โควิด-19 ยังไม่จบ แนวโน้ม “เด็กกำพร้า” เพิ่มรายวัน กสศ. – ยูนิเซฟ เสนอเรียนฟรีจนจบ ป.ตรี พร้อมสร้างระบบช่วยเหลือพิเศษเด็กได้รับผลกระทบ

โควิด-19 ยังไม่จบ แนวโน้ม “เด็กกำพร้า” เพิ่มรายวัน กสศ. – ยูนิเซฟ เสนอเรียนฟรีจนจบ ป.ตรี พร้อมสร้างระบบช่วยเหลือพิเศษเด็กได้รับผลกระทบ

โควิด-19 ทำเด็กกำพร้าเพิ่มรายวัน นับจากวันเริ่มระบาดจนวันนี้มีเด็กกำพร้าเพิ่มขึ้นกว่า 369 คน ที่ผู้ดูแลเสียชีวิตจากโควิด-19 เผยข้อมูลสามจังหวัดชายแดนใต้สูงสุด ราชวิทยาลัยกุมารแพทย์ระบุควรเร่งฉีดวัคซีนครูพร้อมหามาตรการความปลอดภัยเด็กรับมือเปิดเทอม กสศ.ชี้ ต้องมีมาตรการพิเศษเรียนฟรีถึงระดับอุดมศึกษา ขณะที่ยูนิเซฟระบุต้องสร้างระบบการช่วยเหลือพิเศษเด็กได้รับผลกระทบ

เมื่อวันที่ 6 กันยายน 2564 ศูนย์ช่วยเหลือเด็กโควิด-19 โดยกรมกิจการเด็กและเยาวชน กองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (กสศ.) กรมสุขภาพจิต และองค์การยูนิเซฟ ประเทศไทย แถลงข่าวเรื่อง ‘สถานการณ์เด็กติดเชื้อ เด็กกำพร้า ผลกระทบจากโควิด-19 และการเยียวยาฟื้นฟู’ 

นางสุภัชชา สุทธิพล อธิบดีกรมกิจการเด็กและเยาวชน กล่าวว่า สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ยังคงส่งผลกระทบในวงกว้าง กลุ่มเด็กยังคงจำเป็นต้องเฝ้าระวังอย่างใกล้ชิดและต่อเนื่อง ข้อมูลจากศูนย์ข้อมูลโควิด-19 พบมีเด็กติดเชื้อสะสมตั้งแต่ 1 มกราคม – 4 กันยายน 2564 จำนวน 142,870 คน แบ่งเป็น กทม. 31,111 คน และภูมิภาค 111,759 คน โดยยังคงติดเชื้อรายวันมากกว่า 2,000 ราย ที่สำคัญผู้เสียชีวิตเฉลี่ยรายวันยังคงขึ้นลงมากกว่า 200 รายต่อวัน ซึ่งหากผู้เสียชีวิตเป็นพ่อแม่หรือผู้ปกครองของเด็กก็จะส่งผลให้มีเด็กกำพร้าเพิ่มมากขึ้น ทั้งนี้กรมกิจการเด็กและเยาวชน กระทรวง พม. ร่วมกับศูนย์ช่วยเหลือเด็กโควิด-19 ได้มีการช่วยเหลือเด็กที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์ ตั้งแต่ 1 มกราคม – 4 กันยายน 2564 จำนวนทั้งสิ้น 9,565 คน 

สำหรับกลุ่มเด็กกำพร้า นายกรัฐมนตรีมีความห่วงใย ได้มอบหมายให้กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ สำรวจข้อมูลตั้งแต่วันที่ 27 กรกฎาคม – 4 กันยายน 2564 พบเด็กกำพร้าจำนวน 369 คน โดยกำพร้าบิดามากที่สุด 180 คน กำพร้ามารดา 151 คน กำพร้าทั้งบิดาและมารดา 3 คน และกำพร้าผู้ปกครอง 35 คน ภาคใต้พบเด็กกำพร้ามากที่สุด 131 ราย ร้อยละ 71.54 อยู่ในช่วงอายุ 6 – 18 ปี และร้อยละ 33.06 เป็นเด็กที่เรียนชั้นประถมศึกษา 

ปัจจุบันเด็กกำพร้า 369 คน ได้รับการดูแลในรูปแบบครอบครัว 367 คน (อยู่กับพ่อหรือแม่ 231 คน อยู่กับครอบครัวเครือญาติ 133 คน และอยู่กับครอบครัวอุปถัมภ์อาสาสมัคร 3 คน) และอยู่ในบ้านพักเด็กและครอบครัว/สถานสงเคราะห์เพื่อจัดหาครอบครัวทดแทน 2 คน ทั้งนี้ข้อมูลเด็กกำพร้าจะถูกบันทึกลงในระบบสารสนเทศเพื่อการคุ้มครองเด็ก CPIS เพื่อใช้ในการวางแผนการดูแลและการจัดบริการให้แก่เด็กทั้งระยะสั้นและระยะยาว 

“ในปีงบประมาณ 2565 กระทรวง พม. เตรียมรองรับการจัดสวัสดิการให้กับเด็กและครอบครัว โดยคณะกรรมการบริหารกองทุนคุ้มครองเด็กให้ความสำคัญในการช่วยเหลือเด็กรายบุคคล ด้วยการสนับสนุนครอบครัวและครอบครัวอุปถัมภ์ให้ได้รับบริการเพื่อสนับสนุนการดูแลเด็ก  คาดว่าจะมีเด็กได้รับความช่วยเหลือประมาณ 1,600 คน นอกจากนี้ยังมีเงินอุดหนุนการให้บริการสวัสดิการเด็กในครอบครัวยากจนอีกด้วย” อธิบดีกรมกิจการเด็กและเยาวชนกล่าว 

ศาสตราจารย์สมพงษ์ จิตระดับ กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ ภาคประชาสังคม กองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา กล่าวว่าจากการลงพื้นที่ของ กสศ.ในช่วงที่ผ่านมา เราพบว่าเด็กส่วนใหญ่ที่ได้รับผลกระทบ 80% คือเด็กยากจนด้อยโอกาสในชุมชนแออัด ที่นอกจากเหลื่อมล้ำด้านเศรษฐกิจแล้ว ยังเหลื่อมล้ำด้านการศึกษา วันที่เราส่งพวกเขากลับบ้าน เราจะพบเห็นคลื่นปัญหาที่ต้องเผชิญต่อไปคือความยากจน เพราะพ่อแม่ที่ป่วยไข้ก็ตกงาน ไม่ได้กลับไปทำงาน ถูกเลิกจ้าง ไม่มีเงินซื้ออาหาร ไม่มีเงินจ่ายค่าเช่าบ้าน ไม่นับเรื่องการเรียนออนไลน์ ไม่มีอุปกรณ์ ไม่มีความพร้อมใดๆ และมีความเสี่ยงที่จะไม่ได้กลับมาเรียนอีก ภารกิจจากนี้คือการติดตาม เยียวยาป้องกันไม่ให้เด็กกลุ่มนี้หลุดออกจากระบบการศึกษา โดย กสศ.มีโครงการนำร่องช่วยเหลือเด็กที่ประสบวิกฤตทางการศึกษา และการฟื้นฟูทักษะอาชีพให้แก่พ่อแม่เลี้ยงเดี่ยว

“สำหรับเด็กกำพร้า เสนอให้รัฐบาลออกมาตรการเรียนฟรีจนถึงระดับอุดมศึกษา ครอบคลุมทั้งกลุ่มที่สูญเสียพ่อแม่เพราะการติดเชื้อโควิด-19 หรือเสียชีวิตจากการฆ่าตัวตายเพราะวิกฤตเศรษฐกิจ นอกจากนี้ต้องให้คำแนะนำแก่ครูและโรงเรียนในการเตรียมความพร้อม เพื่อดูแลเด็กนักเรียนที่สูญเสียบุคคลอันเป็นที่รักหรือสมาชิกครอบครัวจากวิกฤตโควิด-19 โดยแม้เด็กจะกลับมาเข้าห้องเรียนได้ แต่สภาพจิตใจอาจยังไม่พร้อมสมบูรณ์”

ศาสตราจารย์เกียรติคุณ นายแพทย์สมศักดิ์ โล่ห์เลขา ประธานราชวิทยาลัยกุมารแพทย์แห่งประเทศไทย กล่าวว่า จากจำนวนเด็กที่ป่วยในช่วงแรก 997 คน หรือคิดเป็น 6% ต่อมาได้เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วจนถึง 1.4 แสนคน หรือคิดเป็น 14% ของผู้ติดเชื้อและติดเชื้อจากที่บ้าน เพราะโรงเรียนยังไม่ได้เปิด เด็กที่ป่วยแล้วเสียชีวิตจำนวน 20 คน เป็นเด็กที่มีโรคประจำตัวมาก่อนแล้ว โดยกลุ่มเด็กที่ติดเชื้อสูงสุดคือ 12-18 ปี คิดเป็น 38% รองลงมาคือ 6-12 ปี คิดเป็น 32% และอายุต่ำกว่า 6 ปีประมาณ 5% โดยเด็กอายุ 6-12 ปียังไม่พบการเสียชีวิต และเด็กเสียชีวิตน้อยกว่าผู้ใหญ่ เพราะมีภูมิคุ้มกันต่อสู้กับเชื้อใหม่ดีกว่า 

“ตอนนี้มีปัญหาถกเถียงกันว่าจะเปิดโรงเรียนได้ไหม ซึ่งในประเทศญี่ปุ่นล็อกดาวน์ทั้งหมด ยกเว้นโรงเรียน สิงคโปร์และอเมริกาก็บอกว่าต้องเปิด ที่เด็กไม่ได้ฉีดวัคซีนเพราะไม่มีวัคซีนสำหรับเด็ก วัคซีนที่ขึ้นทะเบียนใช้กับเด็กได้มีตัวเดียวคือไฟเซอร์ ใช้ได้กับเด็กอายุ 12 ปีขึ้นไป เด็กไม่ใช่ผู้ใหญ่ตัวเล็ก จะบอกว่าผู้ใหญ่ฉีดได้ เด็กก็ฉีดได้เหมือนกัน เพราะการตอบสนองและภูมิคุ้มกันไม่เหมือนกัน อเมริกาทดสอบไปสามพันคนไม่มีปัญหา แต่พอฉีดเป็นแสนคนพบกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบหลายคน ทำให้เราต้องรอบคอบ”

อย่างไรก็ตาม ที่ผ่านมาการที่เด็กไม่ไปโรงเรียนเสียหายมาก ทั้งการเรียนรู้ การออกกำลังกาย และการเข้าสังคม และสุดท้ายสร้างปัญหาเด็กลาออกจากโรงเรียน สร้างความเหลื่อมล้ำมาก สิ่งที่ต้องดำเนินการคือ การหามาตรการรับมือเปิดเทอมโดยแนวการป้องกันคือ 1) ฉีดวัคซีนให้ครบทุกคน ผู้ปกครอง ครู คนในบ้าน เพราะหากผู้ใหญ่ไม่ติดเชื้อ เด็กก็ไม่ติดเชื้อ เพราะการฉีดวัคซีนให้เด็กอาจต้องรอบคอบ ในอนาคตจะมีวัคซีนที่ปลอดภัย แต่ตอนนี้ยังเป็นแค่การใช้ฉุกเฉิน รออีกสักพักก็อาจมีวัคซีนที่ปลอดภัยกว่า และ 2) เน้นการใส่หน้ากากอนามัยทั้งที่บ้านและโรงเรียน รวมทั้งการเว้นระยะห่าง ล้างมือ ใครป่วยหรือมีประวัติสัมผัสผู้ติดเชื้อต้องหยุดอยู่บ้าน ทำความสะอาดห้อง และควรมีการทดสอบเด็กเป็นระยะ ในช่วงที่มีการระบาดหนัก ส่วนเวลาที่ไม่ระบาดหนัก อาจตรวจเฉพาะคนที่มีอาการ ไม่จำเป็นต้องใช้สูตรเดียวทั้งประเทศแต่ขึ้นอยู่กับพื้นที่ เช่น นักเรียนติดคนเดียวก็ไม่จำเป็นต้องปิดทั้งโรงเรียน เพราะสร้างความเสียหายมาก อาจจะให้หยุดเฉพาะคนที่สัมผัสใกล้ชิด มีความเสี่ยงสูง

รองศาสตราจารย์ แพทย์หญิงวารุณี พรรณพานิช วานเดอพิทท์ กุมารแพทย์ประจำสถาบันเด็กแห่งชาติมหาราชินี กล่าวว่า จากผลวิจัยล่าสุดของประเทศอังกฤษที่ติดตามระยะเวลาการเจ็บป่วยในเด็กวัยเรียนอายุ 5-17 ปี พบว่าอาการ Long Covid จะมีผลต่อเด็กโตมากกว่าเด็กเล็ก ๆ และส่วนใหญ่จะมีระยะเวลาอยู่ที่ 6-12 สัปดาห์ 

งานวิจัยระบุว่าอาการ Long Covid ในเด็กที่ถือว่ายาวนานคือ 1 เดือน หรือ 4 สัปดาห์ขึ้นไป ซึ่งในเด็กพบที่ราว 4.4% ที่น่าสนใจคือข้อมูลเปรียบเทียบกับเด็กที่ติดเชื้อทางเดินหายใจ ซึ่งยืนยันว่าโควิด-19 ก่อให้เกิดผลกระทบระยะยาวได้จริง โดยค่ามัธยฐานของผู้ป่วยเด็กจะมีอาการจากโควิด-19 ประมาณ 6 วัน ขณะที่ติดเชื้อทางเดินหายใจอยู่ที่ประมาณ 3 วัน และหากเปรียบเทียบเด็กเล็กกับเด็กโต พบว่าเด็กเล็กจะป่วยเฉลี่ยที่ประมาณ 5 วัน เด็กโตจะนานกว่าคือประมาณ 7 วัน และความเสี่ยงของภาวะ Long Covid ในเด็กโตก็มีมากกว่าคือ 5.1% ส่วนเด็กเล็กอยู่ที่ 3.1% อาการที่สำคัญคือปวดศีรษะ อ่อนเพลีย ซึ่งอาจต่อเนื่องไปถึง 28 วัน

แพทย์หญิงดุษฎี จึงศิรกุลวิทย์ ผู้อำนวยการสถาบันสุขภาพจิตเด็กและวัยรุ่นราชนครินทร์ กรมสุขภาพจิต กล่าวว่า เด็กๆ ที่ต้องเผชิญกับเหตุการณ์ผู้ดูแลหลักเสียชีวิต หากไม่ได้รับการฟื้นฟูเยียวยาจิตใจที่เหมาะสม จะกลายเป็นปัญหาต่อเนื่องทั้งระยะสั้น ระยะกลาง และระยะยาว จึงได้เตรียมมาตรการสร้างพื้นที่พักพิงทางจิตใจและสังคม (Psychosocial Care) ร่วมกัน ระยะสั้นคือการปฐมพยาบาลทางจิตใจ สำหรับเด็กที่มีความเข้มแข็งทางใจอยู่แล้วให้ฟื้นคืน โดยอาจไม่จำเป็นต้องพบนักจิตวิทยาเด็ก ระยะกลางคือเด็กที่มีปัญหาเดิมอยู่แล้ว เมื่อมาเจอกับความสูญเสีย กลุ่มนี้ต้องนำสู่กระบวนการรักษาเต็มรูปแบบทันที ส่วนในระยะยาวหมายถึงการฟื้นฟูทางสังคมและจิตใจร่วมกัน ด้วยการติดตามจากเจ้าหน้าที่เพื่อช่วยเด็กในการปรับตัวและเป็นที่ปรึกษาให้กับครอบครัวอุปถัมภ์

นางสาวนิโคล่า บลั้น รักษาการหัวหน้าฝ่ายคุ้มครองเด็ก องค์การยูนิเซฟประเทศไทย กล่าวว่าในอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก หรือ UNCRC ระบุไว้ว่า เด็กมีสิทธิที่จะเติบโตในครอบครัวตัวเอง ดังนั้นการช่วยเหลือเด็กที่สูญเสียผู้ดูแลจากสถานการณ์โควิด-19 จำเป็นต้องมองไปที่สมาชิกครอบครัวที่เหลืออยู่ก่อน หรือใช้การดูแลทดแทนในระยะสั้น การแยกเด็กออกมาอยู่ในสถานสงเคราะห์หรือครอบครัวอุปถัมภ์ควรเป็นทางเลือกสุดท้าย

“รัฐจำเป็นต้องให้ความสำคัญในการสร้างระบบการช่วยเหลือเด็กที่ได้รับผลกระทบ โดยสนับสนุนทั้งสิ่งของ งบประมาณ และจิตใจให้กับเด็กและครอบครัว รวมถึงผลักดันให้เข้าถึงงานสังคมสงเคราะห์ บริการสาธารณสุข มีสวัสดิการและความคุ้มครองทางสังคมรองรับ โดยจัดทำฐานข้อมูลและระบบบริหารจัดการที่ช่วยชี้เป้าและติดตามครอบครัวของเด็กกลุ่มเสี่ยงได้ อาทิ ครอบครัวพ่อแม่เลี้ยงเดี่ยว เด็กที่อยู่กับปู่ย่าตายายลำพัง รวมไปถึงข้อมูลของเด็กกลุ่มเปราะบางทั้งหมด โดยทุกการตัดสินใจเด็กต้องได้มีส่วนร่วม มีสิทธิในการเลือกอนาคตของตนเอง ไม่ใช่การวางแผนโดยหน่วยงานหรือผู้ใหญ่โดยที่เด็กไม่มีส่วนรู้เห็นด้วย”

นางสาวนิโคล่ากล่าวว่า นี่คือการจัดการที่รัฐทำได้ผ่านเครื่องมือและกลไก และต้องมีการทำงานที่ประสานความร่วมมือหลายภาคส่วน มององค์รวมของปัญหาที่ต้องลึกลงไปในหลายมิติและหลายแง่มุมของมนุษย์

รายชื่อโรงเรียน พื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้

จังหวัด นราธิวาส จำนวน 4 โรงเรียน

  • โรงเรียนผดุงมาตร
  • โรงเรียนสวนพระยาวิทยา
  • โรงเรียนราชพัฒนา
  • โรงเรียนนราสิกขาลัย

จังหวัดยะลา จำนวน 15 โรงเรียน

  • โรงเรียนไทยรัฐวิทยา 94 (บ้านบ่อน้ำร้อน)
  • โรงเรียนคุรุชนพัฒนา
  • โรงเรียนบ้านตาเซะ
  • โรงเรียนบ้านราโมง
  • โรงเรียนบ้านกาตอง
  • โรงเรียนบ้านหลักเขต
  • โรงเรียนพัฒนาบาลอ
  • โรงเรียนบ้านโกตาบารู
  • โรงเรียนบ้านตะโละหะลอ
  • โรงเรียนบ้านเยาะ
  • โรงเรียนบ้านโต
  • โรงเรียนบ้านลูโบ๊ะปันยัง
  • โรงเรียนบ้านคลองน้ำใส
  • โรงเรียนบ้านสะเอะ
  • โรงเรียนกาบังพิทยาคม

จังหวัดปัตตานี จำนวน 16 โรงเรียน

  • โรงเรียนวุฒิชัยวิทยา
  • โรงเรียนนิคมสร้างตนเองโคกโพธิ์ มิตรภาพที่ 148
  • โรงเรียนบ้านบางมะรวด
  • โรงเรียนบ้านท่าน้ำตะวันออก
  • โรงเรียนบ้านน้ำบ่อ
  • โรงเรียนบ้านปาลัส
  • โรงเรียนบ้านตรัง
  • โรงเรียนบ้านกระเสาะ
  • โรงเรียนบ้านบูดี
  • โรงเรียนบ้านฝาง
  • โรงเรียนบ้านตะโละไกรทอง
  • โรงเรียนบ้านน้ำดำ
  • โรงเรียนบ้านโลทู
  • โรงเรียนบ้านวังกว้าง
  • โรงเรียนสะนอพิทยาคม
  • โรงเรียนวังกะพ้อพิทยาคม

รายชื่อโรงเรียน ภาคตะวันตก

จังหวัดตาก จำนวน 1 โรงเรียน

  • โรงเรียนบ้านร่มเกล้า 2

รายชื่อโรงเรียนที่ได้รับทุนการศึกษาผ่านโครงการ Million Gift Million Smiles

จังหวัดเชียงราย จำนวน 1 โรงเรียน

  • โรงเรียนราชประชานุเคราะห์ 15
    (เวียงเก่าแสนภูวิทยาประสาท)

จังหวัดเชียงใหม่ จำนวน 3 โรงเรียน

  • โรงเรียนชลประทาน
    เขื่อนแม่กวงจิราธิวัฒน์อุปถัมภ์
  • โรงเรียนบ้านโป่งน้อย
  • โรงเรียนวัดสันคะยอม

จังหวัดลำปาง จำนวน 1 โรงเรียน

  • โรงเรียนวัดเสด็จ

จังหวัดพิษณุโลก จำนวน 1 โรงเรียน

  • โรงเรียนบ้านท่าข้าม

จังหวัดตาก จำนวน 3 โรงเรียน

  • โรงเรียนบ้านร่มเกล้า 2
  • โรงเรียนบ้านร่มเกล้า 4
  • โรงเรียนบ้านห้วยไม้แป้น

จังหวัดนครศรีธรรมราช จำนวน 4 โรงเรียน

  • โรงเรียนบ้านควนเงิน
  • โรงเรียนบ้านท่าไทร
  • โรงเรียนวัดชะอวด
  • โรงเรียนวัดไม้เสียบ

จังหวัดตรัง จำนวน 11 โรงเรียน

  • โรงเรียนท่างิ้ว (ต.ช.ด.อุปถัมภ์)
  • โรงเรียนบ้านเกาะเคี่ยม
  • โรงเรียนบ้านคลองคุ้ย
  • โรงเรียนบ้านช่องลม
  • โรงเรียนบ้านทอนเหรียน
  • โรงเรียนบ้านท่าส้ม
  • โรงเรียนบ้านบางสัก
  • โรงเรียนบ้านวังลำ
  • โรงเรียนวัดทุ่งหินผุด
  • โรงเรียนวัดวารีวง
  • โรงเรียนหาดทรายทอง

จังหวัดนราธิวาส จำนวน 6 โรงเรียน

  • โรงเรียนนราสิกขาลัย
  • โรงเรียนบ้านบูเก๊ะตาโมงมิตรภาพที่ 128
  • โรงเรียนผดุงมาตร
  • โรงเรียนพิทักษ์วิยากุมุง
  • โรงเรียนราชพัฒนา
  • โรงเรียนสวนพระยาวิทยา

จังหวัดพังงา จำนวน 2 โรงเรียน

  • โรงเรียนวัดนิโครธาราม
  • โรงเรียนวัดสุวรรณาวาส

จังหวัดปัตตานี จำนวน 8 โรงเรียน

  • โรงเรียนบ้านกระเสาะ
  • โรงเรียนบ้านตะโละไกรทอง
  • โรงเรียนบ้านน้ำดำ
  • โรงเรียนบ้านบางทัน
  • โรงเรียนบ้านโลทู
  • โรงเรียนบ้านวังกว้าง
  • โรงเรียนวังกะพ้อพิทยาคม
  • โรงเรียนวุฒิชัยวิทยา

จังหวัดยะลา จำนวน 10 โรงเรียน

  • โรงเรียนกาบังพิทยาคม
  • โรงเรียนบ้านโกตาบารู
  • โรงเรียนบ้านคลองน้ำใส
  • โรงเรียนบ้านจุโป
  • โรงเรียนบ้านด่านสันติราษฎร์
  • โรงเรียนบ้านตะโละหะลอ
  • โรงเรียนบ้านราโมง
  • โรงเรียนบ้านสะเอะ
  • โรงเรียนพัฒนาบาลอ
  • โรงเรียนอัยเยอร์เวง

จังหวัดสงขลา จำนวน 18 โรงเรียน

  • โรงเรียนเขาแดงกุศลวิทยา
  • โรงเรียนจะนะชนูปถัมภ์
  • โรงเรียนชุมชนนิคมสร้างตนเองเทพา
  • โรงเรียนชุมชนบ้านนากัน
  • โรงเรียนทับช้างวิทยาคม
  • โรงเรียนเทพา
  • โรงเรียนบ้านเขาพระ
  • โรงเรียนบ้านคอลอมุดอ
  • โรงเรียนบ้านคูนายสังข์
  • โรงเรียนบ้านโคกตก
  • โรงเรียนบ้านนาปรัง
  • โรงเรียนบ้านบาโหย
  • โรงเรียนบ้านปากบางนาทับ
  • โรงเรียนบ้านป่าเร็ด
  • โรงเรียนบ้านพระพุทธ
  • โรงเรียนบ้านม้างอน
  • โรงเรียนบ้านม้างอน
  • โรงเรียนวัดประจ่า