูที่จะต้องเป็นมากกว่าผู้สอนแต่เพียงอย่างเดียว แต่สามารถเป็นครูนักพัฒนา และครูนวัตกร ที่จะพัฒนาโครงสร้างและคิดค้นนวัตกรรมทางการศึกษาเพื่อมาแก้ปัญหาการศึกษาของผู้เรียนได้ด้วย ซึ่งการสร้างครูที่มีคุณสมบัติในลักษณะนี้จะทำผ่าน Enrich Program หรือโปรแกรมส่งเสริมการเรียนรู้ที่โครงการครูรัก(ษ์)ถิ่น ได้จัดอบรบให้กับผู้ได้ทุนในโครงการอย่างต่อเนื่อง

จากนั้นเหล่านวัตกรได้รับฟังข้อมูลจากตัวแทนนักศึกษาครูและอาจารย์ในโครงการครูรัก(ษ์)ถิ่น 4 ท่าน ที่มาแบ่งปันผ่านวง Insight Corner เพื่อให้เข้าใจถึงปัญหาเกี่ยวกับการพัฒนาทักษะภาษาอังกฤษของเหล่านักศึกษาครูว่ามีปัญหาอย่างไร และแต่ละพื้นที่มีการจัดการกับปัญหาดังกล่าวอย่างไร ซึ่งนอกจากครูในโครงการครูรัก(ษ์)ถิ่นจะได้แบ่งปันประสบการณ์ของตนเองแล้ว ยังเปิดโอกาสให้นวัตกรได้สอบถามเพิ่มเติม เพื่อนำข้อมูลไปพัฒนาต่อยอดอีกด้วย

ถัดมาจึงเข้าสู่ช่วง Ideation ที่เหล่านวัตกรได้ระดมสมองในหัวข้อ ‘นวัตกรรมการศึกษาเพื่อพัฒนาภาษาอังกฤษสำหรับชีวิตประจำวันให้กับครูในพื้นที่ห่างไกล (นักศึกษาครูรัก(ษ์)ถิ่น)’ เพื่อหาไอเดียที่สร้างสรรค์มาต่อยอดนวัตกรรมต่อไป

หลังจากนี้ นวัตกรที่เข้าร่วมงาน Equity Opportunity Day ครั้งที่ 2 จะนำนวัตกรรมของตนเองในหัวข้อดังกล่าวมานำเสนอต่อ Equity Lab กสศ. และ Disrupt Technology Venture ในวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2566 โดย 3 ทีมที่ได้รับคัดเลือก จะได้รับทุนสนับสนุน 100,000 บาท เพื่อนำไปใช้พัฒนานวัตกรรมต่อไป

สำหรับนวัตกรรมที่ผ่านการคัดเลือก จะต้องเป็นนวัตกรรมที่สามารถแก้ปัญหาเชิงระบบในภาพรวม ไม่ใช่นวัตกรรมที่แก้ปัญหาได้เพียงในมิติใดมิติหนึ่ง และสามารถสร้างความยั่งยืนได้ โดยเกณฑ์ในการคัดเลือกมีอยู่ด้วยกัน 4 ข้อ คือ 1) Solution/Product ต้นแบบ (prototype) ของนวัตกรรมต้องมีความชัดเจนและตอบโจทย์ปัญหา (pain point) จากผลสำรวจและความต้องการของครูรัก(ษ์)ถิ่น 2) Target Market เข้าใจกลุ่มเป้าหมาย และนวัตกรรมมีความเป็นไปได้ที่จะนำไปใช้จริงกับกลุ่มเป้าหมายดังกล่าว 3) Impact สร้างผลกระทบเชิงบวกทางสังคม (impact) รวมถึงมีตัวชี้วัดของนวัตกรรมในด้านผลกระทบทางสังคมอย่างชัดเจน และ 4) Sustainable นวัตกรรมมีความยั่งยืน สามารถสร้างการเปลี่ยนแปลงในระยะยาวได้

รายชื่อโรงเรียน พื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้

จังหวัด นราธิวาส จำนวน 4 โรงเรียน

  • โรงเรียนผดุงมาตร
  • โรงเรียนสวนพระยาวิทยา
  • โรงเรียนราชพัฒนา
  • โรงเรียนนราสิกขาลัย

จังหวัดยะลา จำนวน 15 โรงเรียน

  • โรงเรียนไทยรัฐวิทยา 94 (บ้านบ่อน้ำร้อน)
  • โรงเรียนคุรุชนพัฒนา
  • โรงเรียนบ้านตาเซะ
  • โรงเรียนบ้านราโมง
  • โรงเรียนบ้านกาตอง
  • โรงเรียนบ้านหลักเขต
  • โรงเรียนพัฒนาบาลอ
  • โรงเรียนบ้านโกตาบารู
  • โรงเรียนบ้านตะโละหะลอ
  • โรงเรียนบ้านเยาะ
  • โรงเรียนบ้านโต
  • โรงเรียนบ้านลูโบ๊ะปันยัง
  • โรงเรียนบ้านคลองน้ำใส
  • โรงเรียนบ้านสะเอะ
  • โรงเรียนกาบังพิทยาคม

จังหวัดปัตตานี จำนวน 16 โรงเรียน

  • โรงเรียนวุฒิชัยวิทยา
  • โรงเรียนนิคมสร้างตนเองโคกโพธิ์ มิตรภาพที่ 148
  • โรงเรียนบ้านบางมะรวด
  • โรงเรียนบ้านท่าน้ำตะวันออก
  • โรงเรียนบ้านน้ำบ่อ
  • โรงเรียนบ้านปาลัส
  • โรงเรียนบ้านตรัง
  • โรงเรียนบ้านกระเสาะ
  • โรงเรียนบ้านบูดี
  • โรงเรียนบ้านฝาง
  • โรงเรียนบ้านตะโละไกรทอง
  • โรงเรียนบ้านน้ำดำ
  • โรงเรียนบ้านโลทู
  • โรงเรียนบ้านวังกว้าง
  • โรงเรียนสะนอพิทยาคม
  • โรงเรียนวังกะพ้อพิทยาคม

รายชื่อโรงเรียน ภาคตะวันตก

จังหวัดตาก จำนวน 1 โรงเรียน

  • โรงเรียนบ้านร่มเกล้า 2

รายชื่อโรงเรียน พื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้

จังหวัด นราธิวาส จำนวน 6 โรงเรียน

  • โรงเรียนผดุงมาตร
  • โรงเรียนสวนพระยาวิทยา
  • โรงเรียนราชพัฒนา
  • โรงเรียนนราสิกขาลัย
  • โรงเรียนพิทักษ์วิยากุมุง
  • บ้านบูเก๊ะตาโมง มิตรภาพที่ 128

จังหวัดสงขลา จำนวน 20 โรงเรียน

  • โรงเรียนบ้านม้างอน
  • โรงเรียนวัดประจ่า
  • โรงเรียนจะนะชนูปถัมภ์
  • โรงเรียนบ้านป่าโอน
  • โรงเรียนชุมชนนิคม สร้างตนเองเทพา
  • โรงเรียนบ้านกระอาน
  • โรงเรียนบ้านวังใหญ่
  • โรงเรียนเทพา
  • โรงเรียนบ้านป่าเร็ด
  • โรงเรียนบ้านนาปรัง
  • โรงเรียนทับช้างวิทยาคม
  • โรงเรียนชุมชนบ้านนากัน
  • โรงเรียนบ้านโคกตก
  • โรงเรียนบ้านคอลอมุดอ
  • โรงเรียนบ้านบาโหย
  • โรงเรียนเขาแดงกุศลวิทยา
  • โรงเรียนบ้านเขาพระ
  • โรงเรียนบ้านพระพุทธ
  • โรงเรียนบ้านปากบางนาทับ
  • โรงเรียนบ้านคูนายสังข์

จังหวัดยะลา จำนวน 10 โรงเรียน

  • โรงเรียนบ้านราโมง
  • โรงเรียนพัฒนาบาลอ
  • โรงเรียนบ้านโกตาบารู
  • โรงเรียนบ้านตะโละหะลอ
  • โรงเรียนบ้านคลองน้ำใส
  • โรงเรียนบ้านสะเอะ
  • โรงเรียนกาบังพิทยาคม
  • บ้านด่านสันติราษฎร์
  • อัยเยอร์เวง
  • บ้านจุโป

จังหวัดปัตตานี จำนวน 8 โรงเรียน

  • โรงเรียนวุฒิชัยวิทยา
  • โรงเรียนบ้านกระเสาะ
  • โรงเรียนบ้านตะโละไกรทอง
  • โรงเรียนบ้านน้ำดำ
  • โรงเรียนบ้านโลทู
  • โรงเรียนบ้านวังกว้าง
  • โรงเรียนวังกะพ้อพิทยาคม
  • บ้านบางทัน

รายชื่อโรงเรียน ภาคตะวันตก

จังหวัดตาก จำนวน 1 โรงเรียน

  • โรงเรียนบ้านร่มเกล้า 2