วุฒิสภารับทราบรายงานประจำปี 2564 ‘กสศ.’ ช่วยเพิ่มโอกาสทางการศึกษา หนุนดึงความร่วมมือทุกภาคส่วนเป็นเครือข่าย All For Education ลุยภารกิจลดความเหลื่อมล้ำ

วุฒิสภารับทราบรายงานประจำปี 2564 ‘กสศ.’ ช่วยเพิ่มโอกาสทางการศึกษา หนุนดึงความร่วมมือทุกภาคส่วนเป็นเครือข่าย All For Education ลุยภารกิจลดความเหลื่อมล้ำ

เมื่อวันที่ 30 มกราคม 2566 ที่ประชุมวุฒิสภา (สว.) ได้พิจารณารับทราบรายงานประจำปี 2564 ของกองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (กสศ.) โดยมี ดร.ไกรยส ภัทราวาท ผู้จัดการกองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา เป็นผู้ชี้แจงพร้อมคณะผู้บริหาร กสศ.

นายตวง อันทะไชย ประธานคณะกรรมาธิการการศึกษาและการกีฬา วุฒิสภา กล่าวว่า การทำงานของ กสศ. ที่ทดลองเหนี่ยวนำความร่วมมือทุกภาคส่วนเพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงเชิงระบบถือว่าทำได้ดี ค้นหาวิธีการส่งเสริมการศึกษาในโครงการที่มีขนาดใหญ่ หากยึดเป็นหลักทำงานในปีถัดไปจะเป็นประโยชน์ทั้งในด้านลดความเหลื่อมล้ำทางการศึกษาและวิถีชีวิตของผู้คนอย่างยั่งยืน ด้วยการสร้างฐานดำเนินงานร่วมกับภาคีปฏิรูปการศึกษาทั้งในระดับพื้นที่และระดับประเทศ เพราะความสำเร็จของ กสศ. ไม่ได้เป็นเพราะว่าได้เงินทุนจำนวนมากจากรัฐบาล แต่หมายถึงการดึงความร่วมมือจากผู้คนเข้ามามีส่วนร่วม ปีที่ผ่านมาเป็น ‘ปีแห่งความร่วมมือ’ ที่มี 16 องค์กรและมูลนิธิรวมกันเป็นเครือข่ายการทำงานที่ก้าวหน้าจากปีก่อน ๆ อย่างไรก็ตาม ภาคีต้องขยายขนาดขึ้น เพราะโลกใบใหม่ของเด็กเยาวชนไม่เหมือนเดิม จึงจำเป็นต้องมีหุ้นส่วนเข้ามาสนับสนุนช่วยสร้างแพลตฟอร์มใหม่ ๆ

“ข้อเสนอแนะคือ เราจำเป็นต้องพูดถึงงบประมาณการทำวิจัยและนวัตกรรมในอนาคต โดยปี 2564 มีตัวเลข 287 ล้านบาท คำถามคือเป็นงบประมาณในการวิจัยพัฒนาระบบเพื่อยกระดับข้อมูลสำหรับการศึกษา ที่พอสำหรับเด็กเยาวชนยากจนและคนยากไร้ในการพัฒนาตนเองได้หรือไม่ เพราะการลดความเหลื่อมล้ำที่ยั่งยืนต้องผลักดันให้กลุ่มเป้าหมายทำมาหากินได้ กสศ. จะต้องเป็นแกนหลักในการชักชวนภาคีเข้ามาช่วยให้เด็กเยาวชนและประชาชนทั่วไปได้พึ่งพาตนเอง อีกประการคือในโลกใบใหม่ เด็กเยาวชนไม่ได้มุ่งเป้าที่ใบปริญญาอีกต่อไป การศึกษาทางเลือกจึงควรเป็นแก่นใหญ่ของการศึกษาเพื่ออนาคต ประการสำคัญคือ กสศ. ต้องนำคนเหล่านี้ออกมาพัฒนาศักยภาพและพึ่งพาตนเองได้อย่างยั่งยืน” นายตวง กล่าว  

  

นายฉวีรัตน์ เกษตรสุนทร สมาชิกวุฒิสภา กล่าวว่า การดำเนินงานย่างเข้าปีที่ 5 ของ กสศ. ได้มุ่งสู่เป้าหมายลดความเหลื่อมล้ำทางการศึกษา และมีส่วนร่วมในการพัฒนาระบบการศึกษาให้ขยายวงกว้างออกไป ขอแสดงความชื่นชมว่าทุกโครงการที่ กสศ. สนับสนุนมีความสำคัญและแก้ไขปัญหาได้ดี อาทิ การสร้างสถาบันต้นแบบผลิตและพัฒนาครูผ่านโครงการ ‘ครูรัก(ษ์)ถิ่น’ ซึ่งขยายวงกว้างไปยังสถาบัน 553 แห่ง กระจายทั่วประเทศใน 53 จังหวัด รายงานชี้ให้เห็นชัดเจนว่าด้วยงบประมาณจำกัดในปี 2564 ผลงานของ กสศ. ถือว่าเกินคุ้มจากทุนตั้งต้น ด้วยการออกแบบเครื่องมือที่สนับสนุนการบูรณาการข้อมูลเด็กและเยาวชนผู้ขาดแคลนทุนทรัพย์และด้อยโอกาส โดยแสดงสถานการณ์ความเหลื่อมล้ำได้อย่างชัดเจน และสามารถนำไปต่อยอดทำงานบูรณาการร่วมกับองค์การยูนิเซฟ ประเทศไทย ส่งผลให้เกิดการจัดสรรเงินอุดหนุนรายหัวสำหรับโรงเรียนในพื้นที่ทุรกันดารห่างไกล และสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาได้นำไปทดลองใช้ในพื้นที่นวัตกรรมทางการศึกษาในปี 2565 มาแล้ว ขอเป็นกำลังใจและอยากให้ กสศ. ทำผลงานให้ดีต่อเนื่องไป 

ศ.นิสดารก์ เวชยานนท์ สมาชิกวุฒิสภา กล่าวว่า บทบาทของ กสศ. คือการเป็น ‘ตัวเร่ง’ (Catalyst) ในการกระตุ้นการทำงานของภาคส่วนอื่น ๆ เพื่อลดการใช้งบประมาณที่ไม่มีประสิทธิภาพของหน่วยงานต่าง ๆ อย่างไรก็ตาม มีคำถามถึง กสศ. เกี่ยวกับการทำงานฟื้นฟูการศึกษาจากสถานการณ์โควิด-19 ว่า เมื่อนำเด็กกลับเข้าสู่ระบบการศึกษาได้แล้ว จะดำเนินการต่ออย่างไรให้ได้ทั้งเชิงปริมาณและคุณภาพ ซึ่งจะถือว่าเป็นการลงทุนทรัพยากรมนุษย์ที่คุ้มค่า ดังนั้น กสศ. ต้องผลักดันด้านนโยบายให้สำเร็จ เพื่อให้งบลงทุนของประเทศถูกนำไปใช้ในบริบทที่ควรจะเป็น นอกจากนี้ยังมีคำถามเกี่ยวกับบทบาทของ กสศ. ใน พ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติฉบับใหม่ ว่าจะทำงานกับเด็กและเยาวชนอย่างไร และประเด็น All for Education กสศ. จะผลักดันอย่างไรให้หน่วยงานทุกภาคส่วนตระหนักว่าเป็นหน้าที่ในการทำงานด้านการศึกษา หรือเปิดพื้นที่ให้ผู้ปกครองเข้าไปมีส่วนร่วมกับการศึกษามากขึ้น เพราะการศึกษาไม่สามารถทำเพียงคนเดียวได้   

ผศ.นพ.เฉลิมชัย บุญยะลีพรรณ สมาชิกวุฒิสภา กล่าวว่า จากเนื้อหารายงานประจำปีของ กสศ. ถือว่าน่าพอใจ ด้วยการทำงานภายใต้ทรัพยากรอันจำกัด แต่ถ้ามองที่โจทย์ของการปฏิรูปวงการศึกษา การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ เพิ่มความเสมอภาคและลดความเหลื่อมล้ำ ถือว่ายังมี ‘GAP’ หรือช่องว่างอยู่พอควร ดังนั้นแม้ กสศ. จะทำงานได้ดี ก็ยังต้องบอกว่าขอให้อดทนทำงานอย่างหนักต่อไป เพื่อประเทศจะได้มีเด็กเยาวชนอย่างน้อยที่สุดในกลุ่มยากจนพิเศษ ได้มีโอกาส มีความหวังในชีวิต และได้พัฒนาตนเองเพื่อไม่เป็นภาระต่อสังคม ไม่ต้องพึ่งพารัฐ โดยใช้การศึกษาเป็นเครื่องมือในการพัฒนา ดังนั้นถ้า กสศ. ได้รับการสนับสนุนจากภาครัฐและภาคีเครือข่าย ผลระยะยาวที่คาดการณ์ตามงานวิชาการ คือเงินหนึ่งบาทที่ลงทุนจะได้ผลตอบแทนอย่างน้อย 7-8 บาท ตลอดช่วงชีวิตการทำงานของกลุ่มเป้าหมาย ผลดังกล่าวนี้จะทำให้รัฐบาลลดงบประมาณการประชาสงเคราะห์ลงได้ เพราะคนยากจนจะลดจำนวนลงด้วยโอกาสทางการศึกษาและการพัฒนาตนเอง

“สมาชิกวุฒิสภาได้มีข้อเรียกร้องสองส่วนถึงรัฐบาลและสำนักงบประมาณ และเรียกร้องต่อ กสศ. จากการที่มีตัวเลขผู้บริจาคในปี 64 เพิ่มขึ้น 100% คือ 40 ล้านบาทเป็นเรื่องสมควรชื่นชม กสศ. และให้กำลังใจต่อไป อย่างไรก็ตามเงินจำนวนนี้ยังน้อยเกินไปเมื่อมองในขอบเขตการทำงานกับเด็ก 4 ล้านคน ในส่วนแรกจึงขอเรียกร้องให้จัดสรรงบกองทุนรายปีจำนวน 5% ของงบประมาณกระทรวงศึกษาธิการทั้งหมด หรืองบ 100 บาทที่ใช้อยู่ทุกปี คือจาก 5 แสนล้านบาท เราต้องการเพียง 5 บาท หรือ 25,000 ล้านบาท เพื่อทำให้เด็ก 4 ล้านคนมีโอกาสในชีวิต เป็นคนไทยที่มีคุณภาพ ส่วนข้อเรียกร้องที่สอง กสศ. จำเป็นต้องหานวัตกรรมเพิ่มเติมไม่หยุดยั้ง ในการทำให้ทรัพยากรเพียงพอช่วยเด็กยากจนพิเศษและเด็กยากจนธรรมดามากขึ้น” ผศ.นพ.เฉลิมชัยกล่าว    

นายเฉลา พวงมาลัย สมาชิกวุฒิสภา เสนอให้รัฐบาลสนับสนุน กสศ. ด้วยการจัดสรรงบประมาณสอดรับยุทธศาสตร์ชาติเรื่องการปฏิรูปการศึกษา โดยกล่าวว่า กสศ. เป็นหน่วยงานที่ทำงานด้วยบุคลากรจำนวนน้อยแต่มีประสิทธิภาพ มีการลงพื้นที่ติดตามโรงเรียนทั่วประเทศ นอกจากนี้ กสศ. ยังจัดกิจกรรมช่วยเหลือด้านการศึกษาและช่วยให้นักเรียนนักศึกษามีรายได้ ถือว่าทำงานได้ดีเยี่ยม แสดงให้เห็นว่ารัฐบาลเดินมาถูกทางในการแก้ปัญหาในส่วนนี้ และกระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงมหาดไทย กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์  กระทรวงสาธารณสุข กระทรวงการคลัง ต้องเชื่อมโยงข้อมูลกลุ่มเป้าหมายกว่า 4 ล้านคนให้ได้ เพราะการศึกษาลงทุนกับการศึกษาไม่ใช่เรื่องสูญเปล่า แต่จะทำให้นักเรียนมีงานทำ มีรายได้ สุดท้ายขอขอบคุณคณะทำงาน กสศ. ที่ตั้งใจทำงานอย่างจริงจังเพื่อช่วยเหลือชาติบ้านเมืองในด้านการศึกษาอย่างแท้จริง

ทั้งนี้ ดร.ไกรยส ภัทราวาท ผู้จัดการกองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา ได้ตอบข้อซักถามต่อวุฒิสภาว่า สำหรับปีงบประมาณ 2567 คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่คณะกรรมการบริหาร กสศ. เสนอที่กรอบงบประมาณ 7.9 พันล้านบาท แต่ขั้นตอนต่อไปจะมีการปรับลดหรือไม่อยู่ระหว่างการพิจารณาของสำนักงบประมาณ อย่างไรก็ตาม กสศ. ยังคงเหนี่ยวนำความร่วมมือทุกภาคส่วน เช่น ระดมทุนบริจาค ประสานสำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาลตามที่ระบุไว้ใน พ.ร.บ.กองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา มาตรา 6 ว่า สามารถรับงบประมาณสนับสนุนตรงนี้ได้

โดยประเด็นที่มีคำแนะนำจากสมาชิกวุฒิสภา กสศ. ได้ดำเนินการอย่างต่อเนื่องโดยเฉพาะเรื่องการศึกษาทางเลือก และการวิจัยพัฒนานวัตกรรมที่มุ่งจัดทำข้อเสนอเชิงนโยบายสร้างความเสมอภาคทางการศึกษา เช่น  การจัดสรรงบประมาณ ซึ่งปัจจุบันเป็นการจัดสรรเฉลี่ยรายหัว แต่ กสศ. พบว่า โรงเรียนในพื้นที่ห่างไกลทุรกันดารที่ไม่มีโรงเรียนอื่นในรัศมี 6-10 กิโลเมตร โรงเรียนขนาดเล็ก จำเป็นต้องได้รับการสนับสนุนต่อเนื่อง ด้วยสูตรการจัดสรรงบประมาณที่เหมาะสมตามบริบท โดยขณะนี้ กสศ. มีงานวิจัยร่วมกับกระทรวงศึกษาธิการ ธนาคารโลก และองค์กรที่เกี่ยวข้องอีกหลายหน่วยงาน โดยจะรายงานความคืบหน้าต่อไป

ส่วนประเด็นการสร้างความเสมอภาคทางการศึกษาจากผลกระทบโควิด-19 กสศ.ทำงานเชิงรุกเพื่อป้องการการกลุดออกจากระบบ มีเครื่องมือการฟื้นฟูภาวะถดถอยทางการเรียนรู้ทุกมิติตามแนวคิด All for Education อันเป็นภารกิจสำคัญของ กสศ. ในการทำงานร่วมกับภาคีต่าง ๆ เช่น การฟื้นฟูกล้ามเนื้อมือในเด็กประถมศึกษา เป็นต้น และในส่วน พ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติ ได้ติดตามอย่างต่อเนื่อง คาดว่ากฎหมายฉบับนี้จะสามารถสนับสนุนการทำงานของ กสศ. ต่อไป

รายชื่อโรงเรียน พื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้

จังหวัด นราธิวาส จำนวน 4 โรงเรียน

  • โรงเรียนผดุงมาตร
  • โรงเรียนสวนพระยาวิทยา
  • โรงเรียนราชพัฒนา
  • โรงเรียนนราสิกขาลัย

จังหวัดยะลา จำนวน 15 โรงเรียน

  • โรงเรียนไทยรัฐวิทยา 94 (บ้านบ่อน้ำร้อน)
  • โรงเรียนคุรุชนพัฒนา
  • โรงเรียนบ้านตาเซะ
  • โรงเรียนบ้านราโมง
  • โรงเรียนบ้านกาตอง
  • โรงเรียนบ้านหลักเขต
  • โรงเรียนพัฒนาบาลอ
  • โรงเรียนบ้านโกตาบารู
  • โรงเรียนบ้านตะโละหะลอ
  • โรงเรียนบ้านเยาะ
  • โรงเรียนบ้านโต
  • โรงเรียนบ้านลูโบ๊ะปันยัง
  • โรงเรียนบ้านคลองน้ำใส
  • โรงเรียนบ้านสะเอะ
  • โรงเรียนกาบังพิทยาคม

จังหวัดปัตตานี จำนวน 16 โรงเรียน

  • โรงเรียนวุฒิชัยวิทยา
  • โรงเรียนนิคมสร้างตนเองโคกโพธิ์ มิตรภาพที่ 148
  • โรงเรียนบ้านบางมะรวด
  • โรงเรียนบ้านท่าน้ำตะวันออก
  • โรงเรียนบ้านน้ำบ่อ
  • โรงเรียนบ้านปาลัส
  • โรงเรียนบ้านตรัง
  • โรงเรียนบ้านกระเสาะ
  • โรงเรียนบ้านบูดี
  • โรงเรียนบ้านฝาง
  • โรงเรียนบ้านตะโละไกรทอง
  • โรงเรียนบ้านน้ำดำ
  • โรงเรียนบ้านโลทู
  • โรงเรียนบ้านวังกว้าง
  • โรงเรียนสะนอพิทยาคม
  • โรงเรียนวังกะพ้อพิทยาคม

รายชื่อโรงเรียน ภาคตะวันตก

จังหวัดตาก จำนวน 1 โรงเรียน

  • โรงเรียนบ้านร่มเกล้า 2

รายชื่อโรงเรียนที่ได้รับทุนการศึกษาผ่านโครงการ Million Gift Million Smiles

จังหวัดเชียงราย จำนวน 1 โรงเรียน

  • โรงเรียนราชประชานุเคราะห์ 15
    (เวียงเก่าแสนภูวิทยาประสาท)

จังหวัดเชียงใหม่ จำนวน 3 โรงเรียน

  • โรงเรียนชลประทาน
    เขื่อนแม่กวงจิราธิวัฒน์อุปถัมภ์
  • โรงเรียนบ้านโป่งน้อย
  • โรงเรียนวัดสันคะยอม

จังหวัดลำปาง จำนวน 1 โรงเรียน

  • โรงเรียนวัดเสด็จ

จังหวัดพิษณุโลก จำนวน 1 โรงเรียน

  • โรงเรียนบ้านท่าข้าม

จังหวัดตาก จำนวน 3 โรงเรียน

  • โรงเรียนบ้านร่มเกล้า 2
  • โรงเรียนบ้านร่มเกล้า 4
  • โรงเรียนบ้านห้วยไม้แป้น

จังหวัดนครศรีธรรมราช จำนวน 4 โรงเรียน

  • โรงเรียนบ้านควนเงิน
  • โรงเรียนบ้านท่าไทร
  • โรงเรียนวัดชะอวด
  • โรงเรียนวัดไม้เสียบ

จังหวัดตรัง จำนวน 11 โรงเรียน

  • โรงเรียนท่างิ้ว (ต.ช.ด.อุปถัมภ์)
  • โรงเรียนบ้านเกาะเคี่ยม
  • โรงเรียนบ้านคลองคุ้ย
  • โรงเรียนบ้านช่องลม
  • โรงเรียนบ้านทอนเหรียน
  • โรงเรียนบ้านท่าส้ม
  • โรงเรียนบ้านบางสัก
  • โรงเรียนบ้านวังลำ
  • โรงเรียนวัดทุ่งหินผุด
  • โรงเรียนวัดวารีวง
  • โรงเรียนหาดทรายทอง

จังหวัดนราธิวาส จำนวน 6 โรงเรียน

  • โรงเรียนนราสิกขาลัย
  • โรงเรียนบ้านบูเก๊ะตาโมงมิตรภาพที่ 128
  • โรงเรียนผดุงมาตร
  • โรงเรียนพิทักษ์วิยากุมุง
  • โรงเรียนราชพัฒนา
  • โรงเรียนสวนพระยาวิทยา

จังหวัดพังงา จำนวน 2 โรงเรียน

  • โรงเรียนวัดนิโครธาราม
  • โรงเรียนวัดสุวรรณาวาส

จังหวัดปัตตานี จำนวน 8 โรงเรียน

  • โรงเรียนบ้านกระเสาะ
  • โรงเรียนบ้านตะโละไกรทอง
  • โรงเรียนบ้านน้ำดำ
  • โรงเรียนบ้านบางทัน
  • โรงเรียนบ้านโลทู
  • โรงเรียนบ้านวังกว้าง
  • โรงเรียนวังกะพ้อพิทยาคม
  • โรงเรียนวุฒิชัยวิทยา

จังหวัดยะลา จำนวน 10 โรงเรียน

  • โรงเรียนกาบังพิทยาคม
  • โรงเรียนบ้านโกตาบารู
  • โรงเรียนบ้านคลองน้ำใส
  • โรงเรียนบ้านจุโป
  • โรงเรียนบ้านด่านสันติราษฎร์
  • โรงเรียนบ้านตะโละหะลอ
  • โรงเรียนบ้านราโมง
  • โรงเรียนบ้านสะเอะ
  • โรงเรียนพัฒนาบาลอ
  • โรงเรียนอัยเยอร์เวง

จังหวัดสงขลา จำนวน 18 โรงเรียน

  • โรงเรียนเขาแดงกุศลวิทยา
  • โรงเรียนจะนะชนูปถัมภ์
  • โรงเรียนชุมชนนิคมสร้างตนเองเทพา
  • โรงเรียนชุมชนบ้านนากัน
  • โรงเรียนทับช้างวิทยาคม
  • โรงเรียนเทพา
  • โรงเรียนบ้านเขาพระ
  • โรงเรียนบ้านคอลอมุดอ
  • โรงเรียนบ้านคูนายสังข์
  • โรงเรียนบ้านโคกตก
  • โรงเรียนบ้านนาปรัง
  • โรงเรียนบ้านบาโหย
  • โรงเรียนบ้านปากบางนาทับ
  • โรงเรียนบ้านป่าเร็ด
  • โรงเรียนบ้านพระพุทธ
  • โรงเรียนบ้านม้างอน
  • โรงเรียนบ้านม้างอน
  • โรงเรียนวัดประจ่า