กสศ. ปลุกพลังสร้างโอกาสแห่งอนาคตกับ ‘ทุนนวัตกรรมสายอาชีพชั้นสูง ปีการศึกษา 2566’
เชื่อมั่นพลังคนรุ่นใหม่ สู่มืออาชีพในตลาดแรงงาน

กสศ. ปลุกพลังสร้างโอกาสแห่งอนาคตกับ ‘ทุนนวัตกรรมสายอาชีพชั้นสูง ปีการศึกษา 2566’

เมื่อวันที่​ 19-20 สิงหาคม 2566 กองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา​ (กสศ.) จัดงาน ‘ปลุกพลัง สร้างโอกาสแห่งอนาคต กับทุนนวัตกรรมสายอาชีพชั้นสูง ปีการศึกษา 2566’ ร่วมกับสํานักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (สอศ.) และกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) ซึ่งมีผู้ทรงคุณวุฒิ ผู้บริหาร และผู้แทนหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน​ สื่อมวลชน ​และ​นักศึกษาทุนนวัตกรรมสายอาชีพชั้นสูงกว่า 2,000 คน จากสถานศึกษาอาชีวศึกษาภาครัฐ เอกชน วิทยาลัยชุมชน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล และมหาวิทยาลัยในกํากับของรัฐและเอกชน จํานวน 69 แห่งใน 35 จังหวัดทั่วประเทศ เข้าร่วม ณ อิมแพค อารีนา เมืองทองธานี และเวทีคู่ขนานในพื้นที่ภูมิภาค 9 จังหวัด

ศาสตราจารย์ ดร.นักสิทธ์ คูวัฒนาชัย ประธานอนุกรรมการส่งเสริมและพัฒนา คุณภาพการศึกษาระดับสูงกว่าภาคบังคับ กสศ. ​​กล่าวว่า​ กสศ. ​เชื่อมั่นตลอดมา​ ว่า​นักศึกษาทุนนวัตกรรมสายอาชีพชั้นสูง​ คือผู้ที่มีขีดความสามารถ​และศักยภาพที่จะได้รับการพัฒนาเป็นกำลังสำคัญของประเทศในอนาคต จึงได้พยายามผลิตนักศึกษา​ออกมาอย่างต่อเนื่องเป็นรุ่นที่​ 5​ โดยสถาบันการศึกษาที่เข้าร่วมโครงการ​มีส่วนในการคัดเลือกและ​คัดกรองนักศึกษาทุนทั้งหมด 2,221 คน จาก 66 สถานศึกษา ใน 33 จังหวัด โดยในจำนวนนี้​ประกอบด้วย​ทุน 5 ปี จำนวน 594 คน ทุน 2 ปี หรือ 2.5 ปี จำนวน 1,230 คน ส่วนหนึ่งเป็นนักศึกษาผู้ที่มีความต้องการพิเศษ 124 คน และทุน 1 ปี จำนวน 406 คน​ 

ศาสตราจารย์ ดร.นักสิทธ์ กล่าวว่า​ กสศ. ​ตระหนักว่า​การศึกษาเป็นกลไก​สำคัญในการแก้ปัญหาความเหลื่อมล้ำและความยากจน​ ดังนั้น การสร้างโอกาสในการศึกษาต่อระดับที่สูงขึ้นและมีงานรองรับ จะเป็นทางออกหนึ่งในการรับมือกับปัญหาต่าง ๆ​ หากนักศึกษาทุนกลุ่มนี้มีรายได้สูงขึ้น​ ย่อมเป็นการเปิดประตูสู่โอกาสในชีวิตที่มากขึ้น​ และนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงสถานะทางสังคม​ เศรษฐกิจ และหยุดวงจรความยากจนที่ส่งต่อกันจากรุ่นสู่รุ่นให้สิ้นสุดลงในรุ่นของพวกเขาได้

“วัตถุประสงค์ของโครงการนี้​ถูกพัฒนามาอย่างต่อเนื่องตลอด​ 5​ ปี​ เพื่อเป็นส่วนหนึ่งในการผลักดันประเทศให้​ก้าวข้ามความเป็นประเทศรายได้ปานกลาง โดยออกแบบให้เกิดผล 3 ด้าน 1.) เยาวชนที่ขาดแคลนทุนทรัพย์และขาดโอกาสทั่วประเทศ สามารถศึกษาต่อในระดับอาชีวศึกษาได้ 2.) สร้างความเข้มแข็งให้แก่สถาบันการศึกษา และ 3.) ตอบโจทย์ระดับประเทศ ที่มีเป้าหมายรองรับยุคอุตสาหกรรม 4.0 ซึ่งมีความต้องการนวัตกรรมสายอาชีพชั้นสูง

“ปัจจุบันประเทศอุตสาหกรรมชั้นนำ เช่น เยอรมนี เกาหลีใต้ ไต้หวัน ให้ความสำคัญกับการปฏิรูประบบอาชีวศึกษาให้สามารถรองรับอุตสาหกรรม 4.0 ค่อนข้างมาก ทำให้สามารถพัฒนาประเทศแบบก้าวกระโดดได้ ขณะที่ประเทศไทยมีแรงงานทักษะสูง​เพียง​ 15 เปอร์เซ็นต์ ดังนั้นจึงต้องเร่งพัฒนากำลังแรงงานกลุ่มนี้ให้มากที่สุด เพราะหากต้องการขับเคลื่อนเศรษฐกิจเพื่อไปสู่ประเทศรายได้สูง จะต้องให้ความสำคัญกับการศึกษาสายอาชีพและหลักสูตรที่ตอบโจทย์การพัฒนา เพื่อจูงใจผู้เรียนที่มีศักยภาพเข้ามาเรียนสายอาชีพมากขึ้น ซึ่งเชื่อมั่นว่านักศึกษาทุนนวัตกรรมสายอาชีพขั้น​สูงจะเป็นกำลังสำคัญส่วนหนึ่งในการพัฒนานวัตกรรมของประเทศได้ในอนาคต” ศาสตราจารย์ ดร.นักสิทธ์ กล่าว

เรืออากาศโทสมพร ปานดำ รองเลขาธิการคณะกรรมการการอาชีวศึกษา กล่าวว่า​ อาชีพต่าง ๆ ต้องปรับตัวเพื่อรับความเปลี่ยนแปลง​ อาชีวศึกษาจึงไม่สามารถจัดการศึกษาแบบเดิมได้​ แต่ต้องมองตามทิศทางการเปลี่ยนแปลงของประเทศ สถาบันอาชีวศึกษาในฐานะต้นทางการผลิตกำลังคนของประเทศ ต้องทบทวนเรื่อง Future Skill หรือทักษะในอนาคต โดยเฉพาะการ Upskill Reskill เพื่อรับมือการก้าวเข้ามามีบทบาทของ AI รวมถึงแรงงานต้องปรับสภาพการทำงานให้เข้ากับโลกยุคใหม่ 

เรืออากาศโทสมพร​ กล่าวว่า​ ทุนนี้จะเป็นจุดคานงัดสำคัญที่จะทำให้เกิดความเสมอภาคขึ้นในสังคมไทย การพัฒนาประเทศนั้นต้องเริ่มต้นที่การพัฒนาคน และหัวใจสำคัญของการพัฒนาคนให้มีคุณภาพ คือ ประชาชนต้องได้รับการศึกษาที่มีคุณภาพ 

การศึกษาคือเครื่องมือที่ทรงพลังที่สุดที่จะแก้ปัญหาความเหลื่อมล้ำ​ ที่ผ่านมาสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา ได้จับมือกับ กสศ. เพื่อแก้ปัญหาความเหลื่อมล้ำทางการศึกษาให้มีความเสมอภาคด้านผลลัพธ์การเรียนรู้ และการเข้าถึงการเรียนรู้โดยใช้ศักยภาพด้านการศึกษาอย่างเต็มที่ ให้สามารถนำไปสู่การมีงานทำ สร้างกลไกการศึกษาและการฝึกอบรมนอกระบบ เพื่อตอบโจทย์เป้าหมายการมีงานทำและการเรียนรู้ตลอดชีวิต​ แม้จะมีทรัพยากรอยู่อย่างจำกัด แต่ก็สามารถบริหารจัดการอย่างมีประสิทธิภาพ 

“อาชีวศึกษาจะเดินหน้าผลิตและพัฒนาอาชีวศึกษาสมรรถนะสูง เพื่อการพัฒนาประเทศ ด้วยระบบการศึกษาที่ยืดหยุ่น ตอบสนองการเรียนรู้ตลอดชีวิต ก้าวไปสู่ ฉากทัศน์ (scenario) ที่ทุกคนอยากเห็น เปิดโอกาสให้ผู้เรียนทุกช่วงวัยเข้ามาศึกษา เรียนรู้ ต่อยอดอาชีพ พัฒนาทักษะตนเอง มีระบบเชื่อมโยงการดำเนินงานระหว่างสถาบันการศึกษากับสถานประกอบการ สร้างงาน สร้างคน สร้างชาติ จากอาชีวศึกษาทวิภาคีคุณภาพสูง จบแล้วมีงานทำ รับรองคุณภาพและคุณวุฒิผู้เรียน จากสถาบันหรือศูนย์ทดสอบทั้งในระดับประเทศและสากล” เรืออากาศโทสมพร​ กล่าว 

นอกจากนี้ จะมีการฝึกอบรมทักษะ พัฒนาอาชีพ ตามความจำเป็นและเป้าหมายชีวิต ผ่านการออกแบบมาตรการจูงใจสำหรับทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง เช่น ธนาคารหน่วยกิต/เครดิตแบงค์ หรือการเทียบโอนประสบการณ์ การเรียนภาคสมทบ การสนับสนุนเงินอุดหนุน สิทธิประโยชน์ทางภาษี สร้างเครือข่ายการทำงานอย่างเป็นระบบ รวมถึงสามารถตอบโจทย์อุตสาหกรรมในแต่ละภูมิภาค ตอบโจทย์สภาพปัญหาที่มีอยู่จริงในแต่ละพื้นที่​

​ดร.ไกรยส ภัทราวาท ผู้จัดการ กสศ. กล่าวว่า​ ก่อนอื่น​ต้องแสดงความยินดีกับนักศึกษาทุกคนที่ผ่านการคัดกรองและคัดเลือกให้เป็นนักศึกษาทุนนวัตกรรมสายอาชีพชั้นสูง รุ่นที่ 5 ประจำปีการศึกษา 2566 ซึ่งเดิม​จะเป็นรุ่นสุดท้าย​ของโครงการ​ แต่ด้วยความสำเร็จของโครงการนี้จากรุ่นที่ผ่าน ๆ​ มา กสศ.​ จึงเดินหน้าสนับสนุน โครงการนี้ต่อไป และเตรียมเสนอของบประมาณจากรัฐบาลเพื่อดำเนินโครงการ​อย่างต่อเนื่อง

“ทุกคนที่อยู่ในห้องนี้​ คือหนึ่งในผู้สมัครรับทุนการศึกษา จำนวน 3,571 คน ที่ผ่านกระบวนการคัดเลือกของสถานศึกษาแต่ละแห่งอย่างเข้มข้น ทำให้ กสศ. เชื่อมั่นว่า น้อง ๆ ทุกคนเป็นคนที่มีคุณสมบัติ มีคุณภาพ มีความรู้และทักษะ พร้อมที่จะเรียนในสาขาวิชาชีพจนสำเร็จการศึกษาตามกำหนดเวลา และพัฒนาอย่างเต็มศักยภาพ​ และในตอนนี้​ถือว่า​ทุกคนได้รับความสำเร็จก้าวแรกแล้ว​จากโอกาสเข้าศึกษาต่อในสายอาชีพที่เลือก อันเป็นการศึกษาที่มีความสำคัญต่อการพัฒนาประเทศ​ และขอให้ตั้งใจศึกษาเล่าเรียน ใช้เงินทุนเพื่อการพัฒนาตนเอง ให้มีความรู้ ทักษะ ความสามารถ เป็นบุคลากรที่มีสมรรถนะสูง พร้อมที่จะ​ประกอบอาชีพที่ใฝ่ฝัน ทำงานร่วมกับองค์กรที่น้อง ๆ อยากร่วมงานด้วย หรือเป็นผู้ประกอบการสร้างธุรกิจของตัวเอง​”

​ดร.ไกรยส กล่าวว่า ทุนนี้จะเป็นจุดเริ่มต้นในชีวิตของทุกคนที่จะค้นหา เรียนรู้ และพัฒนาตัวเอง โดยมีครอบครัว คุณครู ผู้บริหารสถานศึกษา คอยดูแลช่วยเหลืออย่างใกล้ชิด และอาจารย์จากมหาวิทยาลัยต่าง ๆ คอยหนุนเสริม เติมเต็มกระบวนการเรียนการสอน มีทีมงานโค้ชสุขภาพจิตในพื้นที่ คอยเป็นที่ปรึกษาและให้กำลังใจ พร้อมด้วยภาคีจากภาคส่วนต่าง ๆ ในทุกสังกัดคอยสนับสนุนดูแลในด้านต่าง ๆ 

“ที่สำคัญไม่ยิ่งหย่อนไปกว่ากัน​คือ​ การสร้างความภาคภูมิใจในตัวเอง​ ในฐานะที่​จะเป็นส่วนหนึ่งของประชากรที่มีคุณค่า เป็นพลังของคนรุ่นใหม่ที่จะสร้างการเปลี่ยนแปลงให้กับครอบครัว ชุมชน สังคม และประเทศไทย โดยใช้ความรู้ ทักษะ และประสบการณ์ที่ได้รับการหล่อหลอมจากการศึกษาในการทำงาน ยกระดับคุณภาพชีวิต เพื่อก้าวไปสู่อนาคตที่ดี” ดร.ไกรยส กล่าว

นางสาวสโรชา ศรีสอาด​ นักศึกษาวิทยาลัยเทคนิคสยาม (สยามเทค) สาขาคอมพิวเตอร์กราฟิก​ กล่าวว่า​ ทุนนวัตกรรมสายอาชีพชั้นสูง​เข้ามาช่วยเติมความหวังให้ชีวิต​ จากที่ก่อนหน้านี้เคยคิดว่า​จบการศึกษาภาคบังคับแล้ว​จะต้องหยุดเรียน​ เพราะผู้ปกครองไม่มีกำลังส่งเสีย​ ซึ่งทุนนี้ได้เปิดโอกาสให้ได้พิสูจน์คุณค่าของตัวเอง​ หลังจากนี้จะตั้งใจเรียนให้จบการศึกษาและนำความรู้ที่ได้รับมาไปพัฒนาตนเอง สังคม และประเทศชาติในอนาคต

นางสาวกรรณิการ์​ สะเภาคำ​ นักศึกษา​​มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ​ สาขาผู้ช่วยพยาบาล กล่าวว่า​ ​ตั้งใจเลือกเรียนสาขานี้​เพราะนอกจากจะเป็นอาชีพที่เลี้ยงดูตัวเองและครอบครัวได้แล้ว ยังสามารถนำความรู้ที่ได้ไปดูแลคนอื่น ๆ​ ได้อีกด้วย

เช่นเดียวกับนายศุทธวีร์​ ธาราวรณ์​ นักศึกษาวิทยาลัยเทคโนโลยี​ดอนบอสโก สาขางานการพิมพ์และบรรจุภัณฑ์​ กล่าวว่า​ ด้วยฐานะค่อนข้างลำบากและจัดอยู่ในกลุ่มคนพิเศษ​ที่ประสบปัญหาด้านการได้ยิน​ จึงทราบดีว่า​โอกาสในการได้รับการศึกษาในระดับที่สูงกว่าภาคบังคับ​เป็นเรื่องที่ไม่ง่าย​ เพราะที่ผ่านมาได้พยายามมาแล้วหลายช่องทาง เมื่อได้รับทุนนี้จึงเป็นเสมือนแสงสว่างของชีวิต​ สามารถก้าวต่อไปในเส้นทางการศึกษาที่เคยตั้งใจไว้ และในอนาคตจะนำความรู้ที่ร่ำเรียนมาดูแลครอบครัวและประเทศชาติต่อไป

รายชื่อโรงเรียน พื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้

จังหวัด นราธิวาส จำนวน 4 โรงเรียน

  • โรงเรียนผดุงมาตร
  • โรงเรียนสวนพระยาวิทยา
  • โรงเรียนราชพัฒนา
  • โรงเรียนนราสิกขาลัย

จังหวัดยะลา จำนวน 15 โรงเรียน

  • โรงเรียนไทยรัฐวิทยา 94 (บ้านบ่อน้ำร้อน)
  • โรงเรียนคุรุชนพัฒนา
  • โรงเรียนบ้านตาเซะ
  • โรงเรียนบ้านราโมง
  • โรงเรียนบ้านกาตอง
  • โรงเรียนบ้านหลักเขต
  • โรงเรียนพัฒนาบาลอ
  • โรงเรียนบ้านโกตาบารู
  • โรงเรียนบ้านตะโละหะลอ
  • โรงเรียนบ้านเยาะ
  • โรงเรียนบ้านโต
  • โรงเรียนบ้านลูโบ๊ะปันยัง
  • โรงเรียนบ้านคลองน้ำใส
  • โรงเรียนบ้านสะเอะ
  • โรงเรียนกาบังพิทยาคม

จังหวัดปัตตานี จำนวน 16 โรงเรียน

  • โรงเรียนวุฒิชัยวิทยา
  • โรงเรียนนิคมสร้างตนเองโคกโพธิ์ มิตรภาพที่ 148
  • โรงเรียนบ้านบางมะรวด
  • โรงเรียนบ้านท่าน้ำตะวันออก
  • โรงเรียนบ้านน้ำบ่อ
  • โรงเรียนบ้านปาลัส
  • โรงเรียนบ้านตรัง
  • โรงเรียนบ้านกระเสาะ
  • โรงเรียนบ้านบูดี
  • โรงเรียนบ้านฝาง
  • โรงเรียนบ้านตะโละไกรทอง
  • โรงเรียนบ้านน้ำดำ
  • โรงเรียนบ้านโลทู
  • โรงเรียนบ้านวังกว้าง
  • โรงเรียนสะนอพิทยาคม
  • โรงเรียนวังกะพ้อพิทยาคม

รายชื่อโรงเรียน ภาคตะวันตก

จังหวัดตาก จำนวน 1 โรงเรียน

  • โรงเรียนบ้านร่มเกล้า 2

รายชื่อโรงเรียนที่ได้รับทุนการศึกษาผ่านโครงการ Million Gift Million Smiles

จังหวัดเชียงราย จำนวน 1 โรงเรียน

  • โรงเรียนราชประชานุเคราะห์ 15
    (เวียงเก่าแสนภูวิทยาประสาท)

จังหวัดเชียงใหม่ จำนวน 3 โรงเรียน

  • โรงเรียนชลประทาน
    เขื่อนแม่กวงจิราธิวัฒน์อุปถัมภ์
  • โรงเรียนบ้านโป่งน้อย
  • โรงเรียนวัดสันคะยอม

จังหวัดลำปาง จำนวน 1 โรงเรียน

  • โรงเรียนวัดเสด็จ

จังหวัดพิษณุโลก จำนวน 1 โรงเรียน

  • โรงเรียนบ้านท่าข้าม

จังหวัดตาก จำนวน 3 โรงเรียน

  • โรงเรียนบ้านร่มเกล้า 2
  • โรงเรียนบ้านร่มเกล้า 4
  • โรงเรียนบ้านห้วยไม้แป้น

จังหวัดนครศรีธรรมราช จำนวน 4 โรงเรียน

  • โรงเรียนบ้านควนเงิน
  • โรงเรียนบ้านท่าไทร
  • โรงเรียนวัดชะอวด
  • โรงเรียนวัดไม้เสียบ

จังหวัดตรัง จำนวน 11 โรงเรียน

  • โรงเรียนท่างิ้ว (ต.ช.ด.อุปถัมภ์)
  • โรงเรียนบ้านเกาะเคี่ยม
  • โรงเรียนบ้านคลองคุ้ย
  • โรงเรียนบ้านช่องลม
  • โรงเรียนบ้านทอนเหรียน
  • โรงเรียนบ้านท่าส้ม
  • โรงเรียนบ้านบางสัก
  • โรงเรียนบ้านวังลำ
  • โรงเรียนวัดทุ่งหินผุด
  • โรงเรียนวัดวารีวง
  • โรงเรียนหาดทรายทอง

จังหวัดนราธิวาส จำนวน 6 โรงเรียน

  • โรงเรียนนราสิกขาลัย
  • โรงเรียนบ้านบูเก๊ะตาโมงมิตรภาพที่ 128
  • โรงเรียนผดุงมาตร
  • โรงเรียนพิทักษ์วิยากุมุง
  • โรงเรียนราชพัฒนา
  • โรงเรียนสวนพระยาวิทยา

จังหวัดพังงา จำนวน 2 โรงเรียน

  • โรงเรียนวัดนิโครธาราม
  • โรงเรียนวัดสุวรรณาวาส

จังหวัดปัตตานี จำนวน 8 โรงเรียน

  • โรงเรียนบ้านกระเสาะ
  • โรงเรียนบ้านตะโละไกรทอง
  • โรงเรียนบ้านน้ำดำ
  • โรงเรียนบ้านบางทัน
  • โรงเรียนบ้านโลทู
  • โรงเรียนบ้านวังกว้าง
  • โรงเรียนวังกะพ้อพิทยาคม
  • โรงเรียนวุฒิชัยวิทยา

จังหวัดยะลา จำนวน 10 โรงเรียน

  • โรงเรียนกาบังพิทยาคม
  • โรงเรียนบ้านโกตาบารู
  • โรงเรียนบ้านคลองน้ำใส
  • โรงเรียนบ้านจุโป
  • โรงเรียนบ้านด่านสันติราษฎร์
  • โรงเรียนบ้านตะโละหะลอ
  • โรงเรียนบ้านราโมง
  • โรงเรียนบ้านสะเอะ
  • โรงเรียนพัฒนาบาลอ
  • โรงเรียนอัยเยอร์เวง

จังหวัดสงขลา จำนวน 18 โรงเรียน

  • โรงเรียนเขาแดงกุศลวิทยา
  • โรงเรียนจะนะชนูปถัมภ์
  • โรงเรียนชุมชนนิคมสร้างตนเองเทพา
  • โรงเรียนชุมชนบ้านนากัน
  • โรงเรียนทับช้างวิทยาคม
  • โรงเรียนเทพา
  • โรงเรียนบ้านเขาพระ
  • โรงเรียนบ้านคอลอมุดอ
  • โรงเรียนบ้านคูนายสังข์
  • โรงเรียนบ้านโคกตก
  • โรงเรียนบ้านนาปรัง
  • โรงเรียนบ้านบาโหย
  • โรงเรียนบ้านปากบางนาทับ
  • โรงเรียนบ้านป่าเร็ด
  • โรงเรียนบ้านพระพุทธ
  • โรงเรียนบ้านม้างอน
  • โรงเรียนบ้านม้างอน
  • โรงเรียนวัดประจ่า