กสศ. หารือการทำงานร่วมกับ รมว.ศธ. จับมือสร้างการศึกษาที่มีคุณภาพและเสมอภาคร่วมกัน ผ่านความร่วมมือโครงการต่างๆ ของ กสศ. และศธ.

กสศ. หารือการทำงานร่วมกับ รมว.ศธ. จับมือสร้างการศึกษาที่มีคุณภาพและเสมอภาคร่วมกัน ผ่านความร่วมมือโครงการต่างๆ ของ กสศ. และศธ.

พล.ต.อ.เพิ่มพูน ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (รมว.ศธ.) และคณะผู้บริหารระดับสูงของ ศธ. ได้ ร่วมหารือและประสานการทำงานร่วมกับกองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (กสศ.) โดยมี ดร.ประสาร ไตรรัตน์วรกุล ประธานกรรมการบริหาร กสศ. รศ.ดร.ดารณี อุทัยรัตนกิจ กรรมการบริหาร กสศ. ดร.ไกรยส ภัทราวาท ผู้จัดการ กสศ. และคณะเข้าร่วมประชุมเพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลและกำหนดทิศทางการทำงานร่วมกันระหว่าง 2 หน่วยงาน

ผู้จัดการ กสศ. ได้รายงานข้อมูลสถานการณ์ความเหลื่อมล้ำทางการศึกษาในปีการศึกษา 2566 และผลการบูรณาการการทำงานร่วมกันเพื่อสร้างความเสมอภาคทางการศึกษาให้แก่เด็กเยาวชนในสังกัด สพฐ. สอศ. และ สช. ตลอด 5 ปีที่ผ่านมา โดยเฉพาะกลุ่มเป้าหมายที่ครัวเรือนมีรายได้อยู่ใต้เส้นความยากจนซึ่งถือเป็นกลุ่มเปราะบางที่เสี่ยงหลุดออกจากระบบการศึกษา ให้สามารถศึกษาต่อทั้งในและนอกระบบการศึกษาจนเต็มศักยภาพเพื่อเป็นกำลังคนสำคัญในการขับเคลื่อนประเทศในอนาคต

ดร.ไกรยส กล่าวว่า ที่ผ่านมา กสศ.ได้ทำงานร่วมกับกระทรวงศึกษาธิการ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง 6 สังกัดดูแลนักเรียนยากจนและยากจนพิเศษในระบบการศึกษาประมาณ 1.2 ล้านคน และพัฒนาการค้นหาและป้องกันเด็กหลุดออกจากระบบการศึกษา รวมทั้งช่วยให้เด็กกลุ่มเป้าหมายกลับเข้ามาสู่ระบบการศึกษาที่ตอบโจทย์ความต้องการของผู้เรียนภายใต้เครือข่ายข้อมูลที่มีประสิทธิภาพ รวมทั้งสนับสนุนการผลิตพัฒนาครูให้แก่โรงเรียนในพื้นที่ห่างไกลทุรกันดารมากกว่า 1,500 แห่ง พร้อมทั้งส่งเสริมการระดมความร่วมมือจากชุมชนและหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้องให้เข้ามามีส่วนร่วมในการสร้างความเสมอภาคทางการศึกษาอย่างยั่งยืน รวมทั้งการระดมทรัพยากรจากภาคเอกชน และการเสนอโครงการเพื่อออกสลากการกุศล เป็นต้น

ทั้งนี้ ภายหลังจากการรับฟังข้อมูล พล.ต.อ.เพิ่มพูน ได้มอบนโยบายแก่ผู้บริหาร ศธ. และ กสศ. ให้ร่วมกันบูรณาการทรัพยากรเพื่อสนับสนุนมาตรการลดความเหลื่อมล้ำทางการศึกษาร่วมกัน เช่น การสนับสนุนทุนการศึกษาให้แก่กลุ่มเป้าหมายในสถานศึกษาสังกัด ศธ. โดยเฉพาะเยาวชนจากครัวเรือนยากจนที่ต้องการศึกษาต่อสายอาชีพในสังกัด สอศ. ทั้งหลักสูตร ปวช. ปวส. และหลักสูตรระยะสั้นที่เน้นจบการศึกษาในเวลาสั้น เพราะเห็นร่วมกันว่าเป็นรูปแบบการเรียนที่ตอบโจทย์ความต้องการของเด็กกลุ่มต่างๆ โดยเฉพาะผู้ที่มีความยากจนพิเศษเรียนเพื่อมีงานทำได้ และหาแนวทางสนับสนุนทุนการศึกษาเพื่อให้เยาวชนได้เข้าเรียนสายอาชีพให้มากขึ้นตามความต้องการของตลาดแรงงาน

พล.ต.อ.เพิ่มพูน กล่าวว่า ครูเป็นปัจจัยสำคัญในการสร้างคุณภาพทางการศึกษา จำเป็นที่จะต้องหามาตรการและแนวทางต่างๆ มาพัฒนาคุณภาพครู เช่น การนำระบบเทคโนโลยีสารสนเทศเข้ามามีบทบาทช่วยเหลือครู ช่วยแบ่งเบาภาระงานด้านการดูแลนักเรียน

โดยกรณีนี้ ดร.ไกรยส ได้รายงานเพิ่มเติมว่า กสศ. ได้ทำงานร่วมกับ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) และกรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข นำระบบเทคโนโลยีสารสนเทศมาบูรณาการฐานข้อมูลความเสี่ยงของนักเรียน จัดทำ Data Catalogue แนวทางและกระบวนการ ดูแลช่วยเหลือนักเรียนอย่างครอบคลุมทุกมิติปัญหา ผ่านระบบ OBEC Care ให้สอดคล้องกับแนวทางการดูแลช่วยเหลือเด็กตามความต้องการเป็นรายบุคคล ซึ่งได้ดำเนินการเป็นโครงการนำร่องแล้วใน 28 เขตพื้นที่การศึกษา ในปีการศึกษา 2566 มีสถานศึกษา 1,050 แห่งทั่วประเทศ โดย สพฐ. และ กสศ. มีแผนจะขยายผลระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน หรือ ระบบ OBEC Care ให้ครอบคลุม 245 เขตพื้นที่ทั่วประเทศในปีการศึกษา 2567

ด้าน พล.ต.อ.เพิ่มพูน จึงได้มอบหมายให้ สพฐ. สรุปตัวเลขจำนวนครูที่ใช้ระบบระบบเทคโนโลยีสารสนเทศในการทำงานส่วนนี้เพื่อนำมาออกแบบ วางแผนและวางแนวทางการขยายผลเพิ่มเติมจากพื้นที่นำร่องที่ได้ดำเนินการไปแล้วต่อไป

ขณะเดียวกัน ยังได้ร่วมกันหารือประเด็นอื่นๆ เช่น แนวทางการสร้างระบบแนะแนวของโรงเรียน ซึ่งนอกจากจะต้องมีครูแนะแนวที่ดีแล้ว ควรนำระบบรุ่นพี่มาช่วยแนะแนวและสร้างแรงบันดาลใจในการเรียนและการทำงาน การผลิตและพัฒนาครูในโครงการครูรัก(ษ์)ถิ่น พิจารณานำโครงการคุรุทายาทที่เคยทำมาแล้ว 13 รุ่น เพื่อให้มีรุ่นพี่คุรุทายาทช่วยสนับสนุนการทำงานต่อในโรงเรียนพื้นที่เป้าหมายหรือโรงเรียนปลายทาง ซึ่งอาจรวมเป็นโครงการเดียวกัน โดยควรหารือร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องภายใน ศธ. เพื่อทำงานร่วมกัน โดยมีข้อเสนอให้ใช้ชื่อคุรุทายาทเพื่อให้ครอบคลุมการผลิตครูในระบบปิด

ที่ยังประชุมยังได้หารือด้านการแก้ปัญหาต่างๆ ของโรงเรียนขนาดเล็กโดยเฉพาะการเดินทาง โดยเสนอให้ทดลองนำร่องการจัดการขนส่งให้นักเรียนโรงเรียนขนาดเล็ก ซึ่งไม่ได้อยู่ในกลุ่มสถานศึกษาที่อยู่ในพื้นที่ห่างไกล (Stand Alone) เพื่อให้เด็กมีโอกาสไปเรียนในโรงเรียนคุณภาพ โดยสร้างแรงจูงใจในการทำงานของระบบขนส่งให้เพียงพอ เช่น เพิ่มเติมงบประมาณด้านการเดินทาง ฯลฯ

รายชื่อโรงเรียน พื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้

จังหวัด นราธิวาส จำนวน 4 โรงเรียน

  • โรงเรียนผดุงมาตร
  • โรงเรียนสวนพระยาวิทยา
  • โรงเรียนราชพัฒนา
  • โรงเรียนนราสิกขาลัย

จังหวัดยะลา จำนวน 15 โรงเรียน

  • โรงเรียนไทยรัฐวิทยา 94 (บ้านบ่อน้ำร้อน)
  • โรงเรียนคุรุชนพัฒนา
  • โรงเรียนบ้านตาเซะ
  • โรงเรียนบ้านราโมง
  • โรงเรียนบ้านกาตอง
  • โรงเรียนบ้านหลักเขต
  • โรงเรียนพัฒนาบาลอ
  • โรงเรียนบ้านโกตาบารู
  • โรงเรียนบ้านตะโละหะลอ
  • โรงเรียนบ้านเยาะ
  • โรงเรียนบ้านโต
  • โรงเรียนบ้านลูโบ๊ะปันยัง
  • โรงเรียนบ้านคลองน้ำใส
  • โรงเรียนบ้านสะเอะ
  • โรงเรียนกาบังพิทยาคม

จังหวัดปัตตานี จำนวน 16 โรงเรียน

  • โรงเรียนวุฒิชัยวิทยา
  • โรงเรียนนิคมสร้างตนเองโคกโพธิ์ มิตรภาพที่ 148
  • โรงเรียนบ้านบางมะรวด
  • โรงเรียนบ้านท่าน้ำตะวันออก
  • โรงเรียนบ้านน้ำบ่อ
  • โรงเรียนบ้านปาลัส
  • โรงเรียนบ้านตรัง
  • โรงเรียนบ้านกระเสาะ
  • โรงเรียนบ้านบูดี
  • โรงเรียนบ้านฝาง
  • โรงเรียนบ้านตะโละไกรทอง
  • โรงเรียนบ้านน้ำดำ
  • โรงเรียนบ้านโลทู
  • โรงเรียนบ้านวังกว้าง
  • โรงเรียนสะนอพิทยาคม
  • โรงเรียนวังกะพ้อพิทยาคม

รายชื่อโรงเรียน ภาคตะวันตก

จังหวัดตาก จำนวน 1 โรงเรียน

  • โรงเรียนบ้านร่มเกล้า 2

รายชื่อโรงเรียนที่ได้รับทุนการศึกษาผ่านโครงการ Million Gift Million Smiles

จังหวัดเชียงราย จำนวน 1 โรงเรียน

  • โรงเรียนราชประชานุเคราะห์ 15
    (เวียงเก่าแสนภูวิทยาประสาท)

จังหวัดเชียงใหม่ จำนวน 3 โรงเรียน

  • โรงเรียนชลประทาน
    เขื่อนแม่กวงจิราธิวัฒน์อุปถัมภ์
  • โรงเรียนบ้านโป่งน้อย
  • โรงเรียนวัดสันคะยอม

จังหวัดลำปาง จำนวน 1 โรงเรียน

  • โรงเรียนวัดเสด็จ

จังหวัดพิษณุโลก จำนวน 1 โรงเรียน

  • โรงเรียนบ้านท่าข้าม

จังหวัดตาก จำนวน 3 โรงเรียน

  • โรงเรียนบ้านร่มเกล้า 2
  • โรงเรียนบ้านร่มเกล้า 4
  • โรงเรียนบ้านห้วยไม้แป้น

จังหวัดนครศรีธรรมราช จำนวน 4 โรงเรียน

  • โรงเรียนบ้านควนเงิน
  • โรงเรียนบ้านท่าไทร
  • โรงเรียนวัดชะอวด
  • โรงเรียนวัดไม้เสียบ

จังหวัดตรัง จำนวน 11 โรงเรียน

  • โรงเรียนท่างิ้ว (ต.ช.ด.อุปถัมภ์)
  • โรงเรียนบ้านเกาะเคี่ยม
  • โรงเรียนบ้านคลองคุ้ย
  • โรงเรียนบ้านช่องลม
  • โรงเรียนบ้านทอนเหรียน
  • โรงเรียนบ้านท่าส้ม
  • โรงเรียนบ้านบางสัก
  • โรงเรียนบ้านวังลำ
  • โรงเรียนวัดทุ่งหินผุด
  • โรงเรียนวัดวารีวง
  • โรงเรียนหาดทรายทอง

จังหวัดนราธิวาส จำนวน 6 โรงเรียน

  • โรงเรียนนราสิกขาลัย
  • โรงเรียนบ้านบูเก๊ะตาโมงมิตรภาพที่ 128
  • โรงเรียนผดุงมาตร
  • โรงเรียนพิทักษ์วิยากุมุง
  • โรงเรียนราชพัฒนา
  • โรงเรียนสวนพระยาวิทยา

จังหวัดพังงา จำนวน 2 โรงเรียน

  • โรงเรียนวัดนิโครธาราม
  • โรงเรียนวัดสุวรรณาวาส

จังหวัดปัตตานี จำนวน 8 โรงเรียน

  • โรงเรียนบ้านกระเสาะ
  • โรงเรียนบ้านตะโละไกรทอง
  • โรงเรียนบ้านน้ำดำ
  • โรงเรียนบ้านบางทัน
  • โรงเรียนบ้านโลทู
  • โรงเรียนบ้านวังกว้าง
  • โรงเรียนวังกะพ้อพิทยาคม
  • โรงเรียนวุฒิชัยวิทยา

จังหวัดยะลา จำนวน 10 โรงเรียน

  • โรงเรียนกาบังพิทยาคม
  • โรงเรียนบ้านโกตาบารู
  • โรงเรียนบ้านคลองน้ำใส
  • โรงเรียนบ้านจุโป
  • โรงเรียนบ้านด่านสันติราษฎร์
  • โรงเรียนบ้านตะโละหะลอ
  • โรงเรียนบ้านราโมง
  • โรงเรียนบ้านสะเอะ
  • โรงเรียนพัฒนาบาลอ
  • โรงเรียนอัยเยอร์เวง

จังหวัดสงขลา จำนวน 18 โรงเรียน

  • โรงเรียนเขาแดงกุศลวิทยา
  • โรงเรียนจะนะชนูปถัมภ์
  • โรงเรียนชุมชนนิคมสร้างตนเองเทพา
  • โรงเรียนชุมชนบ้านนากัน
  • โรงเรียนทับช้างวิทยาคม
  • โรงเรียนเทพา
  • โรงเรียนบ้านเขาพระ
  • โรงเรียนบ้านคอลอมุดอ
  • โรงเรียนบ้านคูนายสังข์
  • โรงเรียนบ้านโคกตก
  • โรงเรียนบ้านนาปรัง
  • โรงเรียนบ้านบาโหย
  • โรงเรียนบ้านปากบางนาทับ
  • โรงเรียนบ้านป่าเร็ด
  • โรงเรียนบ้านพระพุทธ
  • โรงเรียนบ้านม้างอน
  • โรงเรียนบ้านม้างอน
  • โรงเรียนวัดประจ่า